ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 428โครงการขึ้นบัญชีหนังไทยสูญพันธุ์ เรื่องวังบัวบาน (2515 สมบัติ-สุทิศา  (อ่าน 1058 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฉัตรชัยฟิล์มshop

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 11655
  • พลังใจที่มี 441
  • เพศ: ชาย
  • รักการฉายด้วยฟิล์ม

บทที่ 428
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
โครงการขึ้นบัญชีหนังไทยสูญพันธุ์ เรื่อง
วังบัวบาน (2515 สมบัติ-สุทิศา)
โดย มนัส กิ่งจันทร์...

(facebook 9 ตุลาคม 2556)


              สวัสดีครับทุกท่าน นับแต่มีหนังไทยออกฉาย เริ่มจากปี พ.ศ.2466 หรือพ.ศ.2470 จนถึงปัจจุบันนั้น ก็ยังไม่เคยมีใครนับตัวเลขว่า มีจำนวนกี่เรื่อง..ส่วนผมนั้นได้ลองทำข้อมูลประวัติหนังไทยช่วงก่อนปี พ.ศ.2500 ถึงพ.ศ. 2548 พบว่า มีหนังไทยออกฉายมามากกว่า 4,000 เรื่องแล้ว (ถ้านับถึงปี 2556 อาจมีถึง 6,000 เรื่องก็ได้) แต่เรื่องปริมาณหนังที่ออกฉายนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ผมอยากจะพูดถึง หากแต่จะพูดถึงหนังไทยที่สูญพันธุ์ไปมากกว่าเพราะจากการทำข้อมูลเบื้องต้นก็พบแล้วว่า อย่างน้อยๆ ก็มีหนังไทยมากกว่า 2,000 เรื่องที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้หนังไทยเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่คนไทยลืม..หรือจะไม่มีใครพูดถึงอีก..

              ผมจึงจัดทำโครงการขึ้นบัญชีหนังไทยสูญพันธุ์ โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณาไว้ ดังนี้

1) เคยเป็นหนังไทยที่ออกฉายสู่สาธารณชนในโรงภาพยนตร์มาก่อนและ
2) ณ ปัจจุบันไม่มีฟิล์มแล้ว หรือมีฟิล์ม แต่ไม่เคยมีการนำออกฉายเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือไม่เคยผลิตเป็นวีดีโอ วีซีดี ดีวีดีหรือวัสดุอื่นใดที่สามารถฉายให้ชมได้อย่างภาพยนตร์


              เมื่อเข้าเกณฑ์ดังกล่าว ก็นับว่าเป็น หนังไทยที่สูญพันธุ์ ไปแล้ว ซึ่งผมจะเขียนขึ้นบัญชีทุกๆ วันคู่ไปการนำเสนอโครงการภาพยนตร์ไทยคงเหลือ แต่หากการขึ้นบัญชีหนังไทยสูญพันธุ์ ครั้งนี้ ไปกระทบต่อสิทธิการถือครองภาพยนตร์ของผู้ใด กรุณาแจ้งให้ผมทราบเพื่อจะได้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องต่อไปนะครับ

              สำหรับภาพยนตร์ที่จะขึ้นบัญชีหนังไทยสูญพันธุ์ในวันนี้ ก็คือเรื่อง วังบัวบาน.. หนัง 35 มม.พากย์เสียงในฟิล์ม นำแสดงโดย สมบัติ-สุทิศา-ชนะ-เมตตา-ธัญญา-เยาวเรศ-มาลี-สิงห์-สุคนธ์-เรียม-ชาญชัย.. สร้างโดย นครพิงค์ภายนตร์ โดย กมลวรรณ-สรรเพชญ เป็นผู้อำนวยการสร้าง.. กำกับการแสดงโดย ส.คราประยูร ฉายครั้งแรกต้อนรับวันตรุษจีน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2515 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง..

