ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนความหลังหนังชอว์ (Shaw Brothers Film 邵氏兄弟)  (อ่าน 7977 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
ย้อนความหลังหนังชอว์ (Shaw Brothers Film 邵氏兄弟)
« เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2014, 13:32:06 »

“Shaw Brothers Film  -  邵氏兄弟”


         พลันที่เห็น เจิ้งเพ่ยเพ่ย (Cheng Pei-pei) ปรากฏตัวในนามจิ้งจอกเงิน ในฐานะอาจารย์ของ อวี้เจียวหลง (จาง จื่ออี๋) ในภาพยนตร์เรื่อง Crouching Tiger, Hidden Dragon กับการจัดองค์ประกอบภาพแนวกว้าง คนรักหนังจีนที่เริ่มมีอายุเริ่มรำลึกถึงอดีตอันรุ่งโรจน์ของบริษัทผลิตภาพยนตร์ที่ค่อย ๆ ก่อร่างสร้างตัวกระทั่งกลายเป็นสตูดิโอขนาดใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1950 - 1960 ชื่อ Shaw Brothers นัยว่าอั้งลี่ (Li An) ผู้กำกับ Crouching Tiger, Hidden Dragon ต้องการจะแสดงคารวะต่อหนังระดับ Masterpiece รุ่นแรก ๆ ของ Shaw Brothers อย่าง Come Drink With Me (หงษ์ทองคนองศึก) ซึ่งมี เจิ้งเพ่ยเพ่ย (Cheng Pei-pei) รับบทนำ นั้น จึงเป็นที่มาของการรำลึกถึง Shaw Brothers และการจากไปของ Sir Run Run Shaw เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2014 (2557) ที่ผ่านมา ในวัย 106 ปี


สู่ MOVIETOWN (1957-1970)


         เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง เมืองท่าอย่างฮ่องกงถือเป็นท่าเรือน้ำลึกที่มีศักยภาพต่อการเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเชีย เต็มไปด้วยคนวัยทำงานที่มีการศึกษา บรรยากาศการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอย่างมีพลังของผู้ประกอบการต่าง ๆ แม้ว่าการปกครองจะอยู่ภายใต้ระบบอาณานิคม แต่ประชาชนรวมทั้งสื่อล้วนมีกฎหมายปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ต่างจากประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันที่เต็มไปด้วยเผด็จการและสงครามกลางเมือง กล่าวได้ว่ารัฐบาลอังกฤษปกครองฮ่องกงด้วยวิธีการที่นุ่มนวลจนแทบจะไม่ได้แตะอะไรเลย ปล่อยให้ประชาชนทำมาหากิน ดำเนินธุรกิจอย่างเต็มที่ แม้ว่าจะเกิดการจลาจลอยู่บ้าง ในช่วงปี 1956, 1966 และ 1967 ก็ตาม ดังนั้น จากเมืองที่มีประชากรราว 2 ล้านเศษ จึงได้กลายมาเป็นเมืองแห่งศูนย์กลางภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค นอกเหนือจากญี่ปุ่น


         เฉพาะช่วงทศวรรษ 1950 เพียงทศวรรษเดียว บริษัทภาพยนตร์ในฮ่องกงผลิตผลงานออกมาถึง 150 – 200 เรื่องต่อปี ทั้งนี้ เนื่องจากหนังไม่ได้มีตลาดอยู่เพียงแค่ฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศอื่นในย่านเอเชียและเอเชียใต้ อย่างเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และย่านไชน่าทาวน์ในยุโรปกับอเมริกาเหนืออีกด้วย ภาพยนตร์ถูกผลิตออกมา 2 ภาษาคือ จีนกลาง สำหรับผู้ชมในแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และกวางตุ้งสำหรับผู้ชมในภูมิภาครอบ ๆ ที่เป็นชาวจีนพลัดถิ่น จุดสำคัญก็คือการพากย์หนังของแต่ละประเทศที่เข้าไปฉาย เสียงพากย์จากภาษาพื้นถิ่น ทำให้ภาพยนตร์เป็นเพื่อนมากขึ้น มากกว่าที่เป็นคนแปลกหน้า สาเหตุที่ทำให้ภาพยนตร์ฮ่องกงเกิดการขยายตัวเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษดังกล่าวก็คือ หลายบริษัทมีฐานอย่างในฮ่องกง แต่ในช่วงระหว่างทศวรรษ 1950 นั้นเองที่ 2 บริษัทเริ่มขยับตัว คือ Shaw Brothers กับ The Motion Picture & General Investment Co. (MP&GI) และนั่นคือที่มาของการก่อกำเนิด Shaw Brothers


         Shaw Brothersมาจากผู้ประกอบการธุรกิจตระกูลชอว์ ต่างกำเนิดในเซี่ยงไฮ้ นับเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลในด้านธุรกิจทางภาคใต้ของจีนในช่วงปี 1930 ด้วยความชาญฉลาด ชอว์ตั้งสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ พี่น้องทั้งหมด 6 คนต่างควบคุมดูแลกิจการระหว่างประเทศด้านความบันเทิงต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์ สวนสนุก โรงโบว์ลิ่ง และธุรกิจเกี่ยวกับการพักผ่อนต่าง ๆ แต่ผลิตภาพยนตร์ออกมาเพียงไม่กี่เรื่อง ชอว์มีคู่แข่งเป็นนักธุกิจท้องถิ่นชาวสิงคโปร์ ชื่อบริษัท The Cathay Organization ก่อตั้งในปี 1947 บริหารงานโดย Loke Wan Tho ชาวจีนเชื้อสายมาเลย์ที่มีความมุ่งมั่นในการปรับระบบการผลิตภาพยนตร์ในแถบเอเชียใต้ให้มีความทันสมัยแบบตะวันตก โดยเริ่มจากการสร้างโรงภายนตร์ที่มีความสะดวกสบาย มีเครื่องปรับอากาศตลอดทั่วภูมิภาคนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการท้าทายชอว์โดยตรง และเพื่อสนับสนุนเรื่องทุนให้กับการผลิตภาพยนตร์ของตนเอง จึงเข้าซื้อต่อกิจการโรงถ่ายของฮ่องกงที่ล้มละลาย แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น The Motion Picture & General Investment Co. (MP&GI)

