เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว

ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม => ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 20 ตุลาคม 2013, 21:58:39

หัวข้อ: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 20 ตุลาคม 2013, 21:58:39
(http://image.ohozaa.com/i/5c3/PqAbBt.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xa2HF2kmj5kWSoZU)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีตชุมทางหนังไทยในอดีต Thai Old Movie Station
บทที่ 434
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย
รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา  
โดย มนัส กิ่งจันทร์
(facebook 21 ตุลาคม 2556)...
สวัสดีครับ..หนังไทยเก่า ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องของความบันเทิงเท่านั้น หากแต่ถ้าเรารู้จักดู รู้จักคิด รู้จักค้นคว้าต่อ ก็อาจจะพบเรื่องราวต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึงก็ได้ สมัยที่ผมเริ่มเก็บสะสมม้วนวีดีโอเทปหนังไทยเก่านั้น ก็เคยถูกแซว ถูกว่า เป็นพวกหลงเงา หลงอดีต..เป็นพวกหัวเก่า ไม่คิด ไม่พัฒนา.. แต่ผมก็คิดแต่เพียงว่า มันแปลก..มันผิดด้วยหรือที่ผมจะเก็บจะสะสมอะไรที่แสดงถึงความเป็นไทยๆ ของเรา.. หนังไทยก็เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติอย่างหนึ่ง แม้คนไทยส่วนใหญ่จะมองว่า หนังไทยสู้หนังต่างประเทศไม่ได้ แต่นั่น ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้ไม่มีการอนุรักษ์ความเป็นหนังไทยไว้.. อย่างน้อยๆ ก็เผื่อในภายภาคหน้า จะมีคนสนใจรากเหง้าแห่งความเป็นหนังไทยเหล่านี้ พวกเขาก็จะได้ดูกัน ไม่ใช่มานั่งก่น นั่งด่าว่า ตอนนั้น คนรุ่นเก่าๆ ทำอะไรอยู่ถึงไม่สนใจเก็บหนังไทยไว้เลย..จะชอบหรือไม่ชอบ ผมขอบอกว่า “คุณค่าหนังไทย อยู่ที่ใจของคุณ” นะครับ..

หนังรถไฟ ในบทที่ 434 นี้จะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากการดูหนังไทยเก่า ๆ เหตุที่ผมเขียนถึงเรื่องนี้ก็สืบเนื่องมาจากเมื่อวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2556 ที่ผม พี่อี๊ด อาทรและคุณนุ ประเดิม สง่าแสง เดินทางไปวัดบ้านดง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นครั้งที่ 2 ในการไปครั้งนี้ คุณพุทธพร ส่องศรี เป็นคนจุดชนวนให้ คุณณัฐพงศ์ Nathapong Baimonta มาเจอพวกเรา มาช่วยอำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างดี ตลอดเวลาว่างๆ ผมก็จะได้ยินแต่คุณณัฐพงศ์พูดถึงเรื่อง รถไฟๆๆๆ..พอคุณนุบอกว่า เคยหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ มีรถไฟอยู่ด้วย คุณณัฐพงศ์ก็สนใจ บางครั้งก็เล่าให้ฟังถึงการตามรอยรถไฟไปกับหนังไทยเก่าๆ.. ผมฟังแล้ว ก็คิดในใจว่า เดี๋ยว ถ้ามีเวลา..ผมจะตัดหนังที่มีรถไฟทั้งหมดมาให้เพื่อนๆ ดูกันดีกว่า..อย่างน้อยๆ เขาก็จะได้พูดถึงรถไฟในหนังไทยกัน..พวกเราก็จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นเพราะคนกลุ่มนี้ เขารู้เรื่องรถไฟจริงๆ ครับ..ที่ผมบอกว่า ถ้ามีเวลา..นั้น ก็เพราะสต๊อกหนังไทยที่ผมมีอยู่ประมาณ 2 พันกว่าเรื่องนั้น บางเรื่องก็แปลงเป็นไฟล์ดีวีดีแล้ว บางเรื่องก็ยังเป็นม้วนวีดีโออยู่.. แต่หากรอให้แปลงไฟล์เสร็จหมด ผมก็คงไม่ได้ฉายแน่ คิดได้ดังนั้น ผมจึงหาหนังที่จับลงคอมฯไว้แล้วก่อน.. บางเรื่องจำได้ ก็ดึงมาตัดแต่เฉพาะฉากที่เกี่ยวกับรถไฟ.. บางเรื่องไม่แน่ใจว่า จะมีรถไฟหรือไม่ หรือคลับคล้ายคลับคลา ก็ต้องนำมาเปิดสไลด์ดูภาพรวมๆ ก่อน คิดว่า ครั้งนี้ จะเป็นการรวมหนังรถไฟจากหนังผมสะสมไว้ทั้งหมดเลยนะครับ ผมจะทยอยตัดและนำมาลงในบทที่ 434 ทุกๆ วัน โดยตั้งชื่อเรียงตาม ปี พ.ศ. ..../หนังรถไฟ/ชื่อหนัง.. บางเรื่องก็เห็นว่า เป็นสถานีอะไร บางเรื่องก็ไม่รู้ ก็ช่วยๆ กันดู กันเล่าได้เลยนะครับ



https://www.facebook.com/photo.php?fbid=340925149385462&set=gm.210458329134232&type=1&theater

หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 20 ตุลาคม 2013, 22:00:19
(http://image.ohozaa.com/i/25e/SKHpOS.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xa2HCytAjXOfvBkV)

วันนี้ ขอเริ่มด้วย ปี 2498 หนังรถไฟ ชั่วฟ้าดินสลาย ท่านใดจะเสริมเพิ่มความรู้ให้เพื่อนๆ ก็เชิญนะครับ ผมหาแค่หนังมาให้เท่านั้นแหละครับ
http://www.youtube.com/watch?v=7xcaICNasPs

http://www.youtube.com/watch?v=7xcaICNasPs
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 20 ตุลาคม 2013, 22:02:41
(http://image.ohozaa.com/i/73b/n8XSIj.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xa2HJi4xI4L9vIIH)

หนังรถไฟ เรื่องนี้ปนๆ อยู่ในหนังเรื่อง แผ่นดินของใคร ซึ่งตอนแรกใช้ชื่อว่า แผ่นดินฉกรรจ์ แต่ไม่ผ่านเซ็นเซอร์ ก็เลยต้องเปลี่ยนชื่อนะครับ..หนังฉายครั้งแรกปี 2502 และกลับมาฉายอีกครั้งในปี 2505 นะครับ ดูรูปก่อน เดี๋ยวรถไฟมาตามนะครับ..

มาแล้วครับ หนังรถไฟ.. ลองดูหนังนะครับว่า รถไฟไทยวิ่งไปถึงเขาพระวิหารได้จริงหรือไม่ เขาถ่ายทำกันแถวไหนครับ... ปี 2502 หนังรถไฟ แผ่นดินของใคร
http://www.youtube.com/watch?v=tZPS_ibQ2pk

http://www.youtube.com/watch?v=tZPS_ibQ2pk
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: mongwin ที่ 21 ตุลาคม 2013, 14:02:19
ชั่วฟ้าดินสลาย (2498) น่าจะเป็นหนังไทยเรื่องเดียวที่บันทึกภาพเคลื่อนไหวของรถไฟขนไม้ของบริษัทศรีมหาราชาไว้ครับ นับเป็นภาพที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์รถไฟป่าไม้ของไทยเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันไม่มีร่องรอยทางรถไฟเหลือแล้ว เพราะเปลี่ยนไปเป็นถนน
ถ้าไปดูแผนที่เก่า ๆ ในราชกิจจานุเบกษา จะเจอแนวเส้นทางรถไฟครับ อย่างเช่นภาพนี้ จาก ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลอ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 6 ต.ค. 2513

(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/1374862_730645686949075_1098646053_n.jpg)

ผมเคยเขียนเรื่อง รถไฟป่าไม้ศรีมหาราชา ไว้บ้างอยู่ที่กระทู้นี้ครับ โดยใช้นามแฝงว่า Mongwin
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5295 (http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5295)

(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/1381509_730646966948947_1415889436_n.jpg)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 22 ตุลาคม 2013, 18:36:27
 ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชม "หนังรถไฟ" ของไทยเรานะครับ..ขอบคุณครูนุAnukool Vimoolsak ที่ช่วยแจ้งรายชื่อหนังรถไฟให้ทราบนะครับ..ท่านใดพอทราบ ก็แจ้งชื่อเรื่องได้เลยนะครับ ตอนแรกๆ ผมคิดว่า ถ้าเป็นสถานีรถไฟซ้ำ ๆ กัน จะไม่ตัดมา แต่พอดูมุมกล้อง ดูปีที่หนังถ่ายทำแล้ว ก็อดไม่ได้นะครับที่จะต้องตัดต่อออกมา..ตอนนี้ ผมเองก็อยากรู้ว่า หนังไทยที่มีรถไฟเป็นส่วนหนึ่งของฉากของเรื่อง จะมีสักกี่เรื่อง..ขอบคุณคุณพุทธพร ส่องศรี ที่ช่วยแชร์ ช่วยอธิบายให้ความรู้เพิ่มเติม..เมื่อเช้านี้ ผมบอกว่า ตัดหนังรถไฟมาได้ประมาณ 70 เรื่องนั้น..ตอนนี้ ผมเพิ่งนั่งตัดต่อเสร็จอีกชุด รวมแล้วตอนนี้ได้มา 106 เรื่องแล้วครับ..ยังไม่หมดนะครับ ยังมีอีก ค่อยๆ ตัดและผมจะก็ทยอยโพสต์ในกระทู้นี้ไปเรื่อยๆ นะครับ..

 วันนี้มาดู หนังรถไฟ ตามที่ครูนุ Anukool Vimoolsak พูดถึงก่อนนะครับ บางเรื่องตัดต่อเสร็จแล้ว ก็เลยฉายได้ก่อน นั่นคือเรื่อง ครูเสือ ปี 2527 หนังครูที่ดีอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีรายละเอียดหนังตามใบปิดข้างล่างนี้นะครับ ดูใบปิดก่อน

(http://image.ohozaa.com/i/71f/zFvN8I.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xahvU0knJSU3iCTi)

ครูนุ Anukool Vimoolsak เล่าบอกข้างบนว่า เป็นสถานีรถไฟที่เมืองกาญจน์ฯ แต่เนื่องจากหนังตัวนี้ ผมทำจากกากฟิล์มมาเป็นม้วนวีดีโอนานแล้วครับ ภาพไม่ค่อยดีนัก ครั้งจะใช้แผ่นวีซีดีที่นำออกจำหน่าย ภาพชัดกว่า แต่หนังเต็มจอ ทำให้เห็นสถานีไม่ชัดนะครับ.. ก็เลยต้องให้ดูภาพนี้ไปก่อน ผมดูแล้ว จะเห็นสถานีรถไฟออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงแรกกับช่วงที่ 3 อาจเป็นสถานีที่เมืองกาญจน์ฯ รอฟังครูนุอีกที ส่วนตรงกลางจะเห็นป้ายสถานีรถไฟเพชรบุรี ด้วยครับ คลิกดูได้เลยครับ ปี 2527 หนังรถไฟ ครูเสือ
http://www.youtube.com/watch?v=PJKK6wT1x-4

http://www.youtube.com/watch?v=PJKK6wT1x-4


พุทธพร ส่องศรี  ครูเสือ ถ่ายทำที่สถานีรถไฟน้ำตก อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ในตอนต้นเรื่องและท้ายเรื่องครับ ส่วนกลางเรื่องถ่ายทำที่สถานีเพชรบุรี (และมีฉากเด็ก ๆ อยู่ใกล้สะพานข้ามทางรถไฟของถนนกาญจนาภิเษกหรือวงแหวนตะวันตกด้วยครับ)
แต่สมมติให้เหตุการณ์เกิดที่สถานีห้วยเสือ ซึ่งในอดีตเคยมีสถานีรถไฟห้วยเสืออยู่จริง ๆ ใกล้กับสถานีเพชรบุรี แต่ยุบเลิกไปหลายสิบปีแล้วครับ
ฉากเปิดเรื่อง ดูภูเขาแล้วชัดเจนว่าเป็นสถานีรถไฟน้ำตกครับ


(http://image.ohozaa.com/i/24e/WSH1Vi.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xahAVXCxh0LgH8lx)

พุทธพร ส่องศรี  ภาพเปรียบเทียบครับ ถ่ายในปี 2515 โดยคุณ Basil Roberts

(http://image.ohozaa.com/i/eca/GjAvd2.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xahAUxHO8TanwEcG)

พุทธพร ส่องศรี  รถจักรไอน้ำหมายเลข 713 ในเรื่องครูเสือ ปัจจุบันยังใช้งานได้ครับ ไว้ใช้ลากขบวนรถในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาพโดยคุณ Nakhonlampang จากเว็บรถไฟไทยดอทคอมครับ

(http://image.ohozaa.com/i/25e/GlXsit.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xahAQZUZiXXqgOCd)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 22 ตุลาคม 2013, 18:38:23
หนังรถไฟเรื่องต่อไป ก็มาจากหนัง 16 มม.พากย์สดๆ เรื่อง เกล้าฟ้า ปี 2509 ดูใบปิดก่อนนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/23b/V53n8s.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xahvP2CPLDHo2Ui3)

 เกล้าฟ้า เป็นหนังแนวลึกลับเหมือนๆ มีการฆาตกรรม.. หนังจะถ่ายให้เห็นสถานีรถไฟนครลำปาง หลายฉากมาก ผมก็เลยตัดมาให้ดู เน้นไปที่ตัวสถานีนะครับ ไม่เน้นเนื้อเรื่อง...คลิกดูได้เลยครับ ปี 2509 หนังรถไฟ เกล้าฟ้า
http://www.youtube.com/watch?v=Yb9DY-PHwF8

http://www.youtube.com/watch?v=Yb9DY-PHwF8
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 22 ตุลาคม 2013, 18:40:25
แล้วก็ย้อนกลับมา หนังรถไฟ ที่หลายท่านคุ้นๆ กันครับ หนังปี 2504 เรื่อง เรือนแพ

(http://image.ohozaa.com/i/ea9/DdJweX.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xahybNPbagiAiQGk)

  เรือนแพ จะเห็นสถานีรถไฟ น่าจะ 3 แห่งนะครับ มีที่ บางซื่อ-ลพบุรี-แล้วก็ขึ้นไปทางเหนือ สงสัยจะเป็น ขุนตาล มั้งครับ... ช่วงนี้ ฉาย 3 เรื่องก่อนนะครับ รอให้เพื่อนๆ มาอธิบายเพิ่มเติมก่อน แล้วก็จะฉายหนังรถไฟต่อไปเรื่อยๆ หนังมีเป็น 100 เรื่อง ต้องเร่งฉายครับ คลิกดูได้เลยครับ.. ปี 2504 หนังรถไฟ เรือนแพ
http://www.youtube.com/watch?v=8yMMoyEYCeY

http://www.youtube.com/watch?v=8yMMoyEYCeY

พุทธพร ส่องศรี  อาคารสถานีลพบุรี ในเรือนแพ (2504) เป็นอาคารไม้ที่ถูกรื้อสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ไปแล้วในปัจจุบันครับ สังเกตป้ายสถานีแบบคอนกรีตพื้นขาวตัวหนังสือสีดำ จะเป็นป้ายที่เริ่มใช้ราว พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาครับ ถ้าเก่ากว่านี้จะเป็นป้ายไม้ พื้นดำตัวหนังสือสีขาว (ยกเว้นรถไฟสายกาญจนบุรีที่ยังใช้ป้ายดำตัวหนังสือขาวมาจนถึงราว ยุค 2530)
อ้อ ดูแล้วอาคารในภาพที่อยู่หลังป้าย ไม่ใช่อาคารสถานีครับ ภาพนี้ตากล้องหันหลังให้อาคารสถานีครับ


(http://image.ohozaa.com/i/f08/DrIziw.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xalGuMSSsN0uOgth)

พุทธพร ส่องศรี  ภาพเปรียบเทียบสถานีลพบุรี ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง จะเป็นอาคารเดียวกัน แต่ป้ายเป็นไม้ และมีชื่อภาษาจีนประกอบด้วยครับ ภาพจากหนังสือ "ลพบุรี ด้วยกตัญญูต่อ แผ่นดิน..บ้านเกิด และบิดา มารดา ฉันท์ สุวรรณประกร"

(http://image.ohozaa.com/i/a72/1TlUGS.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xalGA6z6Il8L1had)
(อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฉันท์ สุวรรณประกร ณ เมรุวัดธาตุทอง 21 พฤษภาคม 2532)"
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 22 ตุลาคม 2013, 18:45:11
 ลืมบอกไปว่า ภาพเปิดกระทู้นี้ มาจากใบปิดหนัง 2 เรื่องคือ ด่วนเหนือ มิตร-อรัญญา..แล้วที่เห็นหัวรถไฟนั้นมาจากเรื่อง ชาติสิงห์ทุ่งสง.. ส่วนภาพข้างๆ อีก 3 ใบนั้นเป็นเบื้องหลังการถ่ายทำหนังเรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร ของ ฉลอง ภักดีวิิจิตร..ครับ ขอบคุณทุกข้อมูลที่เสริมเพิ่มเข้ามากับ "หนังรถไฟของไทยเรา" บทนี้.. ตอนนี้มาดูอีกเรื่องหนึ่งที่มีสถานีรถไฟด้วยนะครับ นั่นคือหนังปี 2519 เรื่อง 3 นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่...

(http://image.ohozaa.com/i/213/9LJR7s.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xahvW8ctrhNaopLZ)

สำหรับหนังเรื่อง 3 นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ นั้นเป็นหนังแนวบู๊ที่ผมเคยดูตอนเด็กๆ จำได้ว่ามีฉากรถไฟอยู่แป๊บหนึ่ง ก็เลยนำเทปมาสไลด์หาดู ก็มีจริงๆ ครับ เป็น สถานีสวรรคโลก..หนังยาว 2.20 ชม. แต่ว่าวันนี้ ตัดมาแต่ฉากรถไฟนะครับ คลิกดูได้ ปี 2519 หนังรถไฟ 3 นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่

http://www.youtube.com/watch?v=xeRz9t2Dtz0

http://www.youtube.com/watch?v=xeRz9t2Dtz0
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 23 ตุลาคม 2013, 07:10:33
 หนังที่มีรถไฟนั้น พอผมไล่เช็คไล่ฉายดูแล้ว ก็พบว่า มีไม่ค่อยมากนะครับ คิดดูว่า หนัง 2 พันกว่าเรื่อง มีรถไฟเข้าฉากไม่ถึง 2 ร้อยเรื่อง..ฉะนั้น รถไฟที่เราเห็นในจอหนังจึงเป็นอะไรที่คิดว่า สำคัญนะครับ..เพราะสถานีรถไฟทั่วประเทศมีกี่สถานีก็ไม่รู้ แต่จากหนังรถไฟประมาณ 100 เรื่อง กลับมีไม่ถึง 20 สถานีเลยครับ..ตอนนี้มาดูหนัง 16 มม.ที่สร้างอิงจากเรื่องจริง สุภาพบุรุษเสือใบ..ปี 2514

(http://image.ohozaa.com/i/26c/vsXU97.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xalGyGEnA7EfmRpc)

สถานีรถไฟที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้ เห็นป้ายอาคารสถานีบอกว่าเป็น กาญจนบุรี.. แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า จะเป็นอาคารจริงๆ หรือว่าเป็นการจัดฉากขึ้นมานะครับ คงต้องอาศัยผู้รู้เรื่องรถไฟมาช่วยเฉลยนะครับ ว่าแต่ตอนนี้ คลิกดูก่อนนะครับ ปี 2514 หนังรถไฟ สุภาพบุรุษเสือใบ

http://www.youtube.com/watch?v=UXL39RrAqA4

พุทธพร ส่องศรี  เกล้าฟ้า (2509) รถจักรสีส้ม ๆ นั้น ยี่ห้อ GE ครับ การรถไฟฯ ซื้อมาใช้งานในปี 2507 ปัจจุบันก็ยังมีใช้งานอยู่หลายคัน
----
เรือนแพ (2504) ช่วงที่ผ่านสถานีขุนตาน มีการสาดน้ำสงกรานต์ใส่รถไฟด้วยครับ น่าสนใจมาก ส่วนบางซื่อ ป้ายสถานียังไม่มีคำว่า ชุมทาง... นำหน้านะครับ แปลกดี
----
สภาพบุรุษเสือใบ (2514) ถ่ายที่สถานีกาญจนบุรีจริง ๆ ครับ อาคารสถานียังเป็นหลังเดิมอยู่ในปัจจุบัน ส่วนอาคารอื่น ๆ ที่ไม่คุ้นตานั้น เพราะรื้อถอนไปหมดแล้วตั้งแต่ยุค 2530 ครับ
จุดสังเกตอีกอย่างคือ เป็นสถานีที่มีดงตาลอยู่หน้าสถานีด้วยครับ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีต้นตาลเหลืออยู่เยอะครับ
----
3 นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ (2519)ไม่ทราบมาก่อนเลยว่าสถานีสวรรคโลก เคยเป็นสถานีถ่ายทำหนังด้วย ปัจจุบันไม่มีรถไฟชั้น 3 เข้าสถานีสวรรคโลกแล้วครับ มีแต่รถดีเซลรางปรับอากาศวันละ 1 ขบวนเท่านั้น ถือเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์รถไฟไทยครับ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 23 ตุลาคม 2013, 07:13:18
ตอนนี้มาดู หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่เนื้อหาจะอยู่กับคนรถไฟแบบเต็มๆ เรื่อง นั่นคือ ไอ้ผาง รฟท. ปี 2525

(http://image.ohozaa.com/i/f9a/W1cSvG.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xalGE0kBPJg5DyYc)

ว่ากันตามจริง เรื่องนี้เกี่ยวกับรถไฟทั้งเรื่อง แต่ว่า ผมตัดเฉพาะฉากที่เกี่ยวกับรถไฟมาให้ดูก่อนนะครับ ไม่เน้นเนื้อหาร คลิกดูได้เลยครับ...ปี 2525 หนังรถไฟ ไอ้ผาง รฟท.


http://www.youtube.com/watch?v=Y7FohkgKqUY

พุทธพร ส่องศรี  มีความเห็นมาจากชาวสมาชิกรถไฟไทยดอทคอมดังนี้ครับพี่มนัส...
"เรื่องสุภาพบุรุษเสือใบถ่ายที่สถานีกาญจนบุรีจริงครับ แต่ฉากที่กำลังวางระเบิดสะพานนี่สิ กำลังดูว่าฉากนี้น่าจะเป็นที่ไหน รอดูอยู่ว่าจะเห็นมุมภาพอื่นอีกหรือไม่ จะได้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น ภาพก็ตัดไปซะก่อน ซึ่งดูแล้วฉากบริเวณสะพานน่าจะมีมากกว่านี้

สังเกตว่าคุณมนัสจะเน้นตัดมาในส่วนที่ถ่ายทำบริเวณสถานีเป็นหลักนะครับ รบกวนช่วยแจ้งคุณมนัสด้วยว่าหากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป ฉากระหว่างเส้นทางที่ถ่ายทำนอกบริเวณสถานีก็ขอมาแบบเต็มๆเหมือนกันด้วยนะครับ เพราะมีอะไรให้วิเคราะห์ตีความได้ไม่น้อยเลย"
ที่มา: http://portal.rotfaithai.com/modules.php...


