ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 281 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ “นักพากย์” หัวใจของหนังพูดได้  (อ่าน 5508 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฉัตรชัยฟิล์มshop

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 11655
  • พลังใจที่มี 441
  • เพศ: ชาย
  • รักการฉายด้วยฟิล์ม

บทที่ 281
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
“นักพากย์” หัวใจของหนังพูดได้
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 24 มิถุนายน 2556)


             คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สิ่งที่ทำให้เรื่องราวของหนังไม่ว่าจะเป็นหนังไทยหรือหนังเทศ เข้าไปซึมซับอยู่ในใจคนดูได้นั้น “นักพากย์” ก็เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้คนดูหนัง เข้าใจหนัง.. ทำให้คนดูหนัง ชอบหนังเรื่องนั้นๆ ในอดีตนั้น การพากย์หนังก็ใช่ว่า ใครก็จะเป็นนักพากย์ได้.. การพากย์หนังเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดสำหรับคนมีพรสวรรค์เท่านั้น..นักพากย์หนังหลายคนๆ ในอดีตจึงกลายเป็นตำนานให้คนรุ่นนั้นๆ ได้พูดได้กล่าวถึงตลอดมา..

             แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ๆ อาจจะมองไม่เห็นความจำเป็นของการมีนักพากย์หนัง ก็เลยทำให้วันนี้คนรุ่นใหม่ๆ มองข้าม “นักพากย์” หนังไป.. แต่สำหรับพวกเรา “คนหนัง” แล้ว ก็ยังให้ความเคารพ ความนับถืออดีตของศิลปะการพากย์หนัง ผมอยากจะบอกตรงๆ ว่า ถ้าในอดีตหนังต่างประเทศนั้นไม่ได้นักพากย์ที่เก่งๆ ไม่ได้นักแปลบทพากย์ที่ชำนาญด้านภาษามาช่วยแล้ว หนังต่างประเทศในเมืองไทยก็คงจะไม่แผ่อิทธิพลได้มายมายถึงขนาดนี้หรอกครับ..ฉะนั้น การหันกลับมามองดูรากเหง้าของศิลปะการพากย์ จึงควรอย่างยิ่งที่พวกเราจะต้องช่วยกันพูด ช่วยกันเขียนให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษากันต่อไป..

             เสียงของนักพากย์เก่าๆ นั้น หาได้ยาก ก็เลยต้องหาเสียงนักพากย์รุ่นที่ใหม่ขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังเรียกว่า เก่านะครับ.. ตอนที่ผมเข้ากรุงเทพฯ มาใหม่ๆ เริ่มรู้จักโทรทัศน์ เริ่มรู้จักวีดีโอเทปและก็เริ่มดูหนังตามโรง.. ก็ไปติดใจกับเสียงพากย์ของ “ทีมเสียงเอก” ซึ่งยุคนั้นเท่าที่ทราบก็มี รังสรรค์ ศรีสลากร-รอง เค้ามูลคดี-ศิริพร วงศ์สวัสดิ์-อุดม สุนทรจามร-โอ๊ต จักรกฤษ หาญวิชัย..เป็นทีมพากย์...  ผมลองหาเล่นๆ ในยูทูปก็ไปเจอคนโพสต์ไว้ ก็เลยนำมาฝาก เป็นหนังจีนเรื่อง ต้นตระกูลโหด เสียงเอก เป็นทีมพากย์ครับ

ลองฟังดูตามลิงค์นะครับ.


<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/KEJbzLGdxRM?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
 
             เป็นเสียงพากย์ของ ทีมเสียงเอก แต่ว่าเป็นหนังอินเดียที่นำกลับมาฉายใหม่อีกครั้ง เรื่อง องคุลีมาล.. คนที่ในยูทูปเขียนบอกไว้ว่า เสียงพากย์ตัว องคุลีมาล เป็นเสียงพากย์ของ รังสรรค์ ศรีสลากร.. เสียงพากย์ พระพุทธเจ้า เป็นเสียงของ รอง เค้ามูลคดี.. เสียงเเม่ของ อหิงสกะ พากย์โดย คุณศิริพร วงศ์สวัสดิ์.. เสียงพราหมณ์พากย์ โดย อุดม สุนทรจามร และก็มีเสียงของ โอ๊ต จักรกฤษ หาญวิชัย.. ภาพมาจากม้วนวีดีโอ ลองคลิกดู คลิกฟังได้เลยครับ...

<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/MEilNbHygtA?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

            ทีมอินทรี ก็เกิดมี ทีมพากย์ “พันธมิตร” ขึ้นมา.. ซึงเสียงพากย์คงหาได้ไม่ยากเพราะยังมีผลงานถึงปัจจุบัน วันนี้ ผมเห็นในยูทูปมีคนโพสต์เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ ทีมพากย์พันธมิตร ไว้หลายรายการ ก็เลยเลือกนำมาฝากครับ..

เทปนี้จากรายการ The Fighter คุยกับทีมพากย์พันธมิตร


<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/WplfKh5OQ1U?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


ชมได้ ...
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=283704875107490&set=o.156185157894883&type=3&theater
..............


เมื่อเมริกันมาตั้งฐานทัพที่อีสาน ทำให้กิจการโรงหนังได้รับความนิยมมากขึ้นจึงมีการตั้งสายหนังอีสานอีสายหนึ่งว่า “โคราชฟิล์ม” มีนักพากย์แม่เหล็ก คือ มหาราช,เทพปราณี (ย้ายมาจากสายเฉลิม) พรไพร-กันทิมา, อำนวยพร, ศักดิ์สิทธิ์- สุพรรณี ในบางครั้งก็ยิมตัวพงษ์พิทักษ์ และศุภชัย มาพากษ์ด้วย ภายหลังสาย “โคราชฟิล์ม” เปลี่ยนชื่อเป็น “เจ้าพระยาฟิล์ม”

 สายที่สี่ชื่อ “สายเฉลิมไทย” มีนักพากย์ชื่อดัง เช่น พงษ์พิทักษ์, ศรอนงค์-พิมพา, ศุภชัย, เทวาพร, พันธ์ดาว, ชัยกมล-สุปรานี,เหมราช, ศักดิ์ชัย-อรุณศรี, อำนวยพร-สิงห์ชัย

สายที่ห้าชื่อ “ไกรลาสฟิล์ม” เจ้าของโรงหนังศรีอุดร และบันเทิงจิตขอนแก่น เน้นหนังจีนและหนังอินเดียเป็นหลัก มีนักพากษ์ที่เป็นแม่เหล็กคือ เทพปราณี, สกุลชัย, ณรงค์ทิพย์-เพียงพิศ, ศรีสุริยา, ศุภสรณ์, ศักดิ์สิทธิ์, ดวงกมล (กมล กุลตังวัฒนา) , สกุลรัตน์ (สุรสีห์ ผาธรรม)

สายที่หกมีชื่อว่า “รัชตะฟิล์ม” เน้นหนังจีนของชอว์บราเดอร์ ของกรุงเกษม, หนังอินเดียจากโรงหนังควีนเป็นหลัก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ชัยเจริญ. นักพากย์ผู้ยิ่งใหญ๋. กรุงเทพฯ : เอเอสเทคนิคการพิมพ์, 2549.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2014, 18:22:43 โดย นายเค »


ฉัตรชัย สุวรรณโสภา 
88/1 ม.4 ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120   
E-mail chatchai_suw@hotmail.com    โทร 081-7636195 
ต่อพงศ์ภาพยนต์ ระบบ 35 ม.ม.  ฉัตรชัยภาพยนตร์ กลางแปลงย้อนยุค 16 ม.ม.
ธ.ไทยพาณิชย์  สาขาบิ๊กซีราชบุรี ชื่อบัญชี ฉัตรชัย สุวรรณโสภา  หมายเลขบัญชี  940-202235-1

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
 วันนี้ ผมเปิดหัวข้อไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ณ บัดนี้ หากเพื่อนๆ ท่านใด อยากจะพูด อยากจะกล่าวถึง “นักพากย์” ท่านใด จังหวัดใด ก็เชิญตามสะดวกนะครับ..หากมีภาพประกอบด้วย ก็โพสต์ได้เลยครับ....


             เนื่องจากนักพากย์หนังทั่วฟ้าเมืองไทยมีเยอะมากๆ เพื่อนๆ ท่านใดพอจะทราบ พอจะจำได้ ก็ช่วยๆ กันเขียนไปตามความรู้สึกนะครับ อาจจะบอกแค่เพียงว่า จังหวัดนั้น โรงหนังนั้น มีนักพากย์ชื่ออะไร พากย์เดี่ยวหรือพากย์ูคู่กับใคร เคยพากย์หนังอะไรที่ทำให้ท่านได้ดูแล้วชอบ..หรืออาจจะเป็นนักพากย์หนังกลางแปลง หนังขายก็ได้นะครับ ตอนนี้เริ่มไหว้ครูนักพากย์ก่อน ด้วยภาพของ ทิดเขียวหรือนายสิน สีบุญเรือง..ปรมาจารย์นักพากย์หนังคนแรกของไทย..