              หนังชีวิตรักของสาวเหนือที่ถูกหนุ่มกรุงเทพฯ หลอกลวง เธอจึงกลับไปกระโดดน้ำตกฆ่าตัวตาย.. และ ณ ที่ตรงนั้นเองก็มีชื่อเรียกสืบต่อมาว่า น้ำตกวังบัวบาน..พล็อตเรื่องมีสั้นๆ แค่นี้เองครับ แต่คนสมัยนั้นที่รู้เนื้อเรื่องกันหมดแล้ว ก็ยังชอบที่จะไปดู รวมทั้งผมเองด้วย.. แต่ว่า ผมนั้นได้ดูจากหนังกลางแปลงสมัยเป็นเด็กๆ เพียงครั้งเดียว จำอะไรได้ไม่มาก แต่ก็จำชื่อหนัง “วังบัวบาน” นี้ไว้ว่า เป็นหนังอีกเรื่องหนึ่งที่เคยดูและชอบมาก

              เมื่อเป็นหนังที่โด่งดังมากๆ จึงเป็นที่หมายปองของคนรักหนังไทยเก่าๆ ที่อยากจะเห็นอีก สมัยที่คุณโต๊ะ พันธมิตร ยังทำหนังไทยเก่าๆ ออกจำหน่าย ก็เคยพูดถึงหนังเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ยังไม่ตัดสินใจว่า จะทำหรือไม่ทำ ก็รู้ข่าวว่า หนังเรื่องนี้ไม่มีฟิล์มเนกาตีฟหรือต้นฉบับแล้วครับ.. แต่เพราะความอยากดูมากๆ เวลาผมไปหากากฟิล์มตามต่างจังหวัด ก็พยายามตามหากากฟิล์มหนังเรื่องนี้ แต่ก็ไม่เคยเห็นอีกเลย..  เหลืออีกทางเดียวคือ ต้องหาม้วนวีดีโอเทปที่ออกจำหน่ายหรืออัดจากสถานีโทรทัศน์ แต่เท่าที่หา ๆ มา ก็ยังไม่เคยมีใครเห็นวีดีโอเทปหนังเรื่องนี้เลย จึงเป็นอันสรุปได้แล้วว่า ณ วันนี้ หนังเรื่อง วังบัวบาน เป็นหนังไทยที่ต้องขึ้นบัญชีสูญพันธุ์ แล้วครับ..
 
              จะ่ว่าไปแล้ว วังบัวบาน หนังปี 2515 เรื่องนี้ ไม่น่าจะเก่าเกินไปกว่าอายุของเพื่อนๆ เรานะครับ แต่ก็ไ่ม่เห็นท่านใดพูดถึงหนังเรื่องนี้เลยครับ สงสัยว่าจะไม่ดู..วังบัวบาน นี้เป็นฟิล์มระบบ 35 มม.ซึ่งต้องไปล้างและพิมพ์ฟิล์มที่ต่างประเทศ แล้วก็นำกลับมาฉายตั้งแต่ปี 2515 ผมคิดว่าแค่ประมาณ 10 ปีหลังฉายครั้งแรก ฟิล์ม 35 มม.ก็ชำรุดเสียหายไปหมดแล้วครับ ได้กากฟิล์มมาก็คงจะฉายไม่ได้แล้ว.. แต่ในทางกลับกัน ถ้าหนังเรื่องนี้เป็นระบบ 16 มม. ถ้าได้กากฟิล์มมา ก็จะฉายได้แน่นอนเพราะฟิล์ม 16 มม.จะทนกว่าฟิล์ม 35 มม. หนังเรื่องนี้เขาบอกว่า มีเพลงเอก 5 เพลง แต่ตอนนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่า มีเพลงอะไรบ้าง.. ภาพข้างล่างนี้ ชนะ ศรีอุบล-สุทิศา พัฒนุช จากเรื่อง วังบัวบาน..


ชนะ ศรีอุบล-สุทิศา พัฒนุช จากเรื่อง วังบัวบาน

              ที่ผมกล้าฟันธงว่า หนังเรื่อง วังบัวบาน รุ่นปี 2515 นี้เป็นหนังไทยสูญพันธุ์ ก็เพราะว่า เป็นหนังระบบ 35 มม.พอไม่มีฟิล์มเนกาตีฟหรือต้นฉบับ ก็เป็นอันจบกันแล้ว ส่วนกากฟิล์ม 35 มม.ที่อายุตั้งแต่ปี 2515 ถ้าหากเราหาเจอฟิล์มตอนนี้ ก็คงจะฉายไม่ได้แล้วครับ ฟิล์มมันหมดอายุที่จะฉายผ่านเครื่องฉายแล้ว.. ส่วนเทปต่างๆ ก็ไม่มีอีก ก็เลยต้องบอกว่า สูญพันธุ์ครับ.. ความจริง หนังเรื่อง วังบัวบาน นี้ เคยสร้างมาก่อนเป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ ฉายครั้งแรกปี 2500 นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์-ดรุณ สุขสาคร..  แม้จะยังไม่เจอฟิล์ม แต่จากประสบการณ์ตามหาฟิล์มก็คิดว่า หนัง 16 มม.รุ่นนี้ ถ้าเจอกากฟิล์ม ก็ยังจะพอฉายได้บ้าง ก็เลยยังไม่ฟันธง.. ส่วนภาพข้างล่างนี้เป็นใบปิดโฆษณา วังบัวบาน ปี 2500

              อย่างที่ผมบอกไว้่ข้างต้นว่า วังบัวบาน ปี 2515 นั้นมีเพลงเอกอยู่ 5 เพลง แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพลงอะไรบ้าง แต่เขามีชื่อคนแต่งไว้ในใบปิด ลองย้อนไปอ่านดู..ส่วนรุ่นปี 2500 ก็ไม่มีรรายละเอียดว่า จะมีเพลงอะไรหรือไม่.. แต่ผมค้นไปเจอเพลงที่อัพโหลดไว้ในยูทูป มีรายละเอียดเขียนไว้ด้วย ดังนี้.. เพลง วังบัวบาน คำร้อง สนิท ศ. ทำนอง อรุณ หงสวีณะ เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง ร่มฟ้าเวียงพิงค์ บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2494 โดย มัณฑนา โมรากุล "วังบัวบาน" เป็นชื่อวังน้ำที่อยู่เบื้องล่างชะง่อนผาสูงบริเวณเหนือน้ำตกห้วยแก้ว อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่... ทำให้คิดว่า วังบัวบาน อาจมีการสร้างหนังไว้มาก่อนในชื่อ ร่มฟ้าเวียงพิงค์..แต่พอไปอ่านข้อความในใบปิดขาวดำข้างบน.. ที่เขียนว่า ไม่มีใครสร้างวังบัวบานได้สำเร็จ...ก็เลยงงๆ ว่า ก่อนปี 2500 จะมีหนัง วังบัวบาน ออกมาฉายหรือไม่..
 
              แต่ฟังเพลงดีกว่าครับ ไม่แน่ใจว่า จะใช่เพลงหนังรุ่นปี 2515 หรือไม่ แต่ชื่อคนแต่ง ตรงกับข้อความในใบปิดรุ่นปี 2515.. อาจใช่เพลง แต่เปลี่ยนนักร้องก็ได้นะครับ...แต่ว่าตอนนี้ฟังต้นฉบับก่อน


คลิ๊กชมที่นี่...
วังบัวบาน - มัณฑนา โมรากุล.



<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/Lou_I7YP2Tw?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

คำร้อง สนิท ศ. ทำนอง อรุณ หงสวีณะ
เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง ร่มฟ้าเวียงพิงค์
บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ โดย มัณฑนา โมรากุล
"วังบัวบาน" เป็นชื่อวังน้ำที่อยู่เบื้องล่างชะง่อนผาส­ูงบริเวณเหนือน้ำตกห้วยแก้ว อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่
.........................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มีนาคม 2014, 01:26:22 โดย นายเค »


