เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว

ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม => ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: นายเค ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2015, 12:32:40

หัวข้อ: บทที่ 652 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ ศึกบางระจัน.. ทำหนัง 16 เป็น 35 มม.
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2015, 12:32:40
(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xap1/v/t1.0-9/603832_595155623962412_2165561231390587085_n.jpg?oh=a671b5e88bce31ce3a34917e91b294f5&oe=5582CEED&__gda__=1434532368_54afec1ae96623d09670b8a604ccc67b)

บทที่ 652
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
ศึกบางระจัน.. ทำหนัง 16 เป็น 35 มม.
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 26 กุมภาพันธ์ 2558)

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/16514_595156060629035_3256041482016506797_n.jpg?oh=3ae11b735ace69df29a58f2b56074954&oe=558260CD&__gda__=1435741478_bc6a212d7b4292b409c280c6f4eff238)
ศึกบางระจัน (2509 สมบัติ-พิศมัย) ทำหนัง 16 มม.ใบ้ เก็บไว้ด้วยฟิล์ม 35 มม.เสียงในฟิล์ม


          สวัสดีครับทุกท่าน.. เชื่อว่า เรื่องราวของนักรบบ้านบางระจัน สิงห์บุรี นั้นทุกคนน่าจะรู้จักกันดีเพราะมีการสร้างเป็นหนัง เป็นละครกันหลายครั้ง ถ้าเป็นหนังก็จะขอเริ่มจาก ค่ายบางระจัน นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน-ลือชัย นฤนาท-มิสอันฮวา-วิไลวรรณ-ส.อาสนจินดา-แก่นใจ-ล้อต๊อก-ชูศรี สร้างโดยพจนาภิรมย์ภาพยนตร์ โดยคุณนำดี วิตตะ เป็นผู้อำนวยการสร้าง.. กำกับการแสดงโดย พรานบูรพ์และเกรียง ศักดา เข้าฉายครั้งแรกวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 ที่โรงหนังคิงส์.. จากนั้นก็ตามด้วย ศึกบางระจัน นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี-พิศมัย วิไลศักดิ์-ทักษิณ-รุจน์-อดุลย์-ขวัญใจ-ปรียา-สุวิน-สาหัส-อนุชา-พันคำ สร้างโดยภาพยนตร์สหะนาวีไทย โดยคุณสุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง..กำกับการแสดงโดย อนุมาศ บุนนาค เข้าฉายครั้งแรกวันที่ 19 มกราคม 2509 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง

          ทำไมช่วงนี้ จึงมีละครทีวีอย่างบางระจัน คิดว่า ท่านคงจะทราบดี แต่ถ้าสมัยปี 2508 ทำไมเขาถึงสร้างบางระจันออกมา ก็ยังสงสัยอยู่เพราะช่วงนั้น หนังติดกระแสก็มีหลายแนว ทั้งรักทั้งบู๊ทั้งเพลง แต่หากลองไล่ดูค่ายพจนาภิรมย์ภาพยนตร์ของคุณนำดี วิตตะ ก็จะพบว่า หนังที่คุณนำดีสร้างก่อนหน้าเรื่องนี้ เขาสร้างเรื่อง สิงห์ล่าสิงห์ (2507 มิตร-สมบัติ-เพชรา) เป็นหนังแนวบู๊พระเอกประกบพระเอกที่ฉายแล้วได้รับความนิยมอย่างมาก ก็ยังไม่เกี่ยวกับหนังแนวรักชาติเลย ส่วนค่ายสหะนาวีไทยภาพยนตร์ของคุณสุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ นั้น ก่อนหน้านี้เขาก็สร้างเรื่อง เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508 สมบัติ-ไชยา-ทักษิณ-พิศมัย) แม้จะเป็นหนังทหาร แต่ก็ยังไม่ใช่หนังแนวรักชาติ ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำเงินและได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน สรุปว่า หนังก่อนหน้าของคุณนำดีและคุณสุพรรณต่างก็ไม่ใช่หนังแนวรักชาติ แต่ก็สร้างชื่อเสียงและทำเงินให้กับทั้งคู่ แล้วอะไรมันทำให้ทั้งสองค่ายต้องสร้างหนังออกมาแนวเดียวกันอย่าง บางระจัน ได้ ข้อนี้ยังหาคำตอบไม่ได้ครับ

          ถ้าดูจากข่าวเก่าๆ ตอนนั้นหนังสือพิมพ์ก็จะบอกทำนองว่า หนังเรื่อง ศึกบางระจัน กับ ค่ายบางระจัน ทำออกมาฉายชนกัน แต่ศึกบางระจันมีการออกข่าวการสร้างมาก่อนเรื่องค่ายบางระจัน แต่ค่ายบางระจัน สร้างเสร็จก่อนและชิงออกฉายได้ก่อน แม้ค่ายบางระจันจะใช้พระเอกนำถึง 2 คนเหมือนอย่างที่ทำมาแล้วในเรื่องสิงห์ล่าสิงห์ แต่ถ้าดูข่าวจากหนังสือพิมพ์เก่าๆ จะพบว่า คนสมัยนั้นจะชอบเรื่อง ศึกบางระจัน มากกว่าค่ายบางระจัน ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น คนรุ่นหลังๆ อย่างเราๆ ก็หาคำตอบยังไม่ได้เพราะปัจจุบัน ฟิล์มหนังเรื่องค่ายบางระจันไม่เหลืออยู่ให้เราพิสูจน์ ต่างกับศึกบางระจันที่นอกจากจะทำเงินแล้ว

