กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: [1] 2 3 ... 10
1
    สืบเนื่องจาก กลุ่มผู้สูงอายุตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก เคยมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา พิษณุโลก แล้วครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนั้น มีเวลาน้อย ก็เลยทำให้ดูหนังมิตร ชัยบัญชา ยังไม่เต็มที่..

    ต่อมา อบต.ท่าโพธิ์ ก็ติดต่อให้พิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา นำหนังมิตร ชัยบัญชา ไปฉายเป็นกรณีพิเศษ โดยนัดหมายฉายกันในวันที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น.-12.00 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

    ก่อนฉายหนัง ก็จะมีกิจกรรมของผู้สูงอายุตำบลท่าโพธิ์ จากนั้น วิทยากร ก็เริ่มพูดแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ มิตรศึกษา แล้วก็ต่อด้วยการฉายภาพยนตร์ข่าวในหลวง ร.9 หนังประวัติมิตร ชัยบัญชา หนังมิตร ชัยบัญชา เรื่อง เหนือเกล้า และ เสือข้ามแดน

     เนื่องจากบรรดาผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะทันดูหนังมิตร ชัยบัญชา จึงจำดาราหนังแต่ละคนได้ พอเห็นดาราคนไหนออกมา ก็จะมีเสียงพูดถึงชื่อดาราท่านๆ นั้นตลอด

    ตอนฉากเศร้าๆ ของหนังเรื่อง เหนือเกล้า ฉากที่ป้าสมจิตกำลังพูดตัดพ้อต่อว่า ชนะ ศรีอุบล ลูกชายที่ไม่ยอมช่วยเหลือมิตร ชัยบัญชา ซึ่งเป็นพี่ชาย ที่ถูกกลั่นแกล้งให้ติดคุก ขณะบรรยากาศดูหนังกำลังเงียบกริบ.. ฉับพลันบรรยากาศก็เปลี่ยนเป็นเสียงหัวเราะ เสียงขำกันสนั่น... เพราะพี่ผู้หญิงท่านหนึ่งเกิดไปพูดแซวเพื่อนที่กำลังอินกับฉากหนังว่า... เฮ้ย.. ยัยนี่ร้องไห้ด้วย... เล่นเอาฉากเศร้าๆ กลายเป็นฉากขำๆ ไป

    หลังจากจบ เหนือเกล้า แล้ว ยังมีเวลาเหลืออีก ก็เลยฉายเรื่อง เสือข้ามแดน ต่ออีก พอหนังจบ ก็เวลาได้พักรับประทานอาหารเที่ยงพร้อมๆ กันครับ..
2
    คลิปนี้ ยาวประมาณ 9 นาที... สืบเนื่องจาก กลุ่มผู้สูงอายุตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก เคยมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา พิษณุโลก แล้วครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนั้น มีเวลาน้อย ก็เลยทำให้ดูหนังมิตร ชัยบัญชา ยังไม่เต็มที่..

    ต่อมา อบต.ท่าโพธิ์ ก็ติดต่อให้พิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา นำหนังมิตร ชัยบัญชา ไปฉายเป็นกรณีพิเศษ โดยนัดหมายฉายกันในวันที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 9.00 น.-12.00 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

    ก่อนฉายหนัง ก็จะมีกิจกรรมของผู้สูงอายุตำบลท่าโพธิ์ จากนั้น วิทยากร ก็เริ่มพูดแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ มิตรศึกษา แล้วก็ต่อด้วยการฉายภาพยนตร์ข่าวในหลวง ร.9 หนังประวัติมิตร ชัยบัญชา หนังมิตร ชัยบัญชา เรื่อง เหนือเกล้า และ เสือข้ามแดน

    เนื่องจากบรรดาผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะทันดูหนังมิตร ชัยบัญชา จึงจำดาราหนังแต่ละคนได้ พอเห็นดาราคนไหนออกมา ก็จะมีเสียงพูดถึงชื่อดาราท่านๆ นั้นตลอด

