ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม > ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์

โครงการ "กลางแปลง มิตร ชัยบัญชา" ฉาย 7 เรื่อง ทั่วประเทศ เร็วๆ นี้

<< < (2/25) > >>

ฉัตรชัยฟิล์มshop:
           วิกครูทวี เป็น โรงภาพยนตร์เก่า ของเมืองโพธาราม เริ่มจาก ครูทวี หรือ ทวี แอคะรัต เป็นครูแต่ชอบการถ่ายภาพในยุคสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาได้สนใจด้านภาพยนตร์ สามารถถ่ายภาพยนตร์ 16 มม.ได้ จึงเริ่มการถ่ายภาพยนตร์ยุค 16 มม. ต่อมา ได้สร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว โดยเริ่มแรก เป็นเพียงใช้ห้องแถวไม้ราว 10-15 ห้อง นำผนังกั้นห้องออกกลายเป็นห้องยาวๆ 1ห้อง ตั้งจอไว้ที่ทิสเหนือ เก้าอี้ไม้ยาว ประตูบานเฟี้ยม

           ถ้าไม่ได้ฉายหนัง ก็ใช้เป็นที่เล่น ละครร้อง หรือ ลิเก คงเป็นรูปแบบนี้มาหลายสิบปี กระทั้งต่อมาได้สร้างเป็นอาคารถาวร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

           ในตอนแรก ไม่มีผู้จำ พ.ศ.แน่น่อนได้ ว่าสร้างเป็นอาคารถาวรขึ้นเมื่อไหร่ กระทั่งทาง ชมรม อย่าลืม...โพธาราม ไปพบรอยเขียนอยู่บนคานเหนือระเบียงชั้น2 ว่า ธันวาคม 2501 นั้นแสดงว่า อาคารนี้ สร้างขึ้นแทนห้องแถวไม้เก้าในปี พ.ศ.2501บุคคลสำคัญต่อมาคือ ลูกชายของครูทวีชื่อว่า ธีระ แอคะรัต เป็นผู้นิยมชมชอบการถ่ายรูป และถ่ายหนังเช่นเดียวกับพ่อ จนกระทั่งกลายเป็นตากล้องถ่ายหนังหลายเรื่อง และโด่งดัง ทั้งสร้างชื่อเสียงให้กับคุณธีระมากที่สุดคือ "เห่าดง" และ "มนต์รักลูกทุ่ง"

           วิกครูทวี สืบกิจการต่อมา กระทั่งยุคสุดท้าย ค่าตั๋วเข้าชมชั้นล่าง 7 บาท ชั้นบน 15 บาท ก็ไม่สามารถต่อสู้กับกระแสโลกที่เปลี่ยนไปได้ จึงถูกปิดตัวลงอย่างเด้ดขาด  เมื่อ เดือนกรกฏาคม 2541 ซึ่งเดิมก็ไม่มีใครรู้ช่วงเวลาที่ปิดแน่นอน แต่เมื่อเราเปิดประตูห้องฉายหนังเข้าไป เมื่อเดือนมีนาคม 2553 อุปกรณ์ฉายหนังทุกอย่างยังอยู่ครบ เหมือนดังกับคนฉายหนังเดินออกจากห้อง แล้วปิดกุญแจโดยไม่ได้เก็บสิ่งใดไปด้วย เพราะฟิล์มหนังก็ยังคงอยู่ที่เครื่องฉาย ปฏิทินก็ถูกฉีกออก คาอยู่ที่เดือนกรกฎาคม 2541 นั้นหมายถึง ช่วงเวลาที่ห้องฉายหนังถูกปิดอย่างถาวร

วิก มาจากคำว่า Week

           ข้อมูลจากหนังสือ เลาะวัง ของ จุลลดา ภักดีภูมินทร์​เขียนประวัติของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ว่า "…เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) นั้น …เป็นคนโปรดในรัชกาลที่4 และรัชกาลที่5 … เป็นคนแรกที่คิดตั้งโรงละคร เล่นละครเก็บเงินคนดู ละครในสมัยนั้นก็คือ ละครนอก ว่ากันว่าเรื่องที่ชอบเล่นคือ ดาหลัง หรือ อิเหนาใหญ่ แต่ต่อมาเล่นทั้ลละครนอก ละครใน ทว่าดัดแปลงท่ารำให้ยักเยื้องต่างไปจากแบบหลวง …โรงละครของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง แต่แรกก็เป็นเพียงโรงกั้นรั้ว กำหนดเวลาเดือนหงายถึงจะเล่น เดือนเพียงละสัปดาห์เดียว ก่อนหน้านี้ยังไม่บัญญัติศัพท์คำว่า "สัปดาห์" จึงเรียกว่า "วิก" ต่อมาเล่นเดือนละ 2 วิก ละคร "วิก" ของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ทำให้ละครอื่นตลอดจนลิเกพากันเอาอย่าง  โดยเล่นมีกำหนดเวลา และเก็บเงินแบบเดียวกัน เป็นเหตุให้คำว่า "วิก" แพร่หลาย กลายเป็นละครวิกวั้น ลิเกวิกนี้ ความหมายของ "วิก" จึงเลือนไป ไปหมายถึงโรงนั้นโรงนี้ …สมัยหนึ่งหมายถึงเฉพาะ ลิเก…"

ฉัตรชัยฟิล์มshop:
วิก ครูทวี คือโรงหนังคอนกรีตสองชั้นอายุเก่าแก่ งดงามด้วยปูนปั้นประดับอาคาร และซุ้มโค้งอาร์กหน้าต่างด้านบน
ถึงวันนี้จะปิดร้าง แต่กำลังได้รับการฟื้นฟูจากผู้คนในชุมชนโพธาราม ภายในคลาสสิกด้วยม้านั่งไม้เหยียดยาว และจอภาพยนตร์ที่ยังสมบูรณ์
ถือเป็นอาคารที่เปี่ยมค่าหลังหนึ่งในดินแดนภาคตะวันตก  ครื่องฉายหนัง เห็นมีอยู่ 2 เครื่อง


คงจะสลับฉาย เมื่อตอนหนังหมดม้วน

ฉัตรชัยฟิล์มshop:
สภาพของเครื่องฉาย ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้นานเกือบยี่สิบปี

ฉัตรชัยฟิล์มshop:
 :yoyocici04: :yoyocici04:

ฉัตรชัยฟิล์มshop:
ที่เห็น  "ห้ามเข้า"   นี่เป็นประตูทางเข้าห้องพากย์ กลับมาที่ห้องพากย์ ตอนเดินเข้าไปก็ไม่ทราบว่าเป็นห้องอะไร
จนกระทั่งเห็นข้อความบนผนังห้อง ในห้องพากย์ จะมีช่อง มองออกไปที่จอด้วยคนโพธารามบอกว่า  หนึ่งในนักพากย์ของวิกครูทวี คือ คุณพ่อของคุณปู กนกวรรณ บุรานนท์  ภรรยา คุณเด๋อ ดอกสะเดา ปัจจุบันเสียชิวิตแล้วครับ

ผู้รู้เล่าให้ฟังว่า  นักพากย์ จะเป็นงานที่เหนื่อยมาก เพราะในห้อง ต้องปิดประตู หน้าต่าง เพื่อไม่ให้เสียงจากภายนอกเข้าไป  พัดลมก็เปิดไม่ได้  ในห้องพากย์น่าจะร้อนอบอ้าวพอประมาณเลย

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version