เจน อักษราพิจารณ์  ด่วนเหนือ น่าจะเป็นเรื่องเดียวกันกับ "ไม่มีคำตอบจากสวรรค์" ที่สมบัติ เมทะนี สร้าง อีกเรื่องหนึ่งที่ใช้ฉากรถไฟโดยตรง คือ "ผีเสื้อและดอกไม้" กำกับโดยยุทธนา มุกดาสนิท แต่ที่มีฉากรถไฟอีกเรื่องคือ "ผู้แทนนอกสภา" ของสุรสีห์ ผาธรรม ฉากที่สรพงษ์ ชาตรี นั่งรถไฟจากกรุงเทพฯ กลับบ้านเกิดเพื่อไปสมัครเป็นผู้แทน แล้วนั่งมองออกนอกหน้าต่างรถไฟ เห็นทุ่งข้าวเหลืองอร่าม แล้วนึกถึงวัยเยาว์ที่โดยพ่อค้ายึดข้าวหมดทั้งลาน จนถึงฉากนั่งเกวียนลาพ่อแม่เข้ามาเรียนในเมือง หนังสื่อความหมายได้งดงามมากครับ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 23 ตุลาคม 2013, 07:21:28
ขอบคุณคุณเจน อักษราพิจารณ์  ที่ให้ข้อมูลหนังรถไฟนะครับ รอชมนะครับ..ส่วนที่คุณพุทธพร ส่องศรี  นำความเห็นจากสมาชิกรถไฟดอทคอม...มาให้ฟังนั้น เดี๋ยวต่อไปจะตัดหัวตัดหางให้เยอะกว่านี้นะครับ ส่วนเรื่อง สุภาพบุรุษเสือใบ นั้น ผมเองก็ลุ้นเหมือนกันว่า วางระเบิดสะพานนั้น จะระเบิดหรือไม่และพยายามดูว่าเป็นที่ไหน ต่อเนื่องกันหรือไม่ แต่ภาพที่มีในฟิล์มนั้น ผมก็ปล่อยมาจนหมดแล้วครับ พอวางระเบิดเสร็จ พวกเขาก็วิ่งลงมาจากสะพาน ผมเห็นที่คอสะพานมีคนเขียนตัวหนังสือไว้ แต่อ่านไม่ได้ศัพท์..พอวิ่งลงมาปุ๊บ ภาพก็ตัดไปที่กระท่อม เห็นเพชราถูกจับไว้...แล้วหลังจากนั้นก็ไม่มีฉากเกี่ยวกับรถไฟหรือรางรถไฟอีกเลยครับ ผมก็เลยไม่ได้ตัดมาให้ดูนะครับ.. ตอนนี้ มาดูหนัง 16 มม. ปี 2505 เรื่อง อ้อมอกสวรรค์ นะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/a65/hlTFNt.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xalGt0Zt2N5WdoEg)

 หนังเรื่องนี้เก่ามากๆ ผมเผอิญดูแล้วเห็นว่า มีฉากหนึ่งที่ มิตร ชัยบัญชา ตามไปช่วยเพชรา ก็ไล่กับคนร้ายที่สุดที่ทางข้ามรถไฟ..พยายามดูแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่ตรงไหน..แล้วก็ต่อยกัน เห็นหัวรถไฟวิ่งมา..แล้วก็จบเพียงเท่านั้น แต่เนื่องเรื่องนี้ หนังจะเกิดในกรุงเทพฯ นะครับ ลองดูนะครับว่า พอจะเดาออกหรือไม่ว่า เป็นที่ตรงไหน...คลิกดูได้เลยครับ ปี 2505 หนังรถไฟ อ้อมอกสวรรค์

http://www.youtube.com/watch?v=T9bgMPgwqrc
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: MECHAICINEMA49 ที่ 24 ตุลาคม 2013, 07:48:46
:) ขอบคุณครับ  
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 24 ตุลาคม 2013, 08:52:56
หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องต่อไปเป็นหนังปี 2508 เป็นหนัง 16 มม.พากย์สดเรื่อง เพชรน้ำผึ้ง

(http://image.ohozaa.com/i/e8a/Bah5rc.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaudOAT3CYQ3nBr7)

 เพชรน้ำผึ้ง เป็นชื่อไร่..นะครับ หนังเกิดที่ต่างจังหวัด แต่ว่าก็มีฉากหนึ่งที่สมบัติมาช่วยคนไม่ให้ถูกรถไฟทับ..แต่ฟิล์มเก่าและสั้นมาก ก็เห็นรถไฟนิดหน่อย ไม่รู้ว่าที่ไหนอีกนะครับ ลองคลิกดูภาพนะครับ ปี 2508 หนังรถไฟ เพชรน้ำผึ้ง

http://www.youtube.com/watch?v=4EA0Pk6IqFA
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 24 ตุลาคม 2013, 08:55:19
  ทั้ง อ้อมอกสวรรค์ กับ เพชรน้ำผึ้ง มีรถไฟอย่างละนิดหน่อย แต่ผมเห็นว่า หนังรถไฟของไทยเรา นั้นมีไม่ค่อยมาก ก็เลยตัดๆ มาไว้เป็นข้อมูลนะครับ อย่างน้อยๆ ก็ยังเห็น รางรถไฟ เห็นหัวรถไฟนิดหน่อย..แต่มาดูหนัง 16 มม.เรื่องนี้ครับ โนห์รา...

(http://image.ohozaa.com/i/a24/tzH6pU.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaudJZabWehGsX8v)

โนห์รา ที่ผมเกริ่นมานี้ ไม่เห็นรถไฟนะครับ แต่เห็นรถรางในกรุงเทพฯ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นรถรางที่วิ่งตามปกติในปี 2509 หรือไม่ ท่านใดทราบก็บอกหน่อยนะครับ แล้วดูซิว่า รถรางวิ่งไปไหน..แล้วต่อมาผมก็ตัดไปที่สะพานพระราม 6 เห็นแค่รางรถไฟนะครับ ไม่มีรถไฟวิ่ง แต่ได้เห็นบรรยากาศเก่าๆ สมัยที่ยังไม่มีสะพานพระราม 7 นะครับ ลองคลิกดูนะครับ ปี 2509 หนังรถไฟ โนห์รา

http://www.youtube.com/watch?v=Ch6VmUrJpq4
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 24 ตุลาคม 2013, 08:57:38
ต่อมาก็เป็นหนัง 35 มม.เรื่อง ทรชนคนสวย ปี 2510 ซึ่งก็มีรถไฟด้วยครับ...

(http://image.ohozaa.com/i/5cd/rAaeOW.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaudM72hE0sKsdXd)

เรื่องนี้ เห็นบริเวณสถานีรถไฟ ไม่แน่ใจว่าเป็น บางซื่อ หรือไม่ ถัดมาก็ไปหัวลำโพง นั่งรถไฟไปลงที่สถานีชุมทางทุ่งสง..ลองคลิกดูนะครับ ปี 2510 หนังรถไฟ ทรชนคนสวย

http://www.youtube.com/watch?v=Xs5XnPP_iw8
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 24 ตุลาคม 2013, 08:59:55
ครับ ตอนนี้มาดูหนัง 16 มม.ปี 2511 เรื่อง ป้อมปืนตาพระยา..ซึ่งมีรถไฟอยู่นิดเดียวนะครับ ดูใบปิดก่อนครับ

(http://image.ohozaa.com/i/f13/dGthtE.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaudR4JPBS00lQ8k)

หนังเรื่องนี้มีรถไฟวิ่งเข้าสถานีอรัญประเทศ ซึ่งสมัยนั้นเป็นจังหวัดปราจีนบุรี นะครับ ลองคลิกดูนะครับ ปี 2511 หนังรถไฟ ป้อมปืนตาพระยา

http://www.youtube.com/watch?v=wcfg7-ptlbY
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 25 ตุลาคม 2013, 19:10:36
พุทธพร ส่องศรี  อ้อมอกสวรรค์ (2505) แม้จะไม่สามารถระบุได้ว่าถ่ายทำที่ทางรถไฟช่วงไหน แต่คนชอบรถไฟถือว่าเป็นภาพที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากครับ เพราะเป็นภาพเคลื่อนไหวของรถจักรดีเซล SULZER ซึ่งเป็นรถจักรดีเซลรุ่นแรก ๆ ของรถไฟหลวงครับ ปัจจุบันไม่มีใช้งานแล้ว
ที่มา:

 http://portal.rotfaithai.com/modules.php...

----
เพชรน้ำผึ้ง (2508) ถ่ายทำบริเวณทางโค้งของทางรถไฟ ซึ่งน่าสังเกตว่าในอดีตจะมีการปักไม้สีแดง ๆ ไว้ตรงกึ่งกลางของทางรถไฟด้วย เพื่อใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาทาง ว่าโค้งทางรถไฟมีการเคลื่อนที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เป็นการป้องกันอุบัติเหตุครับ
----
โนห์รา (2509) เป็นหนังไทยเรื่องเดียวที่ผมเคยเห็นมีรถรางเข้าฉาก และร่วมสมัยกับยุคที่ยังมีรถรางอยู่ รถรางวันสุดท้าย 30 ก.ย. 2511 ครับ
ที่น่าเสียดายมากสำหรับเรื่องนี้คือ มุมกล้องเหมือนพยายามหลีกไม่ให้เห็นล้อและรางรถรางที่พื้นถนนครับ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าเป็นรถรางล้อยาง แบบรถท่องเที่ยวของ กทม.หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ หรือไม่ เรื่องนี้ผมก็ไม่มีความรู้ที่จะตอบได้ครับ
ที่จริงแล้ว โนห์รา (2509) ท้ายเรื่อง ยังมีฉากรถจักรไอน้ำที่สถานีรถไฟนครศรีธรรมราชด้วยครับ เห็นป้ายสถานี เห็นถังน้ำและรถจักรไอน้ำ แต่เพียงราว 2 วินาทีครับ ชมได้ที่นี่ครับ นาทีที่ 1:42:18

http://www.youtube.com/watch?v=y20Mc7oHIaY

 พุทธพร ส่องศรี  ทรชนคนสวย (2510) ช่วงแรก เห็นตู้สินค้าชนิด ร.ส. (C.W.) ด้วยครับ ย่อมาจาก รถบรรทุกสัตว์ (cattle wagon) มีลักษณะเป็นช่องโปร่ง ใช้บรรทุกปศุสัตว์ส่งทางรถไฟ เดี๋ยวนี้ตัวตู้เองก็หาดูยากครับ
เรื่องนี้ได้เห็นบรรยากาศของชุมทางทุ่งสงในอดีต ที่เป็นแหล่งใหญ่ของรถจักรไอน้ำทางภาคใต้ครับ ฝรั่งที่ชอบถ่ายภาพรถจักรไอน้ำก็นิยมไปถ่ายกันที่ชุมทางทุ่งสงนี่แหละครับ
ภาคใต้ ยกเลิกรถจักรไอน้ำช้ากว่าภาคอีสานและภาคเหนือครับ โดยยกเลิกไปราว พ.ศ. 2519-20   

 พุทธพร ส่องศรี  ป้อมปืนตาพระยา (2511) จัดองค์ประกอบฉากรถไฟฉากนี้ได้ลงตัวสวยงามถูกใจผมมากครับ นอกจากเห็นการสะกดชื่อป้ายสถานีภาษาอังกฤษแบบเก่า (ARAN PRADET ปัจจุบัน ARANYAPRATHET) แล้ว ยังเห็นองค์ประกอบของอาคารสถานี เสาธงที่มีธงชาติปลิวไสว เห็นย่านสถานีในอดีตด้วยครับ ทั้งรางตันใกล้ป้ายสถานีที่ใช้จอดตู้สินค้า ถังน้ำ โรงรถจักร และรถจักรดาเวนปอร์ต 2 คันทางด้านขวามือ (ยี่ห้อเดียวกันกับที่ใช้ลากขบวนรถไฟใน"ชุมทางหาดใหญ่ (2509)"
ปัจจุบัน รางตันเลิกใช้แล้ว ถังน้ำยังอยู่ ส่วนโรงรถจักรรื้อไปแล้ว เหลือแต่ซากพื้นโรงรถจักรไว้ให้คนชอบรถไฟบุกป่าเข้าไปสำรวจครับ
 
 มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต   ขอบคุณ คุณพุทธพร ส่องศรี ที่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งทำให้"หนังรถไฟของไทยเรา" บทนี้มีคุณค่าและมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ ตอนที่ผมเปิดกระทู้บทนี้ใหม่ๆ ก็คิดว่า จะต้องลากยาวกระทู้ให้ยาวเหมือนตู้รถไฟ..จะทำให้กระทู้บทนี้มี หนังรถไฟของไทยเรา มากที่สุด ตอนนี้ พอได้อ่านข้อมูลที่คุณพุทธพรและท่านอื่นๆ ช่วยหามาเพิ่มเติมด้วย ก็ยิ่งจะทำให้กระทู้นี้นอกจากมีหนังรถไฟไทยให้ดูแล้ว ก็ยังมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์รถไฟไทยให้ฟังให้อ่านอีกด้วย..ส่วนรายชื่อหนังที่เพื่อนๆ แจ้งมาว่า มีรถไฟอยู่ด้วยนั้น ตอนนี้ ผมตัดต่อไว้ประมาณ 100 เรื่องแล้ว ยังเหลือที่ยังไม่ได้ตัดหรือเช็คอีกไม่ถึง 100 เรื่องครับ คงจะต้องหาเวลาเช็คและตัดต่ออีก..ช่วงนี้ ก็คงปล่อยฉายไปเรื่อยๆ ก่อนนะครับ แต่ถ้าเรื่องไหนเพื่อนๆ พูดถึง ก็จะแซงคิวแซงปีมาฉายก่อนนะครับ..

พุทธพร ส่องศรี  นี่ครับ สภาพโรงรถจักรในปัจจุบัน ที่พี่สมชาย สมชาย คำแฝง (สมาชิกกลุ่มชุมทางหนังไทยฯ เช่นกัน) เข้าไปถ่ายภาพครับ เป็นป่ารก แต่ยังเหลือรางสำหรับเขี่ยขี้เถ้าออกจากรถจักรไอน้ำให้เห็นครับ ระยะเวลาห่างจา่กหนังป้อมปืนตาพระยา 40 กว่าปีครับ


(http://image.ohozaa.com/i/f6b/Iai890.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaFCVrROchWd8nzK)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 25 ตุลาคม 2013, 19:19:50
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    ได้อ่าน ได้เห็นภาพต่างๆ เพิ่มเติม เปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบันแล้ว ทำให้น่าสนุกยิ่งขึ้นครับ..อะไรที่เคยมีและหายไป ก็ย่อมทำให้ คนรักอะไรเก่าๆ อย่างเราๆ ก็อดที่จะห่วงหาอาวรณ์มิได้..สำหรับคุณเห้าเหลียง แซ่น้า พื้นเพอาจจะเป็นคนกรุงเทพฯ ก็เลยสนใจรถไฟน้อยกว่าคนต่างจังหวัดอย่างผม..รถไฟ สำหรับคนต่างจังหวัดแล้วเป็นตัวนำความเจริญต่างๆ ตามมาอีกมาก เสียงวูดรถไฟ กองฟืนมหึมาสำหรับทำเชื้อเพลิงรถจักรไอน้ำ ควันไฟดำทะมึน..ล้วนแต่ภาพที่เคยเห็น รู้สึกว่า ยังมีหนังอีกเรื่องหนึ่ง จำไม่ได้ แต่ตัดมาแล้ว ยังเห็นว่า มีกองฟืนอยู่ด้วย สมัยก่อนพวกเช็คเกอร์เดินสายหนัง ก็ใช้การเดินทางด้วยรถไฟเหมือนกัน.. ทำไม คนอีสานหรือคนต่างจังหวัดที่ต้องพึ่งพิงรถไฟเป็นยานพาหนะ ถึงได้ผูกพันกับรถไฟ..ผมว่า หนังเรื่องนี้มีคำตอบ.. ผู้แทนนอกสภา..ปี 2526 ที่คุณเจน อักษราพิจารณ์ พูดถึงเมื่อคืนนี้...

(http://image.ohozaa.com/i/cbc/zC1uXK.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaFEO4SbunlPS640)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต  หนังเรื่องนี้ แม้จะมีฉากรถไฟไม่มาก และเป็นรถไฟที่วิ่งออกจากกรุงเทพฯ ไปอุบล..แต่หนังก็ทำให้เห็นว่า คนที่จากบ้านมาหรือกำลังจะกลับบ้าน ถ้าต้องนั่งอยู่บนรถไฟคนเดียวนานๆ เขาจะคิดถึงอะไร..ครั้งแรกที่ผมนั่งรถไฟมาสอบเอ็นทรานซ์ในกรุงเทพฯ ผมเองก็ยังนั่งแต่งกลอนแปด..นิราศเมืองสุรินทร์ ยังไงล่ะครับ ตอนนี้ มาดูหนังรถไฟกันก่อน เปิดหัวมาจะเห็นอดีตของ มรว.คึกฤทธิ์-คุณบุญชู โรจนเสถียร ด้วยครับ... ปี 2526 หนังรถไฟ ผู้แทนนอกสภา

http://www.youtube.com/watch?v=dwnVffSHmgk

พุทธพร ส่องศรี  ผู้แทนนอกสภา (2526) ให้บรรยากาศภาพยนตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณสุรสีห์ ผาธรรมนะครับ น่าชมมาก รถไฟในเรื่องนี้ยังเป็น"โบกี้สีน้ำหมาก" หรือสีเลือดหมู และ "เก้าอี้ไม้สัก" ครับ ซึ่งถ้าสังเกตจะพบว่าในปัจจุบันรถไฟชั้นสามจะทาสีน้ำเงินหรือสีลวดลายต่าง ๆ แล้ว โดยสีน้ำหมากซึ่งเป็นสีคลาสสิกของรถไฟไทยนี้ดูเหมือนจะเลิกใช้ไปในราว ๆ พ.ศ.2529-30 ครับ หนังเรื่องสุดท้ายที่ยังเห็นสีน้ำหมากอยู่ น่าจะเป็น ผีเสื้อและดอกไม้ (2528) ครับ
เห็นการเดินทางด้วยรถไฟของคุณสรพงษ์ในเรื่อง ผู้แทนนอกสภา แล้วนึกถึงไตเติ้ลของเรื่อง ข้ามาคนเดียว (2521) ครับ ถ่ายทำรถไฟไว้ได้สวยมากเช่นกัน
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 25 ตุลาคม 2013, 19:22:28
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต   พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ นั้น ผมมีแผ่นแล้วครับ ขอบคุณครับคุณกิตติ แก้วชาติ ส่วนเรื่อง ผู้แทนนอกสภา นั้น เป็นหนังที่ทำออกมาได้ดีมากครับ ผมดูและชอบมากๆ แต่ว่าวันนี้ตัดมาแต่ฉากรถไฟนะครับ.. ตอนนี้มาดูหนัง 16 มม.อีกเรื่องนะครับ ภาพไม่ค่อยดีนัก แต่มีสถานีรถไฟด้วยครับ นั่นคือ ไทยน้อย ปี 2512

(http://image.ohozaa.com/i/a00/9VvOA5.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaFEJt9jNPXcI5Ce)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    หนังไม่มีเสียงนะครับ ก็เลยใส่เพลงไว้แทน คลิกดูได้เลยครับ เดี๋ยวก็รู้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่ไหนครับ...ปี 2512 หนังรถไฟ ไทยน้อย

http://www.youtube.com/watch?v=ajy1Ga1SpzQ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 25 ตุลาคม 2013, 19:25:45
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    ส่วนเรื่องนี้เป็นหนัง 35 มม.เรื่องแรกของคุณสุทิศา พัฒนุช เรื่อง เป็ดน้อย ปี 2511 ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/668/BMb8mr.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xaFELB1pvb8xNGp4)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    ภาพไม่เกี่ยวกับสถานีรถไฟโดยตรง แต่ว่า เขาไปจอดรถพูดคุยกันแถวๆ ที่มีรถไฟวิ่งผ่านะครับ ลองคลิกดูนะครับว่า จะเป็นที่ไหนในกรุงเทพฯ ปี 2511 หนังรถไฟ เป็ดน้อย

http://www.youtube.com/watch?v=qeCK1cK4hpM

พุทธพร ส่องศรี ผู้แทนนอกสภา  (2526) ให้บรรยากาศภาพยนตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณสุรสีห์ ผาธรรมนะครับ น่าชมมาก รถไฟในเรื่องนี้ยังเป็น"โบกี้สีน้ำหมาก" หรือสีเลือดหมู และ "เก้าอี้ไม้สัก" ครับ ซึ่งถ้าสังเกตจะพบว่าในปัจจุบันรถไฟชั้นสามจะทาสีน้ำเงินหรือสีลวดลายต่าง ๆ แล้ว โดยสีน้ำหมากซึ่งเป็นสีคลาสสิกของรถไฟไทยนี้ดูเหมือนจะเลิกใช้ไปในราว ๆ พ.ศ.2529-30 ครับ หนังเรื่องสุดท้ายที่ยังเห็นสีน้ำหมากอยู่ น่าจะเป็น ผีเสื้อและดอกไม้ (2528) ครับ
เห็นการเดินทางด้วยรถไฟของคุณสรพงษ์ในเรื่อง ผู้แทนนอกสภา แล้วนึกถึงไตเติ้ลของเรื่อง ข้ามาคนเดียว (2521) ครับ ถ่ายทำรถไฟไว้ได้สวยมากเช่นกัน
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: มนัส กิ่งจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม 2013, 07:40:06
หนังรถไฟของไทยเรา นั้น ผมตัดต่อไว้แล้วประมาณ 100 เรื่อง ซึ่งตอนนี้ทยอยโพสต์ลงเรื่อยๆ ทุกๆ วันนะครับ.. ขอบคุณคุณฉัตรชัยที่เป็นธุระจัดการให้นะครับ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 30 ตุลาคม 2013, 23:37:00
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    สุรสีห์ ผาธรรม ทำหนังแนวนี้ได้ดีนะครับ.. คุณพุทธพร พูดถึง ผีเสื้อและดอกไม้ ปี 2528 หนังที่มีรถไฟเป็นหลักของเรื่อง ก็ลองมาดูหนังกันนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/53a/ICBn21.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xbkVlSgormblA5eX)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต   คงไม่ต้องพูดอะไรกันมากสำหรับหนังเรื่องนี้ แต่ฉากที่เกี่ยวกับรถไฟนั้น รู้สึกว่าจะเห็นสถาีนีรถไฟ 3 สถานีนะครับ ลองคลิกดูนะครับ เน้นที่รถไฟนะครับ ไม่เน้นเนื้อหา....ปี 2528 หนังรถไฟ ผีเสื้อและดอกไม้
 

http://www.youtube.com/watch?v=owElDDKnIIs
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 30 ตุลาคม 2013, 23:40:18
 มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    วันนี้ กลุ่มชุมทางหนังไทยในอดีต ของเรา มีสมาชิกล่าสุดเป็นคนที่ 1005 แล้วครับ ใครขอเข้ากลุ่มฯ ผมก็กดรับไปเรื่อยๆ อย่างน้อยๆ ก็ยังพอทำให้รู้ว่า มีคนสนใจขอเป็นสมาชิกบ้าง นี่ ยังไม่นับรวมกับคนที่เข้ามาดูมาอ่านเฉยๆ นะครับเพราะระบบเราเป็นสาธารณะ แต่ก็อย่างที่เพื่อนๆ บางท่านบอกนั่นแหละครับว่า ไม่ค่อยจะมีใครมาคอมเม้นท์อะไรเท่าไร ผมก็เข้าใจนะครับว่า บางท่านก็แค่ชอบอ่าน ชอบดูหนัง แต่ก็ยังอยากจะเป็นส่วนตัว ไม่อยากให้ใครรู้ว่า ก็ชอบ ก็อ่านหนังไทยเก่าๆ เหมือนกัน..ผมเขียนทุกวันนี้ แค่รู้ว่า มีคนอ่าน ผมก็พอใจแ้ล้วครับ อย่างในยูทูปเขามีตัวเลขแจ้งว่า ตอนนี้มีคนเข้าไปกดดูหนังที่ผมโพสต์ไว้รวมๆกันเกือบ 2 ล้านครั้งแล้ว..แค่นี้ก็พอรู้แล้วว่า มีคนสนใจหนังไทยเก่าๆ แต่ยังไม่กล้าแสดงออกมากแค่ไหน.. หรืออย่างที่คุณRegis Madec เคยเขียนทักไว้ว่า ถ้าสมาชิกมี 900 คน แล้วแต่ละคนออกเงินกันคนละ 100 บาทต่อเดือน เราก็จะช่วยหนังไทยเก่าๆ ได้เดือนละเรื่องหรือสองเรื่องแล้วครับ..ซึ่งก็มีเหตุผล แต่ผมก็ยังเฉยๆ เพราะที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ก็ใช่ว่าจะมีคนปลื้มคนชอบเรานะครับ..เราก็เลยทำไปในสถานะของคนชอบ คนอยากดู ในเมื่อไม่มีใครทำให้ เราก็ต้องทำเองเท่านั้น.. สิ่งที่คิดว่า จะทำให้คนกลับมาทำหนังไทยเก่าๆ (ที่ยังไม่เคยมี) ให้เราซื้อดูได้อีกนั้น ก็คือ การสร้างกระแสว่ามีคนชอบหนังไทยเก่าๆ.. แต่ผมก็ทำไม่สำเร็จเพราะพอไปบอกให้เขามาดูว่า มีคนชอบหนังไทยเก่าๆ แล้ว เขาก็มาดูกระทู้ที่ผมเขียน..เขาก็จะบอกว่า มีสมาชิกไม่ถึงพัน (ตอนนั้น 900 คน) มีคนคลิกถูกใจไม่ถึง 100 คน หรือมีคนคอมเม้นท์ไม่ถึง 20 คน...ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง หน้ากระดานเฟสบุ๊กมันบอกแบบนั้นจริงๆ ผมก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร ก็ได้ก้มหน้าก้มตาเขียนต่อไป..รอแต่ว่าวันหนึ่ง หนังไทยมีกระแส พวกเขาก็กลับมาเองนะครับ..แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นวันไหน.. แต่วันนี้ มาดู รถไฟในหนังไทย กันต่อนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/fcf/4ENNTX.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xbkVom7aqwEOlRq8)


 มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    หนังเรื่องนี้เป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ ตัดมาเฉพาะฉากที่มีรถไฟนะครับ เริ่มจากหัวลำโพงไปลงที่นครสวรรค์ ลองดูนะครับ ปี 2512 หนังรถไฟ พยัคฆ์เหนือ เสืออีสาน ยมบาลใต้


http://www.youtube.com/watch?v=bc-BBiRbAdQ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 30 ตุลาคม 2013, 23:43:16
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องต่อไปก็คือ ลอยกระทง ปี 2512

(http://image.ohozaa.com/i/59c/HswEoy.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xbkVgyAabRwEimTA)
 
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    เรื่องนี้เป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ แต่วันนี้ไม่มีเสียงพากย์นะครับ ผมตัดมานิดหน่อยเพราะไม่ค่อยจะเห็นตัวรถไฟเท่าไร เห็นแค่สถานี ดูเหมือนจะเป็นเชียงใหม่ จากนั้นก็เป็นฉากในตู้รถไฟ แต่ดูๆ ไปก็เหมือนเป็นการสร้างฉากขึ้นมาเอง..ลองคลิกดูครับ ปี 2512 หนังรถไฟ ลอยกระทง


http://www.youtube.com/watch?v=e9Hma5EoEkM
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 30 ตุลาคม 2013, 23:46:27
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    วันนี้ วันหยุด วันปิยะมหาราช ซึ่งจริงๆ ก็เป็นวันที่เกี่ยวกับ รถไฟ อยู่แล้วครับ ส่วนวันนี้ ผมเองก็มีนัดจะต้องไปราชบุรี เพื่อนำฟิล์มหนังที่ยืมมาจากคุณฉัตรชัยไทยซีเน ไปคืนเจ้าของเขานะครับ..กว่าจะกลับก็เย็นๆ ก็เลยลงหนังติดๆกันไว้ก่อน เรื่องนี้ ม้ามืด ก็ยังเป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ ปี 2513 ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/c5f/8BV6ik.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xbkVj2qWaSQTYG56)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต    ตัดมาเฉพาะฉากรถไฟนะครับ ลองดูนะครับว่า จะเป็นสถานีรถไฟอะไร...ปี 2513 หนังรถไฟ ม้ามืด


http://www.youtube.com/watch?v=WC3TXhZmO3k

พุทธพร ส่องศรี สถานีรถไฟปากแพรก กาญจนบุรี ที่ยังเห็นซากเหลืออยู่เป็นสถานีรถไฟร้างใน ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. (2525) ครับ หลังคามุงกระเบื้องว่าว (กระเบื้องดินเผา) ปัจจุบันรื้อหมดแล้ว และการรถไฟฯ สร้างเป็นศาลาที่พักผู้โดยสารแทน
ถ้าไม่มีหนัง ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. ก็คงไม่ได้เห็นอาคารสถานีหลังนี้ครับ


(http://image.ohozaa.com/i/297/0fNkwt.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej00Uga4ziNDSPl)

พุทธพร ส่องศรี ไทยน้อย (2512) กับ ม้ามืด (2513) เป็นหนังของกัญญามาลย์ภาพยนตร์เหมือนกัน เรื่องแรกถ่ายที่สถานีปากน้ำโพ เรื่องหลังถ่ายที่สถานีนครลำปาง รายละเอียดที่คล้ายกันคือได้เห็นสะพานลอยสำหรับคนเดินข้ามย่านสถานีรถไฟครับ ปัจจุบันทั้งสองแห่งไม่มีสะพานลอยแล้ว ที่ยังเหลือใช้งานอยู่ทางภาคเหนือคือที่สถานีพิษณุโลกครับ

(http://image.ohozaa.com/i/a14/IiUqOu.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej0DxWuYSyqB8M8)

พุทธพร ส่องศรี เป็ดน้อย (2511) ถ่ายทำที่สะพานรถไฟข้ามคลองบางซื่อ ใกล้กับสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อครับ ซึ่งใน เสน่ห์บางกอก (2509) ก็ถ่ายทำที่เดียวกันครับ

(http://image.ohozaa.com/i/eba/XNsGyQ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej2A4InoGA3Aw00)

พุทธพร ส่องศรี ปัจจุบันต้นไม้ขึ้นรก คงใช้ถ่ายทำหนังไม่ได้แล้วครับ

(http://image.ohozaa.com/i/c61/WghSiB.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej0LHsbvo2lEfoS) 

หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 02:18:06
(http://image.ohozaa.com/i/549/UUVzeO.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej4V41jn4U3FoID)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 82) ครับ ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมชมนะครับ ขอบคุณคุณพุทธพร ส่องศรี ที่เพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้นครับ.. วันนี้ มาดูหนังรถไฟของไทยเรา กันต่อนะครับ วันนี้ เริ่มจากเรื่อง โทน ปี 2513 ซึ่งเป็นหนังที่โด่งดังมากๆ แต่ว่ามีรถไฟอยู่แป๊บหนึ่งนะครับ

http://www.youtube.com/watch?v=ood-Nol0re4

พุทธพร ส่องศรี โทน (2513) ฉากหัวรถจักรยี่ห้อ GE สีส้ม ๆ (ซื้อมาเมื่อ 2507) นี้ สวยมากครับ ดูไม่เบื่อเลย คุณ Nakhonlampang จากรถไฟไทยดอทคอมวิเคราะห์ว่าถ่ายแถว ๆ สถานีจิตรลดาครับ
ที่จริงในเรื่องโทนฉบับเต็ม นาทีที่ 21 จะมีฉากถ่ายทำที่สถานีรถไฟพัทลุงด้วยครับ เห็นเขาอกทะลุ คุณพูนสวัสดิ์ ธีมากรกับคุณสายัณห์ จันทรวิบูลย์ นั่งมาในรถนั่งชั้น 1 ซึ่งปัจจุบันไม่มีใช้งานแล้ว เป็นภาพที่หายากครับ แม้แต่ภาพนิ่งขาวดำ แปลกใจที่คุณเปี๊ยก โปสเตอร์ลงทุนยกกองถ่ายไปไกลถึงพัทลุง เพื่อถ่ายฉากสั้น ๆ นี้

http://www.youtube.com/watch?v=LFV38PIbwg0

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 87) หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องต่อไปเป็นหนังปี 2515 ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร เรื่อง 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน ครับ...

(http://image.ohozaa.com/i/258/6F2JUP.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej6mKDR7fpDoZst)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต ..(เขียนช่องความเห็นที่ 88) หนังเรื่องนี้เห็นสถานีรถไฟเชียงใหม่ ครับ คลิกดูตามลิงค์นี้ได้เลยครับ ปี 2515 หนังรถไฟ 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน

http://www.youtube.com/watch?v=fA3DIVILU4M

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 89) ความหนังเรื่อง คู่กรรม ปี 2516 นี้ น่าจะมีอะไรเกี่ยวกับรถไฟเยอะนะครับ แต่ว่า ดูแล้ว ก็ไม่ค่อยจะเห็นนะครับว่า สถานีรถไฟที่เห็นนั้นเป็นที่ไหนกันแน่..ฟิล์มต้นฉบับที่นางเอกเป็นคนไทยนั้น ไม่มีแล้วครับ เขาใช้ฟิล์มก๊อบปี้นางเอกต่างประเทศมาทำภาพและพากย์เสียงใหม่นะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/aad/PtyRU5.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej6nsBdG7G8xmlU)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต ...(เขียนช่องความเห็นที่ 90) ถ้าอ่านจากบทประพันธ์ ก็คิดว่า ท่านคงรู้ว่า จะเป็นสถานีรถไฟอะไร แต่ถ้าดูจากหนังแล้ว จะดูออกหรือไม่ครับว่า เป็นสถานีรถไฟที่ไหน ลองคลิกดูนะครับ ปี 2516 หนังรถไฟ คู่กรรม

http://www.youtube.com/watch?v=m5y8xFtzeZY
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 02:33:33
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 91) มาดูหนังท่านมุ้ย กันหน่อยนะครับ มีรถไฟเหมือนกัน เขาชื่อกานต์ ปี 2516..

(http://image.ohozaa.com/i/f3e/BHP8H6.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej9eHYdsBe02VOl)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 92) ตอนที่สรพงศ์นั่งรถไฟออกไปนั้นเป็น สถานีหัวลำโพง..แต่ว่า ตอนลงรถไฟนั่นแหละครับ ที่ยังดูไม่ออกว่า เป็นสถานีไหน.. แต่ถ้าคนอ่านบทประพันธ์อาจรู้ว่าเป็นที่ไหน แต่สถานที่เห็นจะใช่หรือไม่ เท่านั้น ลองคลิกดูนะครับ ปี 2516 หนังรถไฟ เขาชื่อกานต์

http://www.youtube.com/watch?v=DVuOt_pVisU

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (ความเห็นที่ 93) มาดูหนังเรื่องยิ่งใหญ่ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร ปี 2516 เรื่อง ทอง...

(http://image.ohozaa.com/i/0d3/9dC9rH.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej9gPQjagBcHJcU)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 94) หนังถ่ายให้เห็นชัดๆ ว่า สะพานข้ามแม่น้ำแคว.. แต่ที่ผมสงสัยก็ตรงพื้นห้องส้วมของรถไฟนั่นแหละครับ ลองดูนะครับ ปี 2516 หนังรถไฟ ทอง

http://www.youtube.com/watch?v=wcPUmnzkFIk

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 95) หนังดัง หนังดี เรื่อง แหวนทองเหลือง ปี 2516

(http://image.ohozaa.com/i/c00/2YON9y.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xej9hTMm0YswM4Ht)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต ...(เขียนช่องความเห็นที่ 96) สุดท้ายสำหรับคืนนี้แล้วนะครับ หนังรถไฟของไทยเรา ผมดูหนังเรื่องนี้ตอนเป็นเด็กๆ ดูแล้วก็สงสารนางเอก สาวงามแห่งดอยติ ครับ วันนี้ตัดมาแต่ฉากรถไฟนะครับ ลองดูนะครับว่า จะเป็นที่ไหน.. ปี 2516 หนังรถไฟ แหวนทองเหลือง

http://www.youtube.com/watch?v=6ckD4_D6sCY

Nathapong Baimonta ส่วนคู่กรรม เดา ว่าน่าจะอยู่ในย่านสถานีไหนซักที่ เพราะ เสาโทรเลข เป็นเสาปูน ถ้าสายเหนือไม่เกิน ชุมทางบ้านภาชี แน่ ๆ   หรือจะย่านสถานีบางซื่อ บริเวณ ที่ลงปูนขาว ของ บ.ปูนซีเมนต์ไทย

พุทธพร ส่องศรี แถว ๆ นั้นนะครับ ย่านบางซื่อ-ย่านพหลโยธิน
ส่วนแหวนทองเหลือง ถ่ายทำที่สถานีขุนตาน, สถานีศาลาแม่ทา และอุโมงค์ขุนตานครับ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดลำพูน

Nathapong Baimonta อ.เอก พุทธพร ส่องศรี เปรียบเทียบ กับ 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน ใน วินาทีที่ 0.59
เป็นรถด่วนเชียงใหม่ สังเกตุดี ๆ จะมีรถไปรษณีย์ ใน คันที่สองติด บสพ แล้วตามด้วยรถชั้นสองนั่ง ครับ

พุทธพร ส่องศรี เดี๋ยวนี้รถไปรษณีย์ไม่มีใช้งานแล้ว สมัยก่อนเขาขนส่งถุงไปรษณีย์กันทางรถไฟครับ ภาพจากนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนสิงหาคม 2551 หน้า 100 บทความ "๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย" สถานีราชบุรี

(http://image.ohozaa.com/i/abe/2IW4fq.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejbUC1oavDRHtqf)

พุทธพร ส่องศรี แหวนทองเหลือง (2516) ฉากนี้ถ่ายที่สถานีศาลาแม่ทา อ.แม่ทา จ.ลำพูนครับ สังเกตภูเขาด้านหลังนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/e2c/CUwEEy.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejdNWZ81Zxcn9fs)

พุทธพร ส่องศรี ปัจจุบันต้นสนกลายเป็นต้นปาล์มไปแล้วครับ

(http://image.ohozaa.com/i/c93/FGHjyN.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejdQ4RdJh0SgV3U)

พุทธพร ส่องศรี แหวนทองเหลือง (2516) ยังมีของดีอีกอย่าง คือ รถโยกบำรุงทางตรวจการ ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวครับ ยังไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

(http://image.ohozaa.com/i/e94/hNbFLC.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejdTYCIQUI4K44H)

พุทธพร ส่องศรี รถโยกโดยใช้แรงคนนี้ เคยเห็นแต่ในหนังฝรั่งเรื่อง เมโลดี้ที่รัก (Melody) พ.ศ.2514 ครับ ฉากที่พระเอกแดเนียลพานางเอกเมโลดี้หนีครูไปที่รางรถไฟเก่า ๆ แล้วพาขึ้นรถโยกหนี

(http://image.ohozaa.com/i/c35/PHrSHt.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejdW6uOyfK4LXww)

พุทธพร ส่องศรี ปัจจุบัน ถ้าอยากเห็นรถโยกบำรุงทางตรวจการ คงต้องไปที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ มีจอดโชว์ไว้เป็นอนุสรณ์ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/06c/uIk8bl.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejdYAlAxg0CBfUb)

พุทธพร ส่องศรี เรื่องผีเสื้อและดอกไม้ (2528) เหตุการณ์เกิดที่โรงเรียนบ้านเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผมเคยเรียนสมัยประถมครับ ถ่ายทำที่สถานีรถไฟเทพา ศาลาทุ่งลุ่ง คลองแงะ ฯลฯ ผมเคยเขียนบทความลงในคอลัมน์บันทึก 2 ทะเล ลงในนสพ.ท้องถิ่นโฟกัสภาคใต้ ปีที่ 11 ฉบับที่ 610 (26 ก.ย.-2 ต.ค. 2552) ครับ
แต่ผมไม่มีโอกาสดูหนังเรื่องนี้ในโรงครับ ปี 2528 ผมเรียนอยู่ที่ปัตตานี อุตส่าห์ปั่นจักรยานไปที่โรงหนังปัตตานีรามา ปรากฏว่าหนังออกจากโรงไปแล้ว

(http://image.ohozaa.com/i/f71/3qowuA.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeje7rODCWAiKMgU)

พุทธพร ส่องศรี หนังรถไฟของไทยเรา ยุค 2510 หลาย ๆ เรื่องที่พี่มนัสนำมาให้ชม ใช้รถจักรยี่ห้อ GE ที่การรถไฟฯ ซื้อมาในปี 2507 จำนวน 50 คันครับ มีหมายเลขตั้งแต่ 4001-4050 ราคาสมัยนั้นคันละประมาณ 4 ล้าน 5 แสนบาท เดี๋ยวนี้หัวรถจักรดีเซลคันนึงก็ราว 100 ล้านครับ ใน เขาชื่อกานต์ (2516) เป็นหมายเลข 4032 ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/f71/3qowuA.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeje7rODCWAiKMgU)

พุทธพร ส่องศรี ปัจจุบัน 4032 ยังใช้งานอยู่ ทำสีใหม่แล้ว สีหน้ารถเป็นสีเหลือง (หน้าเหลือง) นัยว่าทำให้เห็นชัดแต่ไกล ช่วยป้องกันอันตรายครับ

(http://image.ohozaa.com/i/e00/yGavF6.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeje8vKGtJOyB6Fn)

พุทธพร ส่องศรี ขอบคุณมากครับพี่เห้าเหลียง หนังไทยเป็นสื่อที่บันทึกประวัติศาสตร์ไทยยุคใหม่ไว้ได้ดีเยี่ยม เพราะเป็นภาพเคลื่อนไหวและส่วนมากเป็นภาพสีครับ และบางครั้งก็บันทึกภาพในมุมที่ชาวบ้านทั่วไปไม่คิดจะถ่ายเก็บไว้ เช่น รถไฟขนซุงในหนังชั่วฟ้าดินสลาย หรือ สถานีปากแพรกร้างในไอ้ผาง ร.ฟ.ท. ฯลฯ

ในมุมมองของผู้สนใจหนังไทย สนใจรถไฟไทย จะสนุกมากครับที่ได้รู้ว่าฉากนั้น ๆ ถ่ายที่ไหน ปัจจุบันอยู่ในสภาพใด แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำให้อรรถรสในการรับชมหนังลดลงไปบ้างหรือไม่ ถ้ารู้ว่าฉากสงครามในหนังคู่กรรม ถ่ายที่ย่านพหลโยธิน

ผีเสื้อและดอกไม้ (2528) ถ่ายที่สถานีเทพา ตามท้องเรื่อง แต่พอมาเป็นเวอร์ชั่นละครโทรทัศน์ (2553) กลับถ่ายที่สถานีรถไฟโยทะกา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ก็คงเพราะเหตุผลด้านความสะดวกและปลอดภัย

เรื่องคู่กรรม ถ้าไปถ่ายที่สถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ในปัจจุบัน แล้วเห็นอาคารสถานีก็คงจะผิดหลักความจริง เพราะอาคารหลังนี้สร้างเสร็จหลังสงครามโลกฯ โกโบริไม่มีโอกาสได้เห็นอาคารหลังนี้ แต่หนังเรื่อง เหนือบารมี (2512) และ แก๊งค์ไอติม (2526) ก็ใช้สถานีรถไฟธนบุรีเป็นสถานที่ถ่ายทำไว้ได้อย่างงดงามครับ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 03:04:34
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 122) ขอบคุณทุกความรู้เกี่ยวกับรถไฟ ขอบคุณทุกความเห็นที่ช่วยกันทำให้ คุณค่าของหนังไทย มีคุณค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น หนังไทยเก่าๆ จึงมิใช่เป็นเรื่องของความบันเทิงเพียงอย่างเดียว หากแต่มีความรู้ต่างๆ ซุกซ่อนอยู่ในฟิล์มให้เราได้ค้นคว้า ค้นหาอย่างสนุกสนาน ยิ่งได้ผู้ทรงความรู้แบบทั้งสองท่านคือ คุณพุทธพร ส่องศรี และคุณ Nathapong Baimonta มาอธิบายประกอบด้วยแล้ว ผมฟังแล้ว ขนลุกครับ..

ไม่น่าเชื่อว่า ภาพเพียงสั้นๆ นิดเดียวหรือภาพที่ตากล้องสมัยก่อน เขาถ่าย เขาพยายามปิดสถานที่ถ่ายทำไว้เพื่อความสมจริงของหนัง แต่ทั้งสองท่านก็ช่วยให้เราได้ความรู้มากขึ้น..เป็นความรู้ที่มิใช่จะทำให้เราแอนตี้การทำหนังนะครับเพราะมีคำพูดของผู้กำกับชื่อดังท่านหนึ่งเคยบอกไว้ว่า หนังเป็นเรื่องโกหก แต่จะโกหกอย่างไรให้คนดูเขามีความสุขต่างหาก นั่นแหละเป็นหน้าที่ที่คนทำหนัง จะต้องทำให้ได้..ขอบคุณ Nathapong เรื่องการตามหาทายาทเจ้าของโรงหนังที่บ้านโคน ด้วยนะครับ..

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 123) ช่วงนี้ มาดูหนังรถไฟของไทยเรา ซึ่งอยู่ในช่วงปี 2518 นะครับ เรื่องนี้คือ ความรักครั้งสุดท้าย หนังของท่านมุ้ย..