ทิดเขียว มีตราประจำคณะหรือทีมพากย์ด้วยครับ..

             พูดถึง พรพจน์-รัชนีวรรณ ซึ่งเคยเป็นนักพากย์โรงหนังในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะพลิกผันไปสร้างหนังไทยหลายๆ เรื่อง ก็เลยนำรูปมาฝาก..แม้ผมเองจะไม่เคยเข้าโรงดูหนังที่ พรพจน์-รัชนีวรรณ พากย์ แต่ก็คิดว่าในบรรดาหนังไทยที่ท่านสร้างไว้นั้น ก็คงต้องมีเสียงพากย์ของท่านทั้งสองในหนังบ้างแหละครับเพราะถึงจะเป็นหนังไทยเสียงในฟิล์ม แต่ก็ยังคงใช้ทีมพากย์ตามปกติ เพียงแต่พากย์อัดลงไปในฟิล์มเท่านั้น..


พรพจน์-รัชนีวรรณ

             เรื่องราวของการพากย์หนังนั้น สมัยก่อนที่โรงหนังยังพากย์กันสดๆ อยู่ แต่ละโรงก็จะมีนักพากย์พากย์ประจำโรง แบบนี้ถ้าหนังเรื่องไหนเข้าโรงนี้ คนในถิ่นนั้นก็จะรู้ว่า หนังเรื่องนี้ ใครจะเป็นคนพากย์..ชื่อนักพากย์ก็จะติดไว้ประจำโรงหนังเลยไม่ว่าในกรุงเทพฯหรือต่างจังหวัด..การพากย์ก็พากย์ทั้งหนังไทย 16 มม. และพากย์หนังต่างประเทศ..

             กระทั่งหนังไทยเปลี่ยนกลับไปสร้างในระบบ 35 มม.พากย์เสียงในฟิล์ม บรรดานักพากย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักพากย์ในกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียง ก็เลยต้องไปพากย์อัดเสียงลงฟิล์มให้หนังไทย 35 มม.เกิดทีมพากย์มากมาย แต่สำหรับหนังต่างประเทศที่ยังไม่นิยมพากย์เสียงลงฟิล์ม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของนักพากย์โรงหนังเหมือนเดิม พากย์หนังต่างประเทศ เขาจะใช้วิธีตัดซาวด์ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สต๊อปซาว์ด เป็นตัวปิดตัดเสียงภาษาต่างประเทศออกไป แล้วพากย์เสียงตัวเองเข้าไปแทน..

             ต่อมาเมื่อนักพากย์เริ่มเดินสายพากย์มากขึ้น ก็เริ่มพากย์อัดลงเทปและให้เช็คเกอร์หิ้วหนังเป็นคนหิ้วเทปไปด้วย ก็จะมีมือเปิดเทปของโรงหนังนั้น ทำหน้าที่เปิดเทปเสียงพากย์แทน..ตอนนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า เป็นการชุบชีวิตให้กับหนังต่างประเทศเพราะหนังไทย 35 มม.มีเสียงในฟิล์มแล้ว แต่หนังต่างประเทศ ยังต้องพากย์สดๆ อยู่ ก็เลยทำให้เกิดศิลปะการพากย์หนังเอาใจตลาดขึ้นมา..นักพากย์แต่ละคนที่พากย์หนังต่างประเทศ ต่างก็สร้างจุดขาย สร้างคะแนนนิยมให้กับตัวเองโดยอาศัยภาพจากแผ่นฟิล์มเป็นเครื่องมือ ยิ่งเป็นนักพากย์โรงท้องถิ่นที่ได้สัมผัสกับสารทุกข์สุกดิบของประชาชนด้วย ก็จะจดจะจำเหตุการณ์ต่างๆ หรือแม้แต่ชื่อของผู้มีอิทธิพล คนน่ารัก คนสวยประจำจังหวัดไว้..แล้วก็มาพากย์นอกบทในหนัง..แฟนๆ ก็ติดนักพากย์ คราวนี้ ไม่ว่าจะหนังเรืองอะไรมาฉาย คนก็จะไปดู จะไปฟังว่า ไอ้นักพากย์คนนี้ วันนี้มันจะมีมุขอะไรมาเล่นกับคนดูอีก..

             ผมเองเป็นคนสุรินทร์ แม้ว่าในตัวเมืองสุรินทร์จะมีโรงหนังอยู่ 4 โรงคือ คาเธ่ย์ ศรีสยาม เพชรเกษม ศรีสุรินทร์..แต่ก็น้อยนักที่จะได้เห็นการพากย์สดๆ ของนักพากย์..นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดปี 2524 นะครับ..  นักพากย์ที่ขึ้นชื่อที่สุดในสุรินทร์ ก็เป็นนักพากย์มาจากถิ่นอื่น มากับเทปรีลที่ส่งมาพร้อมกับฟิล์มหนังที่เข้าโปรแกรม.. จะขอพูดถึงนักพากย์ที่มีนามว่า "โกญจนาท" นักพากย์ที่พากย์หนังฝรั่งคนเดียวมาตลอด..ลีลาการพากย์คล้ายๆ การบรรยาย พากย์แบบเปิดเผยตัวละคร เปิดเผยเรื่องราว แต่คนดูก็ไม่ว่าอะไร กลับสนุกไปกับลีลาการพากย์ที่ยียวนกวนประสาท โดยเฉพาะการเหน็บแนมคนมีสี..บางครั้งตัวละครโผล่มา กลัวคนดูหนังไม่เข้าใจ พี่แกก็บอกเสร็จสรรพว่า ไอ้หมอนี่มันเป็นคนร้าย มันมาเพื่อจะฆ่าไอ้คนนั้น.. คนดูก็ยังสนุกกับการพากย์..

             ถ้าเป็นสมัยนี้คงไม่ได้หรอกครับ แต่นั่นก็เป็นวัฒนธรรมการดูหนังของคนในยุคนั้นและสร้างชื่อเสียงให้กับ โกญจนาท เป็นอย่างมาก ต่อมาโกญจนาท ก็เิริ่มพากย์หนังจีน แล้วก็เริ่มจับคู่พากย์เพราะเสียงผู้หญิงของโกญจนาทนั้นออกห้าวๆ ไปหน่อย.. ผมเห็นรูปข้างล่างเขียนชื่อว่า โกญจนาท ก็เลยนำมาประกอบด้วย..


             ยังมีนักพากย์ที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งที่ผมคุ้นๆ ชื่อมา.. ก่อนปี 2524 เหมือนกันนะครับ คนนี้พากย์หนังจีน..ใช้ชื่อพากย์ว่า พงษ์พิทักษ์... เป็นนักพากย์มาจากถิ่นอื่นเหมือนกัน แต่มีเสียงใส่เทปตามฟิล์มหนังมาเมืองสุรินทร์ ผมเองหาโรงหนังในเมืองสุรินทร์มาประกอบไม่ได้เลย ก็ขออาศัย โรงหนังเฉลิมสิน จังหวัดอุบลฯ ที่เพื่อนๆ โพสต์ไว้ในเฟสบุ๊ก เป็นภาพในปี 2514 ประกอบการเขียนแทนนะครับ ให้สังเกตชื่อนักพากย์ติดไว้หน้าโรงก่อนชื่อหนังว่า.. พงษ์พิทักษ์ ... ดูรูปก่อน แล้วค่อยคุยกัน


โรงหนังเฉลิมสิน จังหวัดอุบลฯ

             แรกๆ พงษ์พิทักษ์ ก็พากย์หนังคนเดียว..แต่ถ้าเป็นหนังจีนชีวิตรัก เศร้า สะเทือนใจแล้ว บางครั้งก็จับคู่พากย์กับ กันทิมา..เป็น พงษ์พิทักษ์-กันทิมา พากย์..  แต่ภาพนี้คือ งานพากย์สมัยที่รุ่งเรืองและมีชื่อเสียงกับหนังจีนเฉินหลง..


พงษ์พิทักษ์

             ประมาณเกือบ 20 ปีมาแล้ว ตอนที่ผมเริ่มๆ คบกับ คุณโต๊ะ พันธมิตร ใหม่ๆ ตอนนั้น ผมก็ยังไม่รู้ว่า คุณโต๊ะพันธมิตร เป็นนักพากย์.. เราคุยกันเรื่องหนังไทยเก่าๆ คุยเรื่องหนังต่างประเทศเก่าๆ ว่า.. หาดใหญ่ บ้านคุณโต๊ะ ใครพากย์ แล้วสุรินทร์บ้านผม ใครพากย์.. เรียกว่า เจอหน้ากันทีไร มีเรื่องหนัง เรื่องนักพากย์คุยกันได้ตลอด จนมารู้ว่า คุณโต๊ะเป็นนักพากย์หนัง ก็ไปหาคุณโต๊ะที่ห้องพากย์แถวประชาชื่นบ่อยๆ กระทั่งคุณโต๊ะย้ายห้องอัดไปอยู่ที่ใหม่ ก็ไปบ้าง..