         หนังเรื่องแรกของบริษัทออกฉายในปี 1955 และได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว เพราะสิ่งที่นำเสนอในภาพยนตร์นั้นตรงข้ามกับสภาพการของภาพยนตร์ที่ดำเนินอยู่ในท้องตลาดขณะนั้นที่ครำคร่ำไปด้วยแนวเรื่องและการแต่งกายที่ดำเนินไปตามคติแบบดั้งเดิมคือ ฟุ่มเฟือยด้วยเครื่องแต่งกายที่รุ่มร่าม เนื้อเรื่องที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวตามคติขงจื๊อโบราณ ขณะที่ MP&GI อ้าแขนรับวิถีของป๊อบคัลเจอร์แบบอเมริกันมาใช้อย่างเต็มที่ ผลงานของ MP&GI เช่น แนว Comedy อย่างเช่น Our Sister Hedy ปี 1957, แนว Melodramas เช่น Her Tender Heart ปี 1959 และแนว Musicals อย่าง Mambo Girl และ My Kingdom for a Husband ปี 1957 เหตุการณ์ในเรื่องใช้ฉากหลังของเมืองในย่านที่ดูทันสมัย ให้ค่ากับเพลงป๊อป และดาราวัยรุ่นหน้าใหม่ ดังนั้น ในปี 1960 MP & GI ผลิตภาพยนตร์เข้าสู่ตลาดทั้งหมด 30 เรื่อง ทั้งหมดใช้ภาษาจีนกลาง ขณะที่ชอว์ก็ไม่ได้อยู่เฉยหรือนิ่งนอนใจ


เส้นทางใหม่ของชอว์

         Run Run Shaw หรือ Shao Yifu เป็นน้องสุดท้องในบรรดาพี่น้องหกคนของตระกูลชอว์ เดินทางมาฮ่องกงในปี 1958 เพื่อก่อตั้งโรงถ่ายภาพยนตร์ในแนวทางใหม่ เริ่มต้นด้วยการยกระดับคุณค่าของงานโปรดักชัน ภาพยนตร์ทุกเรื่องเป็นสี ไม่ใช่ขาว-ดำสลับกับสีเป็นบางครั้งบางคราวเหมือนกับที่บริษัทอื่น ๆ ทำกันอยู่ ซึ่งก็กลายเป็นจุดดึงดูดสำคัญของ Shaw Brothers โดยภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ในแนว Romances อย่าง Diao Charn (เตียวเสี้ยน)


         ปี 1958 และ The Kingdom and the Beauty (จอมใจจักรพรรดิ) ปี 1959 ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ ได้รับรางวัลมาหลายรางวัลจาก The Asian Film Festival เป็นหนังฟู่ฟ่าหวือหวาในชุดแต่งกายและเต็มไปด้วยเสียงเพลง เป็นหนังร้องที่นำการร้องแบบ หวงเหม่ยเตี้ยว (Huangmei Diao) หรือ หวงเหม่ยซี่ (Huangmeixi) มาใช้ในภาพยนตร์ เรียกว่า Huangmei Opera หรือ Huangmei Film และในปี 1962


         นั้นเองที่ Shaw Brothers มีนโยบายผลิตภาพยนตร์ที่เป็นสีเพียงอย่างเดียว ยิ่งทำให้มีความแตกต่างจากโรงถ่ายอื่น ๆ มากขึ้น เพราะนับตั้งแต่ปี 1961 Shaw Brothers ได้เปิดโรงถ่ายขนาดใหญ่ที่ย่าน Clear Water Bay ชื่อว่า Movietown ซึ่งกล่าวกันว่ามีพนักงานทั้งหมดราว 1,200 คน มีเวทีถ่ายทำบันทึกเสียง(Sound Stage) 6 เวที และเวทีถ่ายทำแต่ลงเสียงทีหลัง (Dubbing Studio) อีก 3 เวทีใหญ่ Movietown ทำงานแข่งกับเวลาตลอด 24 ชั่วโมง พนักงานทำงานราว 10 ชั่วโมงต่อผลัด หลายร้อยคน มีบ้านพักในพื้นที่เดียวกันกับโรงถ่าย

         ไม่กี่ปีต่อมา Shaw Brothers เพิ่มเวทีถ่ายทำขึ้นมาอีก 6 เวที รวมทั้งมีแลบสีอีกด้วย ทั้งหมดเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของ Shaw Brothers อย่างแท้จริง รวมทั้งการเปิดรับเอาจอภาพ Anamorphic Widescreen (35 ม.ม.) เข้ามาใช้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงนี้และไม่มีโรงถ่ายโรงไหนในฮ่องกงขณะนั้นที่ใช้ Format ของจอภาพแบบนี้มาก่อน ทั้งนี้ ก็ด้วยแรงผลักดันจากการที่ต้องแข่งขันกับโรงถ่ายอย่าง MP&GI นั้นเอง เพียงแต่แทนที่จะหันหน้าไปหาเทคโนโลยีของอเมริกัน Run Run Shaw กลับตัดสินใจ บ่ายหน้าไปขอความร่วมมือและความรู้จากบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นแทน


Shaw Studios, Tseung Kwan O, Hong Kong


เชื่อมร้อยสายสัมพันธ์กับญี่ปุ่น

         การหันไปขอความร่วมมือและความรู้ด้านภาพยนตร์จากวงการหนังญี่ปุ่นไม่ใช่สิ่งที่ Run Run Shaw เพิ่งจะเริ่มทำ ตรงกันข้าม งาน Post-Production ทุกอย่างของ Shaw Brothers ล้วนผ่านมือของ Tokyo’s Far East Film Laboratory ในญี่ปุ่นมาแล้วทั้งนั้น ผลงานของ Shaw Brothers ที่ผ่านการร่วมงานกันเป็นระยะ ๆ ได้แก่ Princess Yang Kwei Fei หรือ หยางกุ้ยเฟย (1955) โดยร่วมงานกับสตูดิโอ Daiei ส่วน Madame White Snake หรือ นางพญางูขาว(1956) เป็นการร่วมงานกับสตูดิโอสำคัญ ๆ อย่าง Toho ผู้กำกับภาพชาวญี่ปุ่นคนแรก ๆ ที่ Shaw Brothers พึ่งพาเป็นหลักคนแรก ๆ ได้แก่ Nishimoto Tadashi ซึ่งทำงานให้กับสตูดิโอ Shintoho ในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับ

