รวมพลคนเล่น Projector / Digital Cinema > การฉายภาพเคลื่อนไหวในระบบ Digital

เครื่องฉายภาพยนตร์ระบบดิจิตอล

(1/2) > >>

นายเค:

คำว่าโรงภาพยนตร์ระบบดิจิตอลในเมืองไทย เริ่มต้นมาจากระบบเสียงก่อน เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงภาพยนตร์เริ่มกลับมาตื่นตัวอีกครั้ง จากการรุกเข้ามาบุกเบิกตลาดของกลุ่มอีจีวี ตามติดด้วยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ลูกพี่ลูกน้อง ตระกูลพูลวรลักษณ์ ตลอดจนกลุ่มเอสเอฟ

         การเข้ามาของกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิวัติโฉมหน้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่อยู่ในแบบเดิม ๆ ไปสู่โรงภาพยนตร์ให้ทันสมัย ทั้งการออกแบบตกแต่งอย่างดี และยังเป็นศูนย์กลางความบันเทิง และก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มของการนำระบบเสียงดิจิตอลมาใช้

วิวัฒนาการจากระบบเสียงที่เป็น MONO ธรรมดามาสู่ระบบ DOLBY STEREO ตามมาด้วยระบบดิจิตอล มีทั้งระบบ SRD , DTS , THX และ SDDS ของโซนี่

         หลังจากที่บรรดาคอหนังได้อรรถรสในเรื่องของระบบเสียงดิจิตอลมาพักใหญ่แล้ว ก็มาถึงระบบภาพดิจิตอล ซึ่งเป็นเรื่องที่พัฒนาได้ยากกว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การถ่ายทำ เพราะปัจจุบันภาพยนตร์หลายเรื่องก็ถ่ายทำระบบดิจิตอลแล้ว ซึ่งหมายความว่า ภาพยนตร์เรื่องนั้นแทนที่จะถ่ายลงบนฟิล์ม ก็จะเปลี่ยนมาเป็นไฟล์ข้อมูล และบรรจุอยู่ใน Hard Disk แทน ไม่แตกต่างไปจากระบบคอมพิวเตอร์

แต่เมื่อถึงเวลาจะต้องนำไปฉายในโรงภาพยนตร์แล้วกลับต้องเจออุปสรรค เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉายภาพยนตร์ หรือโปรเจ็คเตอร์ที่เป็นระบบดิจิตอล ยังมีขีดความสามารถไม่เทียบเท่ากับการใช้ฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแสง หรือความละเอียดของภาพ


         จนกระทั่งบริษัท Texas Instrument บริษัทพัฒนาและวิจัยด้านเทคโนโลยี ได้พัฒนาชิปขึ้นมา เรียกว่า Digital Light Processing หรือ DLP มีลักษณะคล้ายกระจกเงาสะท้อนแสง โดยชิปที่ว่านี้มีขนาดแค่นิ้วกว่า ๆ แต่ความสามารถในเรื่องของภาพ คือ มีความละเอียดได้เท่ากับฟิล์ม

เมื่อ ชิป DLP ถูกพัฒนาออกมาสำเร็จ ภาพยนตร์ที่ถูกถ่ายทำด้วยระบบดิจิตอล แต่เมื่อเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ต้องแปลงกลับมาเป็นแผ่นฟิล์ม เนื่องจากขีดความสามารถของโปรเจ็คเตอร์ที่เป็นระบบดิจิตอล ยังมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ ก็จะไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป

         ภาพยนตร์ที่เคยอยู่ในรูปของแผ่นฟิล์ม จะถูกเปลี่ยนเป็นไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Hard Disk เมื่อต้องการนำไปฉายในโรงภาพยนตร์ในที่ต่าง ๆ ก็จะเก็บใส่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Storage หรืออาจจะใส่แผ่น DVD หรือส่งผ่านอินเทอร์เน็ต หรือยิงดาวเทียม นำมาฉายผ่านเครื่อง Digital Projector ที่เป็นเครื่อง Server สำหรับเก็บข้อมูลภาพยนตร์

ข้อดีของระบบดิจิตอล คือ คุณภาพของภาพยนตร์ที่ปรากฏอยู่ในโรงภาพยนตร์จะเหมือนกับที่อยู่ในสตูดิโอถ่ายทำ นอกจากนี้ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นจะถูกนำออกฉายกี่รอบ และกี่วันก็ตาม จนกระทั่งวันสุดท้าย คุณภาพของภาพจะไม่เปลี่ยน