             แล้วอยู่มาวันหนึ่ง คุณโต๊ะก็เรียกนักพากย์ในทีมมาหา แล้วก็บอกว่า นี่แหละ พงษ์พิทักษ์ ที่มนัสเคยพูดถึง แนะนำให้ผมรู้จัก พงษ์พิทักษ์..คนที่ผมเห็นชื่อพากย์หนังในเมืองสุรินทร์เป็นประจำ แต่ได้มาเห็นตัวจริงๆ ที่ห้องพากย์คุณโต๊ะ.. ส่วนภาพนี้ ตอนนั้นเพื่อนๆ นัดกันไปเยี่ยมคุณโต๊ะ ก็เลยถ่ายรูปหน้าบ้าน กับ นักพากย์ที่อยู่ในวันนั้น.. หลายปีมาแล้วครับ..


             ชื่อของ มนตรี เจนอักษร เกิดมาพร้อมๆ กับหนังวิจิตร คุณาวุฒิ เรื่อง คนภูเขา ปี 2522 มนตรี ไม่ได้เกิดมาเป็นดาราหนังเพียงอย่างเดียวเพราะหนังเรื่องนี้ วิิจิตร คุณาวุฒิ ให้มนตรีพากย์เสียงตัวเองด้วย..เคี่ยวเข็ญจนปัจจุบันก็ใช้อาชีพนักพากย์เลี้ยงตัวเอง... และต่อไปนี้คือข้อเขียนของของ "ชัยเจริญ" นักพากย์ชื่อดังภาคใต้ ที่จับปากกาเขียนหนังสือชื่อ คุยเฟื่อง.. เรื่องนักพากย์..พิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊ก แต่ว่า เพื่อความสะดวกในการสื่อสาร ผมเห็นคุณแอ๊ด เว็บไซด์ peoplecine พิมพ์ออกมาโพสต์ในกระทู้ของเว็ปดังกล่าวแล้ว ผมก็ขออนุญาตลอกถ้อยคำมาเลยนะครับ... คุณชัยเจริญ เขียนถึงคุณมนตรี ว่า..

             คุณมนตรี เจนอักษร ได้พรรณนาถึงนักพากย์อีสานไว้อย่างน่าทึ่ง นักพากย์ต่างจังหวัดนั้นยิ่งใหญ่จริงๆ หนังจะได้ตังค์หรือไม่ได้ตังค์ ขึ้นอยู่กับพวกเขาเหล่านี้ละครับ นักพากย์อย่าง โกญจนาท-ดาราพร-เหมราช-พงษ์พิทักษ์ ฯลฯ ถ้ามีโปรแกรมฉายเมื่อไหร่ รถแทบไม่วิ่ง สามล้อแทบไม่มีให้นั่งเพราะพวกสามล้อจะพร้อมใจกันไปดูหนังหมด ชื่อของนักพากย์บนป้ายโฆษณาใหญ่กว่าชื่อหนังเป็นเท่าตัวเลยครับ โกญจนาท เคยพากย์เอาไว้ตอนไตเติ้ลของหนังที่ผมฟังแล้วประทับใจและฮึกเหิมมาก เค้าพากย์ด้วยเสียงทุ้มห้าว แต่แฝงไว้ด้วยความยียวนและอหังการว่า "วันนี้ โกญจนาท บังคับให้ฝรั่งพูดไทย" ซึ่งข้อเขียนดังกล่าว อาจไม่ใช่เป็นคำกล่าวของ มนตรี เจนอักษร คนเดียว แต่หากเป็นคำกล่าวของนักดูหนังที่รู้จัก โกญจนาท กันทุกคน...


             โกญจนาท มีชื่อจริงว่า “สมศักดิ์ สงวนสุข” มีชื่อเล่นว่า “ม่วง” เป็นชาวชลบุรีครับ ในวัยเด็กมีความฝันอยากจะเป็นคนฉายหนังเพราะจะได้ดูหนังฟรีทุกวัน จนความฝันเป็นจริงในวัยหนุ่มเมื่อได้เป็นพนักงานฉายหนังที่หน่วยหนังเร่ บ.บ.ท. คือ บริษัทบางบัวทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งในช่วงนั้นเป็นการฉายภาพยนตร์ 16 มม. เร่ฉายหนังไปทั่วไม่ว่าจะเป็นศรีราชา นาเกลือ พนัสนิคม บ้านบึง โดยมีนักพากย์ประจำหน่วยคือ โกญจนาท-ศรีรัตน์ (โกญจนาทเป็นชื่อนักพากย์ในทีม มิใช่ชื่อโกญจนาทในปัจจุบัน)

             ภายหลัง “โกญจนาท” นักพากย์ประจำทีมลาไปบวช จึงให้สมศักดิ์ สงวนสุข หรือ “ม่วง” พนักงานเครื่องฉายเป็นผู้พากย์แทน ทั้งนี้เพราะว่าดูหนังทุกวันจนจำบทพากย์ได้ขึ้นใจ แม้ว่าการพากย์ในครั้งแรกจะติดขัดอยู่บ้าง จนได้รับการบรรจุเป็นนักพากย์ประจำหน่วยหนังเร่บางบัวทอง

             เมื่อ “โกญจนาท” ตัวจริงสึกจากพระแล้วได้รับการติดต่อไปพากย์หนังที่สายอีสาน จนชวนสมศักดิ์ สงวนสุข ไปพากย์หนังที่สายอีสานด้วยกัน จึงตัดสินใจไปเป็นนักพากย์ที่สายอีสานนับแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ต่อมาภายหลัง “โกญจนาท” ตัวจริงมีคิวต้องไปพากย์หนังที่สายใต้จึงให้สมศักดิ์ สงวนสุข ไปคนเดียว พร้อมกับอนุญาตให้ใช้ชื่อ “โกญจนาท” ส่วนตนเองก็เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “เทพกวี” เพื่อให้สอดคล้องกับศรีรัตน์ นักพากย์คู่ประจำ

             นับตั้งแต่นั้นมาสมศักดิ์ สงวนสุข จึงได้ชื่อใหม่ในการพากย์ว่า “โกญจนาท” แทนนักพากย์คนเก่ามุ่งหน้ามาขุดทองพากย์หนังเพื่อให้ความบันเทิงที่สายอีสานโดยเป็นนักพากย์ในสังกัดสายอีสานภาพยนตร์ จนมีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา

             งานแรกที่โกญจนาทรับพากย์โดยพากย์หนังเรื่อง “โรบินฮูดเผด็จศึก” เป็นหนังขาว-ดำ ฉายที่อุบลภาพยนตร์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยขึ้นรถไฟพร้อมฟิล์มหนังมาลงที่โคราช จากนั้นนั่งรถไฟไปลงที่วารินชำราบ ข้ามแม่น้ำมูลมายังตัวจังหวัด หลังจากพากย์หนังที่อุบลราชธานีแล้วได้เดินสายนำ “โรบินฮูดเผด็จศึกษา” ทั่วอีสาน ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน 3,000 บาท ซึ่งในช่วงนั้นมีนักพากย์สายอีสานที่มีชื่อเสียงโด่งดังคือ “ดาราพร” “เพ็ญแข” “วราวรรณ”

             หนังเรื่องแรกที่ทำให้ “โกญจนาท” เป็นที่รู้จักของผู้ชม คือเรื่อง “สวรรค์บันดาล” จนโด่งดังเป็นพลุแตก มีผู้ชมเข้าชมจนแน่นโรงทุกรอบ  หลังจากประสบความสำเร็จจากการพากย์หนังในระยะเริ่มแรก ต่อมาจึงเริ่มพากย์หนังคาวบอยขี่ม้ายิงปืน โดยการใส่ลูกเล่นลูกฮา คนดูหัวเราะชอบใจ ไม่ว่าจะเป็น “เสือผจญสิงห์” “เจ็ดสิงห์แดนเสือ” “มือปืนใจสิงห์” จนมาถึงยุคหนังจีนกำลังภายในของชอว์บราเดอร์ อาทิ เช่น ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์, ศึกษาชุมนุมจ้าวยุทธจักร, มังกรหยก (โกญจนาท-กันทิมา) กระบี่ไร้เทียมทาน  เรื่อยมาจากถึงหนังจีนยุคใหม่ พ่อจ๋าอย่าร้องไห้, ไอ้หนุ่มพันมือ, ผีกัดอยากัดตอบ, ขาตั้งสู้, เอไกหว่า, โหด เลว ดี 1 – 2 (โกญจนาท- วราลักษณ์)

หนังฝรั่งชั้นดี คิงคอง, ร้อคกี้ 3 ซูเปอร์แมน 4 (เรื่องนี้ใช้นักพากย์ 3 คน คือ โกญจนาท-มหาราช-วราลักษณ์)
แรมโบ้ 3 (โกญจนาท-วราลักษณ์) และหนังดังอีกหลายเรื่องที่ผ่านการพากย์โดย “โกญจนาท”
ปัจจุบัน “โกญจนาท” นักพากย์หนังชื่อดังยังมีเสียชีวิต  แล้ว


โกญจนาท นักพากย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสายอีสาน
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=261421

             สำหรับรายชื่อนักพากย์ต่างๆ ซึ่งก็เป็นนักพากย์ที่เดินสายด้วยเทปมาถึงสุรินทร์บ้านผมเช่นกัน ชัยฉลอง เทพปราณี นันทวัน ดาราพร .. ล้วนแต่มีชื่อขึ้นป้ายในโรงหนังเมืองสุรินทร์..  ขอบคุณ คุณเทพประสิทธิ์ สุทิม กับชื่อ โรงหนังเจริญผล พิษณุโลก และนักพากย์ที่ชื่อ ลือชา-ประมวลรัตน์ แต่ผมหาภาพโรงหนังทีว่านี้ไม่ได้เลย มีแต่ภาพนี้แหละครับที่ได้จากเพื่อนๆ โพสต์ในเฟสบุ๊ก ไม่ทราบพอจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับรถคันนี้หรือไม่..