         ภาพยนตร์ที่ทำงานในระบบภาพแบบ Anamorphic Widescreen มาก่อนแล้ว ผลงานกำกับภาพเรื่องแรกที่เขาทำให้กับ Shaw Brothers คือ Love with an Alien (1958) งานรุ่วมทุนสร้างและผลิตผลงานร่วมกันระหว่างวงการภาพยนตร์ฮ่องกงกับเกาหลีเรื่องแรก ๆ ผลงานกำกับเรื่องที่สองของ Nishimoto Tadashi ก็คือ Lady of Mystery (1958) หลังจากนั้น เขาก็เดินทางกลับไปทำงานหนังขาว-ดำขึ้นหิ้งหนังคลาสสิคให้กับ Nakagawa Nobuo ที่ญีปุ่น ก่อนที่จะกลับมาเซ็นสัญญาระยะยาวกับ Shaw Brothers

         กลับมาร่วมงานกับ Shaw Brothers ครั้งนี้ Nishimoto Tadashi เปลี่ยนไปใช้ชื่อจีน He Lanshan (เหอหล่านฉาน) ในการทำงานและกลายเป็นศูนย์กลางของกองกำลังในการผลิตงานที่สำคัญของ Shaw Brothers โดยเริ่มจากการกำกับภาพ ภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างขนาดใหญ่ของผู้กำกับ หลีฮั่นเสียง อย่าง Yang Kwei Fei (หยางกุ้นเฟย) (1962) Empress Wu Tse-tien (บูเช็คเทียน) (1963) และ Beyond the Great Wall (หวังเจาจวิน) (1964)


         Nishimoto Tadashi ยังมีโอกาสได้แสดงฝีมือกำกับภาพ ภาพยนตร์ยอดนิยมที่มีความคลาสสิคและอลังการในช่วงนั้นของ Shaw Brothers อีกด้วย เช่น The Love Eterne (ม่านประเพณี) (1963) รวมทั้งหนังที่มีพัฒนาการทางคิวบู๊อย่างสุดล้ำในช่วงนั้นของผู้กำกับ คิงฮู อย่าง Come Drink with Me (หงษ์ทองคะนองศึก) (1966) รวมทั้งหนัง Melodrama The Blue and the Black (ศึกรักศึกรบ) (1966) ทีทำออกมาถึง 2 ภาค ดังนั้น ผลงานกำกับภาพของเขาจึงมีหลากหลายแนว ทั้งหนังเพลง หนังสืบสวน และหนังออกไปทางแนวหวือหวา และด้วยคำแนะนำของเขานั้นเอง ที่ทำให้ Shaw Brothers ตระหนักถึงคุณค่าของความเชี่ยวชาญทางด้านกำกับศิลป์ของวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น และตัดสินใจส่งบุคลากรไปสังเกตการณ์ การทำงานของสตูดิโอใหญ่ ๆ ที่ญี่ปุ่น รวมทั้งจ้างทีมงานกำกับเทคนิคพิเศษของ Toho มาช่วยในการผลิตภาพยนตร์เรื่อง The Love Eterne (ม่านประเพณี) (1963) อีกด้วย

         ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาษาภาพและโทนสีอันละเอียดประณีตอลังการนั้น คืออิทธิพลของความเป็นญี่ปุ่นที่ฝังแฝงและแสดงออกผ่านเรื่องราว ฉาก การแต่งกาย และบทเพลงของความเป็นจีนโดยแท้ และก็ด้วยคำปรึกษาของ Nishimoto Tadashi อีกเช่นกัน ที่ทำให้ Shaw Brothers เข้าสู่ยุคของการใช้จอภาพแบบ widescreen ด้วยความร่วมมือของสตูดิโอ Toho ทีมงานญี่ปุ่นขนถ่ายอุปกรณ์ในการทำงานมาที่ฮ่องกง สอนเทคนิคในการกำกับภาพในแบบต่าง ๆ ซึ่งก็คือภาษาภาพของหนังกำลังภายในอันกลายเป็นเอกลักษณ์ของ Shaw Brothers และเป็นต้นแบบให้กับหนังกำลังภายในเรื่องอื่น ๆ ดำเนินรอยตามต่อมาในภายหลัง จากการนี้ Shaw Brothers ได้พัฒนาจอภาพเข้าสู่ the anamorphic format ในที่สุดที่เรียกว่า Shawscope


MP&GI ในทางตรงกันข้ามกับ Shaw Brothers

         เมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่งอย่าง MP&GI แล้ว Shaw Brothers นับว่าก้าวล้ำไปมาก เพราะขณะที่ Shaw Brothers ผลิตภาพยนตร์สีออกมา MP&GI ยังคงสาละวนอยู่กับผลิตภาพยนตร์ขาว-ดำ แต่ก็ด้วยสาเหตุที่ Shaw Brothers ต้องการผลิตภาพยนตร์สีทุกเรื่องเพื่อให้เป็นจุดดึงดูดและจุดขายอันสำคัญเองนี้เช่นกัน ที่ทำให้ปริมาณภาพยนตร์ที่ผลิตในแต่ละปีน้อยลงและช้าลง จากที่เคยผลิตได้ปีละ 30 เรื่อง ลดลงเหลือเพียง 20 เรื่องต่อปี โดยเฉพาะหนังที่โชว์ความอลังการงานสร้างฉากและเสื้อผ้าทั้งหลายนั้น ใช้เวลากว่า 2 ปีในการถ่ายทำ และตัวของ Nishimoto Tadashi เองก็ต้องทำงานหลาย ๆ โปรเจ็คท์ในเวลาเดียวกัน ยิ่งทำให้แรงผลักในการทำงานในแต่ละโปรเจ็คท์ลดลงไปอีก อย่างไรก็ตาม ในปี 1964 นั้นเองที่ Loke Wan Tho และผู้บริหารคนอื่น ๆ ของ MP&GI ได้ประสบอุบัติเหตุเสียงชีวิตจากเครื่องบินตก ทำให้สถานการณ์ของ MP&GI หนักหน่วงลงไปอีก ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ Shaw Brothers เข้ายึดครองตลาดด้วยการเร่งกำลังการผลิตภาพยนตร์