(http://image.ohozaa.com/i/712/3UwjTg.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejhaou8Ll8NvA0Y)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความคิดเห็นที่ 124) รถไฟที่เห็นในหนังเรื่องนี้ ออกจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเกิดของนางเอกคือ ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ แต่ว่าถ่ายไม่เห็นป้ายสถานี แต่คิดว่า คนรักรถไฟคงจะจำได้ ช่วยบอกหน่อยครับว่าเป็นสถานีอะไร ...ปี 2518 หนังรถไฟ ความรักครั้งสุดท้าย

http://www.youtube.com/watch?v=n2jUDMDmFvM

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 125) หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องต่อไปนั้นคือหนังชื่อสั้นๆ ว่า มัน...เป็นหนังบู๊ดังในอดีตครับ ยังอยู่ในปี 2518 ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/609/RwWlf8.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejhdAihjDZl6Vwu)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 126) แต่ว่า ถึงจะมีรถไฟอยู่ในหนังด้วย แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็น สถานีไหนนะครับเพราะถ่ายรถไฟเพียงสั้นๆ นะครับ ลองดูนะครับว่า จะพอเดาออกหรือไม่ว่า เป็นสถานีอะไร คลิกดูได้เลยครับ ปี 2518 หนังรถไฟ มัน

http://www.youtube.com/watch?v=O1BIkcLO3a0

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 127) แต่ถ้าเป็นปี 2518 ที่มีรถไฟเยอะๆ ก็ต้องเรื่องนี้ครับ ผลงานของฉลอง ภักดีวิจิตร เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร

(http://image.ohozaa.com/i/524/siusLr.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejheEekao2FSzdx)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 128) หนังเรื่องนี้แหละครับที่นำรถไฟสองขบวนมาวิ่งชนกัน.. หนังร่วมทุนสร้างกับต่างประเทศ มีการดึงดาราดังๆ ของต่างประเทศมาแสดงด้วย แต่น่าเสียดายที่ฟิล์มต้นฉบับที่ใช้ฉายในเมืองไทยนั้น หาไม่ได้แล้วครับ ก็เลยต้องพึ่งฟิล์มก๊อบปี้เมืองนอกที่เขาตัดต่อทั้งเรื่องให้เหลือเพียง 90 นาที ทั้งๆ ที่เวลาฉายเมืองไทยจะต้องยาวประมาณ 120 นาทีครับ วันนี้ ผมตัดแต่เฉพาะฉากรถไฟมาให้ดูนะครับ ผมดูแล้ว ก็ยังสงสัยว่า ถ่ายทำกันแถวไหนบ้าง...เห็นตัวสถานีวัฒนานคร ไม่รู้ว่า ของจริงหรือไม่...คลิกดูได้เลยครับ ปี 2518 หนังรถไฟ ตัดเหลี่ยมเพชร

http://www.youtube.com/watch?v=u6sX5nFm67w

พุทธพร ส่องศรี ความรักครั้งสุดท้าย (2518) ถ่ายที่หลังสถานีรถไฟพิษณุโลกครับ มีรถจักรไอน้ำหมายเลข 181 จอดอยู่ อาคารสถานีหลังนี้สร้างขึ้นแทนอาคารหลังเดิมที่โดนระเบิดเสียหายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองครับ คงจะยุคเดียวกับอาคารสถานีรถไฟเชียงใหม่และสถานีรถไฟธนบุรี(รพ.ศิริราช)

(http://image.ohozaa.com/i/617/Fd8IxU.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejjG19xfwKRoxjn)

พุทธพร ส่องศรี ที่น่าสนใจมากใน ความรักครั้งสุดท้าย (2518) อีกประการหนึ่งคือ ได้เห็นรถจักรดีเซลยี่ห้ออัลสธอม ของฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันเป็นรถจักรที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดของการรถไฟฯ ครับ แต่ในหนังเรื่องนี้ รถจักรอัลสธอมยังเป็นสีเดิมอยู่ และใหม่เอี่ยม เพราะการรถไฟฯ ซื้อมาเมื่อปี 2517 และเข้าประจำการในปี 2518 ปีเดียวกับที่หนังออกฉายครับ
ก่อนหน้าปี 2518 หนังไทยที่มีรถไฟจะเห็นรถจักรยี่ห้อ GE สีส้มครับ

(http://image.ohozaa.com/i/212/dzRprh.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejjKCSoWcCH0Lcw)

พุทธพร ส่องศรี รถจักรคันเดียวกับในหนังครับ เบอร์ 4130 ในปัจจุบัน ทำสีใหม่แล้ว

(http://image.ohozaa.com/i/cfa/osTXFX.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejjMKKuDv0CTtlL)

พุทธพร ส่องศรี ขอบคุณมากครับพี่เพิ่มพูน
ในภาพยนตร์ตัดเหลี่ยมเพชร ฉากสถานีวัฒนานครนั้นถ่ายทำที่สถานีกาญจนบุรีครับ โดยได้ทำป้ายเลียนแบบสถานีกาญจนบุรีในยุคนั้นซึ่งเป็นป้ายไม้พื้นดำตัวหนังสือสีขาว

(http://image.ohozaa.com/i/0fd/iIFSOJ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejjPAzWU4o5rH1K)

พุทธพร ส่องศรี ป้ายสถานีวัฒนานครของจริง ต้องเป็นแบบนี้ ตั้งแต่ยุคปี 2500 ครับ และไม่มีภูเขาสูง ๆ เป็นฉากหลังด้วยครับ (ภาพโดยคุณวิศรุต จากรถไฟไทยดอทคอม)

(http://image.ohozaa.com/i/fd4/1Xq7EY.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejjQixjte7tI5N8)


หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 03:45:51
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 136) ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเลยครับสำหรับข้อมูลและภาพต่างๆ ที่คุณพุทธพร ส่องศรี นำมาเล่าสู่กันฟัง.. วันนี้ มาดูหนังรถไฟของไทยเรา กันต่ออีกนะครับ ยังเป็นหนังฉายปี 2518 เรื่อง แค้น ..

(http://image.ohozaa.com/i/794/yQHzgU.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejuWnh3RRpG3jds)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 137) หนังเรื่องนี้ ถ่ายสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ไว้ครับ แต่เป็นภาพระยะไกลๆ ลองคลิกดูนะครับ ปี 2518 หนังรถไฟ แค้น

http://www.youtube.com/watch?v=6Ju7CuOm5Ag

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 138) จากนั้นก็มาดูเรื่อง สมิหรา ที่ผมเคยตั้งข้อสงสัยว่า ทำไม ไม่เขียนว่า สมิหลา..

(http://image.ohozaa.com/i/g3b/r4H8oV.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejuX5eqrfJTQp39)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 139) ลองดูนะครับว่า จะเห็นสถานีรถไฟอะไรครับ..ปี 2518 หนังรถไฟ สมิหรา

http://www.youtube.com/watch?v=P-GERP792ns

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 140) แล้วก็เรื่องนี้ครับ พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ ปี 2518 ที่มีรถไฟหลายฉาก

(http://image.ohozaa.com/i/235/lHyxKO.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejuY9athR69w2V5)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 141) เห็นหลายฉากนะครับ ลองดูว่า จะเป็นที่ไหนกันบ้าง ปี 2518 หนังรถไฟ พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ 2518

http://www.youtube.com/watch?v=lxq4SwDAMCg

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 142) มาดูหนังรถไฟของไทยเรา กันต่อนะครับ หนังเรื่องนี้ เหนือบารี ฉายปี 2512 แต่ว่า หนังถ่ายทำไว้ก่อนหน้านั้นหลายปีครับ คุณเกชา เปลี่ยนวิถี เป็นคนสร้างเองและเป็นพระเอกด้วย..

(http://image.ohozaa.com/i/758/397zf1.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejuYR7PQWmXFnJt)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 143) หนังจะถ่ายที่สถานีรถไฟธนบุรี หลายนาที แต่ว่า ตัดมานิดหน่อยนะครับ คลิกดูได้เลยครับ ปี 2512 หนังรถไฟ เหนือบารมี ธนบุรี

http://www.youtube.com/watch?v=wf1lU3sIq6s

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 144) ต่อไปก็เป็นหนังของ คุณาวุฒิ กำหนดให้นางเอกต้องไปอยู่ใต้สะพานพระราม 6 มีการถ่ายทำฉากแถวนั้นเกือบทั้งเรื่อง หนังชื่อ น้องรัก ปี 2512

(http://image.ohozaa.com/i/0f2/NLCU5D.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejxUmf12B8s85nS)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 145) ส่วนใหญ่จะเน้นฉากใต้สะพานพระราม 6 นะครับ แต่ก็มีบางฉากที่เห็นรถไฟวิ่งผ่านบ้าง ก็เลยตัดมาเฉพาะที่เห็นรถไฟกับสะพานพระราม 6 นะครับ คลิกดูได้เลย ปี 2512 หนังรถไฟ น้องรัก สะพานพระราม 6

http://www.youtube.com/watch?v=JBMj7_LhrA8

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 146) เรื่องนี้เป็นหนัง 35 มม.แล้วครับ ผมได้กากฟิล์ม 16 มม.สโคป มาจากจังหวัดพิจิตร เคยโพสต์ฉายไปแล้ว เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน ปี 2514..

(http://image.ohozaa.com/i/6c2/x33bDD.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejxVqb3T37hDmxr)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 147) เรื่องนี้ ฟิล์มเสียหายมากๆ ฟังเสียงไม่ค่อยรู้เรื่อง มีฉากรถไฟเหมือนกัน รู้สึกจะเริ่มต้นที่ สถานีสามเสน ไปสิ้นสุดที่ พิษณูโลก ลองดูนะครับว่า จะเป็นอย่างไร...ปี 2514 หนังรถไฟ ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน สามเสน พิษณุโลก

http://www.youtube.com/watch?v=QJqQ85CRR0o

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 148) ต่อมาก็หนัง 35 มม.อีกครับ เป็นหนังบู๊ดังๆ ในปี 2518 ที่มีฉากรถไฟนิดหน่อย..ไอ้เหล็กไหล..

(http://image.ohozaa.com/i/c5e/niqF1j.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejxW88qsuVba7R4)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 149) ฉากแบบนี้ หามาหลายเรื่องแล้ว ก็ไม่เจอ มาเจอเรื่องนี้แหละครับ ขี่มอเตอร์ไซด์ข้ามหัวรถไฟ.. แต่ไม่รู้ว่าเป็นที่แถวไหน..เผื่อจะมีท่านใดทราบนะครับ ลองคลิกดู ปี 2518 หนังรถไฟ ไอ้เหล็กไหล ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=mkAZQXSO_2k
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 04:03:00
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 150) ตอนนี้ พาไปดูหนังเพลงของคนอีสานที่โด่งดังที่สุดในปี 2520 มนต์รักแม่น้ำมูล..

(http://image.ohozaa.com/i/067/4fOjNR.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejBaq7KFIubtqjs)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 151) ฉากจบของเรื่องจะอยู่ที่สถานีรถไฟอุบลราชธานี.. ลองดูนะครับว่า ใครเคยมีอดีตกับแฟนแบบนี้บ้าง..ปี 2520 หนังรถไฟ มนต์รักแม่น้ำมูล อุบล

http://www.youtube.com/watch?v=iuJSP91ZfMM

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 152) จากอีสาน ก็พาลงไปภาคใต้ ตามหนังเรื่อง กระท่อมนกบินหลา ปี 2525 ไปนะครับ..

(http://image.ohozaa.com/i/a25/ZD5ggr.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejBWZdbwfFjgEfp)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 153) ตามไปดูสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช..ครับ ความจริงเรื่องนี้เคยสร้างมาก่อนแล้วในชื่อ อกธรณี ของ เชิด ทรงศรี แต่พอไปค้นวีซีดี อกธรณี มาดู ก็ไม่เห็นว่า จะมีการถ่ายฉากรถไฟนะครับ.. คลิกดูได้เลยครับ ปี 2525 หนังรถไฟ กระท่อมนกบินหลา นครศรีธรรมราช

http://www.youtube.com/watch?v=4JKpBAxYK6A

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 154) ตอนนี้ มาหนังที่ค่อนข้างใหม่นะครับ เป็นหนังปี 2537 เรื่อง หาดรักเพลงสวรรค์ พระเอกคือ สามารถ พยัคฆ์อรุณ..

(http://image.ohozaa.com/i/530/L1Xdc9.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejBbu3NwgdpdiQv)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 155) นำมาฉายให้ดูก่อน..เพราะหนังจะถ่ายฉากนางเอกร้องเพลงที่สถานีรถไฟ บ้านชะอำ...แต่ว่า กล้องซูมหนังไม่ค่อยดีครับ ไม่เห็นภาพกว้างๆ แต่ว่า มีหัวรถไฟให้เห็น 2 หัวนะครับ คลิกดูได้เลย..ปี 2537 หนังรถไฟ หาดรักเพลงสวรรค์ บ้านชะอำ

http://www.youtube.com/watch?v=2FN_ZoAzEOk

พุทธพร ส่องศรี ขอบคุณพี่อาทรที่ติดตามให้กำลังใจ ให้ข้อมูลและลงพื้นที่พร้อมกับพี่มนัสค้นหาหนังเก่ามาให้ชมกันเสมอครับ
----
ไอ้เหล็กไหล (2518) ผมยังไม่เคยดูเลยครับ แต่เคยเห็นฉากขี่มอเตอร์ไซค์ข้ามขบวนรถไฟนี้ครั้งแรกในคลิป"หนังไทย..อดีตที่ไม่มีวันตาย"ของพี่มนัส ประกอบบทความเฟสบุ๊คบทที่ 1 เลย (ตอน หรือจะปล่อยให้หนังไทยตายจริงๆ) ก็ได้แต่สงสัยว่าอยู่ในหนังเรื่องอะไร ว่าจะถามพี่มนัสอยู่เหมือนกัน เพิ่งทราบว่าอยู่ในเรื่องไอ้เหล็กไหล (2518) เมื่อวานนี้แหละครับ
----
คุณ Nakhonlampang จากรถไฟไทยดอทคอม แต่ไม่ได้เล่นเฟสบุ๊กได้ชมแล้ว บอกดังนี้ครับ
"เห็นรถจักรไอน้ำ C56 แบบนี้ ไม่พ้นทางสายกาญจนบุรีแน่ๆ
ดูจากทางตัดเฉียงๆ และทางรถไฟโค้งๆแบบนี้ น่าจะเป็นบริเวณทางตัดผ่านของถนนแสงชูโต กับทางรถไฟช่วงจากสถานีกาญจนบุรีไปสะพานข้ามแม่น้ำแควนะครับ"

พุทธพร ส่องศรี หาดรักเพลงสวรรค์ (2537) ป้ายสถานี"บ้านชะอำ" ปัจจุบันการรถไฟฯ ได้เปลี่ยนชื่อสถานีเป็น "ชะอำ" เฉย ๆ แล้วครับ เรื่องนี้ได้เห็นรถดีเซลรางเข้าฉากด้วยครับ อย่างที่คุณ Nathapong Baimonta วิเคราะห์ไว้ หนังเรื่องนี้น่าสนใจตรงมีเพลงประกอบเกี่ยวกับรถไฟด้วยครับ ผมเพิ่งได้ชมครั้งแรกเช่นกัน

พุทธพร ส่องศรี มนต์รักแม่น้ำมูล (2520) ฉากรถไฟฉากนี้ผมชอบมากเช่นกันครับ ได้เห็นอาคารสถานีอุบลราชธานีหลังเก่า และหลักกิโลเมตรที่ 575 ซึ่งของเดิมวางแบบเอียง ๆ ทำมุมป้านกับทางรถไฟครับ

(http://image.ohozaa.com/i/5da/OhRv8I.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejCiBUMOweFvFlB)

พุทธพร ส่องศรี ถ้าดูในภาพถ่ายเมื่อปี 2551 จะเห็นว่าอาคารสถานีอุบลฯ สร้างใหม่ใหญ่โตแล้วครับ เป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ และหลัก กม. ที่ 575 ก็เอามาฝังไว้แบบตรง ๆ ตั้งฉากกับพื้นชานชาลาครับ

(http://image.ohozaa.com/i/035/9QAKSw.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejCl5LyNOEo8aWA)

พุทธพร ส่องศรี แต่ล่าสุดปี 2553 มีการสร้างหลักกิโล 575 ให้ใหญ่กว่าเดิมขึ้นไปอีกครับ ไว้ถ่ายรูปเพื่อการท่องเที่ยวได้เลย

(http://image.ohozaa.com/i/52b/NvF4RD.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejCBKLC876G0rvF)

พุทธพร ส่องศรี ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514) คุณ Nakhonlampang บอกว่า "เรื่องนี้ความน่าสนใจอยู่ที่ภาพเคลื่อนไหวของรถจักรดีเซล Davenport รุ่น 1,000 แรงม้า ที่ทำขบวนจริงๆครับ (เสียดายที่ภาพไม่ชัด) ลำพังภาพนิ่งตอนทำขบวนก็หาดูยากอยู่แล้ว ภาพเคลื่อนไหวสมัยกลายเป็นรถจักรสับเปลี่ยนก็น่าจะมีแต่คันหมายเลข 571 อยู่คันเดียว ก็ไม่รู้ว่ามีใครได้ถ่ายไว้บ้างนะครับ"

(http://image.ohozaa.com/i/593/IbQ9yh.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejCDwF1xPtvIS6G)

พุทธพร ส่องศรี สังเกตภาพข้างบน ซึ่งเป็นสถานีสามเสนนี้ หลังคาจะมีเอกลักษณ์ที่นิยมเรียกกันว่า"หลังคาทรงดอกเห็ด" ซึ่งออกแบบได้สวยงามครับ น่าเสียดายที่โดนทุบทำลายไปหมดแล้วตั้งแต่ตอนสร้างรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ สถานีนี้ปรากฏอยู่ใน สมิหรา (2518) ด้วยครับ แต่ยังผมหาเหตุผลไม่เจอครับว่าทำไมไม่ตั้งชื่อหนังว่า สมิหลา (ล ลิง)

(http://image.ohozaa.com/i/2cd/sr8fuC.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejCH4rQnJQYcAD6)

พุทธพร ส่องศรี เหนือบารมี (2512) เห็นวิหารหลวงพ่อโบสถ์น้อยของวัดอมรินทรารามครับ

(http://image.ohozaa.com/i/c83/Zc523l.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejCHMpcWLIPyicZ)

พุทธพร ส่องศรี ภาพในปัจจุบันครับ ขวามือคือสะพานอรุณอมรินทร์ ด้านข้างของวิหารฯ มองไม่เห็นหน้าต่างแล้ว เพราะโดนอาคารสร้างใหม่บดบังครับ

(http://image.ohozaa.com/i/27b/NUkE99.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejCJUhiEqRTFLUY)

พุทธพร ส่องศรี ภาพถ่ายของฝรั่งในยุคเดียวกันกับภาพยนตร์เหนือบารมี

(http://image.ohozaa.com/i/551/fyBbbM.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejEyZuR6BG7SNWo)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 04:14:33
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 171) เรียกได้ว่า เต็มอิ่มจริงๆ กับความรู้ที่ได้ฟังกับภาพประกอบที่ได้เห็นเปรียบเทียบ..ขอบคุณมากๆ ครับ ตอนนี้มาดูอีกชุดหนึ่ง จะเป็นรถไฟแถวๆ เมืองกาญจนบุรีนะครับ เริ่มจากปี 2519 หนังของ พร ไพโรจน์เรื่อง เสือ 4 แคว

(http://image.ohozaa.com/i/aaa/0TSP7h.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejGvSfpNDWC2H6e)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต(เขียนช่องความเห็นที่ 172) หนังเรื่องนี้เปิดฉากที่เรือนจำนครสวรรค์ สมบัติ-กรุง หนีคุกมา แล้วก็มาที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ไม่แน่ใจว่าเป็น ถ้ำกระแซ หรือเปล่า จากนั้นก็มาที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว ลองคลิกดูครับ ปี 2519 หนังรถไฟ เสือ 4 แคว สะพานข้ามแม่น้ำแคว

http://www.youtube.com/watch?v=1AMDuBngzbk

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 173) ต่อไปก็หนังปี 2519 ของ พยุง พยกุล เรื่อง คมเฉือนคม

(http://image.ohozaa.com/i/c00/VhoB2v.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejGyI4S4xF9h36g)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 174) เห็นสะพานนิดเดียวเท่านั้น ลองคลิกดูครับ ปี 2519 หนังรถไฟ คมเฉือนคม สะพานข้ามแม่น้ำแคว

http://www.youtube.com/watch?v=xE_fq45QO68

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 175) เข้ามาถึงปี 2520 จากหนังของคุณนำดี วิตตะ เรื่อง ดวล ที่มีดาราฝรั่งร่วมแสดงด้วย

(http://image.ohozaa.com/i/61c/pmOXB7.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejGBxUkkYIVMHSF)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 176) เรื่องมีฉากดวลปืนกันแถวๆ ถ้ากระแซ ลองคลิกดูครับ ปี 2520 หนังรถไฟ ดวล ถ้ำกระแซ

http://www.youtube.com/watch?v=gAjGUMsoo90

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 177) เรื่องนี้ปี 2523 แผ่นดินแห่งความรัก ก็มีรถไฟเหมือนกัน

(http://image.ohozaa.com/i/21d/SgkaWG.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejGCfRGUcUT1M6b)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 178) แต่ว่ารถไฟที่ว่านั้น ดูแล้วเหมือนตัดแปะกันคนละแห่ง สุดท้ายก็มาถึงถ้ำกระแซ...ลองคลิกดูครับ ปี 2523 หนังรถไฟ แผ่นดินแห่งความรัก ถ้ำกระแซ

http://www.youtube.com/watch?v=14gUYaHs6eQ

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 179) เรื่องนี้ปี 2528 หนังตลกๆ ของ สมโพธิ แสงเดือนฉาย มีรถไฟเหมือนกัน

(http://image.ohozaa.com/i/5be/nWH2Nq.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejGE1L6kdXKsVjS)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 180) ถ่ายไว้เยอะเหมือนกัน ลองคลิกดูนะครับ ปี 2528 หนังรถไฟ กิ้งก่ากายสิทธิ์ ถ้ำกระแซ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

http://www.youtube.com/watch?v=9A_GbbwRNL0

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 181) ปิดท้ายด้วย คู่รัก ปี 2532 ที่มีฉากพานักศึกษาไปเที่ยวครับ..

(http://image.ohozaa.com/i/683/ERqzDW.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejGFNEvJYdP5gPD)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 182) นั่งรถไฟร้องเพลงไปเรื่อยๆ พอเพลงจบ เห็นแว่บหนึ่งครับ..ลองคลิกดู...ปี 2532 หนังรถไฟ คู่รัก ถ้ำกระแซ

http://www.youtube.com/watch?v=iuobUNWAqY8

พุทธพร ส่องศรี ความเห็นเพิ่มเติมจากคุณ black_express ครับ
"เรื่อง "ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน" นี้ ผมเคยติดตามอ่านตั้งแต่เป็นวนิยายลงในนิตยสาร "บางกอก" รู้สึกว่าจะประพันธ์โดยนักเขียนสองท่าน คือ "พันธุ์ บางกอก" (สมพันธ์ ปานะถึก) กับ "อรชร" (เชิด ทรงศรี) แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "ไอลดา" ตามชื่อนางเอกของเรื่อง พอสร้างเป็นหนัง ผู้สร้างกลับมาใช้ชื่อเดิม จำได้ว่ามีคนแอบค่อนขอดนิดๆ เป็นชื่อหนังที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ถ้ามีนามปากกา "พันธุ์ บางกอก" อยู่ด้วยแล้ว จะมีฉากเกี่ยวกับรถไฟ และป่าไม้ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างเช่น ร้อยป่า ซึ่งผมเริ่มชอบรถไฟก็จากเรื่องนี้นี่แหละ

ดีใจที่ได้เห็นสถานีสามเสนในยุคที่ยังสมบูรณ์ครับ ขบวนรถที่เห็น คงจะเป็นรถสินค้าไปยังสถานีแม่น้ำ หรือมักกะสัน เพราะสถานีกรุงเทพ ไม่มีย่านสินค้าแล้วครับ"



หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 04:32:22
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 186) หนังรถไฟของไทยเรา ชุดที่ผ่านมาคงเป็นสถานที่ที่ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ ตอนนี้มาดูเรื่องต่อไปนะครับ เป็นหนังเพลงดังปี 2521 เรื่อง ซุปเปอร์ลูกทุ่ง

(http://image.ohozaa.com/i/f31/TFSTs1.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejJYHmHDFb3QauQ)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 187) มีการถ่ายที่สถานีรถไฟ เป็นฉากที่ล้อต๊อกกับกรุง ศรีวิไล พากันเข้ากรุงเทพฯ และขึ้นไปร้องเพลงบนตู้รถไฟ...ผมเห็นกล้องเขาถ่ายเกือบติดชื่อสถานีแล้วนะครับ แต่ยังอ่านไม่ได้ ลองคลิกดูนะครับว่า จะเป็นสถานีอะไร...ปี 2521 หนังรถไฟ ซุปเปอร์ลูกทุ่ง ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=X4jrrfVxO2w

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 188) ส่วนเรื่องนี้ก็มีรถไฟเหมือนกัน หนังของ รุจน์ รณภพ ปี 2519 เรื่อง นรกตะรูเตา..