             แม้ผมจะไม่ใช่คนใต้ แต่ก็มีโอกาสได้สัมผัสเสียงพากย์ของ "ทิวา-ราตรี" นักพากย์สายใต้เหมือนกัน..ท่านล่ะครับ เคยได้ยินชื่อคู่พากย์คู่นี้นี้หรือไม่...


ทิวา-ราตรี

             เกริ่นไว้ว่าจะพูดถึง ทิวา-ราตรี นักพากย์สายใต้ชื่อดังคู่หนึ่ง.. แต่ความจริงแล้ว ผมไม่รู้จักท่านทั้งสองหรอกครับ แต่คุ้นชื่อท่านตั้งแต่ดูหนังอินเดียเรื่อง ช้างเพื่อนแก้ว..ตอนนั้นเป็นหนังพากย์เสียงไทยในฟิล์มแล้วครับ เป็นเสียงพากย์ของ ทิวา-ราตรี...ครับ


หนังอินเดียเรื่อง ช้างเพื่อนแก้ว

             ทิวา-ราตรี ซื้อหนังอินเดียดังๆ มาฉาย..  เมื่อเส้นทางนี้รุ่งเรือง ทิวา-ราตรี ก็ไปซื้อ โชเล่ย์ มาฉายในเมืองไทย..  ภาพนี้ขณะบินไปซื้อโชเล่ย์.. ให้สังเกตว่า ฟิล์มที่ถืออยู่ในมือจะใหญ่มากเพราะเป็นฟิล์ม 70 มม.


             เมื่อซื้อ โชเล่ย์ กลับมา โดยตอนจบของเรื่องนี้ มีให้เลือก 2 แบบคือ แบบที่ใช้กฏหมายจัดการคนร้าย กับแบบที่ใช้ระบบล้างแค้นให้สมแค้น.. ทิวา-ราตรี เลือกจบแบบที่สองนี้มาฉายในเมืองไทย.. แล้วก็ทำประชาสัมพันธ์ผ่านหนังสือดาราเก่าๆ สิ่งที่รู้ๆ กันคือ ทิวา-ราตรี ต้องเป็นคนพากย์เองนะครับ.. สมัยนั้น การวาดคัดเอ๊าท์ขนาดใหญ่ตามแยกสำคัญต่างๆ เป็นที่นิยม ภาพนี้ได้มาจากพี่ขาม.. บอกว่า เป็นสะพานผ่านฟ้า ตอนนั้นยังไม่มีธนาคารกรุงเทพฯ.. ในป้ายเห็นชื่อนักพากย์ชัดๆ ว่า ทิวา-ราตรี...




             ผมเองดู โชเล่ย์ ตั้งแต่อยู่สุรินทร์ แล้วก็ใฝ่ฝันว่า สักวันหนึ่งจะต้องมีหนังเรื่องนี้ในบ้าน..แล้วก็โชคดีจริงๆ ครับเพราะครั้งหนึ่งสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งนำมาฉาย เป็นการฉายจากฟิล์มหนังจริงๆ ข้อสำคัญเสียงพากย์ยังคงเป็นเสียงของ ทิวา-ราตรี.. สุดยอดมากครับที่ผมได้รำลึกถึงอดีต "ต้นฉบับ" ของโชเล่ย์ที่มีเสียงพากย์ของนักพากย์คู่นี้.. ความจริงอยากจะนำมาให้ท่านฟังด้วย แต่ว่า พอผมโพสต์หนังต่างประเทศในยูทูปเรื่องไหน ก็จะถูกแจ้งให้ลบทุกครั้งไป วันนี้ ก็เลยนำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง.. ฟังเพื่อให้รู้ว่า นักพากย์ ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้หนังเรื่องนั้นดังหรือไม่ดัง...


             ปิดทองหลังพระ.. ก็คือ คนที่ทำอะไร แล้วไม่่ค่อยมีคนรู้..ก็เฉกเช่นกับนักพากย์หนัง แม้จะมีชื่อขึ้นป้ายว่า เป็นคนพากย์ แต่ความเป็นจริงแล้ว น้อยนักที่เราจะได้เห็นหน้าตาของนักพากย์หนัง..ยังมีนักพากย์หนังโรงอีกมากมายหลายคน หลายคู่ แต่ก็ยากที่จะพูดถึงได้หมด ยิ่งเป็นนักพากย์คนละถิ่นด้วยแล้ว ก็คงต้องให้คนในถิ่นนั้นๆ มาพูดถึง..  อย่างน้อยก็เพื่อให้คนรุ่นหลังรู้ซึ้งถึงความสำคัญของ ศิลปการพากย์หนัง..  อย่างภาพนี้ ผมก็ได้จากเฟสบุ๊กนี่แหละครับ ไม่แน่ใจใครโพสต์คนแรก.. เป็นโรงหนังชื่อ ปัตตานีรามา.. วันนี้ ที่อยากให้สังเกตก็คือ นักพากย์ที่พากย์โรงนี้คือ สิงห์ทอง-ศรีวรรณ ใครเคยฟังเสียงพากย์ของสองท่านนี้ เล่าให้ฟังด้วยครับ..


             ภาพนี้เป็นภาพจากเว็บไทยซีน..  เป็นโรงหนังเฉลิมไทย ที่โคราช..เข้ากับคุณเจนพูดถึงพอดี.. ผมนำมาให้ดู ก็เพื่อให้เห็นว่ามีชื่อ เหมราช..เป็นคนพากย์หนังที่โรงนี้.. ซึ่งบางเรื่อง ก็มีเทปเสียง เหมราช ไปถึงโรงหนังเมืองสุรินทร์บ้านผมเหมือนกัน..นานแล้ว นึกไม่ออกว่า เหมราช พากย์เสียงอย่างไร..แต่ที่จำได้ระยะหลังๆ เห็นพากย์คู่กันเป็น เหมราช-สายพิณ...

 

             ยังเป็น โรงหนังเฉลิมไทย โคราช อีกนะครับ แต่ว่าครั้งนี้ นักพากย์คือ ศรอนงค์-พิมพา ให้เสียงภาษาไทย..  คู่นี้ ผมไม่เคยฟังเสียงพากย์เลยครับ..

             นี่ก็ยังเป็น โคราช อีกนะครับ แต่ว่าไม่รู้ว่าชื่อโรงหนังอะไร..ได้ภาพมาจากเว็บไทยซีน.. สะดุดตาก็ตรงชื่อนักพากย์หนังที่เป็นผ้าห้อยๆ หน้าโรงนะครับ... เห็นไหมครับ หนังเรื่อง เดชไอ้เปีย.. นันทวัน พากย์.. ซึ่งผมเคยมีโอกาสได้ฟังเสียงพากย์ของนันทวันสมัยที่อยู่สุรินทร์.. กระทั่งมาถึงรุ่น นันทวันน้อย.. เรื่องราวของนักพากย์เหล่านี้ผมว่าเป็นเรื่องสำคัญนะครับ อยากให้เืพื่อนๆ ที่จดจำได้ ช่วยเล่ากันบ้าง..ยิ่งถ้าได้ฟังเสียงการพากย์ด้วย ก็จะดียิ่งขึ้นครับ.


             ผมพยายามหาชื่อ นักพากย์หนัง จากโรงหนังเก่าๆ ก็บอกตรงๆ ว่าหาหลักฐานแบบนี้ยากมากๆ ครับ..นี่ก็เป็นภาพที่ได้มาจากเว็บไหน จำไม่ได้แล้วครับ..เป็นโรงหนังสุริวงค์ จังหวัดเชียงราย..ผมพยายามมองดูคัดเอ๊าท์หน้าโรงหนังแล้ว.. ฉายหนังฝรั่ีงที่ยาวเกือบ 4 ชั่วโมงเรื่อง คลีโอพัตรา.. หาจนเห็นว่า มีชื่อ นักพากย์เขียนไว้ทางป้ายซ้ายมือว่าเป็น ปรีชา-วรรณศรี ก็ไม่แน่ใจว่า ถูกหรือไม่ คนเจียงฮาย ส่งข่าวหน่อยครับ..