         เพื่อการนี้ Shaw Brothers ตัดสินใจมองหาผู้กำกับที่สามารถผลิตภาพยนตร์ออกมาได้รวดเร็วทันใจ Nishimoto Tadashi จึงเป็นตัวหลักในการเฟ้นหาตัวผู้กำกับมาเซ็นสัญญาทำงานให้กับ Shaw Brothers และ Inoue Umetsugu ก็คือผู้กำกับชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ถูกตามตัวมาเซ็นสัญญาให้ผลิตภาพยนตร์ให้กับ Shaw Brothers นับร้อยเรื่อง เขาไม่สามารถทำได่ทั้งหมด แต่ก็ผลิตผลงานได้ถึง 17 เรื่องระหว่างปี 1967 – 1971 หลังจากนั้น จึงมีการเซ็นสัญญากับผู้กำกับญี่ปุ่นอีก 5 คน ได้แก่ Furukawa Takumi, Nakahira Koh, Shima Koji, Murayama Mitsuo และ Matsuo Akinori ซึ่งต่างก็ได้รับการยอมรับ ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

         เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจถึงคุณภาพในการทำงานของกลุ้มผู้กำกับดังกล่าว เพราะต่างก้เคยผ่านการทำงานภายใต้การความคุมโปรเจ็คท์โดยอภิมหาผู้กำกับอย่าง Akira Kurosawa ละ Nakahira Koh มาแล้วทั้งสิ้น แต่ถึงอย่างนั้น Shaw Brothers ก็ไม่ได้ฉวยโอกาสในการเอาชือเสียงของผู้กำกับชาวญี่ปุ่นมาใช้ในการโฆษณาเพื่อสร้างชื่อและเรียกคนดู ผู้กำกับญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ชื่อจีน ยกเว้น Inoue Umetsugu เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ใช้ชือจริงของตนเอง


         จากปี 1967 – 1972 เป็นต้นมา ผู้กำกับสัญชาติญี่ปุ่นกำกับภาพยตร์ออกมามากกว่า 30 เรื่อง ซึ่งก็หมายความว่า ภาพยนตร์ของ Shaw Brothers ที่เคยผ่านตาผู้ชมมาล้วนผ่านการใช้ทักษะและมุมมองของผู้กำกับญี่ปุ่น ในการรังสรรค์ความเป็นจีนออกมาให้ชื่นชม เพราะผู้กำกับนั้นไม่ได้ทำงานโดยตัวคน ๆ เดียว แต่ได้นำเอาผู้กำกับภาพ ทีมงานกำกับแสง ผู้กำกับคิวบู๊ นักแสดงต่าง ๆ ที่เป็นชาวญี่ปุ่นมาร่วมงานด้วย

         อย่างไรก็ดี ในช่วงนี้ หนังส่วนใหญ่ที่ผ่านมือผู้กำกับชาวญี่ปุ่นกลับไม่ใช่หนังฟันดาบ-ต่อสู้อย่างที่เคยทำที่ญี่ปุ่น ส่วนมากกลับเป็นหนังเพลงและหนังสืบสวนฆาตกรรมแบบญี่ปุ่นมากกว่า แต่ถึงอย่างนั้น ทีมผู้อำนวยการสร้างของ Shaw Brothers ยืนยันว่าหนังเหล่านั้นก็ยังคงเป็น “ผลงานการผลิตและกำกับที่มีคุณภาพสูง และทีมงานฮ่องกงไม่มีทางเทียบได้ นอกจากลอกเลียนแบบเท่านั้น” เช่น งานของ Nakahira Koh ที่ผลิตที่ญี่ปุ่นในชื่อ Crazed Fruit ปี 1956 ก็ถูกนำมารีเมคที่สตูดิโอของ Shaw Brothers ในชื่อ Summer Heat ในปี 1968 เป็นต้น


         แต่ถึงจะเป็นการทำซ้ำลอกเลียน แต่นักประวัติศาสตร์ต่างกล่าวว่า นี่คือพายุหมุนแห่งความเป็นญี่ปุ่น (Japanese Whirlwind) ที่นำเอาความมีชีวิตชีวาและพลังที่สดใหม่ เข้ามาสู่ภาพยนตร์ของ Shaw Brothers กลายเป็นแรงผลักให้ผลงานของ Shaw Brothers เข้าสู่ภาษาภาพยนตร์ที่มีความเป็นสากลมากขึ้น มีประเด็นที่ถูกใจสังคมสมัยใหม่ที่เมืองกำลังขยายตัวมากขึ้น รวมทั้งการนำเอาคนหนุ่ม-สาวเข้าสู่วงการเร็วขึ้น อิทธิพลเหล่านี้เห็นได้จากการที่บุคลากรส่วนหนึ่งของ Shaw Brothers ถูกผ่องถ่ายไปสู่วงการทีวีในช่วงปลายทศวรรษ 1960 – ต้น 1970 ส่งผลให้การเขียนบท กำกับ และภาษาภาพของละครทีวีฮ่องกงมีความทันสมัย เป็นที่นิยมไปทั่วภูมิภาคเอเชีย และเมื่อ MG&PI ฟื้นตัวจากการสูญเสีย Loke Wan Tho ในปี 1970 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น Cathay จากแรงบีบคั้นในการแข่งขัน แต่ก็พบว่า Shaw Brothers ได้ครอบครองตลาดทั้งหมดไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การปล่อยตัวอย่างหนังใหม่ ๆ ของ Shaw Brothers แต่ละครั้งจึงเท่ากับเป็นการประกาศศักดาในฐานผู้ครองตลาด