(http://image.ohozaa.com/i/ae5/81ZFJz.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejK1bdtCUzmFfrI)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 189) เห็นป้ายชื่อสถานีนิดเดียว อ่านยังไม่ออกครับ ลองดูว่า จะเป็นสถานีอะไรครับ ปี 2519 หนังรถไฟ นรกตะรูเตา อ่านไม่ออก

http://www.youtube.com/watch?v=YBbKCHMsJpo

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 190) นี่ก็ปี 2520 เรื่อง ถล่มมาเฟีย ของ กรุง ศรีวิไล สร้าง

(http://image.ohozaa.com/i/fb9/0I2APz.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejK3j5zkgvCG5eD)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 191)ก็มีสถานีรถไฟเหมือนกัน บอกว่า จะเข้ากรุงเทพฯ แต่ไม่รู้ว่า สถานีไหนครับ ลองคลิกดู ปี 2520 หนังรถไฟ ถล่มมาเฟีย ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=jXmuKghRryg

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 192) ยังอยู่ในปี 2520 เช่นกันครับ หนังของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ เรื่อง เหยียบหัวสิงห์

(http://image.ohozaa.com/i/efd/v5BG1m.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejK6uTHSFHZipBo)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 193) เรื่องนี้ก็มีทั้งสถานีรถไฟ รถไฟ มีสรพงศ์โหนใต้ท้องรถไฟด้วย แต่ไม่รู้ว่า สถานีแถวไหนครับ ลองคลิกดู...ปี 2520 หนังรถไฟ เหยียบหัวสิงห์ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=e8zaOB383Fc

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 194) ยังเป็นหนังปี 2520 อยู่นะครับ หนังเรื่องนี้ดูตอนเด็กๆ ชอบมาก ยอดมนุษย์คอมพิวเตอร์

(http://image.ohozaa.com/i/e2d/zfUplA.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejK8gN7iuJnypkF)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 195) จะมีอยู่ฉากหนึ่งที่เห็น ยอดชาย เมฆสุวรรณ ตอนเป็นมนุษย์คอมพิวเตอร์วิ่งแข่งกับรถไฟครับ แต่ว่า ไม่รู้เขาไปถ่ายรถไฟแถวไหนมาแปะกับหนังครับ ปี 2520 หนังรถไฟ ยอดมนุษย์คอมพิวเตอร์ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=D2BaotNe59A

พุทธพร ส่องศรี นรกตะรุเตา (2519) ถ่ายที่สถานีรถไฟควนเนียง จ.สงขลาครับ ตามเหตุการณ์จริง แต่ป้ายสถานีทำจำลองขึ้นให้เหมือนป้ายสมัยโน้น พื้นดำตัวหนังสือขาวครับ ผู้กำกับใส่ใจในรายละเอียดดีจริง ๆ

(http://image.ohozaa.com/i/ge6/Gf6yFG.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejNftcNQcrC1UvX)

พุทธพร ส่องศรีแผ่นดินแห่งความรัก (2523) เป็นหนังไทยอีกเรื่องที่บันทึกเรื่องราวของรถไฟไว้ได้หลากหลายครับ ยังนึกแปลกใจว่าเหตุใดคุณชรินทร์ นันทนาครถึงเลือกสถานที่ถ่ายทำอยู่คนละทิศคนละทางกันเลยนะครับ
เปิดฉากที่พี่มนัสตัดมาให้ชมกัน ฉากนี้คุณ Nakhonlampang บอกว่าถ่ายแถว ๆ บางปะอินครับ เพราะทางรถไฟขึ้น-ลงเนิน และมีสะพานเล็ก ๆ อยู่ด้วย และเป็นรถไฟทางคู่ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/aa1/RPcOfO.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejNiF0WogM5joeK)

(http://image.ohozaa.com/i/2d2/3ZQIBF.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejNl8RInvI73PQM)
ภาพปัจจุบันครับ

พุทธพร ส่องศรี คุณจารุณี สุขสวัสดิ์บนสะพานถ้ำกระแซ จ.กาญจนบุรีครับ

(http://image.ohozaa.com/i/f43/6pzZ10.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejNnCIumBEj3iRT)

พุทธพร ส่องศรี ฉากนี้ที่สถานีรถไฟช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/gfa/LpgnuI.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejNravjc9INyw16)

พุทธพร ส่องศรี ที่สถานีช่องแค มีภูเขาลูกนี้อยู่ด้วยครับ ด้านหลังคุณจารุณี

(http://image.ohozaa.com/i/783/xOvNmP.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejO36ehxjVbXMVJ)

พุทธพร ส่องศรี ภาพเปรียบเทียบครับ ภูเขาลูกเดียวกัน

(http://image.ohozaa.com/i/58e/D7tCUs.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejO9PPeVkOYcIGS)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 04:41:02
พุทธพร ส่องศรี ภาพนี้เป็นหลักฐานสำคัญว่าในอดีต สถานีรถไฟช่องแค เคยเป็นที่สำหรับให้รถจักรไอน้ำหยุดพักเติมน้ำครับ เพราะมีถังน้ำให้เห็นอยู่ แต่ปัจจุบันถังน้ำถูกรื้อออกไป ไม่เหลือซากให้เห็นแล้วครับ เหลืออยู่แต่ในหนังแผ่นดินแห่งความรัก (2523) เท่านั้น

(http://image.ohozaa.com/i/e69/cmqI74.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejPL5Sckdflkp4D)

พุทธพร ส่องศรี และฉากนี้ถ่ายทำที่สถานีมวกเหล็ก จ.สระบุรีครับ สังเกตจากภูเขาที่เป็นฉากหลัง และรางตันไว้สำหรับจอดตู้สินค้า ซึ่งการรถไฟฯ เรียกว่า "ชานบรรทุก"
ปัจจุบันไม่มีการขนส่งสินค้าที่สถานีมวกเหล็กแล้ว บริเวณชานบรรทุกมีวัชพืชขึ้นรก ไม่มีภาพอดีตที่รุ่งเรืองอย่างในหนังให้เห็นแล้วครับ

(http://image.ohozaa.com/i/f3e/1AZnR0.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejQjPN272MGarN6)

พุทธพร ส่องศรี ภาพเปรียบเทียบครับ สถานีมวกเหล็ก สังเกตภูเขาด้านหลังนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/068/q7Q19P.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejQu7aOkPrpDYkp)

พุทธพร ส่องศรี รางตันที่แยกออกไปทางซ้ายมือนั่นแหละครับ ที่เคยใช้ขนสินค้าในแผ่นดินแห่งความรัก สังเกตด้านซ้ายสุด ชานบรรทุกหญ้าขึ้นรกหมดแล้วครับ

(http://image.ohozaa.com/i/a85/L1G6Sw.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejQBcKs0n25jZal)

พุทธพร ส่องศรี ตามพี่มนัสไปอ่านในยูทูบแล้วครับ ข้อมูลน่าสนใจมากครับ
ที่รถไฟไทยดอทคอม คุณ Nakhonlampang ก็ไขปริศนาป้ายชื่อสถานีได้แล้วเช่นกันครับ ดังนี้
----
ฉากต้นคลิปที่กรุง ศรีวิไลเดินไปตามทางรถไฟ ก็เห็นว่าเป็นทางรถไฟโทรมๆ แล้วก็อยู่ใกล้กับภูเขาแหว่งๆ ดูแล้วไม่น่าใช่ทางสายหลัก คงจะเป็นทางแยกหมวดศิลาที่ไหนสักแห่ง ตอนแรกยังนึกไม่ออก

(http://image.ohozaa.com/i/g2e/LP9qW5.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejQIEiLXRaS07YS)

พุทธพร ส่องศรี ตัดมาที่ชานชาลาสถานีรถไฟ ตรงบริเวณที่กรุง ศรีวิไลคุยอยู่กับป๋าต๊อก แม้ว่าจะไม่เห็นป้ายชื่อสถานี และสภาพแวดล้อมโดยรอบมากนัก แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นสถานีที่เจริญพอสมควร โชคดีที่มีป้ายบอกสถานีข้างเคียงอยู่ใกล้ๆ แต่เจ้ากรรม เสาหลังคาชานชาลาก็มาบังชื่อสถานีพอดี

โชคดีที่ยังพอมองเห็นว่า สถานีข้างเคียงที่ป้ายชี้ไปด้านซ้าย คือ สถานีห้วยอะไรสักอย่าง กับระยะทาง 4.72x

(http://image.ohozaa.com/i/fb7/h5I1aN.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejQQNOsu0cqBQjt)

พุทธพร ส่องศรี พอมาถึงตรงนี้ ชื่อแรกที่นึกถึงก็คือ บ้านหมี่ ครับ
ตัวอาคารสถานีบ้านหมี่ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของทางรถไฟสายเหนือ เมื่อดูที่ป้ายบอกสถานีข้างเคียง ฝั่งซ้ายจะเป็นสถานีที่อยู่เหนือขึ้นไป คือ สถานีห้วยแก้ว ระยะทางห่างจากบ้านหมี่ 4.72 กม. ส่วนสถานีที่อยู่ถัดลงมาทางใต้คือ สถานีหนองทรายขาว ที่สำคัญชื่อภาษาอังกฤษก็สะกดว่า BAN MI ตรงกับที่เห็นในหนังทุกอย่าง

สรุปก็คือ ฉากที่ถ่ายในบริเวณสถานีรถไฟนั้น ถ่ายที่ สถานีบ้านหมี่ ครับ
และฉากเดินตามทางรถไฟตอนต้นคลิปถ่ายบริเวณ ทางแยกหมวดศิลาบ้านหมี่

(http://image.ohozaa.com/i/745/j1zWXX.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejQYfmMrcScdbCj)

หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 05:03:22
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 217) ปิดท้ายคืนนี้ด้วย หนังรถไฟของไทยเรา อีกสักเรื่องหนึ่ง เป็นหนังบู๊ๆ ปี 2520 เรื่อง ตาปี อีปัน...

(http://image.ohozaa.com/i/f6c/6sZDrK.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejTGhi2QAkY8Og2)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 218) หนังเรื่อง ผมว่า ถ้าปล่อยภาพแบบจอสโคป ก็คงจะเห็นชัดว่า สถานีรถไฟที่ใช้ทำไตเติ้ลหนังนั้นเป็นสถานีไหนนะครับ แต่พอทำภาพแบบเต็มจอ ก็เลยทำให้ภาพข้างๆ ขาดหายไปครับ แต่ตามเรื่องและคำพูดของตัวละคร ก็บอกว่าเป็น สถานีนาสาร..ซึ่งผมก็ไม่รู้จะใช่หรือไม่ ลองคลิกดูนะครับ...ปี 2520 หนังรถไฟ ตาปี อีปัน อาจเป็น นาสาร

http://www.youtube.com/watch?v=J5S9lBCnGf8

พุทธพร ส่องศรี กิ้งก่ากายสิทธิ์ (2528) นี้ นอกจากตลก สนุกสนานแล้ว ยังเก็บบรรยากาศของทางรถไฟสายน้ำตก (สายกาญจนบุรี) ไว้ได้เป็นอย่างดี ใกล้เคียงกับที่ผีเสื้อและดอกไม้ (2528) หนังปีเดียวกัน ที่เก็บบรรยากาศทางรถไฟในจังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ และต้องชื่นชมการทำเทเลซีนที่เป็นจอกว้างและสีสวยงามด้วยครับ
สมัยนั้นขบวนรถรวม (รถโดยสาร+รถสินค้า) ยังเห็นตู้บรรทุกสัตว์และตู้ ต.ญ. อยู่ครับ ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้รถรวมยังมีอยู่ แต่เปลี่ยนเป็นตู้คอนเทนเนอร์

(http://image.ohozaa.com/i/eb1/JV01wB.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejTNmRGwiTqhmj2)

พุทธพร ส่องศรีสมัยนั้นบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควยังไม่ดูรกรุงรังไปด้วยร้านค้าเหมือนปัจจุบันนะครับ เพลงประกอบก็เอามาจากหนังฝรั่งเรื่อง The Bridge on the River Kwai (1957) ชื่อเพลง Colonel Bogey March กันเลยทีเดียว
และที่ถูกใจคนรักรถไฟมาก คือภาพมุมสูงของสะพานข้ามแม่น้ำแควและป้ายนี้ครับ หาดูไม่ได้แล้ว ป้ายแบบเดิม ๆ ของการรถไฟฯ ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/g59/ke1png.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejTVaoGL89K4vkw)

พุทธพร ส่องศรี ปัจจุบัน เน้นการท่องเที่ยว ทำป้ายคล้ายสถานีหัวหินครับ

(http://image.ohozaa.com/i/6f3/tRXTV0.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejU3FT3yRXcXn5D)

พุทธพร ส่องศรี กระท่อมนกบินหลา (2525) เป็นหนังไทยเรื่องที่ 2 ที่ผมรู้จักครับที่ถ่ายที่สถานีนครศรีธรรมราช (เรื่องแรกคือ โนห์รา (2509) มีฉากสั้น ๆ เพียงไม่กี่วินาทีตอนท้ายเรื่อง)
เพลงประกอบคือ เพลงบินหลา ของวงแฮมเมอร์ครับ เข้าใจว่าออกอัลบั้มตั้งแต่ปี 2523 วงแฮมเมอร์นี้ มักเข้าใจกันผิดว่าเป็นชาวปักษ์ใต้ครับ แต่ที่จริงแต่ละท่านในวงมีเชื้อสายปาทาน เป็นชาวนครนายก แต่ไปอยู่ภาคใต้ คำว่าบินหลา หมายถึงนกกางเขนครับ
เรื่องนี้ได้เห็นอาคารสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช หลังจากสร้างเสร็จแล้ว 10 ปีครับ (สร้างราวปี 2515)
และในตอนต้นคลิป ได้เห็นเส้นทางรถไฟช่วงระหว่างชุมทางทุ่งสง-ชุมทางเขาชุมทอง ที่คู่กันไปกับทางหลวงหมายเลข 41 ด้วยครับ ขบวนรถด่วนลงใต้ มักจะมาสว่างแถว ๆ นี้ ได้วิวทิวทัศน์สวยงามคล้ายขุนตานของรถไฟสายเหนือ

(http://image.ohozaa.com/i/a4c/v8NMmr.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejU8ZzhOGEd7QrL)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 223) ขอบคุณมากๆ ครับ ตอนนี้มาดูรถไฟจากเรื่อง ชุมทางหาดใหญ่ ปี 2509

(http://image.ohozaa.com/i/53d/Uw8g81.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejUg58Vuf936P0K)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 224) เดิมที ตอนแรกคิดว่า จะฉายใหม่เต็มฟิล์มที่ได้มา แต่พอคุยกับคุณเอ็ม อิงคศักย์ ถึงงานมิตร ชัยบัญชา ปีหน้าปี 2557 ว่า ถ้าเราไม่มีหนังมิตรฉาย เราทำ ชุมทางหาดใหญ่ ฉายกันดีไหม คุณเอ็มก็บอกว่า ดี เตรียมตัวเลย วันนี้ ก็เลยตัดฉากรถไฟมาไว้ในบทนี้ก่อนนะครับ คลิกดูได้เลย ปี 2509 หนังรถไฟ ชุมทางหาดใหญ่ สงขลา

http://www.youtube.com/watch?v=fCv8xetH8io

พุทธพร ส่องศรี ถล่มมาเฟีย (2520) คุณ Nakhonlampang มาวิเคราะห์ให้เมื่อคืน ดังนี้ครับ
----
จุดสังเกตแรก นักแสดงเดินเข้ามาที่ชานชาลาจากทางด้านข้างของตัวอาคารสถานี ซึ่งตัวอาคารที่มองเห็นในมุมนี้เป็นอาคารคอนกรีต และน่าจะมีขั้นเดียว เพราะมองเห็นชายคาอยู่ไม่สูง

(http://image.ohozaa.com/i/636/WTITrW.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejW6WfTmFTEp62f)

พุทธพร ส่องศรี จุดสังเกตที่สอง ชื่อสถานีแม้ว่าจะอ่านไม่ออก แต่ก็เห็นได้ว่าชื่อค่อนข้างยาว / มองเลยไปด้านหลังจะเห็นภูเขาอยู่ไกลๆ / หลังคาชานชาลาโครงสร้างทำด้วยรางรถไฟเก่า และดูเหมือนจะบานออกสองด้าน เมื่อพิจารณาร่วมกับอาคารสถานีที่เป็นคอนกรีตแล้ว มีแนวโน้มว่าทางที่ขบวนรถวิ่งเข้ามานี้น่าจะไม่ใช่ทางที่ 1 / มองทางขวาของขบวนรถเห็นย่านสถานีค่อนข้างกว้าง

(http://image.ohozaa.com/i/c29/0UvInN.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejWcfW7CaMpGxWM)

พุทธพร ส่องศรี ข้อสังเกตที่สาม เมื่อมองไปอีกด้าน ทางที่ 1 จะอยู่ขวาสุด เห็นขบวนรถวิ่งอยู่ในทางที่ 3 (แต่ตรงนี้อาจจะเป็นรถคนละขบวนกับภาพก่อนหน้านี้ก็ได้) สังเกตว่าทางที่ 3 อยู่ห่างจากทางที่ 2 มาก และมีเสาโทรเลขที่มีส่วนล่างเป็นคอนกรีต-ส่วนบนเป็นเหล็กปักอยู่ระหว่างทางที่ 3 และ 4 / และสังเกตลักษณะการรวมเข้าหากันของรางในย่านสถานีนะครับ

จากลักษณะอาคาร ขนาดของย่าน สภาพแวดล้อม และองค์ประกอบย่อยๆที่เห็น ตอนนี้ผมก็เลยคืดว่าสถานีรถไฟในฉากนี้ คือ ชุมทางแก่งคอย ครับ แม้ว่าผมจะไม่คุ้นเคยกับสถานีชุมทางแก่งคอยในรูปแบบเดิม และปัจจุบันบริเวณสถานีชุมทางแก่งคอยจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่เมื่อเทียบกับภาพในหนังแล้วก็ยังมีเค้าโครงเคิมที่ดูคล้ายกันให้เห็นอยู่ไม่น้อย
อาคารสถานีแก่งคอยเมื่อมองมาจากทางรถไฟ อาคารส่วนทางด้านตะวันตกซึ่งอยู่ทางซ้ายมือจะเป็นอาคารชั้นเดียว / หลังคาชานชาลาที่เห็นในจังหวะที่ขบวนรถวิ่งเข้ามาถูกรื้อออกไปแล้ว เพื่อขยับตำแหน่งจุดจอดรถมาในตำแหน่งปัจจุบัน จากเดิมที่จอดหน้าอาคารสถานีพอดี

(http://image.ohozaa.com/i/f22/8q4NKn.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejWihzIr34ZGZdG)

พุทธพร ส่องศรี ภาพข้างล่างนี้ให้สังเกตลักษณะเสาโทรเลขและตำแหน่งที่ปักเสาโทรเลขนะครับ จะเห็นว่าเสามีลักษณะเดียวกัน และปักระหว่างทางที่ 3 และ 4 เหมือนกัน
ภาพถ่ายวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 ครับ

พอดีผมไม่มีภาพตัวอาคารสถานีชัดๆ เพื่อดูรายละเอียดเทียบกับที่เห็นในหนัง แต่ค่อนข้างมั่นใจว่าเป็น ชุมทางแก่งคอย ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/e76/xkqtjz.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejWqN45f1QKzaz7)

พุทธพร ส่องศรี ตาปี อีปัน (2520) ช่วงที่มือปืนปลอมเป็นคนตาบอดเดินเข้ามาที่อาคารสถานีรถไฟนั้น เป็นสถานีกาญจนบุรีครับ ซึ่งมีช่องกลางเป็นโถงผู้โดยสาร

(http://image.ohozaa.com/i/72d/Y9a5jC.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejWCumABlvBRV8W)

(http://image.ohozaa.com/i/g5d/d17iSW.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejWNtHJo8KB3Xxz)
อาคารสถานีกาญจนบุรีในปัจจุบัน สังเกตช่องกลางครับ

พุทธพร ส่องศรี คุณภาวนา ชนะจิต ยืนอยู่ที่สถานีชุมทางตลิ่งชันครับ สังเกตจากหลังคาคลุมชานชาลาที่ลาดลง และเสาไม้ครับ อีกทั้งด้านซ้ายมือก็มีหอประแจด้วยครับ
นับเป็นอีกภาพประวัติศาสตร์ เพราะปัจจุบันอาคารสถานีชุมทางตลิ่งชันถูกรื้อหมดแล้ว สร้างใหม่รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชันครับ หอประแจก็รื้อไปแล้ว
เข้าใจกันว่าฉากนี้ ถ่ายซ่อมครับ เพราะฉากอื่น ๆ จะถ่ายที่สถานีกาญจนบุรี

(http://image.ohozaa.com/i/208/VyRJZi.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejX48HMIGyvrox5)

พุทธพร ส่องศรี[/b] อาคารสถานีชุมทางตลิ่งชัน ถ่ายเมื่อ 27 พ.ค. 52 ครับ ปัจจุบันรื้อหมดแล้ว (เอาบางส่วนไปสร้างเป็นอาคารสถานีจำลองครับ ถ้ามีโอกาสไปเที่ยวชุมทางตลิ่งชัน ลองเข้าไปชมได้)

(http://image.ohozaa.com/i/28b/vhm2eN.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejYNygqDqsH9Xwq)

พุทธพร ส่องศรี[/b] สถานีกาญจนบุรี หันหน้าให้ราง ถ้ามองไปทางซ้ายจะเห็นภูเขาสูง ๆ ครับ ส่วนถ้ามองไปทางขวาจะเห็นดงตาลครับ
ภาพนี้มองไปทางซ้าย

(http://image.ohozaa.com/i/ad9/I7nQwI.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejYS9ZikgsGvPUU)

พุทธพร ส่องศรี[/b] ภูเขาลูกเดียวกันครับ แต่อาจจะดูเตี้ยกว่าในหนัง เพราะในหนังบีบภาพ ไม่ได้ถ่างภาพด้วยเลนส์สโคปอย่างเต็มที่ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/207/Rhtma9.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejYYxBzqvoKi8ud)

พุทธพร ส่องศรี[/b]อ้อ โรงรถจักรกาญจนบุรีในตาปี อีปัน (2520) เคยปรากฏในตัดเหลี่ยมเพชร (2518) ด้วยครับ

(http://image.ohozaa.com/i/0ad/t6sptU.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xejZ4dgtXQ1B1Gi6)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: มนัส กิ่งจันทร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 07:39:41
ขอบคุณ คุณเค มากๆ ครับกับเรื่องราวที่นำมาโพสรวมกันไว้ ณ ที่นี่.. กระทู้ รวมหนังรถไฟของไทยเรานั้น เรียกว่า ยาวเหยียดเลยครับเพราะผมตัดหนังรถไฟไว้ประมาณ 119 เรื่อง โพสทุกวันไปเรื่อยๆ เกือบหมดแล้วครับ ที่สำคัญจะมีความเห็นของกลุ่มคนรักรถไฟ นำโดย คุณพุทธพร ส่องศรี ผมอ่านแล้วชอบมากๆ ครับ เสียดายแต่ว่า เราไม่สามารถหาหนังรถไฟได้มากกว่านี้ครับ..
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 23 พฤศจิกายน 2013, 21:00:41
ขอบคุณ คุณเค มากๆ ครับกับเรื่องราวที่นำมาโพสรวมกันไว้ ณ ที่นี่.. กระทู้ รวมหนังรถไฟของไทยเรานั้น เรียกว่า ยาวเหยียดเลยครับเพราะผมตัดหนังรถไฟไว้ประมาณ 119 เรื่อง โพสทุกวันไปเรื่อยๆ เกือบหมดแล้วครับ ที่สำคัญจะมีความเห็นของกลุ่มคนรักรถไฟ นำโดย คุณพุทธพร ส่องศรี ผมอ่านแล้วชอบมากๆ ครับ เสียดายแต่ว่า เราไม่สามารถหาหนังรถไฟได้มากกว่านี้ครับ..

ว่างๆ รบกวนพี่ แนะนำ พี่พุทธพร ส่องศรี  มาร่วม พูดคุยแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ที่นี่ ด้วยนะครับ 

 ;D
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 04:36:18
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 241)ต้องบอกว่า สุดยอด ยอดเยี่ยมมากๆ ในการวิเคราะห์และค้นหาข้อมูลตลอดจนภาพนิ่งมาให้พวกเราได้รู้ได้ฟังกัน นอกจากทึ่งในความรู้แล้ว ยังอ่านได้อย่างเพลิดเพลิน บางเรื่องก็ไม่น่าเชื่อว่า หนังเขาจะถ่ายแปะขนาดนั้น ทำเอาคนดูอย่างเราๆ เชื่อสนิทใจว่าเป็นสถานที่ที่หนังต้องการสื่อเลยครับ..ขอบคุณพุทธพร ส่องศรี และคุณNathapong Baimonta มากๆครับ.. ตอนนี้ก็มาดูหนังรถไฟของไทยเรากันต่อ เป็นหนังท่านมุ้ยปี 2519 เรื่อง เทวดาเดินดิน..