ฉัตรชัย สุวรรณโสภา 
88/1 ม.4 ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120   
E-mail chatchai_suw@hotmail.com    โทร 081-7636195 
ต่อพงศ์ภาพยนต์ ระบบ 35 ม.ม.  ฉัตรชัยภาพยนตร์ กลางแปลงย้อนยุค 16 ม.ม.
ธ.ไทยพาณิชย์  สาขาบิ๊กซีราชบุรี ชื่อบัญชี ฉัตรชัย สุวรรณโสภา  หมายเลขบัญชี  940-202235-1

ออฟไลน์ ฉัตรชัยฟิล์มshop

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 11655
  • พลังใจที่มี 441
  • เพศ: ชาย
  • รักการฉายด้วยฟิล์ม
  จะ่ว่าไปแล้ว วังบัวบาน หนังปี 2515 เรื่องนี้ ไม่น่าจะเก่าเกินไปกว่าอายุของเพื่อนๆ เรานะครับ แต่ก็ไ่ม่เห็นท่านใดพูดถึงหนังเรื่องนี้เลยครับ สงสัยว่าจะไม่ดู..วังบัวบาน นี้เป็นฟิล์มระบบ 35 มม.ซึ่งต้องไปล้างและพิมพ์ฟิล์มที่ต่างประเทศ แล้วก็นำกลับมาฉายตั้งแต่ปี 2515 ผมคิดว่าแค่ประมาณ 10 ปีหลังฉายครั้งแรก ฟิล์ม 35 มม.ก็ชำรุดเสียหายไปหมดแล้วครับ ได้กากฟิล์มมาก็คงจะฉายไม่ได้แล้ว.. แต่ในทางกลับกัน ถ้าหนังเรื่องนี้เป็นระบบ 16 มม. ถ้าได้กากฟิล์มมา ก็จะฉายได้แน่นอนเพราะฟิล์ม 16 มม.จะทนกว่าฟิล์ม 35 มม. หนังเรื่องนี้เขาบอกว่า มีเพลงเอก 5 เพลง แต่ตอนนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่า มีเพลงอะไรบ้าง.. ภาพข้างล่างนี้ ชนะ ศรีอุบล-สุทิศา พัฒนุช จากเรื่อง วังบัวบาน..



ส่วนภาพนี้ สุทิศา พัฒนุช มาจากเรื่อง วังบัวบาน...ครับ



แล้วนี่ก็เป็นภาพนิ่งจากหนังไทยสูญพันธุ์เรื่อง วังบัวบาน จากหนังสือดาราเก่าๆ นะครับ...



ฉัตรชัย สุวรรณโสภา 
88/1 ม.4 ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120   
E-mail chatchai_suw@hotmail.com    โทร 081-7636195 
ต่อพงศ์ภาพยนต์ ระบบ 35 ม.ม.  ฉัตรชัยภาพยนตร์ กลางแปลงย้อนยุค 16 ม.ม.
ธ.ไทยพาณิชย์  สาขาบิ๊กซีราชบุรี ชื่อบัญชี ฉัตรชัย สุวรรณโสภา  หมายเลขบัญชี  940-202235-1

ออฟไลน์ ฉัตรชัยฟิล์มshop

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 11655
  • พลังใจที่มี 441
  • เพศ: ชาย
  • รักการฉายด้วยฟิล์ม
  ที่ผมกล้าฟันธงว่า หนังเรื่อง วังบัวบาน รุ่นปี 2515 นี้เป็นหนังไทยสูญพันธุ์ ก็เพราะว่า เป็นหนังระบบ 35 มม.พอไม่มีฟิล์มเนกาตีฟหรือต้นฉบับ ก็เป็นอันจบกันแล้ว ส่วนกากฟิล์ม 35 มม.ที่อายุตั้งแต่ปี 2515 ถ้าหากเราหาเจอฟิล์มตอนนี้ ก็คงจะฉายไม่ได้แล้วครับ ฟิล์มมันหมดอายุที่จะฉายผ่านเครื่องฉายแล้ว..ส่วนเทปต่างๆ ก็ไม่มีอีก ก็เลยต้องบอกว่า สูญพันธุ์ครับ.. ความจริง หนังเรื่อง วังบัวบาน นี้ เคยสร้างมาก่อนเป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ ฉายครั้งแรกปี 2500 นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์-ดรุณ สุขสาคร..แม้จะยังไม่เจอฟิล์ม แต่จากประสบการณ์ตามหาฟิล์มก็คิดว่า หนัง 16 มม.รุ่นนี้ ถ้าเจอกากฟิล์ม ก็ยังจะพอฉายได้บ้าง ก็เลยยังไม่ฟันธง.. ส่วนภาพข้างล่างนี้เป็นใบปิดโฆษณา วังบัวบาน ปี 2500