Genre and Style - ยืมกระบวนท่าภาษาหนังญี่ปุ่น ปรับกระบวนหนังชอว์


        เมื่อยุคทองของชอว์เริ่มต้นขึ้น การเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มมองเห็นได้ชัดตั้งแต่ไตเติ้ลนำเข้าสู่ตัวหนัง ผ่าน Studio's logo ใหม่คล้ายโล่ห์ประจำตระกูล อิงแอบกับ Studio's logo ของบริษัทวอร์เนอร์ส์ของอเมริกา ทั้งยังเตือนใจให้ระลึกถึงระบบภาพแบบ Anamorphic ที่ได้กลายมาเป็นภาพประทับในความทรงจำเมื่อนึกถึงหนังของชอว์ พร้อมกับคำป่าวประกาศอย่างภาคภูมิใจในเครดิทท้ายเรื่องทุกครั้งว่า "Another Shaw Production" ทั้งยังเป็นการยืนยันถึงภาษาภาพ Spectacle ในแบบของตนเองนาม Shaw Scope

         เนื่องจากชอว์เริ่มใช้ระบบ Anamorphic หรือเลนส์ที่ให้ภาพกว้างและได้ความคมชัดคงที่หลังจากแวดวงในสหรัฐฯ อเมริกาเริ่มใช้มาสักระยะ จึงถือเป็นจังหวะที่ดีของชอว์ ที่มีทางเลือกหลากหลาย ไม่เช่นนั้น เขาอาจจำใจต้องเลือกระบบ CinemaScope ของ Twentieth Century-Fox’s หรือไม่ก็ระบบ Panavision ซึ่งทั้ง 2 ระบบ ไม่ได้รับความสนใจสำหรับแวดวงภาพยนตร์นอกสหรัฐฯ ซึ่งทั้งก็ไม่ได้มีแพร่หลายนอกสหรัฐฯเช่นกัน

         Charles Wang Cheung Tze ตัวแทนอุปกรณ์สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ในฮ่องกง รำลึกความหลังว่า ขณะนั้น ผู้สร้างชาวฮ่องกง มักจะใช้อยู่ 2 ระบบคือ Dyaliscope และ Kowa-based lens systems Dyaliscope คือ Format ภาพที่ใช้ในฝรั่งเศส อิงกับระบบ Cinepanoramic ขนาดจอกว้างเป็นพิเศษ เมื่อผสานกับ การเสริมเลนส์พิเศษด้วยระบบเลนส์ Kowa ของญี่ปุ่น ที่เน้นภาพถ่างกว้างสำหรับเครื่องฉาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Anamorphic Widescreen Films (ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่ ด้านบน) เนื่องจากเป็นเลนส์มีคุณสมบัติสำหรับขยายภาพกว้าง ๆ ตามแนวนอน บีบภาพได้คงที่มากขึ้น ขณะที่มีกำลังในการ Zoom ภาพถึง 10 เท่าอย่างไรก็ตาม Kowa ก็ได้ช่วยพัฒนาระบบภาพออกมาหลาย ๆ Format เช่น TohoScope ของญี่ปุ่น ก็จะได้ภาพอีกแบบหนึ่ง รวมทั้งการเกิด ShawScope ที่คล้ายกันขึ้นมาด้วย


         วิธีการของ ShawScope ก็คือการวางเลนส์ดังกล่าวไว้หลังตัวเลนส์หลัก ซึ่งจะทำให้ได้ความยาวโฟกัส (focal length) ที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่ CinemaScope จะวางเลนส์ไว้ด้านหน้าของเลนส์ตัวหลัก ดังนั้น เมื่อดูหนังของ Kurosawa ก็จะเห็นว่า ใน Shot ที่เป็น Telephoto (ภาพระยะไกล) เราก็จะได้เห็นภาพที่ Zoom กว้างแบบ wide-angle (ภาพมุมกว้าง) ในเวลาเดียวกันซึ่งผู้สร้างหนังอเมริกันไม่สามารถทำได้ ระบบแบบนี้ บางทีเรียกให้ใกล้เคียงกับต้นแบบ (Dyaliscope)

         ว่าภาพยนตร์ 70 ม.ม. ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว Nishimoto Tadashi ตากล้องชาวญี่ปุ่นคนแรกที่มาร่วมงานกับชอว์ ยืนยันว่า ShawScope ก็คือ TohoScope นั่นเอง เพียงแต่ขั้นตอนการผลิตนั้น ชอว์ใช้ Format ภาพและเลนส์ของ Dyaliscope ก็ตาม ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า ภาพยนตร์ของชอว์สามารถเลือกใช้ความยาวโฟกัส (focal length) ตามแบบของญี่ปุ่นได้อย่างหลากหลายลักษณะ ดังตัวอย่างภาพจากเรื่อง Les Belles (1961) ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เรียกว่า ShawScope ซึ่งใช้กรอบภาพ Telephoto (ภาพระยะไกล) และระยะภาพกว้างในแนวในในขณะเดียวกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤศจิกายน 2014, 16:39:30 โดย นายเค »


สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
Re: ย้อนความหลังหนังชอว์ (Shaw Brothers Film 邵氏兄弟)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2014, 13:46:17 »
Genre and Style – หวางเหม่ยเตี้ยว - Yellow Plum Opera หนังเพลงคู่บุญของ ShawScope ยุคแรก

         เช่นเดียวกับทุกประเทศ ซึ่งต้องมีประเภทของหนังที่เป็นที่โปรดปราน และหนังที่เหมาะกับ ShawScope ในยุค 60’s มากที่สุดก็คือหนังที่มีเพลงร้องที่ฝรั่งเรียกว่า Yellow Plum Opera หรือ หวางเหม่ยเตี้ยว (the huangmei diao) คือเพลงที่มีอิทธิพลมาจากงิ้วในมณฑลอันฮุย หมายถึง การขับร้องประเภทหนึ่งที่อาศัยความคล้องจองของถ้อยคำต่างๆ โดยใช้ภาษาจีนกลางมาเรียงร้อยกันเป็นเพลงซึ่งน้ำเสียงของนักร้องจะไม่ใช้เสียงสูงมากถึงระดับเพลงงิ้ว (ดูใน Wikipedia) เมื่อภาพในหนังส่งเสริมความตื่นตาตื่นใจเต็มที่ (Spectacle) รวมทั้งความตื่นเต้นในการมาถึงของหนังสี