              ภาพนี้น่าจะมาจาก  คุณVudhichai Phetsuwan เป็นแ่ผ่นโฆษณาของโรงหนังเฉลิมทอง สงขลา..ล่างๆ จะเห็นชื่อนักพากย์ว่า ศักดิ์อรุณ-อมรา พากย์...  ท่านใดมีข้อมูลจะเล่าต่อ ก็เชิญนะครับ..


              จากหนังสือโลกดารา ปี 2515 จะมีภาพของนักพากย์อยู่ 2 ท่านคือ กรรณิการ์... กับ พงษ์ทิพย์.. แต่ถ้าอ่านจากข้อเขียนแล้วจะได้รายชื่อนักพากย์อีกหลายคน....เช่น

พันทิวา พากย์ที่โรงหนังเท็กซัส..
การุณน้อย พากย์อยู่ที่โรงหนังศรีโสธรรามา ฉะเชิงเทรา...
โรงหนังคิงส์ ปัตตานี มีนักพากย์ชื่อ เทวินทร์..
ทิวา ราตรี พากย์ รอยมลทิน ที่เฉลิมไทย หาดใหญ่...
สนทิวา-ลูกแก้ว พากย์ที่โรงหนังคิงส์ โก-ลก..
พรเทพ-ภารณี พากย์ที่โรงศรีเมือง ปัตตานี...
สมถวิล-จรินทิพย์ แล้วก็ มหรรณพ-วรารัตน์ พากย์ที่ นครชัย นครศรีธรรมราช...
เริงชัย-ช่อทิพย์ พากย์ที่ สมจินต์รามา นครศรีธรรมราช...
กรรณิการ์-อมรา เดินสายพากย์ 8 จอมนรก...
มนต์ฟ้า พากย์หนังจีน นักชกจากชานตุง.. พงษ์จันทร์-จิตรา, ดาราพร, อยู่สายเฉลิมวัฒนา โคราช...


ลองอ่านนะครับ ได้รู้อะไรเยอะขึ้น.. แล้วท่านใดนึกอะไรออก ก็บอกต่อด้วยนะครับ..กระทู้นี้เปิดยาวเหยียดเพื่อ "นักพากย์" โดยเฉพาะ..



            กลับมาที่โคราช..นะครับ ภาพนี้ได้มาจากเว็บไทยซีน ก็ยังดูไม่ออกว่า เป็นทางเข้าโรงหนังอะไร.. แต่ที่เห็นๆ ขวามือป้ายเขียนชื่อนักพากย์ไว้ว่า เทพา-อาภรณ์ พากย์..


            ส่วนภาพนี้ก็ได้มาจากเว็บไทยซีน..อีกแล้วครับ ไม่รู้ว่าโรงหนังอะไร ที่โคราช.. ผมเห็นชื่อ ศิริชัย อยู่ตรงป้ายไฟวิ่งทางเข้าโรงหนัง เข้าใจว่าเป็นชื่อนักพากย์นะครับ..


            ส่วนภาพนี้เขาบอกว่า เป็นโรงหนังเฉลิมวัฒนา อุดร... เห็นชื่อนักพากย์ไหมครับ.. มงคลชัย-จันทร์ฉาย พากย์.. ชื่อโตเท่าชื่อหนังเลยครับ..

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เมษายน 2014, 18:24:09 โดย นายเค »
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
                 ขอบคุณทุกท่านที่เสริมเติมข้อมูลนะครับ...     เวลาพูดถึงนักพากย์เก่าๆ ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ การตามหาภาพ การตามหาเสียงพากย์ของนักพากย์เก่าๆ เหล่านั้น วันนี้ มีภาพของ “ชัยเจริญ” นักพากย์สายใต้ เมื่อครั้งมาร่วมงานที่โรงหนังดาวคะนองรามา ที่คุณแอ๊ด อุดร จัดขึ้นหลายปีมาแล้ว

ดูภาพตามลิงค์นี้นะครับ ..


<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/9UvGzQzdvsA?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
แล้วนี่ก็ “ศุภชัย” นักพากย์รุ่นเก่าที่มาร่วมงานที่คุณแอ๊ด อุดร จัดขึ้นที่โรงหนังดาวคะนองรามา หลายปีมาแล้วครับ

ดูภาพตามลิงค์นี้ได้นะครับ


                 สมัยก่อน คุณโต๊ะ พันธมิตร ก็เคยตามหาเทปรีลซึ่งอัดเสียงนักพากย์เก่าๆ ไว้ แต่ก็หาได้ยากนะครับเพราะหมดไปกับกาลเวลา ถามว่า หามาทำไมครับ.. ก็หามาเผื่อว่า เจอหนังจีน หนังฝรั่งที่นักพากย์ท่านนั้นเคยพากย์ไว้ ก็จะได้นำมาซิงค์เสียงพากย์เก็บไว้ดูเป็นที่ระลึก.. แล้วนี่ก็เป็นหนังจีนเรื่อง ไซอิ๋ว ปราบปีศาจควาย ซึ่งสมัยก่อนมี “นันทวัน” นักพากย์ชื่อดังสายอีสานเป็นคนพากย์ เปิดเรื่องมา นันทวัน ก็ร่ายกลอนแปดตามแบบฉบับ.. ผมค้นเจอในยูทูปซึ่งมีคุณ Suthipot Than โพสต์ไว้ แล้วยังไม่ถูกลบ..

รีบดูนะครับ


                 เรียกว่า เป็นการสร้างเอกลักษณ์การพากย์ให้ตัวเองนะครับเพราะนักพากย์สายอีสานสมัยนั้นก็มีกันหลายคน แต่ละคนก็ต้องมีจุดเด่นเป็นของตัวเอง สำหรับผมนั้น แม้จะเกิดทันนักพากย์ชื่อ "นันทวัน" แต่ก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้ดูหนังที่ท่านพากย์เพราะพอเริ่มดูหนังเป็น ก็จะเป็นยุคของนักพากย์ท่านอื่นๆ ไปแล้ว ซึ่งต่อมาก็มีนักพากย์อีกคนใช้ชื่อว่า "นันทวันน้อย" ช่วงนั้นก็ปี 2521 แล้วครับ..อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงวันนี้ การฟังเสียงนักพากย์รุ่นเก่าๆ ที่มีคนอุตส่าห์ไปเสาะแสวงหาเทปเสียงพากย์เก่ามาซิงค์ลงแผ่นวีซีดีนี้ คนดูอย่างเราก็ต้องทำใจนิดหน่อยเพราะบางครั้งรอบของการเดินเทปรีลกับรอบของแผ่นวีซีดีในปัจจุบันอาจเดินไม่เท่ากัน..

                 การพากย์หนังสมัยก่อนจะใ้ช้วิธีตัดเสียงแบ็กกราวน์ออกเลยเรียกว่า สต๊อปซาวด์ ดังนั้น ช่วงที่มีเสียงพูด จึงไม่มีเสียงแบ็กกราวน์.. ไม่เหมือนสมัยนี้นะครับ เรียกว่า ดูเป็นกรณีศึกษา ท่านใดจะโหลดเก็บไว้ก็ได้นะครับ หนังยาวจบเรื่อง กลัวว่าจะถูกลบไปก่อน..ความจริงก่อนหน้านั้น ผมเคยเจอเสียงพากย์ของ โกญจนาท ในยูทูปด้วย แต่วันนี้ กลับหาไม่เจอแล้วครับ..


                 เสียงของนักพากย์เก่าๆ นั้น หาได้ยาก ก็เลยต้องหาเสียงนักพากย์รุ่นที่ใหม่ขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังเรียกว่า เก่านะครับ.. ตอนที่ผมเข้ากรุงเทพฯ มาใหม่ๆ เริ่มรู้จักโทรทัศน์ เริ่มรู้จักวีดีโอเทปและก็เริ่มดูหนังตามโรง.. ก็ไปติดใจกับเสียงพากย์ของ “ทีมเสียงเอก” ซึ่งยุคนั้นเท่าที่ทราบก็มี รังสรรค์ ศรีสลากร-รอง เค้ามูลคดี-ศิริพร วงศ์สวัสดิ์-อุดม สุนทรจามร-โอ๊ต จักรกฤษ หาญวิชัย..เป็นทีมพากย์... ผมลองหาเล่นๆ ในยูทูปก็ไปเจอคนโพสต์ไว้ ก็เลยนำมาฝาก เป็นหนังจีนเรื่อง ต้นตระกูลโหด เสียงเอก เป็นทีมพากย์ครับ

ลองฟังดูตามลิงค์นะครับ..


                 แล้วนี่ ก็ยังคงเป็นเสียงพากย์ของ ทีมเสียงเอก แต่ว่าเป็นหนังอินเดียที่นำกลับมาฉายใหม่อีกครั้ง เรื่อง องคุลีมาล.. คนที่ในยูทูปเขียนบอกไว้ว่า เสียงพากย์ตัว องคุลีมาล เป็นเสียงพากย์ของ รังสรรค์ ศรีสลากร.. เสียงพากย์ พระพุทธเจ้า เป็นเสียงของ รอง เค้ามูลคดี.. เสียงเเม่ของ อหิงสกะ พากย์โดย คุณศิริพร วงศ์สวัสดิ์.. เสียงพราหมณ์พากย์ โดย อุดม สุนทรจามร และก็มีเสียงของ โอ๊ต จักรกฤษ หาญวิชัย.. ภาพมาจากม้วนวีดีโอ ลองคลิกดู

คลิกฟังได้เลยครับ...