ใบปิดโฆษณาเรื่อง วังบัวบาน ปี 2500 มีอยู่ 2 แบบครับ เขาจะพิมพ์ลงโฆษณาในหนังสือดาราเก่าๆ นะครับ

ฉัตรชัย สุวรรณโสภา 
88/1 ม.4 ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120   
E-mail chatchai_suw@hotmail.com    โทร 081-7636195 
ต่อพงศ์ภาพยนต์ ระบบ 35 ม.ม.  ฉัตรชัยภาพยนตร์ กลางแปลงย้อนยุค 16 ม.ม.
ธ.ไทยพาณิชย์  สาขาบิ๊กซีราชบุรี ชื่อบัญชี ฉัตรชัย สุวรรณโสภา  หมายเลขบัญชี  940-202235-1

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2814
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
รวดเร็วทันใจครับ
ขอบคุณคุณฉัตรชัยที่ช่่วยโพสต์นะครับ
ช่วงนี้ ผมกำลังเตรียมการไปทำหนังทีวัดบ้านดง อุตรดิตถ์ ก็เลยเข้ามาช้าหน่อยนะครับ..
นำภาพ เปรียบเทียบการแปลงสัญญาณภาพระบบเก่ากับระบบใหม่ ที่ผมกำลังทำอยู่ครับ


<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/Ii17CFL8hps?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>



              ครับ..สมัยแรกๆ นั้น ทีวีในกรุงเทพฯ ชอบที่จะนำหนังไทยเก่าๆ มาฉายให้ดู อย่างที่คุณ Lalita Chantasadkosol บอกไว้นะครับ แรกๆ ก็จะเป็นการฉายจากฟิล์มหนังจริงๆเลย ใช้กล้องซูมปล่อยออกอากาศสดๆ (แล้วจากนั้น ฟิล์มหนัง พ่อค้าก็จะปล่อยขายส่งไปตามจังหวัด ไปฉายหนังกลางแปลง) ต่อมาทีวีีเขาก็ต้องการความสบายมากขึ้น เขาก็เลยเปลี่ยนวิธีมาฉายหนังด้วยม้วนเทป โดยจะมีการทำสต๊อกไว้ วิธีการก็คือ จะนำฟิล์มหนังมาฉายอัดลงเทปยูเมติกไว้ก่อน หรือไม่งั้น ก็ขอซื้อเทปยูเมติกจากผู้ขายหนังเลย..

              จากนั้นก็ค่อยๆ นำเทปยูเมติกมาฉาย..แรกๆ หนังไทย ก็มักจะฉายกันจบเต็มเรื่องสมบูรณ์คือ ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่พอทีวีมีคนดูมากขึ้นเรื่อยๆ โฆษณาก็ตามมาเป็นเงา คราวนี้แหละครับที่หนังไทยเก่าๆ เริ่มถูกหั่นถูกตัดออกไปเพื่อให้เวลากับการโฆษณา..เวลา 2 ชั่วโมงที่รายการทีวีเขามี เขาก็จะแบ่งไปเป็นช่วงการโฆษณาประมาณ 30 นาที..ก็จะเหลือเนื้อหนังให้เราดูเพียง 1.30 ชม.ซึ่งข้อนี้เอง ที่ทำให้เกิดผลเสียกับหนังไทยเก่าๆ อย่างมากเพราะการตัดหนังออกไปถึง 30 นาทีนั้น ทำให้รสชาติของหนังหายไป เนื้อเรื่องหายไปกล่าวคือ ดูไม่ค่อยจะรู้เรื่อง คนดูก็เริ่มเบื่อหน่ายและบ่นว่า หนังไทยไม่ดี..