         ภาพยนตร์ประเภท หวางเหม่ยเตี้ยว จึงมักจะโชว์ความอลังการของฉากและเครื่องแต่งกาย หลับกับการร้องเพลงเป็นภาษาจีนกลาง ซึ่งจะทำให้ได้ผู้ชมเป็นฐานกว้าง ๆ และจึงไม่น่าแปลกใจที่ภาพยนตร์ของชอว์จะผลิตผลงานได้ไม่มากนักในช่วงแรก ๆ เนื่องจากต้องเตรียมการทั้งฉาก เสื้อผ้า และการถ่าย หลาย ๆ เรื่องใช้เวลาถึงสองปีต่อ 1 เรื่อง สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือภาพยนตร์ที่ผลิตในช่วงนี้และได้รับความนิยมมักจะหนีไม่พ้น Theme เรื่องแบบรักต้องห้ามระหว่างชนชั้นสูงกับสามัญชน ฉากคล้ายโรงละครสมัยดั้งเดิม และตัวพระเอก แสดงโดยนักแสดงหญิง ขณะที่ดนตรีประกอบและเพลง ใช้ซาวด์และเทคนิคการร้องที่ฟังดูทันสมัย

         ภาพยนตร์ประเภทนี้ถูกผลิตออกมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ก่อน (Shanghai Film Studio) นำร่องโดย The Heavenly Match (1955) ที่ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลาย ทำให้ชอว์ตามกระแส ด้วยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ‘เตียวเสี้ยน’ Diau Charn (1957) ออกมาตักตวง ตามด้วย ‘จอมใจจักรพรรดิ์’ The Kingdom and the Beauty (1958) ภาพยนตร์ที่ยกระดับนักแสดงของชอว์ขึ้นสู่ความเป็นดารา หรือซุป’ตาร์ในภาษาเรียกของปัจจุบัน เช่น หลินไต้ (Linda Lin Dai), เล่อ ตี้ (Betty Loh Ti) และ หลินปอ (Ivy Ling Po) ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ต่างก็ยกให้ ‘จอมใจจักรพรรดิ์’ The Kingdom and the Beauty (1958) เป็นผลงานชั้นเลิศของชอว์อีกด้วย แต่ก็น่าเสียดายที่ความนิยมของหนังประเภทนี้ อยู่ในความนิยมเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้น ชอว์ก็ใช้เวลาอีกพักใหญ่ กว่าที่จะค้นพบภาพยนตร์ประเภทหวงเหมย (Huangmei Film) ซึ่งเป็นอุปรากรจีนแขนงหนึ่งเข้ามาแทนที่ ด้วยความมุ่งมั่นของ Nishimoto Tadashi นั้นเอง

         ภาพยนตร์ประเภทหวงเหมย (Huangmei Film) เรื่องแรกจากความพยายามของตากล้องคนสำคัญชาวญี่ปุ่นก็คือ บูเช๊คเทียน หรือ The Empress Wu Tse-tien (1963) ซึ่งใช้เวลาดำเนินการสร้างนานถึงสองปี นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ประเภทเหวินยี่ (Wenyi Film) หรือที่เรียกตามภาษาหนังตะวันตกว่า Melodrama หนังเศร้าเคล้าน้ำตาประโลมโลก ทั้งนี้ แนวทางในการผลิตภาพยนตร์ประเภทนี้ ไม่เคยอยู่ในความสนใจของชอว์มาก่อนกระทั่ง Doe Ching ผู้กำกับที่มีความโดดเด่นจากบริษัท MP & GI ซึ่งเป็นคู่แข่งขันในตลาดผลิตภาพยนตร์กับชอว์มาตั้งแต่แรก ได้รับการชักชวนให้มาร่วมงาน จึงได้รับการอนุมัติจากชอว์ให้ผลิตภาพยนตร์ประเภทดังกล่าว


         ภาพยนตร์ประเภทเหวินยี่ (Wenyi Film) เรื่องแรกที่มากจากผลงานของ Doe Ching คือ รักชั่วนิรันดร์Love without End (1961) หรือ ปู้เหลี่ยวฉิง ซึ่งถ่ายทำในระบบขาวดำ ภาษาภาพและการจัดองค์ประกอบมีบางอย่างที่สื่อสารทางความรู้สึกใกล้คียงกับภาพยนตร์ขาวดำของญี่ปุ่นในยุคเดียวกัน สร้างชื่อให้กับ หลินไต๋ ให้กลายเป็นดาวค้างฟ้า โดยเฉพาะเพลงประกอบขับร้องโดย กู้เหมย ก็กลายเป็นเพลงอมตะเช่นกัน


         ด้วยความนิยมดังกล่าวทำให้ภาพยนตร์ประเภทเหวินยี่ (Wenyi Film)  ถ่ายทำเป็นสีในเวลาต่อมา เช่น Pink Tears (1965), The Rainbow (1968) แต่ก็เช่นเดียวกับ ภาพยนตร์ประเภทหวงเหมย (Huangmei Film) ที่เสื่อมความนิยมลงในปลายทศวรรษที่ 60 นั้นเอง พัฒนาการในการผลิตภาพยนตร์ของชอว์ ยังคงดำเนินต่อมาด้วยการมองหาประเภทของภาพยนตร์แบบอื่น ๆ เพื่อดึงดุดผู้ชมที่เป็นชนชั้นกลางรุ่นใหม่ที่เพิ่มจำนวนขึ้นในขณะนั้น โดยอาศัยเทคทิคและการจัดองค์ประกอบภาพแบบญี่ปุ่น นั้นคือภาพยนตร์ประเภท Modern Musical ซึ่งเล่าเรื่องด้วยเพลงในแบบของตะวันตก (Hollywood) กระทั่งประสบความสำเร็จมหาศาลและยาวนานกับภาพยนตร์กำลังภายใน (Wuxia Film) ในที่สุด ซึ่งจะกล่าวต่อในลำดับถัดไป


ฟังเพลง – ปู้เหลี่ยวฉิง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤศจิกายน 2014, 16:20:24 โดย นายเค »
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
Re: ย้อนความหลังหนังชอว์ (Shaw Brothers Film 邵氏兄弟)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2014, 14:15:19 »
เซอร์ รัน รัน ชอว์ (Sir Run Run Shaw) แห่งชอว์บราเดอร์ (Shaw Brothers)


“เซอร์ รัน รัน ชอว์”


Run Run Shaw in 1927.