    ตอนฉากเศร้าๆ ของหนังเรื่อง เหนือเกล้า ฉากที่ป้าสมจิตกำลังพูดตัดพ้อต่อว่า ชนะ ศรีอุบล ลูกชายที่ไม่ยอมช่วยเหลือมิตร ชัยบัญชา ซึ่งเป็นพี่ชาย ที่ถูกกลั่นแกล้งให้ติดคุก ขณะบรรยากาศดูหนังกำลังเงียบกริบ.. ฉับพลันบรรยากาศก็เปลี่ยนเป็นเสียงหัวเราะ เสียงขำกันสนั่น... เพราะพี่ผู้หญิงท่านหนึ่งเกิดไปพูดแซวเพื่อนที่กำลังอินกับฉากหนังว่า... เฮ้ย.. ยัยนี่ร้องไห้ด้วย... เล่นเอาฉากเศร้าๆ กลายเป็นฉากขำๆ ไป

    หลังจากจบ เหนือเกล้า แล้ว ยังมีเวลาเหลืออีก ก็เลยฉายเรื่อง เสือข้ามแดน ต่ออีก พอหนังจบ ก็เวลาได้พักรับประทานอาหารเที่ยงพร้อมๆ กันครับ..


พิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา ฉายภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ มิตรศึกษา ผู้สูงอายุ อบต.ท่าโพธิ์ พิษณุโลก
3
    โชคดีที่ยังมีบ้านหลังนี้อยู่ที่เพชรบุรี.. บ้านเล่าเรื่อง หนังเก่า มิตร ชัยบัญชา ของลุงเล็ก NaLek Payobpruk ครับ.. แม้จะเป็นเพียงห้องแถวเล็กๆ แล้วก็เก็บสะสมภาพถ่ายกับเรื่องราว เรื่องเล่าของพระเอก มิตร ชัยบัญชา ไว้ไม่มาก หากนำไปเทียบกับพิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา จังหวัดพิษณุโลก แต่อย่างน้อยๆ ก็ยังดี ก็ยังแสดงให้เห็นถึงคนเมืองเพชรคนนี้ ที่ยังมีใจรักและคิดถึงพระเอกมิตร ชัยบัญชา จึงลงมือทำบ้านหลังนี้ไว้ให้ผู้คนได้ศึกษาค้นคว้า
ภาพนี้ ถ่ายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ตอนนั้น ผมกำลังเดินสายฉายหนังมิตร ชัยบัญชา ฉายให้ดูฟรีๆ ทั่วประเทศ ก็เลยพาพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ แวะไปหา ไปเยี่ยมลุงเล็กที่เมืองเพชร..

    ไปบอกลุงเล็กว่า ผมอยากจะมาฉายหนังมิตร ชัยบัญชา ที่เพชรบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดพระเอก มิตร ชัยบัญชา บ้าง.. แต่ก็ยังหาที่ฉายไม่ได้ จะฉายกันเป็นหนังจอเล็กๆ จอ 2 เมตร เปิดเสียงไม่หนวกหู ขอให้ลุงเล็กช่วยหาที่ฉายหนังมิตรให้ผมหน่อย.. แล้วพอมายืนถ่ายรูปหน้าบ้านลุงเล็ก ผมก็บอกว่า ลุงเล็ก.. ถ้าหาที่ฉาย ที่ไหนไม่ได้ ก็ฉายมันหน้าบ้านลุงนี่แหละครับ หาจังหวะ หาเวลาเหมาะๆ ที่เขามีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมบนถนนหน้าบ้านนี่แหละ

    แล้วเวลาก็ผ่านไป.. จังหวัดเพชรบุรี จะมีงาน "เทศกาลหุ่นเพชรเมืองหนัง" จัดในชุมชนย่านเมืองเก่าเพชรบุรี ซึ่งก็รวมถึงถนนหน้าบ้านลุงเล็กด้วยลุงเล็กก็เลยบอกให้ผมมาฉายหนังมิตร ระหว่างวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2567 ครับ แต่ว่า ที่เห็นยืนๆ ถ่ายรูปกันแบบนี้ ไม่ได้ไปกันหมดนะครับ เบื้องต้น ก็จะมีผม.. พี่แต๋ว จงบุญ คงอ่อน สุดยอดแฟนพันธุ์แท้มิตร ชัยบัญชา (คนขวาสุด) 2 คน ที่จะอยู่ในงานนี้ทั้ง 3 วัน 3 คืน ส่วนคนอื่นๆ ก็อาจจะมาตามวันเวลาที่เขาสะดวกนะครับ

หนังฉายได้แต่ตอนกลางคืน แต่ตอนกลางวัน จะเปิดบ้านให้เยี่ยมชม ใครผ่านมา ผ่านไป ก็แวะคุยกันได้นะครับ..
4
จบจากฉายหนังมิตร ชัยบัญชา ที่เพชรบุรีแล้ว พวกเราไปต่อกันที่นี่ ครับ..