              จากนั้นก็เกิดอาการ ไม่ดู..เมื่อปัญหาสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ทีวีเขาก็เลยตัดปัญหาด้วยการ ไม่ฉาย..เอ-วังอวสานหนังไทยบนจอทีวี ก็จบลง...


              หนังไทยเหล่านี้ แต่ก่อนเจ้าของหนัง พอเขาปล่อยฟิล์มขายไปแล้ว เขาก็ไปสร้างเรื่องใหม่ตามมาอีก ขายแล้วก็ขายไป คนที่มีฟิล์มหนัง ก็จะฉายหรือขายต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าฟิล์มจะพังหรือหนังหมดความนิยม...แต่แล้วเมื่อระบบม้วนวีดีโอเทปเริ่มระบาดในเมืองไทย ก็ราวๆ ปี 2521..

              เป็นต้นมานั่นแหละ เจ้าของหนังเขาเริ่มตามหาฟิล์มที่ปล่อยขายไป เอามาฉายอัดลงเทปยูเมติก บางรายไหวตัวทันหน่อย ก็รีบไปนำฟิล์มเนกาตีฟที่เมืองนอก มาพิมพ์ฟิล์มเพื่ออัดลงเทปยูเมติก แต่บางรายก็เห็นว่า อัดเป็นฟิล์มมา ก็ไม่ได้ใช้ฟิล์มฉายแล้ว เขาก็จ้างให้ห้องแล็บที่เมืองนอกแปลงสัญญาณลงม้วนยูเมติกเลยก็มี..  ฟิล์มไม่นำกลับมาแ้ล้วเพราะหนังเก่าๆ ไม่มีสายไหนเขาจะซื้อฟิล์มไปฉายแ้ล้วครับ.. ม้วนเทปยูเมติก หน้าตาเป็นแบบนี้ แต่ตอนนี้ เขาเลิกใช้กันแล้ว ก็ต้องแปลงภาพจากม้วนยูเมติก ออกไปเป็นอย่างอื่นๆ เช่น ดีวีดี แทนนะครับ..



              ส่วนเครื่องเล่นเทปยูเมติก หน้าตาเป็นแบบนี้ นิยมใช้กันตามสถานีโทรทัศน์สมัยก่อน เรียกสั้นๆ เทปยูฯ.. ต่อมาเครื่องเล่นเทปแบบนี้ก็ลดสัดส่วนลงไปเป็นเครื่องเล่นวีดีโอเทปตามบ้านนะครับ.. และเมื่อเครื่องเล่นตามบ้านนี่แหละครับที่ทำให้การตามหาฟิล์มหนังไทยเก่าๆ มาอัดลงเทปยูเมติกก็เริ่มขึ้น..พออัดลงเทปยูเมติกเพื่อเป็นมาสเตอร์เทปแล้ว ก็อัดลงเทป VHS ให้พวกเราซื้อหรือเช่ามาดูอีกทีหนึ่งครับ..


ม้วนเทป VHS ที่ถูกอัดมาก็หน้าตาแบบนี้ คงคุ้นเคยกัน..


              หลังจากหมดยุคเทปยูเมติก แล้วก็มาเป็นยุคของเทปเบต้า.. เครื่องแบบนี้ครับ..ทำให้บางรายที่เก็บหนังลงเทปยูเมติก ต้องนำมาอัดถ่ายลงเทประบบนี้แทน เขาบอกว่า คุณภาพดีกว่าเทปยูเมติก.. ก็ยังคงใช้ตามสถานีโทรทัศน์ ซึ่งต่อมาเทประบบเบต้านี้ ก็เิลิกอีก กลายเป็นว่า ถ่ายลงคอมฯ ตัดต่อและเก็บลงฮาร์ตดิสต์แทนนะครับ..


ส่วนหน้าตาของเทปเบต้าที่ใช้กับเครื่องข้างบน ก็คืออันนี้ครับ..