                 แม้ว่า ทีมพากย์เสีียงเอก จะมีส่วนหนึ่งเป็นทีมพากย์ในหนังไทยแล้ว ถ้าเป็นหนังต่างประเทศที่ซื้อเข้ามาฉาย ก็จะมีการจ้างทีมงานแปลบทพากย์ ซึ่งงานแปลบทพากย์นี้เองที่เป็นเหมือน "คัมภีร์" และจุดเรียกคนให้มาดูหนังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น..ประกอบกับเมื่อได้ทีมพากย์ที่ดีๆ แม้จะพากย์นอกบทบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้เสียอารมณ์หนัง ตรงกันข้ามกลับเป็นจุดเรียกแขกให้มาดูหนังต่างประเทศมากขึ้น เพียงแต่บอกว่า หนังเรื่องนี้ ทีมงานเสียงเอก เป็นคนพากย์ ก็การันตีคุณภาพแล้วครับ... 

                 ถัดจาก ทีมพากย์เสียงเอก แล้ว ก็มีอีกทีมหนึ่งซึ่งโด่งดังไม่แพ้กันนั่นคือ ทีมอินทรี ของ คุณชูชาติ ที่คร่ำหวอดการพากย์หนังมานาน คิดว่าเพื่อน ๆ คงจำชื่อนี้ได้แม่น เสียงทีมพากย์นี้ หาได้ง่ายหน่อยเพราะไม่ค่อยเก่าประกอบกับมีทั้งหนังจีน หนังฝรั่ง แล้วในยูทูปก็มีคนนำมาโพสต์ไว้หลายเรื่อง วันนี้ผมเลือกมาให้ดู ให้ฟังเป็นตัวอย่าง เรื่องนี้ City Hunter ใหญ่ไม่ใหญ่ ข้าก็ใหญ่ พากย์โดย ทีมอินทรี


คลิกดูได้เลยครับ


                 การพากย์หนังในช่วงที่มี ทีมเสียงเอก หรือ ทีมอินทรี นั้น วิธีการพากย์จะต่างกับการพากย์หนังโรงในสมัยก่อน เริ่มมีการพากย์ให้สมจริงและตรงปากนักแสดงมากขึ้น แต่ก็ไม่วายถ้านักแสดงหันหลังไม่เห็นปากปุ๊บ ทั้งสองทีมพากย์นี้ ก็จะปล่อยฮาทันที จนคนดูหนังเริ่มติดนักพากย์ทั้งสองทีมนี้..ชื่อของนักพากย์จึงกลายเป็นจุดขายอย่างหนึ่งของหนังด้วย..ตอนนี้มาดูวีดีโอที่มีคนโพสต์ไว้ในยูทูป ผมเลือกมาฝากครับเพื่อให้เห็นถึงศิลปการพากย์หนัง พากย์โดย ทีมอินทรี จากเรื่อง ไอ้หนุ่มหมัดเมา

คลิกดูได้เลยครับ


ครับ มาฟังทีมอินทรี พากย์หนังจีนอีกนะครับ แต่ว่า คลิปนี้ เขาตัดต่อเป็นฉากๆ มาให้ดู

ให้ฟังคลิกดูได้เลยครับ


                 ถัดจาก ทีมอินทรี ก็เกิดมี ทีมพากย์ “พันธมิตร” ขึ้นมา..ซึงเสียงพากย์คงหาได้ไม่ยากเพราะยังมีผลงานถึงปัจจุบัน วันนี้ ผมเห็นในยูทูปมีคนโพสต์เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ ทีมพากย์พันธมิตร ไว้หลายรายการ ก็เลยเลือกนำมาฝากครับ..

เทปนี้จากรายการ The Fighter คุยกับทีมพากย์พันธมิตร


ส่วนเทปนี้ ก็คุยกับ ทีมพากย์พันธมิตร เช่นกัน ชื่อรายการ หนึ่งวันเดียวกัน
คลิกดู ตอนที่ 1


ตามด้วยตอนที่ 2 รายการหนึ่งวันเดียวกัน คุยกับ ทีมพากย์พันธมิตร


ตอนที่ 3 ของรายการ หนึ่งวันเดียวกัน คุยกับ ทีมพากย์พันธมิตร


ส่วนนี่ ก็ยังเป็นการสัมภาษณ์ ทีมพันธมิตร ดูเป็นตอนที่ 1


และตามด้วย สัมภาษณ์ ทีมพันธมิตร เป็นตอนที่ 2 จบครับ


                 เมื่อเรื่องราวของ การพากย์หนังที่ใช้นักพากย์พากย์เสียงให้นักแสดงกำลังจะหมดไป..การรำลึกถึงนักพากย์รุ่นเก่าๆ จึงมีให้เห็นอยู่บ่อยๆ นี่ก็เป็นอีกรายการหนึ่ง คือ ณ อาร์ตคลับ เขาเสนอตอน มิตรรักนักพากย์..

นำมาให้ดูเพราะมีเพื่อนๆ เราหลายคนไปออกรายการนี่ครับ..


               ครับ ช่วงนี้ ผมนำเรื่องราวเกี่ยวกับ "นักพากย์" มาเสนอ..การพากย์หนังเหมือนเป็นงานปิดทองหลังพระจริงๆ..ซึ่งบางคนก็คิดว่า เป็นงานง่ายๆ ใครก็ทำได้ แต่จริงๆ นั้นเป็นงานที่ยากมากๆ เหมือนบอกว่า ใครก็ร้องเพลงได้ แต่คนที่จะเป็น นักร้อง ได้ก็ต้องมีพรสวรรค์และเอกลักษณ์ประจำตัว เฉกเช่นการเป็น นักพากย์หนัง ที่ไม่ใช่ใครๆก็จะเป็นได้.. ผมเองแม้เคยอยากจะเป็น แต่ก็เป็นไม่ได้เพราะรู้ตัวว่า พรสวรรค์ไม่มี พลังเสียงก็ไม่มีอีก.. ผมมารู้ภายหลังว่า งานพากย์หนังเป็นงานที่ยากจริงๆ ก็ต่อเมื่อมานั่งตัดนั่งต่อฟิล์ม 16 มม.แล้วมานั่งฉายหนัง 16 มม.ไม่มีเสียงดูนั่นแหละ..แค่ลองคิดเล่นๆ ว่า คนในจอหนังพูดอะไรบ้าง แล้วพูดโทนเสียงนั้นเป็นอย่างไร แค่นี้ก็รู้ว่าว่า ยากแล้วครับ..

               เรื่องราวของนักพากย์จึงเป็นงานศิลปะที่น่าศึกษา น่าพูดถึง ยิ่งตอนนี้ คนกำลังคิดว่า ดาราก็คนไทย หนังก็หนังไทย ทำไมต้องจ้างคนพากย์ด้วย..ก็ให้ดารานั่นแหละพากย์ตัวเองเีสียเลย..โดยข้อนี้ เป็นเรื่องถกเถียงกันมาก ผมก็ไม่อยากบอกว่า ใช่ครับ คุณพูดไทยได้ แต่นั่นก็ไ่ม่ได้หมายถึงว่า คุณจะสามารถถ่ายทอดเสียงให้เข้ากับอารมณ์การแสดงได้..บางครั้งคุณทำท่าดูจะเป็นจะตาย แต่โทนเสียงคุณอ่อนระทวยเกินเหตุ หนังก็ไม่ได้อารมณ์แล้วครับ..

               อาจเรียกได้ว่า เป็นโชคดีของหนังต่างประเทศที่เข้ามาฉายเมืองไทยเพราะคนไทยถนัดเรื่องการดัดแปลง การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม พอได้หนังต่างประเทศมา ถ้าจะฉายแล้วให้พูดฝรั่ง พูดจีน พูดอินเดีย ก็คงจะไม่ค่อยได้สตางค์คนดูในยุคนั้นหรอกครับ กำเนิดของนักพากย์หนังจึงเริ่มขึ้น..แต่ก่อนที่นักพากย์จะพากย์หนังได้ ก็ต้องมีบทพากย์ก่อน แต่บทพากย์นั้น ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ เพราะนอกจากจะต้องเข้าใจเนื้อหาของหนังแล้ว ผู้สร้างบทพากย์ยังจะต้องประดิดประดอยร้อยเรียงคำพูดให้วิลิสมาหลายิ่งกว่าภาษาพูดทั่วไป..จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของนักพากย์ที่จะต้องศึกษาเนื้อหาของบทพากย์ให้ถ่องแท้และอ่านตัวละครให้ออกว่า หน้าตาแบบนี้จะต้องพูดเสียงอย่างไร...