       เมื่อประมาณ 80 ปีก่อน เส้าอี้ฝุ หรือที่ต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “เซอร์ รัน รัน ชอว์” ลูกชายของตระกูลพ่อค้าสิ่งทอในเมืองหนิงปัว มณฑลเจ้อเจียง ได้ร่วมกับพี่ชายคนที่ 3 เส้าเหรินเหมย ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ขึ้น ก่อนจะเป็นชื่อเป็น Shaw Brothers ที่สร้างผลงานภาพยนตร์ระดับคลาสสิกออกมามากมาย และปั้นให้นักแสดงโด่งดังจรัสแสงเป็นดาวค้างฟ้าคนแล้วคนเล่า ถึงขั้นได้ชื่อว่าเป็นบริษัทผลิตหนังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ภาษาจีน จึงเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของวงการภาพยนตร์ภาษาจีน เมื่อมีรายงานจากฮ่องกงว่า เซอร์ รัน รัน ชอว์ ได้สิ้นลมลงแล้วเมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 7 ม.ค.

       Shaw Brothers เป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ที่มียุครุ่งเรืองอยู่ระหว่างปี 1950s – 1970s ด้วยหนังกังฟู, กำลังภายใน, หนังอิงประวัติศาสตร์ และหนังเพลง ถือว่าเป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่อทั้งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชีย และยังได้รับความนิยมในฝั่งตะวันตกด้วย โดยตัวของ เซอร์ รัน รัน ชอว์ เองก็มีชื่อเป็นผู้อำนวยการสร้างหนังในบริษัทอยู่ถึง 360 เรื่อง นอกจากนั้นเขายังเคยร่วมทุนสร้างหนังฮอลลีวูดเรื่อง Blade Runner งานแนวไซไฟสุดคลาสสิกของ รีดลี สก็อต ด้วย
       
       ปัจจุบันภาพยนตร์มากกว่า 760 เรื่อง ที่ Shaw Bros. สร้างเอาไว้เพิ่งจะถูกนำกลับมาเผยแพร่อีกครั้งหลังกลุ่มทุนจากมาเลเซียได้ก่อตั้งบริษัท Celestial Pictures ขึ้นมาทุ่มซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ทั้งหมดไปจัดการดูแลมาตั้งแต่ปี 2002
       
       นอกจากนั้น ชอว์ ยังเป็นผู้ก่อนตั้งสถานีโทรทัศน์ TVB ฟรีทีวีที่ผูกขาดความนิยมในฮ่องกงมาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบันด้วย
       
       รัน รัน ชอว์ เกิดที่หนิงปัวเมื่อประมาณปี 1907 โดยตอนอายุได้ 17 ปี เขาและพี่ชายคนที่ 3 ได้เดินทางไปลงทุนทำธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมาจึงได้ตั้งบริษัท South Seas Film ขึ้นที่ฮ่องกง และ Tian Yi Film ในเซียงไฮ้ แต่บริษัทที่ถือว่าประสบความสำเร็จและยังคงมีชื่อมาถึงปัจจุบันนี้ก็คือ Shaw Bros. ที่แรกเริ่มเปิดดำเนินการในสิงคโปร์นั่นเอง
       

พี่ชายคนที่ 3 เส้าเหรินเหมย (Runje Shaw)

       โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในตอนปลายยุค 1940s สิงคโปร์ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตหนังภาษาจีนทั้งจากบริษัท Shaw Bros. และคู่แข่งหมายเลข 1 ในขณะนั้นอย่าง Cathay ที่แข่งกันสร้างหนังออกมาถึงปีละหลายสิบเรื่อง จนเป็นยุคทองของวงการหนังสิงคโปร์ไปโดยปริยาย ต่อมา Shaw Bros. จึงย้ายไปผลิตหนังที่ฮ่องกงเป็นหลัก และเริ่มประสบความสำเร็จจากการสร้างหนังเพลง, หนังงิ้ว ที่มีดาราดาวเด่นเป็นนักแสดงหญิง อาทิ หลินไต้, เล่อตี้, หลิงปอ และ ลี่ชิง เป็นต้น
       
       จนในปลายยุค 60s ชอว์ จึงประสบความสำเร็จในการผลิตหนังกำลังภายใน จากฝีมือของผู้กำกับอย่าง หูจวินฉวน, จางเชอะ และ ฉู่หยวน ส่งให้นักแสดงกลายเป็นซูเปอร์สตาร์แห่งยุคมากมาย เริ่มจาก หวังอยู่ กับหนังเรื่อง เดชไอ้ด้วน ส่วน ตี้หลุง, เดวิด เจียง และ เฉินกวนไท้ ก็โดดเด่นในหนังกังฟูของ จางเชอะ สำหรับ เอ๋อตงเซิน กับ ฟู่เซิง ก็มีผลงานในหนังที่ดัดแปลงจากนิยายกำลังภายในของ กิมย้ง และ โกวเล้ง มากมาย
       
       Shaw Bros. ภายใต้การบริหารงานของ รัน รัน ชอว์ แทบจะครองตลาดหนังฮ่องกงอย่างเบ็ดเสร็จในปลายยุค 60s ก่อนจะพบกับคู่แข่งสำคัญในยุค 70s คือบริษัท Golden Harvest ที่มีอดีตผู้บริหารของชอว์อย่าง เรย์มอน เชา และ เลนนาร์ด เหอ เป็นผู้ก่อตั้ง และปั้นทั้ง บรูซ ลี และ เฉินหลง กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ขึ้นมา
       