              เอาล่ะครับ.. คราวนี้ มาตรงคำถามที่ว่า สถานีโทรทัศน์เขาจะอัดหนังที่ฉายนั้นลงเทปยูเมติกหรือไม่..ก่อนจะตอบก็ต้องถามว่า คุณเห็นหนังเรื่องนี้ฉายทีวีเมื่อปีไหน..ถ้าตอบปีได้ ก็มีคำตอบครับว่า สถานีเขาทำหรือไม่ โดยให้เทียบเวลาจากการกำเนิดและแพร่หลายของระบบเทปวีดีโอ VHS เป็นหลักเพราะก่อนหน้านั้น ไม่มีใครคิดว่า หนังไทยเก่าๆ จะสามารถเผยแพร่ทางอื่นได้อีกนอกจากฉายทีวี..การฉายหนังไทยเก่าๆ ทางทีวีในสมัยก่อน คิดง่ายๆ ถ้าเป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ เขาก็จะฉายกันสดๆ พากย์กันสดๆ เลย ใช้เครื่องลักษณะนี้ฉายไปที่จอและใช้กล้องทีวีซูมจับภาพออกอากาศไปเลย..

              ขนาดประมาณปี 2524 ที่ผมเริ่มเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ และมีโอกาสได้ดูโทรทัศน์สีครั้งแรก พอถึงรายการหนังไทยเก่าๆ แม้จะฉายเป็นหนัง 35 มม.แล้ว เขาก็ยังฉายจากเครื่องฉายจริงๆ สังเกตได้จากระหว่างฉายมีการฉายขาดด้วยและคนคุมรายการก็รับมุกไม่ทัน ปล่อยให้จอขาวๆ บางทีฟิล์มก็ไหม้บนจอให้เห็น นั่นก็แสดงว่า ฉายกันสดๆ ไม่ใ้ช่ฉายจากเทปยูเมติก..สมัยนั้นเทปยูเมติกจะแพงนะครับ ค่าเช่าหนังเรื่องละไม่กี่ร้อยบาท ฉายกันเพียงรอบเีดียว ทีวีเขาไม่อัดไว้หรอกครับ..


              จริงอยู่ เราอาจเคยได้ยินว่า สถานีโทรทัศน์เก็บเทปหนังไทยเ่ก่าๆ ไว้ แต่นั่น ก็ไม่ใช่หนัง 16 มม. หากแต่เป็นการเพิ่งเริ่มเก็บเมื่อมีระบบเทปเช่า VHS เป็นตลาดรองรับเพราะจะได้คุ้มกับการลงทุน ดังนั้น หนังที่เก็บส่วนใหญ่จึงเป็นหนังรุ่น 35 มม.ที่บางครั้งก็เป็นการทำจากกากฟิล์มที่มีเส้นฝน บางครั้งก็เป็นการทำจากฟิล์มต้นฉบับที่เจ้าของนำกลับจากเมืองนอก การทำครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นสต๊อกวัตถุดิบเพราะตอนนั้นเริ่มมีทีวีระบบเคเบิ้ลกันแล้ว วัตถุดิบจึงจำเป็น ส่วนเจ้าของหนังเองก็วิ่งกันหากากฟิล์ม 35 มม.มาอัดลงเทปยูเมติกเพื่อจะได้ขายเทปให้ทีวีหรือค่ายวีดีโอนะครับ..

              หนังไทยเก่าๆ ที่หายไปนั้น จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของเขายังหาไม่ได้นะครับ จึงไม่มีการทำออกมา.. สมัยที่หนังไทยยังฉายทางทีวีนั้น ระยะหลังๆ นี้ก็มีผู้ผลิตบางรายนำฟิล์มต้นฉบับ 35 มม.ไปพิมพ์ลดขนาดเป็นฟิล์ม 16 มม.เพื่อให้ง่ายต่อการฉายกับเครื่องข้างบนนะครับ..ซึ่งก็เป็นการช่วยยืดอายุหนังให้ยาวนานขึ้น..

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มีนาคม 2014, 01:41:39 โดย นายเค »
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..