(http://image.ohozaa.com/i/032/IRll59.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerMARwA4u4MzI9v)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 242) เรื่องนี้ถ่ายบนหลังคารถไฟนานมากๆ ผมยังไม่รู้ว่าเป็นแถวไหน พอลงรถไฟ ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นแถวไหน แต่ต้องเป็นภาคใต้แน่ๆ รอฟังจากท่านผู้รู้ต่ออีกนะครับ ปี 2519 หนังรถไฟ เทวดาเดินดิน หาดใหญ่ หัวลำโพง

http://www.youtube.com/watch?v=keK89scRx6A

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 243) ต่อไปก็เป็นเรื่อง แผ่นดินของเรา ปี 2519

(http://image.ohozaa.com/i/6d7/oF4V7d.jpg)[/url (http://image.ohozaa.com/view2/xerMBVsCVdPeJBrC)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 244) เรื่องนี้มีรถไฟสั้นๆ แต่เห็นป้ายสถานีชัดเจนครับ ปี 2519 หนังรถไฟ แผ่นดินของเรา สะพลี

http://www.youtube.com/watch?v=bdqEjJsTe6U

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 245) เรื่องต่อไปก็เป็นหนังปี 2520 เรื่อง ชาติสิงห์ทุ่งสง

(http://image.ohozaa.com/i/e8e/zOl93X.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerMCZoFM3QYkoyc)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 246) กากฟิล์มเรื่องนี้ น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ที่ผมได้จากเพื่อนๆ ที่คลองถมเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ตอนนั้นว่าจะไม่ฉายทำวีดีโอเพราะหนังไม่จบเรื่อง ได้มาเพียงม้วน 1 กับม้วน 3 ฟิล์มก็แดงๆ ก็เลยทำไว้เล่นๆ กล้องวีดีโอก็ไม่ค่อยดีครับ ยืมเขามาอัดวีดีโอเฉยๆ ยังปรับแต่งกล้องไม่ค่อยเป็นเลยครับ ก็เลยได้ภาพมาแบบเห็นๆ นะครับ ปี 2520 หนังรถไฟ ชาติสิงห์ทุ่งสง ทุ่งสง

http://www.youtube.com/watch?v=iFxC8hdsaL4

หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 04:44:46
พุทธพร ส่องศรี แผ่นดินของเรา (2519) ภาพยนตร์เรื่องแรกของคุณเนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ บทประพันธ์ของแม่อนงค์ (มาลัย ชูพินิจ) ผู้ประพันธ์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย ที่เคยนำมาทำ"หนังรถไฟ"ที่เก่าที่สุดนั่นเองครับ
เรื่องนี้ถ่ายที่สถานีรถไฟสะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพรจริง ๆ ครับ

       ตอนที่ไทยพีบีเอสนำมาออกอากาศในรายการแกะกล่องหนังไทยเมื่อคืนวันเสาร์ที่ 20 ธ.ค. 51 ฟิล์มออกสีแดง ๆ มาก แต่เพื่อนผมบอกว่าดูในวีซีดีสีแจ่มสวยกว่านี้ เพิ่งได้เห็นว่าสีสวยจริงจากคลิปของพี่มัสนี่แหละครับ

       เพลงพระราชนิพนธ์บรรเลงช่วงแรก เสียงยาน ๆ เหมือนเทปยืดแบบนี้ตั้งแต่เดิม หรือเป็นเพราะฟิล์มชำรุด บวมพอทราบไหมครับ (ในหนังฟ้าทะลายโจร เพลงบรรเลงก็ยาน ๆ แบบนี้เหมือนกัน เข้าใจว่าผู้กำกับคุณวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ตั้งใจให้ดูคลาสสิกเหมือนหนังเก่า)

(http://image.ohozaa.com/i/0b9/TKeVfA.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerPWB4ef0dhMEFd)

พุทธพร ส่องศรี สังเกตภูเขาที่เป็นฉากหลัง ในคลิปของพี่มนัส ซึ่งเห็นได้ชัดกว่าของไทยพีบีเอส เปรียบเทียบกับภาพสถานีสะพลีของพี่ สมชาย คำแฝง ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/6b8/Lq625v.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerPXF0h5zKVOrgS)

พุทธพร ส่องศรี รถจักรสีน้ำเงินขาวในหนัง เป็นรถจักรยี่ห้อฮิตาชิ การรถไฟซื้อมาในราว พ.ศ. 2501-2504 ครับ ปัจจุบันปลดประจำการไปหมด ไม่มีใช้งานแล้วครับ
ภาพเก่านี้ถ่ายที่สถานีหัวหิน สมัยที่ยังไม่มีพลับพลาพระมงกุฎเกล้า ที่ทำพิธีเปิดเมื่อ 6 เม.ย. 2517 ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/cc2/UNvYpw.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerQfnWngQ6nnP1H)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 04:55:50
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 250) ยิ่งอ่านยิ่งสนุกครับ ข้อมูลหนังรถไฟนี่นะครับ.. ตอนนี้มาดูอีกเรื่องคือ ข้ามาคนเดียว ปี 2521

(http://image.ohozaa.com/i/f26/7syAew.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerSSO8LZynDDcaL)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 251) หนังเรื่องนี้ถ่ายรถไฟวิ่งไปโคราช ครับ ลองคลิกดู...ปี 2521 หนังรถไฟ ข้ามาคนเดียว นครราชสีมา

http://www.youtube.com/watch?v=wRVLJdDbzTk

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 252) เป็นหนังปี 2521 ผลงานการสร้างของ พนม นพพร เรื่อง คมนักเลง ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/2b9/ZJaKfC.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerSUA2bpo9UxDQq)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 253) เรื่องนี้มีฉากรถไฟอยู่แป๊บหนึ่ง เข้าใจว่าจะเป็นในกรุงเทพฯนะครับ มีฉากอื่นๆ ถ่ายแถวบางซื่อด้วย แต่รถไฟฯ นี้ไม่แน่ใจครับ ปี 2521 หนังรถไฟ คมนักเลง กรุงเทพฯ

http://www.youtube.com/watch?v=uYzQ91gBIUc

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 254) เรื่องนี้เป็นงานของ ยุทธนา มุกดาสนิท เรื่อง เทพธิดาบาร์ 21 ปี 2521

(http://image.ohozaa.com/i/570/T34s2W.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerSVZWUxEYKS1Ir)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 255) ในหนังบอกว่า หนังรถไฟจากหัวลำโพงไปเชียงใหม่...แล้วก็นั่งจากเชียงใหม่กลับหัวลำโพง เธอผิดหวังครับ แต่ก็มีเจอเรื่องร้ายๆ อีก คลิกดูครับ ปี 2521 หนังรถไฟ เทพธิดาบาร์ 21 หัวลำโพง เชียงใหม่

http://www.youtube.com/watch?v=O27ogeHbGuM

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 256) ปิดท้ายคืนนี้ด้วยหนังปี 2521 เรื่อง สิงห์สั่งป่า

(http://image.ohozaa.com/i/041/XwEMrn.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerTd0VE9u7HqeAg)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 257) เรื่องนี้มีฉากบนรถไฟนานเหมือนกัน แต่ไม่ยักกะเปิดเผยสถานที่นะครับ ลองคิดว่า น่าจะเป็นสถานีไหนครับ..ปี 2521 หนังรถไฟ สิงห์สั่งป่า ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=f4MkOKUoSZY

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 258) เผลอแป๊บเดียว ผมฉายหนังรถไฟของไทยเราไปแล้ว 59 เรื่อง ท่านใดเพิ่งเข้ามา ก็คลิกคำว่า "ดูความคิดเห็นก่อนหน้า" ที่อยู่ด้านบน ไล่ย้อนหลังดูได้นะครับครับ...ตอนนี้มาถึงหนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่ 60 นั่นคือ อะไรกันวะ.. หนังตลกๆ ปี 2521

(http://image.ohozaa.com/i/f71/EdbcEO.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerTe4RH0vbVhcCV)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 259) หนังเรื่อง อะไรกันวะ มีรถไฟไม่มากและก็ยังไม่ทราบว่า เป็นที่ไหนด้วย คลิกดูหนังรถไฟของไทยเราเรื่องที่ 60 ได้เลยครับ (60) ปี 2521 หนังรถไฟ อะไรกันวะ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=s8uJAjj7evI
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 05:02:53
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 260) หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่ 61 ขอเสนอเรื่อง วิมานไฟ ปี 2522 หนังเรื่องนี้ ผมชอบเนื้อเรื่องมากๆ ตอนเป็นนักเรียนมัธยม ผมก็เคยฉายหนังกลางแปลงเรื่องนี้ด้วยครับ..

(http://image.ohozaa.com/i/77d/ykiosB.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerVFrMU5pULs2Gq)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 261) หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่ 61 นี้เหมือนถ่ายในตู้สะเบียง แต่ไม่รู้ที่ไหน ลองคลิกดูครับ (61) ปี 2522 หนังรถไฟ วิมานไฟ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=VTaQoTO6yyE

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 262) หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่ 62 เป็นหนังปี 2523 เรื่อง เครือฟ้า ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/51e/S2iCNY.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerVHzEZMZZNxGrM)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 263) เรื่อง เครือฟ้า นี้ ต้นเรื่องอยู่เชียงใหม่ แต่ดูในหนังแล้ว เหมือนจะจัดฉากขึ้นมานะครับ คลิกดูหนังรถไฟของไทยเราเรื่องที่ 62 ได้เลยครับ...(62) ปี 2523 หนังรถไฟ เครือฟ้า เชียงใหม่ จัดฉาก

http://www.youtube.com/watch?v=e6uZKy86hyA

พุทธพร ส่องศรี เลยยังไม่ได้เห็นพี่อาทรในหนังไทยเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วนะครับ ปี 2521 เป็นปีที่หยุดการเดินรถไฟสายสงขลาด้วยครับ

ว่างเว้นจากการวิเคราะห์หนังรถไฟของไทยเราไปนิดหน่อย เพราะติดอยู่กับ เทวดาเดินดิน (2519) ครับ เพิ่งได้ชมครั้งแรก ไม่ทราบมาก่อนว่ามีหนังไทยถ่ายบนหลังคารถไฟแบบนี้ตั้งแต่ปี 2519 แล้ว เข้าใจมาตลอดว่าผีเสื้อและดอกไม้ (2528) เป็นเรื่องแรกครับ

เทวดาเดินดิน (2519) ถ่ายทำที่สถานีชุมทางหาดใหญ่และกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามที่พี่มนัสบอกครับ แต่ฉากบนขบวนรถไฟยังหาไม่เจอว่าถ่ายแถวไหน จึงขอนำข้อสังเกตต่าง ๆ มาแปะไว้ก่อนครับ

ฉากนี้เห็นหัวรถจักรยี่ห้อฮิตาชิรุ่นเก่าที่ปัจจุบันไม่มีใช้แล้ว หัวรถจักรชนิดนี้ปรากฏอยู่ในสถานีสะพลี จ.ชุมพร ในแผ่นดินของเรา หนังปี 2519 เช่นกันครับ


(http://image.ohozaa.com/i/53c/Mb2XYs.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerVIhCmmd3rWtgq)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 05:12:31
พุทธพร ส่องศรี เทวดาเดินดิน (2519) ดูแล้วเข้าใจว่าคงจะถ่ายทำอย่างน้อยสองครั้ง โดยให้ขบวนรถวิ่งไปมานะครับ โดยฉากที่ถ่ายทำภายในขบวนรถฉากนี้ สังเกตว่าเสาโทรเลขจะอยู่ด้านขวามือของขบวนรถครับ ซึ่งถ้าเป็นทางรถไฟสายใต้ เสาโทรเลขจะอยู่ด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟครับ แสดงว่ามุ่งหน้าไปทางทิศใต้ในฉากที่คุณวิยะดากับคุณสรพงษ์นั่งอยู่ในรถไฟ

(http://image.ohozaa.com/i/gbb/WS8ejc.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerYx38A9pHqG160)

พุทธพร ส่องศรี และเมื่อมาดูฉากที่ถ่ายทำบนหลังคารถไฟ กลับเห็นเสาโทรเลขอยู่ทางด้านซ้ายมือ แสดงว่าขบวนรถมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปทางกรุงเทพครับ

(http://image.ohozaa.com/i/06c/xiiwaW.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerYC0Q87zQ3TTJL)

พุทธพร ส่องศรี สะพานรถไฟแห่งนี้ ดูเป็นสะพานใหญ่และยาวครับ มีเสาสัญญาณหางปลาด้วย แสดงว่าอยู่ใกล้กับสถานี แต่ยังไม่ทราบว่าสถานีอะไรครับ

(http://image.ohozaa.com/i/g4b/Oep94L.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerYJOn8muox7NRv)

พุทธพร ส่องศรี ก็ค้างไว้ก่อนครับสำหรับเทวดาเดินดิน ยังเป็นปริศนาอยู่
----
มาดูเรื่อง ชาติสิงห์ทุ่งสง (2520) ซึ่งคุณ Nakhonlampang ได้วิเคราะห์ไว้ครับ
"เรื่องชาติสิงห์ทุ่งสงนี้มีฉากที่ไม่ได้ถ่ายทำที่ทุ่งสงด้วยครับ ผมเดาว่าช่วงที่เป็นไตเติ้ลคงจะมีการลำดับภาพให้ดูเหมือนว่ามีการเดินทางเข้ากรุงเทพด้วย

ภาพแรก ภาพนี้มั่นใจได้ว่าไม่ได้ถ่ายแถวๆทุ่งสงแน่นอน เพราะรถที่เห็นเป็นรถดีเซลราง RHN ซึ่งในเส้นทางสายใต้วิ่งให้บริการลงไปไกลสุดแค่ชุมพรเท่านั้น และเมื่อพิจารณารายละเอียดของสะพานที่มองเห็นแล้วคิดว่าถ่ายที่สะพานพระรามหกครับ สังเกตจากเสาสะพานที่ยื่นออกมาด้านข้าง ซึ่งเป้นลักษณะเสาตอม่อเชิงลาดสะพานฝั่งบางซ่อนที่เป็นคอนกรีตรูป U คว่ำ ผมเดาว่าที่เลือกถ่ายมุมนี้เพื่อให้ดูแล้วเหมือนกับว่าเป็นคนละสถานที่กับภาพที่สองครับ

(http://image.ohozaa.com/i/770/xwQAdi.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerYQTWM1VkzIFue)

พุทธพร ส่องศรี ภาพที่สอง ถ่ายบนสะพานที่เป็นสะพานร่วมระหว่างรถไฟกับรถยนต์ ซึ่งมีอยู่แค่ 2 แห่งในเวลานั้น ก็คือ สะพานจุลจอมเกล้า จ.สุราษฎร์ธานี กับสะพานพระรามหก ที่กรุงเทพฯ และสะพานที่เห็นในในฉากนี้ก็คือสะพานพระรามหก เพราะมีราวเหล็กกั้นรถยนต์ 3 เส้น ตามที่เคยวิเคราะห์กันก่อนหน้านี้นะครับ แต่ขบวนรถที่ถ่ายมานี้เป็นขบวนรถที่มุ่งหน้าลงใต้นะครับ ไม่ได้เข้ากรุงเทพฯตามที่ลำดับภาพ

(http://image.ohozaa.com/i/207/9izMjl.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerYZLpP7FZpNqn4)

พุทธพร ส่องศรี ภาพที่สาม ถ่ายในย่านสถานีกรุงเทพ จากบนขบวนรถที่กำลังเข้าสู่สถานี สอดคล้องกับการลำดับภาพครับ

(http://image.ohozaa.com/i/a4e/vcKCat.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerZiUgEr09nxPz4)

พุทธพร ส่องศรี ต่อไปเป็นการวิเคราะห์ เครือฟ้า (2523) โดยคุณ Nakhonlampang เช่นกันครับ
----
เครือฟ้า ดูแล้วมั่นใจว่าถ่ายทำที่สถานีธนบุรีครับ

(http://image.ohozaa.com/i/e23/pCZqHB.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerZr3MkXnxzJJLQ)

ภาพนี้เห็นรถจักรไอน้ำ C56 วิ่งเข้ามา กับกำแพงอะไรสักอย่าง ก็นึกถึงธนบุรีก่อนเลย เพราะกำแพงทึบอยู่ตืดย่านสถานีแบบนี้ไม่ค่อยมีที่ไหน และรถจักร C56 ที่วิ่งได้ในตอนนั้นก็เก็บที่ธนบุรี

พุทธพร ส่องศรี แต่พอมาถึงภาพนี้ก็มั่นใจเลยว่าเป็นธนบุรี เพราะมองเห็นถังน้ำของสถานีธนบุรี โผล่พ้นเหนือป้ายชื่อสถานีเชียงใหม่ปลอม ตรงตำแหน่งหมายเลข 1 และตรงตำแหน่งหมายเลข 2 ก็น่าจะเป็นวิหารหลวงพ่อโบสถ์น้อยครับ

(http://image.ohozaa.com/i/e0a/5BCJGS.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xerZyvkEUtDAh8gL)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 05:16:19
พุทธพร ส่องศรี เทียบกับภาพถ่ายเก่าของพี่ตึ๋ง black_express นะครับ
ภาพนี้สังเกตลักษณะถังน้ำของธนบุรี ซึ่งถังลักษณะหน้าตาแบบนี้มีน้อยครับ

พุทธพร ส่องศรี ตำแหน่งที่จัดฉากคงจะเป็นแถวๆลานว่างกลางภาพข้างๆรถจักร Hitachi นะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/744/ADXLrc.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes1nAydmGz571JH)

พุทธพร ส่องศรี สำหรับ อะไรกันวะ (2521) นั้น คุณหมอรักษ์พงศ์ เวียงเจริญ แฟนพันธุ์แท้รถไฟไทยประจำปี 2546 มาดูให้แล้วบอกว่าเป็นเส้นทางรถไฟที่เข้าไปรับหินโรยทาง สายกาญจนบุรีครับ
----
Rakpong Wiangcharoen: ถ่ายกันทางทิศเหนือของย่านสถานีกาญจนบุรีครับ เมื่อก่อนจะมีเส้นทางเข้าไปรับหินจากภูเขา จะเห็นกองหินอยู่ทางด้านขวา ทางประธานในภาพยนตร์ ดูใหม่ไฮโซดีมากเลยครับ แต่ทางที่ถ่ายทำดูรก คงใกล้จะเลิกใช้แล้ว ปัจจุบัน ถูกรื้อถอนไปหมด

(http://image.ohozaa.com/i/e36/NBFhWV.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes1oivzW5uPmtDO)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 05:25:09
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 279) อ่านเพลินอีกแล้วครับ..อ่านไปก็ตื่นเต้นไปกับการค้นพบเรื่องราว สถานที่ต่างๆ ที่หนังเขาไปถ่ายทำ..ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้และขอบคุณคุณพุทธพรที่นำข้อมูลมาฝากด้วยครับ ตอนนี้มาดูหนังรถไฟของไทยเราเรื่องที่ 63 ปี 2523 เรื่อง ชายชาติเสือ หรือมีอีกชื่อคือ ขุนปืน..

(http://image.ohozaa.com/i/26c/NKtyzy.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes3hhuDvEqsJnxP)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 280) ผมเองมองเห็นป้ายที่ตัวสถานีเขียนว่า ชุมทาง..อ่านไม่ออกครับ ลองดูว่า จะเป็นที่ไหนครับ หนังรถไฟของไทยเราเรื่องที่ 63 ปี 2523 หนังรถไฟ ชายชาติเสือ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=-FunvyGHy18

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 281) ต่อไปก็เป็นเรื่องที่ 64 แล้วครับ เป็นหนังปี 2523 เรื่อง นายอำเภอคนใหม่

(http://image.ohozaa.com/i/08d/pabcFT.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes3rcTJrX7dNObe)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 282) หนังเรื่องนี้เห็นตัวสถานีชัดเจน เห็นป้ายชื่อสถานีด้วย ลองดูนะครับว่า จะใช่สถานที่จริงหรือไม่ ฉายเป็นเรื่องที่ 64 แล้วครับ (64) ปี 2523 หนังรถไฟ นายอำเภอคนใหม่ ทองโกสุม

http://www.youtube.com/watch?v=qN9Lro9kWNE

Nathapong Baimonta จากหนัง ชายชาติเสือ เห็นเป็นรถจักร กรุบป์ ในช่วงนาที 0.50 นาที 1.07 เห็นรถบรรทุกไม้คู่ เดาว่าเป็นรถสินค้ารวม ข.601 ส่วนสถานี มีหลังคาคลุม ออกมาจากตัวอาคาร เดาว่า สถานีคลองรังสิต ในอดีต ที่ปัจจุบันไม่เหลือซาก

ที่ตัดสายอื่น ๆ ออกไป เพราะช่วงปี 252x มีรถสินค้าสายเหนือเส้นเดียวที่ขนไม้จากภาคเหนือ มาลงที่อยุธยา บางปะอิน แล้วขนเข้าย่านพหลไปที่สถานีบางซ่อน ถึงส่งเข้าโรงงาน ออป ที่บางโพ ส่วนป้ายชุมทาง ที่มีรถบรรทุกไม้คู่ผ่านอย่างชุมทางหนองปลาดุก ไม่น่าใช่ เพราะ ลักษณะไม่มีหลังคาออกมาคลุมชานชลา อ.เอก พุทธพร ส่องศรี ฝากขยายความใน RFT ด้วยครับ

(http://image.ohozaa.com/i/ca9/9JJuA5.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes3Q1ptiHSnHJ1W)

พุทธพร ส่องศรี ชายชาติเสือ (2523) ดูจากลักษณะป้ายสถานีที่เขียนว่า "ชุมทาง..." และหลังคาคลุมชานชาลาที่ลาดลง ไม่ได้แหงนขึ้น น่าจะเป็นสถานีชุมทางตลิ่งชันครับ

(http://image.ohozaa.com/i/2a9/gn0k7N.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes3R5lw9ef8VBZs)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 05:38:25
พุทธพร ส่องศรี เปรียบเทียบกับภาพนี้ครับ ถ่ายไว้เมื่อปี 52 จะเป็นมุมใกล้เคียงกันครับ แต่ป้ายเปลี่ยนจากพื้นดำตัวหนังสือขาว เป็นพื้นขาวตัวหนังสือดำ ส่วนบานประตู บานหน้าต่าง ยังใช้สีเดิมครับ

(http://image.ohozaa.com/i/2a4/aJN6iI.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes71Py1wOmWAsCZ)

พุทธพร ส่องศรี เรื่องรถบรรทุกไม้ ผมก็ยังสงสัยเช่นกันครับป๋าณัฐ Nathapong Baimonta ว่าถ่ายในทางรถไฟสายใต้ด้วยหรือเปล่า สำหรับชุมทางตลิ่งชันนั้น ก็คือ ตลิ่งชันฝั่งธนครับพี่มนัส ที่เคยเกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกันครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์รถไฟไทยเมื่อปี 2522
ในหนัง ตาปี อีปัน (2520) ก็มีฉากคุณภาวนา ชนะจิต ยืนรอรถไฟอยู่ที่ตลิ่งชันเช่นกัน
ถ้าย้อนไปปี 2517 ในภาพถ่ายทางอากาศ จะเห็นว่ารอบ ๆ สถานีชุมทางตลิ่งชัน มีแต่เรือกสวนและท้องนาครับ มุมขวาล่างทางรถไฟแยกเป็นสองทาง เส้นบนเข้าสะพานพระราม 6 ไปกรุงเทพ เส้นล่างเข้าสถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) ครับ

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต ตลิ่งชัน นั้น ผมคุ้นชื่อตั้งแต่อยู่สุรินทร์ แล้วครับว่า อยู่กรุงเทพฯเพราะสมัยนั้นฟังข่าวจากวิทยุ เขาก็เคยอ่านข่าวเรื่อง รถไฟชนกัน น้ำมันเหม็นคลุ้งที่ตลิงชัน..แต่ก็สงสัยแทนหนังนะครับว่า เดี๋ยวคนกรุงเทพฯจะคิดว่า หนังเลือกสถานที่ไม่สมจริงกับเรื่อง.. มีข้อสงสัยอย่างหนึ่งครับ พนักงานรถไฟที่มายืนให้สัญญาณรถไฟนั้น ผมเข้าใจว่า จะเป็นพนักงานจริงๆ ของสถานีนะครับเพราะสมัยก่อน ผู้กำกับชอบขอให้แสดง ถ้าเป็นเพียงฉากเดียว หรือไม่ก็เป็นฉากไม่มีบทพูดเยอะๆ นะครับ..