       จนถึงในช่วงต้นยุค 80s ที่ธุรกิจโทรทัศน์เริ่มมาแรง Shaw Bros. ที่มีงานน้อยลงเรื่อยๆ จึงตัดสินใจหยุดผลิตภาพยนตร์ และหันไปลงทุนกับการทำทีวีในสถานีโทรทัศน์ช่อง TVB จนประสบความสำเร็จมากมายแทน
       
       ในช่วงหลังๆ เซอร์ รัน รัน ชอว์ ได้หันไปให้เวลากับการทำมูลนิธิ และงานการกุศลแทน โดยเขาได้ก่อตั้งรางวัล Shaw Bros. ที่ถูกเรียกว่าเป็นรางวัลโนเบลของเอเชียขึ้น เพื่อมอบให้กับผู้มีผลงานทางวิชาการโดดเด่นทางด้านดาราศาสตร์, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์
       
       นอกจากนั้นตัวของ รัน รัน ชอว์ ก็ได้รับเกียรติยศต่างๆ มากมายทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากสหราชอาณาจักรที่ทำให้เขามีคำนำหน้าว่า “เซอร์” เมื่อปี 1977 นอกจากนั้นยังได้รับเหรียญตราเชิดชูเกียรติจากรัฐบาลฮ่องกงเมื่อปี 1998 และรางวัลสำหรับการอุทิศตัวให้กับวงการภาพยนตร์จากสถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ของ สหราชอาณาจักรหรือ BAFTA เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมาด้วย
       
       ด้านชีวิตส่วนตัว รัน รัน ชอว์ มีภรรยาคือ หวังเม่ยชุน ที่แต่งงานกันเมื่อปี 1937 จนภรรยาเสียชีวิตไปก่อนเมื่อปี 1987 โดยทั้งคู่มีทายาทด้วยกัน 4 คน อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่า รัน รัน ชอว์ มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ โมน่า ฟง นักร้องชื่อดังที่ต่อเข้ามาร่วมบริหารบริษัท Shaw Bros. ด้วย มาตั้งแต่ภรรยายังมีชีวิตอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามทั้งสองเพิ่งจะแต่งงานกันเมื่อปี 1997 นี่เอง
       
       เรื่องอายุของ รัน รัน ชอว์ ก็เป็นข้อมูลที่ค่อนข้างจะลึกลับอยู่พอสมควร แม้แต่ โมน่า ฟง คู่รักของเขาก็ปฏิเสธที่จะยืนยันข้อมูลที่ชัดเจน แต่เชื่อกันว่าเขาน่าจะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 106 – 107 ปี โดย รัน รัน ชอว์ เพิ่งจะประกาศเกษียณอายุการทำงานด้วยวัย 104 ปี ไปเมื่อปี 2011 หลังตัดสินใจขายหุ้นของบริษัท TVB ออกไป และได้พักผ่อนอย่างสงบอยู่ประมาณ 2 ปี จึงเสียชีวิตลงด้วยโรคชราเมื่อเวลาประมาณ 6:55 น. ของวันที่ 7 ม.ค. 2014 โดยเป็นการลาโลกอย่างสงบ ที่มีลูกหลานคอยดูใจอยู่ในวาระสุดท้าย หลังตัดสินใจขายหุ้นของบริษัท TVB ออกไป และได้พักผ่อนอย่างสงบอยู่ประมาณ 2 ปี จึงเสียชีวิตลงด้วยโรคชราในวันที่ 7 ม.ค. 2557 ของวันที่ 7 ม.ค. 2014 โดยเป็นการลาโลกอย่างสงบ ที่มีลูกหลานคอยดูใจอยู่ในวาระสุดท้าย

ตราบริษัทภาพยนตร์ Shaw Brothers

1.ตราบริษัทภาพยนตร์ Shaw Brothers ที่เก่าที่สุดที่หามาได้ ประมาณก่อนปี 1958 (2501) (ตอนยังเป็นระบบถ่ายเต็มจอ ยังไม่ใช่จอกว้าง)


2.ตราบริษัทภาพยนตร์ Shaw Brothers ประมาณ 1958-1960 (ก่อนใช้ระบบสโคป จอกว้าง)


3. ตราบริษัทภาพยนตร์ Shaw Brothers ที่เปลี่ยนใช้มาตั้งแต่หลังปี 1960 และเป็นระบบ cinema scope จอกว้าง widescreen



 
Title Opening from Shaw Brothers Movies. ภาพและซาวนด์เปิดหนังชอว์บราเดอร์ส ที่คุ้นกันดีเมื่อ 20-30 ปีก่อน



Shaw Brothers Title : ไตเติ้ลเปิดหนังสมัยเก่า ชอว์บราเดอร์ส .


Hong Kong Movie Studios Idents

ตัวอย่าง ใบปิด ชอว์บราเดอร์


The 14 Amazons - 14 ยอดนางสิงห์ร้าย (1972)
กำกับโดย เฉิงกัง ตงเส้าหยง นำแสดงโดย หลิงปอ หลี่ชิง เยี่ยหัว หลอลี่
ภาพจาก Shaw Brothers Thailand ชอว์ บราเดอร์ส ไทยแลนด์


The Daredevils - เพชฌฆาตหน่วยกล้าตาย (1980)

กำกับโดย จางเชอะ  นำแสดงโดย กั๊วะจุย ลู่ฟง เจียงเซิง ซุนเจี้ยน หลอเมิ่ง และ หวังลี่
ภาพจาก Shaw Brothers Thailand ชอว์ บราเดอร์ส ไทยแลนด์


lntimate Confessions of a Chinese Courtesan - Ai nu (1972)
愛奴 - รสรัก ฤทธิ์แค้น / เลือดแค้นนางโลม สะท้านเมือง (ฉบับ ดีวีดี จัดจำหน่ายโดย ชิบุญ่า)
ภาพจาก Shaw Brothers Thailand ชอว์ บราเดอร์ส ไทยแลนด์







----------------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูล ::
- https://www.facebook.com/ShawBrothers
- http://en.wikipedia.org/wiki/Shaw_Brothers_Studio
- www.inphono.com
- www.inphono.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กุมภาพันธ์ 2017, 22:15:10 โดย เซียวเหล่งนึ่งฯ »
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได