เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว

ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม => ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 29 กรกฎาคม 2013, 20:31:40

หัวข้อ: บทที่ 181 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย 2 เมษา..วันอนุรักษ์มรดกไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ฉัตรชัยฟิล์มshop ที่ 29 กรกฎาคม 2013, 20:31:40
(http://image.ohozaa.com/i/5e6/Q3OmzE.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsHsecps12txVAuV)

บทที่ 181
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย
2 เมษา..วันอนุรักษ์มรดกไทย
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 27 พฤษภาคม 2556)

(http://image.ohozaa.com/i/4d5/zNgfdq.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsHtAdn5dHQxUZji)
หนังอนุรักษ์มรดกไทย

              2 เมษายน.. ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ รัฐบาลจึงกำหนดให้ 2 เมษายน เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" มาตั้งแต่ปี 2528 ส่วนคำว่า "มรดกไทย” นั้นหมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา...

ส่วนวัตถุประสงค์ของวันอนุรักษ์มรดกไทย มีดังนี้

1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
2. เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี
3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถานโบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น
4. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
5. เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง
6. เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไป

              สำหรับผมแล้ว แม้ว่า “ภาพยนตร์” จะยังมิได้ถูกระบุไว้โดยตรงในคำนิยามของคำว่า “มรดกไทย” แต่ภาพยนตร์หรือหนังที่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ ก็ได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว ข้อสำคัญคนไทยเรายังได้นำภาพยนตร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในแขนงต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก เช่น วัฒนธรรมการดูหนังกลางแปลง การค้าขายเมื่อมีหนังมาฉาย ศิลปะการพากย์หนัง การวาดภาพใบปิดหรือคัดเอ๊าท์โฆษณาหนัง ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้ ได้ฝังรากลึกมายาวนานไม่แพ้ศิลปวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ

              กระทั่งทำให้ภาพยนตร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยไปโดยปริยาย..นอกจากนี้ ภาพยนตร์ยังเป็นสิ่งที่บอกเล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอดีตทั้งในด้านสถานที่ วัตถุ ตัวบุคคลหรือข่าวสารต่าง ๆ ได้เหมือนจริงเพราะเพียงแต่ฉายภาพยนตร์ขึ้นสู่จอหนังเท่านั้น อดีตต่าง ๆ ที่ภาพยนตร์ได้บันทึกไว้ ก็จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นอีกครั้งเสมือนหนึ่งเราได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ

              เพราะภาพยนตร์มิได้ถูกกำหนดให้เป็น “มรดกไทย” ทั้ง ๆ ที่มีภาพยนตร์ไทยออกฉายมาจนถึงทุกวันนี้มากกว่า 6 พันเรื่องแล้ว.. มีดารา นักแสดง ผู้สร้าง ผู้กำกับ นักพากย์และบุคคลอื่นเกี่ยวข้องอยู่อีกนับไม่ถ้วน.. แต่ทำไม ทุกวันนี้ ประวัติศาสตร์หนังไทยก็ถูกลืม..ผมใช้คำว่า “ก็ถูกลืม” เลยนะครับ.. เพราะมานั่งคิด ๆ นั่งมอง ๆ ดู ก็ไม่เคยเห็นใครที่ไหนจะมาสนใจเกี่ยวกับอดีตของหนังไทยอย่างจริงจัง..  ที่ทำเป็นธุรกิจ ก็เป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง หมดกระแส ก็หมดแรงไปด้วย.. ส่วนที่ทำเป็นงานประจำ ก็ดูเหมือนจะยังไม่คิดว่า นั่นเป็นงานประจำ..

              กลับปล่อยปละให้ประวัติศาสตร์หนังไทยถูกลืมไปเรื่อย ๆ เชื่อหรือเปล่าว่าทุกวันนี้ ลองถามไถ่คนอายุจะ 30 ปีแล้ว บางคนก็ไม่รู้จักและไม่สนใจหนังไทยเลยก็มี..ถามว่า แบบนี้จะโทษใครกัน..ผมว่า ก็ต้องโทษ “หนังไทย” ที่เกิดมาเป็น “หนังไทย” นั่นแหละครับ..เพราะถ้าไม่หนังไทย พวกเขาก็รู้จักกันดี เก่าหรือใหม่ ก็รู้จักไปหมด เที่ยวไปเสาะแสวงหามานั่งดูมานั่งชมกันอย่างภูมิใจ..  แต่หนังไทยที่เป็นรากเง้าของวัฒนธรรมไทย ก็กลับถูกหมางเมิน...ถูกทอดทิ้งอย่างหนังไร้ญาติ.. ผมเองก็ไม่ได้ต้องการให้คนไทยทุกคน ถึงขนาดต้องพูดว่า รักหนังไทยจ๋าๆๆๆ..ขนาดนั้น แต่ขอเพียงเฉลี่ยสัดส่วนหรือแบ่งพื้นที่ในหัวใจสักนิด ให้ความเป็นหนังไทยบ้าง...

              จริงอยู่ หนังไทยก็ไม่ได้ดีทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายเสียจนหมด หากรู้จักเลือกดู เลือกศึกษา..เพียงแต่ว่า วันนี้ กลไกหรือระบบของการปลูกฝังประวัติศาสตร์หนังไทยของบ้านเมืองเรา ยังไม่ได้เดินเครื่องกันอย่างจริงจังเท่านั้นเอง.. ใจจริงผมก็ยังเชื่อว่า เรื่องราวอดีตของหนังไทยตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ นั้น ยังมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ น่าศึกษาไม่น้อยไปกว่าศิลปวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ เพียงแต่ยังไม่มีหัวหอกในการนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้อย่างจริงจังและจริงใจเท่านั้นเองครับ...ถ้าเราก้าวผ่านก้าวพ้นจุดนี้ไปได้จริง ๆ ผมรับรองวันนั้น “หนังไทย” ก็คงจะถูกเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่า เป็นมรดกของไทย เช่นกัน...

วันนี้ ผมก็เลยนำมรดกไทยแขนงต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในหนังไทยหลาย ๆ เรื่อง มาให้ดูกันครับ...หนังอนุรักษ์มรดกไทย




คลิ๊กดูที่นี่...
หนังอนุรักษ์มรดกไทย
http://youtu.be/u634z4uOEVc
 

http://www.youtube.com/watch?v=u634z4uOEVc

.........................................