เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว

รวมพลคนเล่น Projector / Digital Cinema => การฉายภาพเคลื่อนไหวในระบบ Digital => ข้อความที่เริ่มโดย: นายเค ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2014, 19:26:52

หัวข้อ: หลักการทำงานของเครื่องฉายภาพ ระบบ DLP ( Digital Light Processing )
เริ่มหัวข้อโดย: นายเค ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2014, 19:26:52
กำเนิด ของเครื่องฉาย DLP

    ผู้คิดค้นก็คือ Dr. Larry Hornbeck จากบริษัท Texas Instruments ในอเมริกา เมื่อปี 1987 ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่นานมานี้เอง และเริ่มผลิตเป็นเครื่องฉาย เป็นจริงเป็นจัง เมื่อประมาณปี 1990 นี่เอง ซึ่งปัจจุบัน (2002) บริษัท เทกซัส อินสตรูเม้นส์  ก็ยังไม่ได้ขายลิขสิทธิ์ ให้ใคร ผลิต ชิพ DMD ขนาดต่างๆ ให้กับบริษัท ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ ทั่วไป

    หัวใจของเครื่องฉายระบบ DLP นี่ก็คือ ตัวกำเนิดภาพ ที่เรียกว่า DMD DMD มาจากคำว่า Digital Micro-Mirror Device

(http://image.ohozaa.com/i/580/4DlSsw.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xnEwRIddifpeOAGm)

    DMD SHIP (DIGITAL MICRO MIRRORS DEVICE) ซึ่งเป็นแนววงจรขนาดเล็กประกอบด้วย แผ่นกระจกสะท้อน แสงขนาดจิ๋วจำนวนมากโดยแต่ละชิ้นของกระจกขนาดจิ๋ว จะแทนจุดแสงในแต่ละ PIXEL ถ้ารายละเอียดขนาด XGA จะมีแผ่นกระจก ตามแนวนอน 1024 ชิ้น ตามแนวตั้ง 768 ชิ้น กระกแต่ละชิ้นจะถูกวงจรไฟฟ้าควบคุมให้เอียงไปมา เพื่อสะท้อนแสงได้ที่มุม +/- 10 องศา เพื่อหันเหแสงไปที่จอภาพ หรือให้ตกระทบในตัวเครื่อง การทำงานของกระจกจิ๋วนี้เทียบได้กับหลักการทำงานของดิจิตอล คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าเปรีบได้กับสภาวะ "ON" กระจกจิ๋วของ PIXEL นั้นๆ จะเอียงเพื่อรับแสง และสะท้อนแสงไปตก กระทบจอภาพผ่านเลนส์ แต่ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า เปรียบได้สภาวะ "OFF" กระจกจิ๋วจะหันคืนกลับมาในอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งจะสะท้อนแสงที่ไม่ต้องการ ไปตกกระทบกับผิวของวัสดุดูดซึมแสง (ABSORBER) ภายในเครื่องก่อให้เกิดส่วนมืดทจอภาพของตำแหน่ง PIXEL นั้นๆ

(http://image.ohozaa.com/i/5f1/qqM2qt.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/xnEwPAl7AzqBnpOE)

    การเกิดภาพใน ระบบ DLP นั้น ใช้หลักการที่แสงจะวิ่งผ่าน แผ่นจานแม่ส (COLOR WHEEL) และแสงที่ผ่าน จานแม่สี (แดง , เขียว , น้ำเงิน) แต่ละสีจะวิ่งผ่านไปที่กระจกจิ๋วในแผ่น DMD โดยถ้ากระแสไฟฟ้าที่กระจกจิ๋วก็จะสะท้อนแสงแม่สีไฟที่จอภาพ เพื่อผสมสีให้เกิดภาพ จะมีวงจรควบคุมให้แผ่นจานสี (COLOR WHEEL) หมุนได้จังหวะกับ การพลิกเอียงมุมของกระจกจิ๋วในแผ่น DMD

    ข้อได้เปรียบของ DLP อีกจุดหนึ่งก็คือ รอยต่อของ Pixel (จุดภาพ มาจากคำว่า Picture Element ) แคบกว่า LCD เนื่องมามาจากเทคโนโลยี ของตัว DMD เอง ดังนั้น เมื่อนำภาพมาเทียบกับ บนชิพขนาดเดียวกัน ภาพของ DLP Projectors จะเนียนกว่า

ข้อเสีย DLP

- DLP ทราบกันดีก็คือ สีจะไม่สดใส เหมือน LCD โดยเฉพาะสีเหลือง ของ DLP จะไม่เหลือง อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าบางค่ายจะเติมสีขาว ในวง ล้อสี (Color wheel) ก็ตาม เนื่องมาจากกระบวน แบบ DMD ชิพเดียว ไม่สามารถ ปรับแต่งสีได้อย่างอิสระ แต่ในเชิงธุรกิจก็ไม่ถือเป็นข้อด้อยมาก
หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของเครื่องฉายภาพ ระบบ DLP ( Digital Light Processing )
เริ่มหัวข้อโดย: gbnaja ที่ 23 กรกฎาคม 2014, 20:50:15
อันนี้เป็นแบบ Single-chip DMD ครับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ color-wheel เข้ามาช่วย
ยังมีแบบ 3-chips DMD ครับ ไม่จำเป็นต้องใช้ color-wheel แล้ว ส่วนปัญหาแสงสีเหลืองนั้นถูกแก้ไขโดยการเพิ่มกระจกชนิดหนึ่ง ที่เพิ่มแสงสีเหลืองเข้าไปในแสงครับ
หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของเครื่องฉายภาพ ระบบ DLP ( Digital Light Processing )
เริ่มหัวข้อโดย: rocket man ที่ 24 กรกฎาคม 2014, 08:11:10
อันนี้เป็นแบบ Single-chip DMD ครับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ color-wheel เข้ามาช่วย
ยังมีแบบ 3-chips DMD ครับ ไม่จำเป็นต้องใช้ color-wheel แล้ว ส่วนปัญหาแสงสีเหลืองนั้นถูกแก้ไขโดยการเพิ่มกระจกชนิดหนึ่ง ที่เพิ่มแสงสีเหลืองเข้าไปในแสงครับ
ขอบคุณมากครับผม สำหรับความรู้ดีๆที่เอามาฝากกัน ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว
ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะแนะนำเพื่อนสมาชิกก็ยินดีนะครับผม....
หัวข้อ: Re: หลักการทำงานของเครื่องฉายภาพ ระบบ DLP ( Digital Light Processing )
เริ่มหัวข้อโดย: Hisokaza ที่ 07 กรกฎาคม 2015, 16:43:46
บอกข้อมูลดีมากครับ