ไม่เหมือนกับฟิล์ม พอฉายไปเรื่อย ๆ ก็จะมีเกิดเส้น หรือ เพราะฟิล์มจะมีการสึกกร่อนไปเรื่อย ๆ ภาพที่ฉายวันแรกกับวันสุดท้ายที่ออกจากโรงจะไม่เหมือนกัน

         อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครื่องฉายระบบดิจิตอล ที่จะทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับอรรถรสของคำว่า ดิจิตอลเธียเตอร์ ที่เป็นทั้งเสียงและภาพ แต่ก็ยังไม่เห็นถึงความแตกต่างมากนัก อาจจะเป็นเพราะสไตล์ของภาพยนตร์ และเป็นปกติของอุปกรณ์ไอทีที่เป็นรุ่นแรก ๆ ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อเนื่อง

ส่วนอันนี้เป็นระบบ DOLBY 3D DIGITAL ครับ

• Dolby 3D Digital เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโลกภาพยนตร์ พัฒนาโดยบริษัท Dolby Laboratory ที่ใช้เทคนิคการแบ่งความยาวคลื่นแสงออกเป็นแถบความถี่ และใช้กระจกเคลือบสารพิเศษ 50 Layers เพื่อให้แสงเฉพาะความยาวคลื่นที่กำหนดเท่านั้นที่ผ่านได้ กระจกสำหรับตาซ้ายและตาขวาจะอนุญาตให้แสงที่ความยาวคลื่นแตกต่างกันผ่าน ทำให้ตาขวาและตาซ้ายเห็นภาพแตกต่างกัน และเกิด Effect เห็นเป็น 3 มิติ ที่คมชัดและสมจริงกว่าระบบใด ๆ

• ผู้ชมภาพยนตร์ในระบบ Dolby 3D digital นี้ จะใส่แว่นตาพิเศษที่เมื่อสวมแว่นตาพิเศษนี้ ตาซ้ายจะไม่เห็นแสง (ภาพ) ของตาขวา และตาขวาก็จะไม่เห็นแสง (ภาพ) ของตาซ้าย ทำให้ตาซ้ายขวาเห็นต่างกันเกิดเป็นภาพ 3 มิติ นอกจากนี้แว่น 3 มิติที่สวมใส่ยังมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ทนทาน ใส่สบายและไม่เจ็บ ทำให้ไม่รบกวนอารมณ์ในการชมภาพยนตร์

• การฉายภาพยนตร์ 3 มิติในระบบดิจิตอลเหนือกว่าระบบฟิล์มโดยจะให้คุณภาพของภาพ เสียง และสีที่คมชัดลึกตลอด ด้วยการให้สีที่มากกว่าระบบฟิล์มภาพยนตร์ถึง 8 เท่า รวมทั้งไม่เสียความชัดสว่างของภาพในระหว่างการทำงานที่แลป และไม่เกิดภาพรอยขีดข่วนใดๆตลอดในทุกรอบฉาย ซึ่งแตกต่างจากภาพยนตร์ที่ฉายฟิล์มอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้การชมภาพยนตร์ 3 มิติในระบบ Digital ได้รับความบันเทิงที่สมจริงกว่าในระบบอื่นๆที่เคยมีมา

• เทคโนโลยีการฉายภาพยนตร์ด้วยระบบ Dolby 3D Digital จะได้ภาพ 3 มิติ ความละเอียดสูงถึง 2K (2048 x 1080) x 3 chip   แสดงผลสีได้สูงถึง 45,000,000 สี (15 bit x 3 สี)   คุณภาพดีสม่ำเสมอทุกรอบการฉาย ไม่มีการสูญเสียข้อมูล หรือเทียบเท่า DVD ถึง 32 แผ่น เสียงระบบ 5.1 ที่คมชัด และไม่มีการบีบอัดข้อมูล ไม่มีปัญหาภาพสั่นหรือภาพกระตุก  ทำให้เวลาชมภาพยนตร์แล้วไม่เกิดการล้าของสายตาในทุกตำแหน่งของที่นั่งในโรงภาพยนตร์

ต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ

         แม้ระบบดิจิตอลจะมีข้อดีในตัวของมันเอง แต่เนื่องจากระบบนี้ ยังต้องพัฒนาอีกมาก จนกว่าคุณภาพนั้นเหมือนกับการฉายด้วยฟิล์ม (อย่าลืมนะครับ ฟิล์มได้คิดค้นและใช้งานมากว่า 100 ปีแล้ว) อาจจะไม่ใช่ในเร็ว ๆ นี้ อย่างน้อยก็หลายปีครับ กว่าจะถึงตรงนั้น จขกท. อายุมากขึ้นแล้วก็เป็นได้