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต คือว่า ผมเองเก็บหนังไว้ ก็มีคนมาถามว่า มีเรื่องนั้นเรื่องนี้หรือเปล่า อยากได้ ผมมองแล้ว ก็เห็นๆ ว่า ไม่ใช่คนชอบหนัง ก็เลยถามว่า ทำไม ถึงอยากได้ เขาก็มักจะบอกว่า พ่อ แม่หรือญาติหรือบางทีก็เป็นตัวเขาเองเคยแสดงด้วยฉากหนึ่ง...อยากได้มาเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ดูครับ...พอผมเห็นพนักงานรถไฟในเรื่องนี้บวกกับชื่อผู้กำกับหนังเรื่องนี้ด้วย ก็เลยคิดว่า เขาอาจใช้พนักงานจริงๆ ก็ได้..หนังฉายปี 2523 ก็คงจะถ่ายปี 2522 ถ้าบวกกับหน้าตาเขาแล้ว ไม่รู้ว่า เขาจะยังอยู่หรือไม่ แล้วเขาหรือลูกหลานเขารู้หรือไม่ว่า เขาก็เคยมีภาพบนจอหนังด้วยนะครับ เห็นหน้าขนาดนี้และมีบทพูดนิดหน่อยด้วย ถือว่า เยอะนะครับ คนที่ผมรู้จักบางคนต้องใส่โม่งดำ เห็นแต่ลูกกะตา ยังอยากได้หนังตัวเองเลยครับ..บางคนแค่วิ่งผ่านกล้องแล้วก็ถูกยิงตายหรือเรียกว่า ฉากโป้งแอ๊ะ..นัดเดียวจอด ก็เคยขอหนังผมเหมือนกัน..

พุทธพร ส่องศรี อย่างเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ (2528) นั้น ตอนต้น ๆ เรื่องมีฉากที่ครูเดินมา และนักเรียนที่ล้อมซื้อไอติมอยู่ก็ตะโกนว่า ครูมาแล้ว ครูมาแล้ว นั้น ครูที่แสดงเป็นคุณครูจริง ๆ เป็นคุณครูที่สอนสังคมผมครับ ตอนออกเป็น VCD ของ Solar เห็นแต่ตัวครู ไม่เห็นหน้า เพราะหนังซูมมากเกินไป พอ BKP นำมารีมาสเตอร์ใหม่แบบจอกว้าง คราวนี้เห็นหน้าครูเดินผ่านหน้ากล้องไปอย่างรวดเร็ว ผมก็ว่าจะซื้อ DVD ส่งไปให้ท่านครับ ตอนนี้ท่านอายุ 70 กว่าแล้ว

พุทธพร ส่องศรีชายชาติเสือ (2523) นั้น หนังตั้งใจให้เห็นป้ายสถานีจริง ๆ และเพิ่งเป็นข่าวรถไฟชนในปี 2522 ผมยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้แบบเต็ม ๆ เลยสงสัยว่าเนื้อเรื่องไม่ขัดกับตำแหน่งสถานีรถไฟหรือเปล่านะครับ
ส่วน นายอำเภอคนใหม่ (2523) ตั้งใจให้เห็นป้ายสถานีเช่นกัน แต่สถานีทองโกสุมไม่มีอยู่จริงครับ เป็นสถานที่สมมุติขึ้น คงด้วยเหตุผลด้านเนื้อหาของหนังนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/g36/83ztDp.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes7WcasCfcd54gW)

พุทธพร ส่องศรี สังเกตชานชาลาที่โค้ง และภูเขาด้านหลัง ฉากนี้ถ่ายทำที่เดียวกันกับเรื่องครูเสือ คือสถานีน้ำตก จ.กาญจนบุรีครับ

(http://image.ohozaa.com/i/71c/SsKQ44.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes8eD3VmdBdHWBU)

พุทธพร ส่องศรี สถานีน้ำตก กาญจนบุรี กลายเป็นสถานีห้วยเสือ ในครูเสือ และเป็นสถานีทองโกสุม ในนายอำเภอคนใหม่ครับ
แต่ส่วนไตเติ้ลของนายอำเภอคนใหม่ ที่ถ่ายวิวจากรถไฟตลอดทั้งไตเติ้ลนั้น ถ่ายในทางรถไฟสายแก่งคอย-บัวใหญ่ ครับ ลอดอุโมงค์เขาพังเหยด้วยครับ

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต ดีครับ เพราะคนรุ่นนั้นๆ หนังถือว่า เป็นมหรสพที่ได้รับความนิยมที่สุด ไม่งั้น คนต่างจังหวัดไม่มุ่งมากรุงเทพฯ เพื่อจะเป็นดาราหรอกครับ..แล้วอีกอย่างหนึ่ง สมัยก่อนๆ ถ้ารู้ว่ามีกองถ่ายหนังมาถ่ายหนังในจังหวัดด้วย ก็จะมีคนไปมุงดูกันเยอะมากๆ ยิ่งถ้าถูกเกณฑ์เข้ากล้องด้วย จะดีใจกันใหญ่ ค่าตัวไม่มี ก็ได้ขอให้ได้เข้ากล้องก็พอแล้ว แถมพอมีหนังเรื่องนั้นๆ มาฉาย ก็จะพากันไปดูตัวเองด้วยครับ ส่วนภาพข้างล่างนี้ เป็นการถ่ายทำเรื่อง ชุมทางหาดใหญ่ ในปี 2508 คิดว่า คงจำฉากมิตรยิงปืนกลได้นะครับ.. ภาพนี้เป็นอีกมุมของกล้องภาพนิ่ง จะเห็นคนเต็มไปหมด ยืนบนกันสาด ระเบียงตึกก็มีครับ

(http://image.ohozaa.com/i/c2f/LXb9f3.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xes8qkmqIunY0aQ8)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 05:47:29
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 300) วันนี้ มาดูหนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่ 63 คือ พ่อจ๋า ปี 2523

(http://image.ohozaa.com/i/593/rKZ7mA.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesbmbsibqIEjmyc)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 301) หนังเรื่องนี้ ถ่ายบนสะพานพระราม 6 ครับ คลิกดูได้เลยครับ เรื่องที่ 65 ปี 2523 หนังรถไฟ พ่อจ๋า สะพานพระราม 6

http://www.youtube.com/watch?v=g8VDYgT9Qh4

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 302) หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่ 66 แล้วครับ เป็นหนังดังที่นำกลับมาสร้างใหม่อีกในปี 2523 เรื่อง สันกำแพง...

(http://image.ohozaa.com/i/gc5/a3H3xJ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesbpJf71coUSI82)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 303) สันกำแพง มีฉากที่ต้องนั่งรถไฟเข้ากรุงเทพฯ ด้วย ก็เลยตัดมาไว้เป็นเรื่องที่ 66 ครับ ลองคลิกดูครับ (66) ปี 2523 หนังรถไฟ สันกำแพง เชียงใหม่

http://www.youtube.com/watch?v=0bT7vYrP_fA

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 304) คราวนี้ก็มาถึงหนังไทยกับสงครามเกาหลีเรื่อง อารีดัง หนังปี 2523 ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/gdb/VbriFA.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesbqNb9RYE9xgV8)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 305) ฉายเป็นเรื่องที่ 67 แล้วครับ ลองดูนะครับว่า หนังเขาถ่ายทำที่จังหวัดไหน...(67) ปี 2523 หนังรถไฟ อารีดัง จัดฉากในไทย

http://www.youtube.com/watch?v=Hd4QvMw-7TU

พุทธพร ส่องศรี ขอบคุณมากครับ เรื่องหนูหิ่นเดอะมูฟวี่ ตามไปดูแล้วเป็นสถานีวังเย็น ส่วนอารีดังคุณนู๋หนึ่งบอกว่าถ่ายที่สถานีวังโพครับฉากที่มีป้ายนี้

(http://image.ohozaa.com/i/c46/9amr6Q.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesbsd5T0gPmHFMM)

พุทธพร ส่องศรี สังเกตภาพเปรียบเทียบสถานีวังโพจากภูเขาด้านหลังครับ

(http://image.ohozaa.com/i/0b5/1nMXdx.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesbsV3fzFnCdIb2)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 24 พฤศจิกายน 2013, 06:20:30
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 310) หนังรถไฟของไทยเราที่จะฉายวันนี้เป็นเรื่องที่ 67 แล้วครับที่ผมโพสมาถึง เป็นหนังที่ออกฉายในปี 2524 เรื่อง กลาสีทีเด็ด เป็นหนังแนวตลก..

(http://image.ohozaa.com/i/7f8/aKgk1A.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeshob1NlheARxkG)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 311) มาดูว่า หนังตลกแบบนี้เขาวางมุขอะไรให้กับฉากรถไฟ คลิกดูได้เลยครับ เรื่องที่ 67 ปี 2524 หนังรถไฟ กลาสีทีเด็ด บางกอกน้อย

http://www.youtube.com/watch?v=MXP4_UJJUFk

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 312) หนังรถไฟของไทยเรา นั้น ผมเพิ่งเสนอมาถึงเรื่องที่ 67 เองนะครับ ยังเหลืออีกประมาณ 50 เรื่องครับ เดี๋ยวค่อยๆ ทยอยลงนะครับ ช่วงนี้ กำลังตัดต่อไฟล์ การทดลองการแปลงสัญญาณจากกากฟิล์มหนัง 35 มม.อยู่นะครับ ใช้เวลานานมากๆ เมื่อคืนตัดต่อเสร็จ หนังยาว 1.43 ชม. แต่เครื่องรวมสัญญาณตั้งแต่ตี 2 ไปเสร็จเอาตอน 10 โมงเช้าครับ..

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต ครับ..ก็คงเป็นอย่างที่คุณพุทธพรแนะนำไว้นั่นแหละครับ ต้องสลับกันไป แต่ผมบอกตรงๆ ว่า เรื่อง หนังรถไฟ กับความรู้ที่กลุ่มของคุณพุทธพร ช่วยเพิ่มเสริมข้อมูลให้นั้น ผมชอบมากๆ เมื่อวานนี้ ตอนไปนั่งแปลงสัญญาณที่ราชบุรี ผมยังคุยกับเพื่อนๆ เลยว่า นี่แหละคือ การใช้ภาพยนตร์เป็นแหล่งเรียนรู้จริง ๆ คนดูผ่านๆ ก็ไม่คิดอะไร แต่ถ้ามีคนมาช่วยบอก ช่วยเสริม ก็จะทำให้คิดอะไรได้มากขึ้นอีก..น่าเสียดายแต่ว่า นอกจากเราสองสามคนแล้ว ก็ไม่ค่อยมีใครมาร่วมพูดด้วยเลย ผมก็เลยบอกเพื่อนๆว่า ไม่ต้องกลัวว่า ใครเขาจะว่า เราไม่รู้เรื่องรถไฟหรอกครับเพราะจริงๆ เราก็ไม่รู้ แต่ก็สามารถร่วมพูดคุยในประเด็นของหนังได้ แล้วคนรักรถไฟเขาก็จะพาโยงไปที่รถไฟเองล่ะครับ..

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 315) ครับ วันนี้ มาดูหนังรถไฟของไทยเรากันต่อนะครับ เมื่อวานนี้นับหลงไป เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ 69 แล้วครับ...ไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง...

(http://image.ohozaa.com/i/67d/Pw4mma.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeshuUCKJznevyqf)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 316) หนังเรื่องนี้พระเอกเป็นคนอีสานมาตีตั๋วรถไฟ ออกจากอีสานสู่กรุงเทพฯ..ผมดูแล้วไม่แน่ใจว่า จะเป็นอีสานจริงๆ หรือเปล่า ระหว่างนั่งรถไฟมา ก็ถูกหลอกให้ลงสระบุรี ก็ไม่รู้ใช่สระบุรีจริงๆ หรือเปล่า..จากนั้น ผมก็ตัดไปที่พระเอกนั่งรถไฟผ่านไป อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ครับ คลิกดูได้เลยเรื่องที่ (69) ปี 2524 หนังรถไฟ ไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง ไม่ทราบ อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง

http://www.youtube.com/watch?v=ixMuQ_MsmsY

พุทธพร ส่องศรีรี เทวดาเดินดิน (2519) มีความคืบหน้าของการวิเคราะห์จากคุณ Nakhonlampang ดังนี้ครับ
----
"...ผมมีข้อสังเกตว่านอกจากฉากที่ถ่ายทำในรถ และบนหลังคารถแล้ว ยังมีฉากที่ถ่ายทำจากหน้า cab รถ ซึ่งอาจเป้นรถดีเซลราง เพราะถ่ายได้ตรงกลางพอดี

สังเกตจังหวะก่อนถึงสะพานนะครับ จะเห็นว่ามองเห็นหางปลายกขึ้น แสดงว่าถ่ายจากด้านหน้ารถ..."

(http://image.ohozaa.com/i/2cf/SImTST.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeshDM5NOOzRfxUA)

พุทธพร ส่องศรี "...สังเกตเพิ่มเติมด้วยว่าสภาพแวดล้อมที่เห็นไม่เหมือนกับฉากที่ถ่ายบนหลังคารถ ที่ตัดภาพสลับไปมา และเมื่อผ่านสะพานไปแล้ว ฉากบนหลังคาที่ต่อเนื่องกันก็ไม่เห็นว่าจะมีสถานีโผล่มาให้เห็น แม้แต่เสาหางปลา ?

ผมกำลังคิดว่าฉากที่ถ่ายด้านหน้าขบวนรถมองไปที่สะพานนั้น คงจะไปถ่ายเก็บภาพต่างหากโดยไม่มีนักแสดงไปด้วย แล้วนำมาตัดต่อสลับกับฉากบนหลังคา ทีนี้ลองมาหาคำตอบเรื่องสถานที่กันนะครับ

--> จากภาพสะพานที่มองเลยไปแล้วเห็นสถานี เมื่อมาพิจารณารูปแบบสะพานแล้วเห็นว่าเป็นสะพาน 3 ช่วงซึ่งมีรูปแบบแต่ละช่วงไม่เหมือนกันเลย ช่วงแรกจะเป็นสะพานแผงขึ้นเตี้ยๆ แล้วจึงเป็นสะพานโครงขึ้นขนาดใหญ่ ปิดท้ายด้วยสะพานโครงขึ้นขนาดเล็ก

** ซึ่งสะพานที่มีรูปแบบสะพานดังกล่าวและมีสถานีอยู่ใกล้ๆ ตามภาพในหนังนี้ ผมคิดว่าเป็น สะพานจักรี ที่ข้ามแม่น้ำป่าสักด้านใต้ สถานีท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยาครับ ..."

(http://image.ohozaa.com/i/e72/DRBJlZ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeshWyXWQJUy9xPR)

พุทธพร ส่องศรี เหมือนกันมั้ยครับกับภาพในเทวดาเดินดิน (2519)
สะพานทางด้านขวามือในภาพปัจจุบันนั้น เพิ่มขึ้นจากในหนัง เพราะมีการสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรีในภายหลังครับ

(http://image.ohozaa.com/i/71f/8Bk6aF.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeshLVBulnGOepRX)

พุทธพร ส่องศรีไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง (2524) มุกชื่อสถานีคล้ายชื่อคนนี้ ฮิตกันในสมัยนั้นครับ สายอีสานมี ขนานจิตร์ สุรินทร์ อุทุมพรฯ ที่เอามาเล่นในหนัง ที่จริงสถานีคลองขนานจิตรนี้ อยู่ห่างไกลชุมชนมาก ไม่ค่อยมีผู้โดยสารขึ้นลง
สายใต้ก็มี ประจวบ ครับ เช่น นายประจวบ นามสกุลคีรีขันธ์ (อาจารย์สอนวิชาชีวะผมสมัย ป.ตรี ชื่อ อ.สุราษฎร์ ครับ)

สังเกตด้านบนของช่องขายตั๋ว จะพบป้ายคลาสสิกของการรถไฟฯ ในสมัยก่อนครับ ดีไม่ดีเก่าไปถึงยุค 2500-2510 เลย คือป้ายที่บอกว่า "โปรดซื้อตั๋วให้เรียบร้อยก่อนขบวนรถถึงสถานี เมื่อขบวนรถเข้า นายสถานีต้องออกไปรับรถ"

รูปแบบตัวอักษรดูเก่าแก่มากครับ แม้แต่ในหนังไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง (2524) ป้ายก็ดูเก่าแล้วครับ

(http://image.ohozaa.com/i/f0e/0w5YMf.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesig3NsrPOcDDFd)

พุทธพร ส่องศรี ผมเคยเจอป้ายนี้ที่สถานีรถไฟห้วยมุด อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ป้ายเก่าจริง ๆ

(http://image.ohozaa.com/i/a29/Ydocfm.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesiwINvLWH9kdTI)

พุทธพร ส่องศรี ขยายครับ ป้ายรูปแบบเดียวกันกับสถานีในไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง (2524) ครับ (ยังไม่ทราบว่าถ่ายทำที่สถานีอะไร)

(http://image.ohozaa.com/i/c64/llIVwJ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesiZr4KJULkomjv)

พุทธพร ส่องศรี ส่วนฉากนี้ถ่ายจากขบวนรถไฟขาล่องเข้ากรุงเทพ ผ่านสถานีพิจิตรครับ
สังเกตจากป้ายบอกสถานีข้างเคียง รั้วและบ้านพักขนาดใหญ่ในภาพครับ

(http://image.ohozaa.com/i/76a/HQzsi6.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xesiOrJBWTPQc9fs)

พุทธพร ส่องศรี ไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง (2524) นี้ คงถ่ายทำด้วยสัดส่วน 2.55:1 ซีเนมาสโคปนะครับ (ถ้าเป็นจอในโรงหนังก็ต้องเปิดม่านออกจนสุดขอบ) และทำเทเลซีนได้จอกว้างมาตรฐานดีครับ ขอบภาพไม่หาย แม้สีไม่สดสวย แต่คนก็ตัวไม่ยาว
หนังจอกว้างแบบนี้ที่ผมได้ดูในโรงไม่นานมานี้ก็คือ "ปัญญาเรณู (2554)" ครับ (ภาคอื่นยังไม่ได้ดู) ส่วน"ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่ (2553)" สัดส่วนที่กล่อง DVD เขียนว่า 1.85:1 ครับ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 25 พฤศจิกายน 2013, 21:14:31
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 325) ได้อ่าน ได้เห็นภาพอะไรดีๆ อีกแล้วครับ ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล ความรู้ ที่เพิ่มเติมให้..ส่วนหนังเรื่อง ไอ้เสี่ยวหมัดสั่ง นั้น ก็เป็นงานที่คุณ Nantawat Kittiwarakul ทำเทเลซีนไว้ครับ ทำจากกากฟิล์ม 16 มม.สโคป ภาพออกมาก็เลยขยายจอกว้างได้มากกว่าฟิล์ม 35 มม.สโคปนะครับ..

          แต่ความจริงแล้ว หนังสโคปจะมีขนาดเท่ากันหมดนะครับ คือ จอกว้าง..เพียงแต่ตอนมาทำวีดีโอ เขาจะอัปภาพขึ้นมาให้ใหญ่ขึ้นอีก ทำให้ภาพข้างๆ ซ้ายขวาขาดหายไป..ที่เห็นชัดๆ ก็คือ วีดีโอหนังมิตรเรื่อง เงิน เงิน เงิน กับ อีแตน นะครับ ภาพสโคปฉายจอขนาดเดียวกัน แต่พอมาทำวีดีโอ อีแตนจะเต็มภาพพอดี ส่วน เงิน เงิน เงิน ดึงภาพให้ใหญ่ขึ้นนะครับ...ตอนนี้มาดูหนังรถไฟของไทยเรา ปี 2509 เรื่อง เสน่ห์บางกอก ก่อนนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/g71/By4NDq.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeFio4CXLK8ycjZS)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 326) ฉายเป็นหนังรถไฟของไทยเราเรื่องที่ 70 แล้วนะครับ คลิกดู.. ปี 2509 หนังรถไฟ เสน่ห์บางกอก หัวลำโพง บางซื่อ

http://www.youtube.com/watch?v=O49AnTPRepM

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 327) หนังรถไฟของไทยเราเรื่องที่จะฉายเป็นลำดับที่ 71 ก็คือเรื่อง ดวงตาสวรรค์ ปี 2524

(http://image.ohozaa.com/i/cf4/EtULzB.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeFgrTPLDBgXH3IJ)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 328) คลิกดูได้เลยครับ หนังรถไฟของไทยเรา เรื่องที่ 71 ซึ่งผมก็ยังไม่ทราบว่า เขาถ่ายทำรถไฟแถวไหนครับ ลองคลิกดู (71) ปี 2524 หนังรถไฟ ดวงตาสวรรค์ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=oLYZrThALQQ

พุทธพร ส่องศรี ความเห็นจากคุณ Nakhonlampang ครับ
----
"...ฉากที่ถ่ายจากรถไฟออกมาด้านนอกทุกฉากน่าจะเป็นการถ่ายเก็บไว้จากการเดินทางคราวเดียวกันนะครับ เพราะทุกภาพที่เห็น ขบวนรถกำลังวิ่งล่องลงมาทางกรุงเทพฯ แต่มาลำดับภาพให้เหมือนกำลังเดินทางขึ้นเหนือ ยกเว้นสถานีพิจิตร ที่นำไปตัดต่อแทรกการเดินทางในเส้นทางสายอิสาน..."
ขอย้อนกลับไปช่วงที่คนกำลังซื้อตั๋วรถไฟอีกครั้งนะครับ

หนังช่วงนี้มีภาพเหตุการณ์ปกติธรรมดาในวันนั้น แต่ว่ากลายเป็นภาพประวิติศาสตร์ไปแล้วในวันนี้ นั่นคือฉากที่ถ่ายจากภายในห้องจำหน่ายตั๋วครับ

--> ช่วงนั้นรถไฟไทยยังใช้ตั๋วแข็งอยู่ ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีขายตั๋วที่ต้องนำตั๋วแข็งเสียบเข้าไปในเครื่องตอกตั๋ว เพื่อระบุข้อมูลต่างๆ เช่นวันที่ขายตั๋ว ก่อนที่จะส่งตั๋วให้กับผู้โดยสาร ** ภาพนี้อาจเป็นภาพเคลื่อนไหวภาพเดียวที่บันทึกประวัติศาสตร์ตรงนี้ไว้ก็ได้นะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/g76/DqZYaF.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeFgu1HRl0LyYpEa)

พุทธพร ส่องศรี สำหรับฉากตอนที่คุณสมบัติลงจากรถไฟ ซึ่งตามเนื้อเรื่องระบุว่าลงที่ สระบุรี นั้น

(http://image.ohozaa.com/i/5bd/T63Jt0.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeFgvrCAtw1IpQ3z)

พุทธพร ส่องศรี ปรากฏว่าฉากนี้ถ่ายทำที่สถานีสระบุรีจริงๆ ครับ
สังเกตรั้วเหล็กที่เห็นในภาพ จะเห็นว่าเป็นรั้วกั้นระหว่างโถงหน้าห้องจำหน่ายตั๋วกับชานชาลาสถานี และสังเกตรูปแบบโครงสร้างอาคารด้วยครับ