    ณ ที่นี้ รำลึกมิตร ชัยบัญชา ไม่ต้องรอให้ถึงเดือนตุลาคม.. เรามีมิตรให้รำลึกได้ทุกๆ วันและจัดกิจกรรมพิเศษเพิ่มขึ้นประจำเดือนพฤษภาคม 2567

    พิพิธภัณฑ์ มิตร ชัยบัญชา พิษณุโลก-กลุ่มวัยหวานวันวาน กทม.จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์รำลึกถึงศิลปินดาราที่เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม จำนวน 6 ท่าน วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567

    1) ชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2536 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564
    2) ประจวบ ฤกษ์ยามดี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559
    3) อดุลย์ ดุลยรัตน์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559
    4) ดอกดิน กัญญามาลย์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2555 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2561
    5) เชิด ทรงศรี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2549
    6) สมพงษ์ พงษ์มิตร ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2541 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2544
รายละเอียดกิจกรรม

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 รอบกลางวัน ฉายภาพยนตร์รำลึกผลงานของศิลปินดาราที่เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม จำนวน 3 ท่าน คือ ชาลี อินทรวิจิตร-ประจวบ ฤกษ์ยามดี-อดุลย์ ดุลยรัตน์
    รอบค่ำ ฉายภาพยนตร์ มิตร ชัยบัญชา

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2567 รอบกลางวัน ฉายภาพยนตร์รำลึกผลงานของศิลปินดาราที่เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม 3 ท่าน คือ ดอกดิน กัญญามาลย์-เชิด ทรงศรี-สมพงษ์ พงษ์มิตร

    รอบค่ำ ฉายภาพยนตร์ มิตร ชัยบัญชา

   *ภาพยนตร์รำลึกผลงานของศิลปินดารานั้น จะเป็นหนังตัดต่อฉากต่างๆ เพื่อให้เห็นความสามารถของศิลปิน ความยาวหนัง ท่านละประมาณ 1 ชั่วโมง*

    ชมฟรี.. ที่ พิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา ติดต่อ-สอบถาม คุณบัญชา วาจาสุวรรณ 37/4 หมู่ 4 ซอยขุนทิพย์ ต.อรัญญิก อ.เมือง จ.พิษณุโลก โทร. 095-321 9613
5
แชร์มาจากโพสต์ คุณทินกร ตันติอำไพวงศ์

      คุณมนัส กิ่งจันทร์ เจ้าของเพจ..ชุมทางหนังไทยในอดีต.. เป็นอีกท่านหนึ่งที่รักหนังไทยเป็นชีวิตจิตใจ ยอมสละอาชีพทนาย มาทำงานที่หอภาพยนตร์ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ตลอดเวลาได้ใช้ความพยายามขึ้นเหนือลงใต้ เพื่อตามหาหนังไทยเก่าๆ เจอบ้าง ไม่เจอบ้าง ก็ไม่ละความพยายาม บางครั้งมาเป็นเศษฟิล์มก็พยายามซ่อม เพื่ออนุรักษ์ไว้ ถึงปัจจุบันนี้ ท่านยังคงตามหาฟิล์มต่อไปไม่หยุด..นับว่า เป็นบุคคลสำคัญอีกท่านในการอนุรักษ์หนังไทย ไม่ให้หายไปจากวงการ เพื่อจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์หนังไทยตลอดไป... คุณมนัสได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการจัดงานขอมอบรางวัล.. "อินไซด์บันเทิงอวอร์ด" ในฐานะผู้อนุรักษ์ ภาพยนตร์ไทย.. จะเข้ารับรางวัลในวันที่ 12 มิถุนายน ณ ห้องคอนเวนชั่นเอ ชั้น 6 ห้างอิมพีเรียล สำโรง เวลา 14.00 น.
หน้า: [1] 2 3 ... 10