         ที่มองข้ามไปไม่ได้ นั่นคือ ราคาของเครื่องฉายตัวนี้ หลักล้านนะครับ ทั้งยังต้องมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอีก ทั้งคอมพิวเตอร์ และตัว Storage สำหรับเก็บไฟล์ภาพยนตร์ ราคาก็ไม่ใช่น้อย ส่วนราคาเครื่องฉายภาพยนตร์ที่เป็นระบบฟิล์มซึ่งนำเข้าโดยบริษัทเดียวกัน ราคาอยู่ที่หลักแสน (เมื่อก่อนราคาเป็นหลักล้านเหมือนกันเพราะมาเป็นชุดใหญ่ แต่ว่าตอนนี้ได้สั่งอุปกรณ์และมาประกอบเอง โดยช่างผู้ชำนาญ ราคาก็เลยถูกลง)

         และต้องไม่ลืมว่า ระบบการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในต่างจังหวัด ยังเป็นระบบสายหนังอยู่ ซึ่งมีมานานแล้ว โดยผ่านโรงภาพยนตร์และหนังกลางแปลงอีก (แม้ว่าหนังกลางแปลงจะช่วยทำรายได้บ้างแต่ไม่มาก แถมยังจะทำเป็นไม่ให้ความสำคัญอีก สายหนังจึงมุ่งหารายได้จากโรงเป็นหลัก) ดังนั้น ระบบฟิล์มจึงยังให้ความสำคัญอยู่ เพราะยังมีฝ่ายจัดจำหน่ายฟิล์มถ่ายภาพยนตร์อย่าง KODAK และ FUJI รวมทั้งแล็บล้าง-พิมพ์ฟิล์ม และบันทึกเสียง ไม่ว่าจะเป็น กันตนา , สยามพัฒนาฟิล์ม และที่ เทคนิคคัลเลอร์ เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในและต่างประเทศ เพราะฉะนั้นฟิล์มภาพยนตร์ยังคงอยู่อีกนาน

         ปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งระบบดิจิตอลมีสิทธิ์ที่จะถูกเจาะระบบป้องกันได้ง่ายกว่าระบบฟิล์มอีกนะครับ

ระบบฟิล์ม แม้จะมีทั้งข้อดี รวมไปถึงข้อด้อยอันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของมัน แต่ลักษณะการเสื่อมสภาพของฟิล์มก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ระบบดิจิตอลไม่มี

สรุป...ทั้ง 2 ระบบ ก็มีดีคนละแบบครับ

(หมายเหตุ : ข้อมูลทั้งหมด และภาพประกอบ นำมาปรับเปลี่ยนจาก www.thaicine.com โดยเฉพาะรูปภาพเครื่องฉายนั้นเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับที่ใช้งานในปัจจุบันครับ)

gbnaja:
ในระบบดิจิตอลต้องใช้การดูแลรักษาค่อนข้างมากครับ เครื่องฟิลม์จะเกี่ยวข้องกับ mechanic ซะส่วนใหญ่ พอมาเป็น Digital นั้นก็มีส่วนของไฟฟ้าและระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมกันมากขึ้น
มุมมองว่าอันไหนดีกว่ากัน ก็แล้วแต่คนครับ ขึ้นอยู่กับความชอบ
อย่างไรก็ตาม การจะเจาะเข้าระบบไปจิ๊กหนังมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆครับ

ickilas:
ขออนุญาตแก้ข้อมูลนิดครับ  THX  ไม่ใช่ระบบเสียงครับ   แต่เป็นมาตรฐานโรงภาพยนตร์  ในเรื่อง ค่าอคูสติก เสียงสะท้อน  ตำแหน่งลำโพง มุมกระจายเสียง   อุณภูมิอากาศในโรง  เสียงรบกวนจากเครื่องฉาย   ความสูงของจอ องศาการมองภาพของผู้ชมในจุดต่างๆ  เป็นต้นครับ   ที่โรงหนังจะต้องให้ได้ตรงกับที่ผู้สร้างอยากให้ผู้ชมรับ   

Hello Music:
 :yoyocici07:ตามนั้นเลยครับ :yoyocici07:

V 12:
ผมใด้ใบนี้มาใช้ใด้ใหม

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version