          พระเอกของเรื่องคือ สมบัติ เมทะนี ก็ยังได้รับรางวัลพระเอกตุ๊กตาทองจากเรื่องนี้ด้วย แถมยังโชคดีที่มีฟิล์มหนังเหลือมาให้เราได้พิสูจน์เนื้อหาอีก โดยครั้งสุดท้ายมีการนำฟิล์มหนังที่เหลือคือ ฟิล์ม 16 มม.มาโบว์อัฟให้เป็นฟิล์ม 35 มม. แล้วพากย์เสียงเข้าไปใหม่เพื่อนำกลับมาฉายอีกครั้งที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุงในวันที่ 6-8 มีนาคม 2541 ตอนเข้าฉายโรง เนื้อหาก็ยังครบสมบูรณ์ แต่เมื่อนำไปออกม้วนวีดีโอและแผ่นวีซีดีกลับมีการตัดเนื้อหนังบางส่วนทิ้งไปโดยไม่ทราบสาเหตุ น่าเสียดายจริงๆ ครับ

(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfa1/v/t1.0-9/11001916_595156303962344_9015430263011388097_n.jpg?oh=9615e4513b21e972fd6c35ceb5066879&oe=554A5FEE&__gda__=1434311384_35a22e560ea73afd61f6d865482a6a31)

          ก็เป็นอันว่า บางระจัน ทั้งสองครั้งแรกนั้น สร้างแล้วก็ถูกใจคนดูเพียงรุ่นเดียวคือ รุ่นที่สมบัติ-พิศมัย เป็นพระเอกนางเอก จากนั้นเรื่องราวของ บางระจัน ก็เงียบหายไป ไม่มีใครนำมาสร้างหนังอีกเลย จะมีบ้างก็แต่ละครโทรทัศน์ กระทั่งปี 2543 เรื่องราวของบางระจันก็กลับมาอีกครั้ง

          อย่างไรก็ตาม การนำหนัง 16 มม. มาปรับปรุงเพื่อฉายในระบบ 35 มม. สโคปนั้น ก็มีข้อจำกัดด้านขนาดของภาพเพราะหนัง 16 มม. ภาพจะต่างจากฟิล์ม 35 มม. ซึ่งเมื่อพิมพ์ฟิล์มออกมาแล้ว ภาพส่วนบน-ล่างจะหายไปครับ ลองดูจากภาพตัวอย่างที่ทำให้ดูนี้..

(https://scontent-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xaf1/v/t1.0-9/10462500_595156463962328_7214304706963432323_n.jpg?oh=ea18a39e842db6b4a7c73160257ea6bb&oe=558344F5)

แหละนี่ก็คือ ตัวอย่างบางส่วนของ ศึกบางระจัน (2509 สมบัติ-พิศมัย) ทำหนัง 16 มม. ใบ้ เก็บไว้ด้วยฟิล์ม 35 มม. เสียงในฟิล์ม

https://www.youtube.com/watch?v=gkDCoCfzV3E (https://www.youtube.com/watch?v=gkDCoCfzV3E)

------------------------------

(http://image.ohozaa.com/i/672/9XaBYh.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEjV9lF37L8HJ7)
(http://image.ohozaa.com/i/1c3/ANAONj.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEkZ5ovyJKwvRq)
(http://image.ohozaa.com/i/bd0/Akdb3l.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEll44N93BlMc4)
(http://image.ohozaa.com/i/9e3/rBWqId.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEm31rmk4KkwPi)
(http://image.ohozaa.com/i/cd2/5XXRlb.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEmKYNVtSSFmly)
(http://image.ohozaa.com/i/b87/4EoK0g.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEn6Xud4OeOAeO)
(http://image.ohozaa.com/i/af3/6Jo4yh.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEowSdlpbo8HdV)
(http://image.ohozaa.com/i/bb6/6SJ2v4.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEpePzULxCXrpb)
(http://image.ohozaa.com/i/7e4/6ZyG5S.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtEqiLCLqB3aeSI)
(http://image.ohozaa.com/i/817/nk233o.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/ybtErmHFC1XNuy8N)

-------------------------



         ฟิล์มหนัง 35 มม. เรื่อง ศึกบางระจัน ที่เพื่อนๆ เก็บไว้นั้น พอฉายแล้ว จะได้ความยาวเกือบ 2 ชั่วโมง จะยาวมากกว่าแผ่นวีซีดีที่เขาทำออกมาจำหน่ายนะครับ.. แต่ คุณโต๊ะ พันธมิตร ที่เป็นคนพากย์เสียง สมบัติ เมทะนี ในเรื่องนี้ก็ยืนยันว่า ตอนลงเสียงพากย์ใหม่เพื่อฉายโรงเฉลิมกรุงนั้น พากย์ไปราว 2 ชั่วโมงกว่าๆ ร่วม 3 ชั่วโมงครับ ผมเข้าใจว่า เนื้อฟิล์มบางส่วนอาจจะถูกตัดออกไปนะครับ.. เท่าที่ทราบๆ หนังเรื่องนี้ตอนทำมาฉายใหม่ที่เฉลิมกรุงนั้น เขาพิมพ์ฟิล์มไว้ชุดเดียวครับ แล้วพอหนังขาดทุน ก็เลยไม่ปล่อยฉายต่อนะครับ.. ความจริงการต่ออายุหนัง 16 มม. ด้วยฟิล์ม 35 มม. สโคป เป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้หนัง 16 มม. ได้มีโอกาสกลับมาฉายกลางแปลงได้อีกและฉายจากเครื่อง 35 มม. แต่ก็มีข้อเสียอย่างเดียวคือ ภาพที่ขาดหายไปอย่างที่ผมพูดไว้ตามภาพข้างล่างนี่แหละครับ..พอหัวขาดบ้าง ปากขาดบ้าง ก็ดูไม่ดีครับ..