               วันนี้ ผมมีหนังอินเดียเรื่อง ธรณีกรรแสง หนังที่สมัยก่อนพากย์สดๆ โดย รุจิรา-มารศรี ฉายที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง ปี 2502 ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ว่า ผมหาเสียงพากย์ของ รุจิรา-มารศรี ไม่ได้หรอกครับ แต่เผอิญไปเจอวีดีโอเทปม้วนหนึ่งเขาทำจำหน่ายเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว.. ภาพไม่ค่อยชัด แต่ว่าเสียงพากย์คล้ายๆ นักพากย์หนังโรงสมัยก่อน เวลาถึงฉากร้องเพลง ก็จะมีการพูดคำกลอนประกอบ พากย์กัน 2 คนแบบเก่าๆ นะครับ ผมก็เลยนำเสียงพากย์นั้นมาซิงค์กับภาพจากแผ่นวีซีดี แล้วตัดต่อมาให้ดูนะครับ เรียกว่า เป็นตัวอย่างการพากย์หนังอินเดียเป็นเสียงไทย เรื่อง ธรณีกรรแสง..  ลองฟังดูนะครับ เผื่อจะมีใครทราบว่า คู่พากย์คู่นี้ชื่ออะไร


คลิกดู..


               จากนั้น พวกเราก็กลับไปยังถนนเส้นเดิมอีก...คราวนี้  เราจะไปที่โรงหนังเปรสซิเดนท์ ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน เมื่อถึง สภาพโรงหนังยังคงเดิมเกือบหมด แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นศูนย์การค้าแล้ว แต่ชื่อโรงที่ติดไว้บนผนังซิเมนต์ยังอยู่เช่นเดิม... เหลือบซ้ายแลขวา ก็เห็นวินมอเตอร์ไซด์ที่อยู่หน้าโรงหนังพอดี กะดูอายุแต่ละคนเกิน 50 ทั้งนั้น ก็เลยลองถามเล่น ๆ ถึงโรงหนังเปรสซิเดนท์ ก็ได้ข้อมูลมาเยอะเช่นกัน โรงหนังนี้เป็นโรงเดียวในสงขลาที่ติดแอร์และดูภูมิฐานที่สุด ชั้นล่างจะเป็นที่สถานที่ขายของ ชั้นบนจะเป็นโรงหนัง เก้าอี้นั่งจะเป็นเบาะนวมแล้ว..เรื่องตำนานนักพากย์หนังก็ได้ความอย่างเดียวกันกับ 2 โรงข้างต้น แต่พอถามถึงหนังกลางแปลงที่อยู่ในสงขลา แทบทุกคนจะบอกว่า ไม่มีเลยที่จะมีการเปิดเป็นบริการหนังกลางแปลง ถ้ามีการฉายก็จะเป็นมาจากที่อื่น เช่นเดียวกับหนังขายยาที่มาจากต่างจังหวัด ที่จำได้ก็เช่น ยาทัมใจ แป้งน้ำคลีโอพัตรา ถ่ายไฟฉายตรากบ โอวัลติน ฯลฯ เป็นต้น พอถามว่า คนนิยมดูหนังขายยาหรือไม่ เขาก็บอกว่า ชอบดูกัน ส่วนสถานที่หนังขายยานิยมไปฉายก็คือบริเวณที่เรียกว่า สวนเถ้าแก่...อยู่ถัดไปใกล้ปั๊มน้ำมันตราหอย...

               เย็นวันนั้น เราก็เลยขอไปดูสถานที่สวนเถ้าแก่ซักหน่อย...พอรถเราวิ่งเข้าไปจอดในปั๊มน้ำมัน ก็เห็นลุงคนหนึ่งกำลังยืนอยู่ใกล้ๆ รถกระบะรับจ้าง ท่าทางจะเป็นเจ้าของรถด้วย หน้าตาก็มีอายุมาแล้ว ก็เลยลองถามหาสวนเถ้าแก่ดู ก็โชคดีครับที่เราเจอลุงคนนี้เพราะแก่มีบ้านอยู่หน้าสวนเถ้าแกเอง แถมยังเป็นขาประจำหนังขายยาด้วย ก็เลยได้เก็บเรื่องราวมาฝากกัน...

               สวนเถ้าแก่นั้น เจ้าของเป็นคนจีน มีแขกเป็นคนเฝ้าสวน... เป็นสวนกว้าง ก็เลยมีคนมาขอฉายหนังขายยาและมีการฉายเรื่อย ๆ มา...ปัจจุบันสวนเถ้าแก่ มีการปลูกตึกแถวเต็มพื้นที่แล้ว ส่วนข้าง ๆ ก็สร้างเป็นสวนสาธารณะไว้ออกกำลังกายกัน..เราก็เลยถ่ายภาพปัจจุบันมาดู...พอเดินไปถึงบริเวณสวนสาธารณะ เห็นผู้หญิงสูงอายุ 2 คนกำลังนั่งพักผ่อน ก็เลยลองเข้าไปถามเล่น ๆ ถึงเรื่อง หนังขายยาที่สวนเถ้าแก่...ก็ได้เรื่องเลยครับ คุณป้าทั้งสองท่านกลายเป็นแฟนหนังขายยาในยุคนั้นจริง ๆ แถมยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิกคิงส์ วิกสหภาพยนตร์ และโรงหนังเปรสซิเดนท์อีกด้วย...ระหว่างที่คุยกันก็จะมีอีกหลายคนเข้ามาร่วมสนทนา...

               บางคนก็พูดถึงหนังที่เคยได้ดูจากสวนเถ้าแก่... มีคุณพี่ท่านหนึ่งบอกว่า เคยเป็นคนเดินตั๋วที่โรงหนังวิกหลักเมืองด้วย ซึ่งปัจจุบันโรงไม่มีเหลือแล้ว..สอบถามแล้วได้ความว่า แต่ละคนมีหนังที่จดได้แม่น บางคนจำพระเอก บางคนจำนางเอก บางคนจำเพลง พอเราช่วยกันคิดว่า เป็นหนังเรื่องอะไรบ้าง ทุกคนก็ดูตื่นเต้นและอยากจะดูทันทีอย่างเรื่อง สาวน้อย สวรรค์มืด แม่นาคพระโขนง แต่มีหนังเรื่องหนึ่งที่พี่ที่เดินตั๋วที่วิกหลักเมืองอยากดูอีกมาก ๆ พอถามว่า ทำไม พี่เขาก็บอกว่าเพราะหนังเรื่องนี้มาถ่ายที่หาดสมิหลาด้วย นำแสดงโดย มิตร-เพชรา อยากดูจริง ๆ เรื่องนั้นก็คือ ลูกปลา...ซึ่งก็ตรงกับอาจารย์ก้อยที่สอบถามผมว่า หนังเรื่อง ลูกปลา ยังมีอยู่หรือไม่..

               เรื่อง โรงหนังที่สงขลา นั้น ผมเขียนไว้นานแล้ว วันนี้ ก็เลยนำมาโพสต์รวมๆ กันไว้ที่นี่อีกครั้งหนึ่ง..และวันนี้ ก็โชคดีได้เห็นการเขียนชื่อพากย์ของ กรรณิการ์ บนป้ายคัดเอ๊าท์โฆษณาหนังแล้วครับ..ขอบคุณคุณพุทธพร ส่องศรี ที่นำมาให้ดูครับ..ว่าแต่ เสียงพากย์ของกรรณิการ์-อมรา พอมีเหลือให้ฟังบ้างไหมครับ... ขอลงรูปนักพากย์ กรรณิการ์ อีกครั้ง


นักพากย์ กรรณิการ์

               ภาพนี้ เป็นข่าวในแวดวงนักพากย์หนังในเดือนมกราคม 2518 จากหนังสือโลกดารา เป็นการจัดประชุมนักพากย์สายใต้ นำโดย กรรณิการ์-อมรา ประชุมเพื่อขอให้นักพากย์ใหญ่ๆ ลดการพากย์อัดเทปเดินสายเพื่อให้โอกาสนักพากย์เล็กๆ ได้มีทางรอดบ้าง..ใครเป็นใคร ใครจำได้ ก็บอกหน่อยนะครับ.... ในเนื้อข่าวเดียวกันยังมีข่าวอีกว่า...ที่โรงหนังสยาม 75 จะฉายเรื่อง ฮูอาร์ยู พากย์โดย กรรณิการ์-อมรา...... จอมเผด็จการเก๋ากึ๊ก พากย์โดย เริงชัย-ช่อทิพย์..... โรงหนังเฉลิมไทย ฉาย สามดาว พากย์โดย อรุณชัย-สุชาดา... ซินแบคบุกแดนมหัศจรรย์ พากย์โดย กรรณิการ์-อมรา... แต่พอ ฮูอาร์ยู มาฉายที่โรงโคลีเซี่ยม พากย์โดย เริงชัย-ช่อทิพย์... แล้วก็ เพชฌฆาตปืนทอง พากย์โดย กรรณิการ์-อมรา ... นี่แหละครับข่าวเกี่ยวกับนักพากย์หนังภาคใต้ในปี 2518...


