ผู้เขียน หัวข้อ: "ชาย ชาตรี" เป็นอะไรกับ "สรพงศ์ ชาตรี"  (อ่าน 59 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2814
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
"ชาย ชาตรี" เป็นอะไรกับ "สรพงศ์ ชาตรี"
« เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2023, 16:46:04 »
    "ชาย ชาตรี" เป็นอะไรกับ "สรพงศ์ ชาตรี"
    ตอนที่พวกเราได้กากฟิล์มหนัง 16 มม. มิตร ชัยบัญชา เรื่อง ชายชาตรี มานั้น ก็ได้แต่สงสัยเล่นๆ ว่า ทำไมหนังต้องตั้งชื่อว่า ชายชาตรี..

    พอนั่งตัดต่อ ลำดับภาพเสร็จ ก็เริ่มอ่านบทพากย์หนัง ในบทพากย์ก็พิมพ์บอกว่า มิตร ชื่อว่า ชาย.. แล้วพอเปิดตัวเห็นมิตร ชัยบัญชา ในฉากแรกกับเถ้าแก่โรงแรมตามภาพนี้ มิตรก็บอกให้เถ้าแก่เขียนชื่อเขาในฐานะแขกที่มาพักโรงแรมว่า เขาชื่อ " ชาย นามสกุล ชาตรี" ครับ

   หนังเรื่องนี้เมื่อแรกๆ ฉายในปี 2507 ฟิล์มจะมีความยาวเกือบสามชั่วโมง บทพากย์ก็เลยมีถึง 104 หน้า แต่กากฟิล์มที่พวกเราหาได้มานั้น แม้จะมี 3 ม้วน จบเรื่อง แต่ก็มีความยาวเหลืออยู่เพียงประมาณ 1 ชั่วโมง

   ตอนแรกคิดว่า หนังอาจจะไม่จบเรื่อง แต่เมื่อเช็คภาพตั้งแต่แรกๆ จนฟิล์มหมดม้วน ก็พบว่า หนังยังคงเป็นจบเรื่องอยู่ครับ แต่เนื้อฟิล์มก็มีสองสีคละกัน เมื่อตรวจโดยละเอียดจึงพบว่า ฟิล์มหนังบางส่วน เป็นฟิล์ม outtake และฟิล์มอีกบางส่วน เป็นฟิล์มก๊อบปี้ จึงเดาว่า ฟิล์มจริงๆ ของเรื่องนี้ที่เคยฉายมาตั้งแต่ปี 2507 นั้น ไม่เหลือแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องเอาฟิล์ม outtake มาตัดผสมกับกากฟิล์มก๊อบปี้ที่ยังหาได้ ซึ่งนับว่า เป็นการช่วยชีวิตหนังเรื่องนี้ให้อยู่รอดมาได้อีกระดับหนึ่ง ดีกว่าเขาจะทิ้งฟิล์มไม่สมบูรณ์เหล่านี้ไปหมด

    ปัญหาของบทพากย์หนังที่ยาว 104 หน้า กับฟิล์มหนังที่เหลือแค่หนึ่งชั่วโมง ต้องมีแน่นอนครับ ครั้นจะพากย์ตามปากตัวแสดงที่เหลือๆ ไปตามปกติ หนังก็จะดูไม่ได้สาระหรือไม่รู้เรื่องตามบทประพันธ์เดิม ก็เลยจำเป็นจะต้องอ่านบทพากย์หนังให้เข้าใจ ให้หมดก่อน แล้วก็ค่อยๆ คิดว่า แต่ละฉากนั้น เราควรจะเพิ่มเติมคำพูดอะไรแทรกให้ตัวละครแต่ละตัวพูดบ้าง เพื่อจะช่วยให้คนดูเข้าใจหนังให้มากที่สุด

   ผมเริ่มพากย์เสียงไกด์ (เกลาบทพากย์ไปในตัว) จนจบ ก็มานั่งดูก่อนว่า พอจะรู้เรื่องหรือยัง จะต้องเติมคำอะไรอีกบ้าง หากฉากไหนพากย์แทรกออฟซีนก็ต้องทำ ทำจนออกมาเป็นหนังฉายอย่างที่เห็นๆ กันนั่นแหละครับ

   แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ผมพากย์แทรกไม่ได้เลย เพราะไม่มีภาพจากฟิล์มและก็ไม่มีฉากที่เหมาะ ที่จะให้ใครพูดถึงชื่อจริงๆ ของพระเอกได้เลย คนดูหนังจึงไม่มีโอกาสจะได้รู้ชื่อจริงๆ ของ ชาย ชาตรี ว่าชื่ออะไร..มันหาจังหวะแทรกไม่ได้เลยครับ..

   ชาย ชาตรี มีชื่อจริงๆ ว่า คุณชายกฤษดา อภิรักษ์ภูมินทร์.. ครับ.. และก็คงไม่ได้เป็นอะไรกับ สรพงศ์ ชาตรี หรอกนะครับ

   ปัจจุบันนี้ ชายชาตรี ปี 2507 ก็เป็นหนึ่งในหนังมิตร ชัยบัญชา ของกลุ่มวัยหวานวันวาน กทม. ซึ่งอยู่ในโครงการฉายภาพยนตร์เพื่อการเรียนรู้ มิตรศึกษา ฉายให้ดูฟรีๆ ทั่วประเทศ นะครับ..


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..