(http://image.ohozaa.com/i/aef/g47Pq7.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeFgBtgbidK9MjOf)

ภาพเปรียบเทียบอาคารสถานี สระบุรี ของคุณเต้ย ExtendeD
ภาพนี้สังเกตรั้วเหล็กและโครงสร้างอาคารที่เหมือนกับในหนังนะครับ

พุทธพร ส่องศรี ห้องจำหน่ายตั๋วที่ดูในหนังแล้วจะเห็นอยู่ทางด้านขวามือ ซึ่งในภาพเคลื่อนไหวจะเห็นเงาสะท้อนขบวนรถที่กำลังวิ่งจากกระจกห้องด้วยครับ
แต่ว่าขบวนรถที่วิ่งเข้ามาจอดที่สถานีสระบุรีตามที่เห็นในหนังนี่กำลังมุ่งหน้าไปทางอิสานนะครับ ไม่ได้วิ่งไปบางกอกซะหน่อย

(http://image.ohozaa.com/i/c88/LtGAmV.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xeFgA3lsa7F3384s)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 29 พฤศจิกายน 2013, 04:36:59
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 333) ก็ต้องพูดประโยคเดิมๆ คือ ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลและความกระจ่างที่ให้พวกเราครับ ยิ่งอ่านก็ยิ่งสนุก เพลิดเพลินดีครับ..ยิ่งรู้ว่า ฉากบางฉากตอนนี้กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ด้วยแล้ว ก็ยังดีใจครับ ที่อย่างน้อย ก็อีกผลหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า หนังไม่ใช่เรื่องของความบันเทิงอย่างเดียวครับ..ยังเป็นฐานข้อมูลคลังความรู้หลากหลายอย่าง สุดแท้แต่ดวงตาใครจะมองเป็นธรรม... ต่อไปมาดูหนังรถไฟของไทยเราเรื่องต่อไป เป็นหนังปี 2524 ของท่านมุ้ยเรื่อง ถ้าเธอยังมีรัก

(http://image.ohozaa.com/i/e86/pawMDM.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5HCxqV0Oh6wKd7)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 334) ฉายเป็นลำดับที่ 72 แล้วครับ หนังถ่ายแถวสะพานพระราม 6 แล้วก็มีนั่งรถไฟไปทางใต้ตามเนื้อเรื่อง แต่จะใช่เรื่องเปล่า เดี๋ยวท่านผู้รู้จะมาเฉลยนะครับ ตอนนี้ดูหนังก่อน (72) ปี 2524 หนังรถไฟ ถ้าเธอยังมีรัก สะพานพระราม 6 ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=BlqNOzfC-Hg

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 335) ส่วนหนังรถไฟของไทยเราเรื่องต่อไปคือ ลูกสาวแม่ค้า ปี 2524

(http://image.ohozaa.com/i/799/4cSe37.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5HDXlE9lJeoFNG)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 336) ฉายเป็นหนังรถไฟของไทยเรา ลำดับที่ 73 ครับ มีฉากที่ตลาดรถไฟครับ แต่ไม่ทราบว่าที่ไหน ลองคลิกดูครับ (73) ปี 2524 หนังรถไฟ ลูกสาวแม่ค้า ตลาดรถไฟ

http://www.youtube.com/watch?v=egG9BzuV8nA

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 337) แล้วก็มาถึงลำดับที่ 74 ของหนังรถไฟของไทยเรา เสนอเรื่อง สามเสือสุพรรณ ปี 2524

(http://image.ohozaa.com/i/033/1ocjfe.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5HF1hH07KtB556)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 338) หนังเรื่องนี้เป็นการเซ็ทฉากขึ้นมาให้ดูเก่าๆ นะครับ แต่ก็เป็นรถไฟจริงๆ รางจริงๆ แต่ว่าไม่ทราบว่า ถ่ายทำแถวไหนครับ ลองคลิกดูครับ ฉายเป็นลำดับที่ (74) ปี 2524 หนังรถไฟ สามเสือสุพรรณ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=c7dW5Kqdvok

พุทธพร ส่องศรี ถ้าเธอยังมีรัก (2524) ผมชอบบรรยากาศสถานีรถไฟในหนังเรื่องนี้มากครับ สถานีรถไฟเล็ก ๆ ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบร่มรื่น เห็นรถสินค้าวิ่งมาไกล ๆ
เรื่องนี้ถ่ายทำที่สถานีรถไฟนาชะอัง จ.ชุมพรครับ ปัจจุบันอาคารสถานีปรับปรุงไปพอสมควร แต่ยังเหลือเค้าเดิมอยู่ครับ

(http://image.ohozaa.com/i/c6b/VSnHCZ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5HFJf3zeZerYuW)

พุทธพร ส่องศรี สถานีนาชะอังในปัจจุบันครับ

(http://image.ohozaa.com/i/g43/HQmSJZ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5HGrcq8oWHQvnX)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 29 พฤศจิกายน 2013, 04:48:29
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 341) ระหว่างที่รอฟังข้อมูลเพิ่มเติมว่า หนังรถไฟของไทยเรา เรื่อง สามเสือสุพรรณ ที่ผมโพสไว้ข้างต้น ว่าถ่ายทำที่ไหนบ้างนั้น ตอนนี้ก็มาดูหนังรถไฟของไทยเรา ลำดับที่ 75 ปี 2525 เรื่อง 4 คิงส์ กันก่อนนะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/739/sEV5GA.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5PDxD4zuwggsgt)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 342) หนังเรื่อง 4 คิงส์ นั้น ดูๆ ฉากรถไฟแล้ว เหมือนจะมี 2 แห่ง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าที่ไหนเช่นกัน ลองคลิกดูนะครับ... (75) ปี 2525 หนังรถไฟ 4 คิงส์ กรุงเทพฯ

http://www.youtube.com/watch?v=uJHHGonPa6U

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 343) ต่อไปก็เป็นหนังรถไฟของไทยเรา ลำดับที่ 76 ครับ เป็นหนังปี 2525 เช่นกันเรื่อง ดาวพระเสาร์

(http://image.ohozaa.com/i/f6d/ge05X8.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5LwEUIGOBnJMGt)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 344) หนังเรื่องนี้ ต้นเรื่องบอกว่า จากสระบุรีจะไปลพบุรี..แล้วก็มีฉากบู๊กันที่ตู้รถไฟ..ซึ่งถ้าตามเนื้อเรื่องน่าจะเป็น สระบุรี แต่ว่า หนังเขาถ่ายทำที่ไหน ยังไม่รู้ ลองคลิกดูนะครับ (76) ปี 2525 หนังรถไฟ ดาวพระเสาร์ ไม่ทราบ

http://www.youtube.com/watch?v=OHVGh689lYY

พุทธพร ส่องศรี สามเสือสุพรรณ (2524) ฉากรถไฟหัวรถจักรไอน้ำนั้น ถ่ายทำที่กาญจนบุรีตามที่พี่มนัสได้เขียนเล่าไว้ใน บทที่ 329 ครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=292413917569919...

ผมตัดภาพจากคลิปมาประกอบนะครับ

ภาพที่ 1 เป็นฉากขนสินค้าขึ้นตู้รถไฟ มุมบนขวาสังเกตเห็นต้นตาลครับ ซึ่งสถานียุคนั้นที่มีดงตาลอยู่หน้าสถานีก็ต้องนึกถึงกาญจนบุรีไว้ก่อน ส่วนเพชรบุรีนั้นหน้าสถานีเป็นตัวเมืองครับ ไม่มีต้นตาล ต้องออกนอกเมืองไปอีกนิดถึงจะเจอ

ภาพที่ 2 เห็นดงตาลอย่างชัดเจนครับ

ภาพที่ 3 ฉากนี้ถ่ายทำตรงทางรถไฟโค้ง ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำแคว สังเกตมุมขวาล่าง จะมีป้ายของรถไฟกลม ๆ สีขาว มีอักษร ว แหวน ซึ่งย่อมาจาก "หวีด" เมื่อ พขร.ขับรถไฟมาถึงป้ายนี้ แสดงว่า ข้างหน้าจะมีถนนตัดผ่าน ต้องชักหวีดเตือนให้ประชาชนทราบว่ารถไฟกำลังมาครับ ซึ่งทางรถไฟช่วงนี้ก็มีถนนตัดผ่านจริง ๆ คือ ทางหลวงหมายเลข 323 (ถนนแสงชูโต) ซึ่งผ่านกลางเมืองกาญจนบุรีนั่นเอง

ภาพที่ 4 เป็นมุมเดียวกันกับภาพที่ 2 แต่มาจากเรื่อง พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518) ครับ

วิดีโอเทปม้วนนี้ของพี่มนัส นอกจากจะเก็บประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ที่ไม่มีฟิล์มเหลือแล้ว ยังเก็บโลโกช่อง 9 ในอดีตไว้ด้วยครับ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโมเดิร์นไนน์แล้ว โลโก้เลข 9 จากวิดีโอหาดูยากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ สมัยก่อนรายการช่อง 9 ก็ไม่ค่อยมีใครนิยมอัดวิดีโอไว้ ไม่เหมือนช่อง 7 กับช่อง 3 ที่มีละครให้ดุเยอะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/7b7/FQKiwD.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5LyqO86rBmdOsj)

พุทธพร ส่องศรี หลักฐานเกี่ยวกับการเช่ารถไฟเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ครับ ปรากฏในรายงานประจำปี 2519 ของการรถไฟฯ
----
ข้อ 1 จัดเดินขบวนรถพิเศษเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ของบริษัทบางกอกภาพยนตร์ เดินรถระหว่างมักกะสัน-กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2518
----
คงจะเป็นภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร นะครับ

(http://image.ohozaa.com/i/cd9/kBZ5Jb.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5LxmS5fK7q4vo0)

พุทธพร ส่องศรี กำลังดู 4 คิงส์ (2525) อยู่ครับ ไม่แน่ใจว่าเป็นทางรถไฟช่วงบ้านฉิมพลี-ศาลาธรรมสพน์หรือเปล่า เห็นสะพานข้ามทางรถไฟน่าจะเป็นถนนวงแหวนตะวันตกกำลังก่อสร้างอยู่พอดีครับ

(http://image.ohozaa.com/i/52b/WrcTi3.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5Lz8LuFFE2WLpk)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 29 พฤศจิกายน 2013, 05:05:38
มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 352) ฟิล์มหนัง 16 มม.เรื่อง ไทยน้อย นั้น ทราบว่า ยังมีเก็บอยู่ครับ แต่ว่าไม่มีการเบิกไปทำแผ่นดีวีดี เข้าใจว่า ไม่อยากจะลงทุนทำภาพใหม่และลงทุนพากย์เสียงนะครับเพราะหนังที่ทำออกมา ก็ขายไม่ค่อยได้ด้วย พวกเราก็เลยอดดูกันครับ.. ตอนนี้ มาดูหนังรถไฟของไทยเรา ลำดับที่ 77 เรื่อง นักฆ่าขนตางอน ปี 2525

(http://image.ohozaa.com/i/542/kkJAzQ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5S5gwXW2hWQ7TC)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 353) นักฆ่าขนตางอน นั้น ไม่ได้ถ่ายฉากรถไฟจริงจัง เป็นเพียงภาพฉากหลังเท่านั้น ลองคลิกดูครับ..(77) ปี 2525 หนังรถไฟ นักฆ่าขนตางอน กรุงเทพฯ

http://www.youtube.com/watch?v=t1OgX3wxyAE

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 354) หนังรถไฟของไทยเรา ลำดับต่อไปเป็นเรื่อง 78 ปี 2525 เรื่อง นางแมวป่า

(http://image.ohozaa.com/i/e1e/j47SzU.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5S6kt0MJVbMlhz)

มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต (เขียนช่องความเห็นที่ 355) นางแมวป่า ถ่ายทำที่สถานีรถไฟหัวหิน ลองคลิกดุครับ..(78) ปี 2525 หนังรถไฟ นางแมวป่า หัวหิน

http://www.youtube.com/watch?v=aiEpeMgExdw

พุทธพร ส่องศรี เสน่ห์บางกอก (2509) ฉากนี้ถ่ายทำด้านทิศตะวันออกของสะพานรถไฟข้ามคลองบางซื่อ ด้านใต้ของสถานีชุมทางบางซื่อครับ มองไปทางทิศตะวันตกครับ

(http://image.ohozaa.com/i/f76/Nb3Etp.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5SfbW3SpreCqVI)

พุทธพร ส่องศรี นักฆ่าขนตางอน (2525) ถ่ายบนถนนเทอดดำริ ตรงสะพานข้ามคลองบางซื่อครับ สะพานนี้ชื่อว่า สะพานปูนซิเมนต์ไทย ๑ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 ส่วนสะพานรถไฟที่เห็นคือสะพานเดียวกันกับเสน่ห์บางกอก (2509) ครับ
มองไปไกล ๆ จะเห็นอาคารสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อด้วยครับ ด้านล่างคือภาพปัจจุบัน

(http://image.ohozaa.com/i/cb2/mTq5tl.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5Si1Lw8P3RWQWN)

พุทธพร ส่องศรี นางแมวป่า (2525) ฉากนี้ก็ถ่ายแถว ๆ บางซื่อเช่นกัน แต่มองจากสถานีชุมทางบางซื่อไปทางทิศใต้ เห็นสะพานรถไฟข้ามคลองบางซื่อครับ
หนังสามเรื่องนี้ถ่ายที่เดียวกันครับ

(http://image.ohozaa.com/i/25a/CtMBNu.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5SjNEVyYSxq2db)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 29 พฤศจิกายน 2013, 05:24:19
พุทธพร ส่องศรี เมื่อวานนี้ 6 พ.ย. 56 คุณ Nakhonlampang ได้ถ่ายภาพจากสถานที่จริงมาเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ นักฆ่าขนตางอน (2525) ดังนี้ครับ
----
"สถานที่ถ่ายทำเรื่องนี้มีอยู่จุดเดียวนะครับ คือ สะพานปูนซิเมนต์ไทย 1 ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองประปาและคลองบางซื่อ คู่ขนานกับสะพานรถไฟด้านใต้สถานีชุมทางบางซื่อ

ฉากนี้สังเกตว่าเมื่อมองทะลุสะพานรถไฟออกไป ก็จะเห็นสะพานรถไฟอีกสะพานหนึ่ง ซึ่งก็คือสะพานทางแยกเข้าย่านสินค้าพหลโยธินนั่นเอง"


(http://image.ohozaa.com/i/0fc/hGLBfZ.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5XwojxBp1Jhk2P)

พุทธพร ส่องศรี สถานที่เดียวกันในวันนี้ (6 พฤศจิกายน 2556)

(http://image.ohozaa.com/i/77c/Tw6uct.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5XsQwILAjXezc9)

พุทธพร ส่องศรี ฉากนี้หันกล้องไปทางด้านเชิงสะพานรถไฟด้านใต้ จะมองเห็นทางรถไฟ 3 ทาง
--> 2 ทางแรกที่อยู่ใกล้ คือทางรถไฟเส้นหลัก ส่วนทางที่ 3 ที่อยู่ไกลสุด คือทางแยกเข้าย่านสินค้าพหลโยธินผ่านสะพานอีกสะพานที่เห็นไกลๆในฉากข้างบน

(http://image.ohozaa.com/i/2b6/AA4LTK.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5X9HFTskVj7OdH)

พุทธพร ส่องศรี คุณ Nakhonlampang กล่าวว่า...
----
มุมใกล้เคียงกันในวันนี้ ทางที่ 3 ในหนังคือทางที่รถกำลังวิ่งอยู่ในภาพครับ
(ภาพในหนังถ่ายจากบนสะพานรถยนต์ ส่วนผมยืนถ่ายภาพบนคันทางรถไฟครับ)

(http://image.ohozaa.com/i/655/8wRWwc.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5X7VMu2uQjPaP0)

พุทธพร ส่องศรี คุณ Nakhonlampang กล่าวว่า...
----
ตรงนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าหนังไทยสามารถเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปของบ้านเมืองเรานะครับ

อย่าง สะพานปูนซิเมนต์ไทย 1 ซึ่งเราเห็นในหนังเรื่อง นางแมวป่า (2525) และ นักฆ่าขนตางอน (2525) นั้น เป็นสิ่งที่ยังไม่ปรากฏในหนังเรื่อง โนราห์ (2509) และ เป็ดน้อย (2511)

ภาพจากเรื่อง โนราห์ (2509) มองจากสะพานรถไฟมาทางด้านทิศตะวันตก จะเห็นว่าสามารถมองเห็นถนนที่มาลอดทางรถไฟได้ชัดเจน

(http://image.ohozaa.com/i/c3f/BrU73m.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5WLX6cswCjXktc)

พุทธพร ส่องศรี มุมเดียวกับ โนราห์ ในวันนี้ มีสะพานปูนซิเมนต์ไทย 1 มาบังมุมมองเดิมครับ

(http://image.ohozaa.com/i/ff5/OUy25I.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5WJ7gKbQvzVvqu)

พุทธพร ส่องศรีส่วน เป็ดน้อย (2511) ถ่ายตรงกันข้ามกับเรื่อง โนราห์ นั่นคือถ่ายจากถนนข้างล่างด้านทิศตะวันตกของสะพานแล้วมองย้อนกลับมาที่สะพาน จะเห็นทางรถไฟเท่านั้น

(http://image.ohozaa.com/i/f7c/ETZUDo.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5WvE4Ppys4pX39)

พุทธพร ส่องศรี และมุมมองที่เป็นปัจจุบันของเรื่องเป็ดน้อย

(http://image.ohozaa.com/i/f7c/ETZUDo.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5WvE4Ppys4pX39)

พุทธพร ส่องศรี คุณ Nakhonlampang กล่าวว่า...
----
สำหรับเรื่อง นางแมวป่า (2525) นอกจากภาพบรรยากาศแถวๆบางซื่อแล้ว ยังมีความน่าสนใจบางอย่างในฉากที่ สถานีหัวหิน ครับ

ภาพนี้เห็นรถดีเซลราง RHN แล่นออกจากสถานีหัวหินล่องไปทางใต้ ซึ่งมีความเป็นไปได้อยู่ 2 ขบวน นั่นคือ ขบวน 169 (ธนบุรี - ชุมพร) และขบวน 117 (กรุงเทพ - ปราณบุรี)

(http://image.ohozaa.com/i/fa4/aXMOTn.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5YORulYf5rU0s5)

พุทธพร ส่องศรี อีกภาพก็คือขบวนรถบรรทุกซุงที่จอดอยู่ในทางหลีกสถานีหัวหินนะครับ หายากนะครับภาพรถบรรทุกซุงในเส้นทางสายใต้

(http://image.ohozaa.com/i/78b/ayGCRm.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5W1RRxB0C4vVl3)

พุทธพร ส่องศรี สำหรับเรื่องฉากใน 4 คิงส์ (2525) ที่ผม (พุทธพร) เข้าใจว่าเป็นช่วงบ้านฉิมพลี-ศาลาธรรมสพน์นั้น
คงไม่ใช่แล้วครับ เพราะไปตรวจสอบในภาพถ่ายทางอากาศเก่า ปี 2495 บริเวณนั้นเป็นทุ่งนาทั้งหมด คงไม่เปลี่ยนเป็นสวนมะพร้าวได้อย่างรวดเร็ว

อาจจะเป็นช่วงธนบุรี-ชุมทางตลิ่งชันหรือเปล่าครับ และสะพานข้ามทางรถไฟ คือถนนบรมราชชนนี ซึ่งเริ่มก่อสร้างปี 2522

คุณ Nakhonlampang ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้ครับ
----
ผมไม่แน่ใจว่าฉากบนหลังคารถไฟนั้นถ่ายในคราวเดียวกันหรือเปล่านะครับ เพราะรายละเอียดของฉากดูไม่โดดนัก
--> สังเกตว่ารถไฟมีการลอดสะพาน 2 จุดนะครับ จุดแรกกำลังสร้างอยู่ ยังไม่มีพื้นสะพานเลย เพิ่งวางคานเท่านั้นเอง กับอีกสะพานที่ดูเหมือนว่าสร้างเสร็จแล้ว และทั้ง 2 ฉาก เสาโทรเลขก็อยู่ทางขวามือของทิศทางการเคลื่อนที่ของขบวนรถทั้งคู่ ซึ่งถ้าสะพานใดสะพานหนึ่งเป็นสะพานของถนนบรมราชชนนีแล้ว ไม่น่าที่ทั้ง 2 ฉากจะถ่ายได้ในคราวเดียวกันนะครับ

พอมาสังเกตสะพานจุดที่กำลังสร้างอยู่ ผมว่าสะพานจุดนี้มีลักษณะเสาตอม่อเหมือนกับสะพานข้ามทางรถไฟของของถนนบรมราชชนนีนะครับ

ภาพในหนัง

(http://image.ohozaa.com/i/cf7/qVOLxs.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5VTIlR4o1ASy4o)

พุทธพร ส่องศรี คุณ Nakhonlampang (ต่อ) ครับ
----
เทียบกับภาพใต้สะพานข้ามทางรถไฟของของถนนบรมราชชนนี

ถึงตรงนี้ผมให้น้ำหนักในส่วนของสะพานที่กำลังก่อสร้างว่าเป็นถนนบรมราชชนนีครับ แต่อีกสะพานนี่สิที่ยังเป็นปริศนา

เนื่องจากทางช่วงธนบุรี-ชุมทางตลิ่งชันในเวลานั้น สะพานข้ามทางรถไฟที่มีความเป็นไปได้มีแค่จุดเดียวเท่านั้น ถ้าจุดที่กำลังก่อสร้างนี้เป็นถนนบรมราชชนนีจริง สะพานอีกจุดก็น่าจะเป็นจุดอื่น เพราะฉากที่ปีนสะพานขึ้นไปนั้นเป็นสะพานที่สร้างเสร็จแล้ว เสียดายที่สะพานนี้ไม่เห็นรายละเอียดส่วนอื่นๆที่ชัดเจน นอกจากราวสะพาน
ผมไม่แน่ใจว่าสะพานข้ามทางรถไฟช่วงจากสะพานพระรามหก-บางบำหรุ ตรงซอยภาณุรังษี มีรายละเอียดสะพานอย่างไร กับอีกจุดในช่วงบางบำหรุ-ชุมทางตลิ่งชัน บริเวณซอยร่มรื่น ซึ่ง 2 จุดนี้ปัจจุบันก็ถูกรื้อออกไปแล้วด้วย เลยเดายากจริงๆครับ

นอกเหนือจากนี้ก็ไม่มีสะพานใกล้ๆแล้วครับ นอกจากสะพานของถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่าไม่น่าใช่ เพราะสภาพแวดล้อมดูไม่ใช่เลย

(http://image.ohozaa.com/i/75f/GByDPf.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xf5VHF4FqGKwMuSq)
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: wontxsokub ที่ 06 ธันวาคม 2013, 11:14:51
หนังเก่าดีมากเลยนะครับ น่าสนใจจริงๆ
หัวข้อ: Re: บทที่ 434 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวม หนังรถไฟ ของไทยเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ickilas ที่ 25 กรกฎาคม 2018, 01:29:53
อยากได้ขอมูลหนัง รถไฟเรือเมล์ลิเกตำรวจ (2519)   
หาข้อมูลยากมากครับเรื่องนี้  รู้แค่ฉายปี 2519  มีนักแสดงสาวสวย(ในปีนั้น)ชื่อ รุ้งลาวัลย์ ศรีปฎิมากูร อยู่ในกลุ่มนักแสดงนำ 
ที่ขาดอยู่คือ 
-ค่ายที่สร้าง
-ผู้กำกับ
-นักแสดงนำทั้งหมด

ถ้ามีโปสเตอร์ด้วยยิ่งดีครับ  ขอบคุณครับ  :GreenScarf (12):