               คุณ Araya Pamonprawat ไปหามาได้ แล้วนำมาโพสต์ไว้ที่หน้ากระดาน ถามผมว่า มีหรือยังเอ่ย.. ก็ตอบว่า เพิ่งเคยเห็นครับและขอย้ายมาไว้รวมกัน ณ ที่นี้

คลิกดูได้เลยครับ คนวาดใบปิดโรงหนังเืมืองตรัง...
http://www.youtube.com/watch?v=4hYIMik861s&feature=youtu.be

               วันก่อนโน้น ผมพูดถึง นักพากย์ภาคใต้คู่หนึ่งที่มีนามว่า “ทิวา-ราตรี” ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากกับการพากย์หนังอินเดีย.. ต่อมาก็ลงทุนไปซื้อหนังอินเดียดังๆ มาฉาย มาพากย์เสียงในฟิล์มด้วยตัวเอง.. แล้วผมบอกว่า ผมเคยได้ม้วนวีดีโอเทปที่อัดหนังอินเดียเรื่อง โชเล่ย์ ที่สถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งฉายจากกากฟิล์มไว้นานแล้วและที่สำคัญเป็นเสียงในฟิล์มพากย์โดย ทิวา-ราตรี ครับ..ทีแรกผมตัดต่อมาเกือบชั่วโมง แต่ว่าอัปโหลดลงยูทูปไม่ได้ ผมก็เลยต้องตัดต่อใหม่เหลือเพียง 15 นาที..แล้วก็อัปโหลดผ่าน ไม่ถูกบล็อกเหมือนเรื่อง ธรณีกรรแสง.. วันนี้ เป็นโอกาสดีที่พวกเราจะได้รำลึกถึงเสียงพากย์ของ ทิวา-ราตรี จากหนังเรื่อง โชเลย์ นะครับ แต่เพราะรีบตัดไปหน่อย เสียงของ “ราตรี” จึงมีน้อยไปหน่อยนะครับ

คลิกดูได้เลยครับ...


<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/svIZa9_Gr64?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

               หนังอินเดียสมัยก่อนนั้น พอมาถึงเมืองไทยจะพิมพ์ด้วยฟิล์ม 35 มม.ภาพธรรมดา ไม่ต้องใส่เลนซ์สโคป..ก็คล้ายๆ กับหนังไทย 16 มม.พากย์สดๆ นั่นแหละครับ.. แต่เวลาฉายในโรงหนัง เขาก็จะเปลี่ยนเ่ลนซ์ในเครื่องฉายออก ใช้เลนซ์ในที่ขยายภาพได้ใหญ่กว่าปกติ ภาพทีเห็นบนจอหนังจึงเต็มจอพอๆ กับหนัง 35 มม.สโคป แต่ไม่กว้างออกไปนะครับ.. ส่วนวิธีทำตัวอักษรบรรยายประกอบหนังอินเดียเวลาฉากร้องเพลงนั้น ก็ต้องใช้เครื่องตอกซับไตเติ้ลซึ่งก็ต้องมีการหล่อตัวอักษรเหมือนๆ ระบบการพิมพ์หนังสือในสมัยก่อน ต้องเรียงตัวหนังสือ แล้วก็เลื่อนช่องฟิล์มเข้ามาทีละเฟรมเพื่อพิมพ์ลงสดๆ บนฟิล์มหนังไปทีละเฟรมจนกว่าจะจบเพลงครับ..แล้วถ้าฟิล์มมีหลายก๊อบปี้ ก็ต้องตอกซับไตเติ้ลไปทีละก๊อบปี้ด้วยครับ..เหนื่อยเอาการล่ะครับ... ส่วนเสียงพากย์ของ ทิวา-ราตรี ในฟิล์มชุดนี้ ช่วงที่เหมือนมีเีสียงเงียบไปนั้นก็เพราะสถานีโทรทัศน์เขาดูดเสียงไปนะครับ..

               ลีลาหรือสไตล์การพากย์หนังของนักพากย์สมัยเก่านั้น เวลาเขาพากย์ เขาจะอยู่กับหนังตลอดทั้งเรื่อง ไม่เหมือนปัจจุบันที่จะพากย์เฉพาะฉากเฉพาะซีนที่ตัวเองมีบทพูดเท่านั้น..ให้ท่านลองฟังและสังเกตน้ำเสียงการพากย์เรื่อง โชเล่ย์ ของ ทิวา ราตรี ในคลิปหนังช่องที่ 97 ข้างบน.. ก็จะพบว่า วิธีการพากย์นั้นไม่ธรรมดา การละเลียดเสียงใส่นักแสดงให้เข้ากับอารมณ์หนังนั้น ไม่ธรรมดาโดยเฉพาะลีลาการพากย์ตัวร้าย กาบาซิง.. ลองฟังดูครับ..

               ภาพนี้ ผมนำมาจากเว็บไซด์หรือเฟสบุ๊กของเพื่อนๆ ไม่แน่ใจว่า จะเป็นของคุณแอ๊ด อุดรฯหรือเปล่า ..แต่ความรู้สึกแรกๆ ที่ผมเห็นภาพนี้ ก็คือ.. ต้องเป็นคนที่เคยมีอดีตแน่ๆ ครับ.. ในภาพจะมีป้ายที่ตู้ใส่แผ่นโชว์การ์ดเขียนว่า โรงภาพยนตร์สุวรรณรามา จังหวัดเลย.. ถ้าให้เดา ก็ต้องคิดว่า เมื่อก่อนท่านนี้เคยทำธุรกิจโรงหนังมาก่อน แล้วเมื่อเลิกกิจการ ก็เก็บอดีตเหล่านี้ไว้บางส่วนและนำมาประดับประดาไว้ในที่อยู่อาศัยปัจจุบัน เพื่อให้ตัวเองและผู้คนที่ผ่านไปมาได้พบเห็นและร่วมรับรู้ว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยฉายหนัง..นี่เป็นกรณีที่มีการเปิดเผยตัวนะครับ..ผมเชื่อว่า ยังมีคนที่เคยมีอดีตแบบนี้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นคนหนังกลางแปลง หนังขายยา.. แล้วเขาเหล่านั้น ก็ยังเก็บข้าวของ เก็บฟิล์มหนังไว้บ้าง..แต่ทำอย่างไร พวกเราจะได้รู้ จะได้เจอะเจอกับคนเหล่านี้บ้าง เพราะไม่แน่น่ะครับ ฟิล์มหนังที่เขาเหล่านั้นถือไว้กันคนละม้วน สองม้วน อาจจะเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์หนังไทยก็ได้ ใครจะไปรู้.. เห็นที่พวกเราจะต้องร่วมกันรณรงค์ค้นหาผู้คนเหล่านี้ดีไหมครับ...


            เมื่อวานนี้ ผมนำม้วนเทปวีดีโอ เรื่อง 007 เพชฌฆาตปืนทอง ที่ถ่ายในเมืองไทยเมื่อปี 2517 และนำเข้ามาฉายในเมืองไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2518 ตามรูปโฆษณาภาพบนสุดนั่นแหละครับ มาแปลงสัญญาณไว้..ความตั้งใจของอย่างแรกก็คือ จะให้ท่านได้รับฟังเสียงพากย์ของ "ทีมเสียงเอก"  ซึ่งอัดเสียงไว้เมื่อปี 2531.. ซึ่งยุคนั้น คนติดกันงอมแงม จากนั้นก็จะให้ดูฉากเมืองไทยต่างๆ ที่หนังฝรั่งอย่าง 007 เข้ามาถ่ายทำไว้นะครับ ผมก็ตัดต่อเสร็จแล้วได้มาประมาณ 20 นาที คัดเฉพาะฉากเมืองไทย.. ก็คิดว่่าจะโพสต์ แต่พอมาเห็นว่า หนังอินเดียเรื่อง โชเล่ย์ ที่เป็นเสียงพากย์ของ ทิวา-ราตรี โดนบล็อกเป็นบางประเทศ ก็เลยเกรงว่า หนัง 007 นี่จะหนักกว่าว่า อาจจะเหมือนหนังอินเดียเรื่อง ธรณีกรรแสง ที่พอโพสต์เสร็จ ก็โดนบล็อกทั่วโลกเลย อาจจะพลอยทำให้บัญชีการโพสต์ของผมมีปัญหาด้วย..พอคิดทางได้ทางเสียเสร็จสรรพแล้ว เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของหนังไทยเก่าๆ ในวันข้างหน้า ก็เลยจะไม่โพสต์เสียงพากย์เรื่อง 007 ให้ฟังแล้ว นะครับ...


            การพากย์หนังในรุ่นนั้นๆ เวลาเราดูหนังแล้ว ก็ทำให้เชื่อว่า นั่นเป็นเสียงจริงของดาราคนนั้นๆ โดยเฉพาะบางครั้งการสอดใส่อารมณ์พากย์ให้กับดาราคนนั้นๆ ยิ่งทำให้การแสดงของดาราคนนั้นๆ ดียิ่งขึ้นในสายตาเราอีกครับ..นี่แหละครับ ความยิ่งใหญ่ของนักพากย์ ผู้ที่กุมชะตาหนังเรื่องนั้นๆ...

สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได