กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
11
        叛逆 1973 ไอ้หนุ่มบูชารัก The Generation Gap ผมจะไม่กล่าวถึง ป๋าเดวิด เจียงนะครับ เพราะ ป๋าเค้าโด่งดังอยู่แล้ว แต่จะกล่าวถึง สาวน้อยฟันเก เฉินเหม่ยหลิง 陈美龄 Agnes Chan กับความโด่งดังของเธอในเมืองไทย..

The Generation Gap 1973
แอ๊กเนสชาน ยอดรัก (ไอ้หนุ่มบูชารัก)
Director : Chang Cheh
Screenwriter : Ni Kuang, Chang Cheh
Cast : David Chiang Da-Wei , Ti Lung , Agnes Chan Mei-Ling

        ยุค 1970 เธอเป็นนักร้องแนวโฟลค์ซองจากฮ่องกง ที่มีแฟน ๆ ชาวไทยชื่นชอบมาก  แต่ผมขอบอกก่อนว่า ยุคแรก ๆ เธอแทบจะไม่มีเพลงเป็นของตนเองเลย เพลงที่เธอนำมาร้อง เช่น Nobody's Child  Circle Game  It Never Rains In Southern California  Devoted To You ล้วนแต่เป็นการ Cover เพลงจากศิลปินดังมาร้องใหม่  ยกเว้น You are 21 I'm 16 เธอเป็นแรงบันดาลใจให้ สาว ๆ ในยุคนั้น อยากหยิบจับกีตาร์ มาหัดเล่น ร้องเพลงให้ได้แบบเธอบ้าง มีพี่สาวอีกคนในวงการ ดูเหมือนจะชื่อ ไอรีน ? แต่ผมหารายละเอียดไม่ได้


        หน้าตาเธอน่ารัก หนุ่ม ๆ ไทยยุคนั้นปลื้มไม่น้อย แถมยังเรียนหนังสือเก่งมาก ด้วย คะแนนการเรียนเธอระดับท๊อป  ขนาด IS Song Hits ของคุณเล็ก วงศ์สว่าง ยังเคยพิมพ์รูปโปสเตอร์จำหน่ายมาแล้ว

        เธอเคยมาเปิดการแสดงคอนเสริท์ที่เมืองไทย ที่โรงหนังรามา ถนนพระราม 4  ผมก็อยากไปดู แต่ขนาดไปแต่ไก่โห่ ตั๋วก็หมดในพริบตา  ผมเลยเดินเซ็งกลับบ้าน อดดู..  ตอนนั้นคุณ ดำรง พุฒตาล ทำหน้าที่พิธีกรบนเวที ไอ้หนุ่มบูชารัก ร่วมแสดงกับป๋าตี้หลง ป๋าเดวิดเจียง  ส่วนจะมีเรื่องอื่นหรือเปล่าผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน


        ปัจจุบันเธออายุ 69 ปี แต่งงานกับคนญี่ปุ่น มีบุตรชาย 3 คน?  แต่ยังสวยสมวัย  ปัจจุบันผมยังเก็บรักษาแผ่นเสียงยุคแรกที่เธอร้องไว้อยู่เลยครับ
12

          ยอดภาพยนตร์อมตะ ที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลกกว่า 300 ล้านบาท เซอร์รันรัน ชอว์ สั่งก็อปปี้ใหม่เอี่ยม สีแสงเสียงสวยชัดเจน เป็นครั้งที่ 3, ผลงานเลิศพิภพจบฟ้าของ เฉินกัง (Cheng Kang) 程剛 แห่ง “เซียนเหยียบเซียน” (King Gambler) 賭王大騙局

          กลับมาใหม่อีกครั้ง สำหรับยอดภาพยนตร์อมตะเรื่อง “14 ยอดนางสิงห์ร้าย” (The 14 Amazons) 十四女英豪 ที่เคยทำสถิติรายได้สูงสุดในกรุงเทพฯ เมื่อ 5 ปีก่อน ถึง 2 ล้านบาท








          “14 ยอดนางสิงห์ร้าย” เป็นประวัติของ 14 คนในตระกูลหยาง ซึ่งผู้ชายของตระกูลนี้ ออกศึกสงครามกับพวกเวลท์เชีย อันเป็นศัตรูตัวร้ายกาจมาโดยมิได้ว่างเว้น จนที่สุดถูกฆ่าไปทีละคนๆ จนถึงคนสุดท้าย คือ หยางจงเป๋า (นำแสดงโดย จงหัว) ฝ่ายบ้านเมืองซึ่งมีขุนนางกังฉินชื่อ หวังซิน (นำแสดงโดย จิงเหมียว) ครองเมืองอยู่ในสมัยราชวงศ์ ซึ่งไม่ยอมส่งทหารออกรบข้าศึก ทำให้พี่น้องตระกูลหยางที่เหลือ สุดที่จะทนต่อไปได้ จึงได้สาบานร่วมกันว่า ถึงแม้จะเป็นหญิง ก็จะขอสู้ตายเพื่อพิทักษ์แผ่นดิน และแก้แค้นแทนหยางจงเป่า กับเหล่าชายที่ตายไปให้จงได้

ยอดหญิงทั้ง 14 คน ซึ่งนำกองทหารออกต่อสู้ล้างแค้นพวกเวทส์เซียในครั้งนั้น มีดังต่อไปนี้
1. ชีไท่จิน ย่าทวด (นำแสดงโดย ลิซ่า ลู่)
2. ย่าที่ 1 (นำแสดงโดย เฉินเอี้ยนเอี้ยน)
3. ย่าที่ 2 (นำแสดงโดย หลินจิ้ง)
4. ย่าที่ 3 (นำแสดงโดย เซี๊ยะผิง)
5. ย่าที่ 4 (นำแสดงโดย ติงเพ่ย)
6. ย่าที่ 5 (นำแสดงโดย หวังจินฟ่ง)
7. ย่าที่ 6 (นำแสดงโดย โอวหยังซาเฟ่ย)
8. ย่าที่ 7 (นำแสดงโดย จินเฟ่ย)
9. หยางป่าเม่ย น้องคนที่ 8 (นำแสดงโดย หลี่ชิง)
10. หยางจิวเม่ย น้องคนที่ 9 (นำแสดงโดย คาเรน ยิป)
11. มู่กุ้ยอิง ภริยาของ หยางจงเป่า (นำแสดงโดย หลิงปอ)
12. หยางชิวจู สาวใช้ (นำแสดงโดย วังผิง)
13. หยางชิวหลัน แม่ครัว (นำแสดงโดย หลิวอู่ฉี) และ
14. หยางไป่เฟ่ง สาวใช้ (นำแสดงโดย ซูเพ่ยเพ่ย)








          นอกจากยอดหญิง 14 คนในตระกูลหยาง ดังกล่าวแล้ว ก็มีลูกชายของหยางจงเป่า ซึ่งเป็นเหลนของชีไท่จินอีกคนหนึ่ง ชื่อ หยางเหวินกวาง (นำแสดงโดย ลี่ลี่โห) แม้จะถูกห้ามปรามไม่ให้ร่วมขบวนทัพไปด้วย เนื่องจากจะเก็บเอาไว้ให้เป็นผู้สืบตระกูล แต่หยางเหวินกวางก็หายอมไม่

          “14 ยอดนางสิงห์ร้าย” เป็นฝีมือกำกับการแสดงของเฉินกัง ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้ชมเป็นอันมาก โดยเฉพาะฉากการต่อตัวหญิงทั้งหมดเป็นสะพานข้ามหุบเหวอันลึกชัน เพื่อให้กองทัพทั้งขบวนเดินผ่านไปได้
ยูเนียนโอเดียน จะนำภาพยนตร์อมตะเรื่องนี้ ออกฉายเป็นโปรแกรมพิเศษต่อจาก “9 พยัคฆ์เจ้าพยายม” (Shaolin Temple) 少林寺 ซึ่งทำรายได้สูงสุดไปกว่า สองล้านบาทแล้ว


14 Amazons (1972 Shaw Brothers) original trailer


ตัวอย่างภาพยนตร์ The 14 AMAZONS 14 นางสิงห์ร้าย

=============================
*** "14 ยอดนางสิงห์ร้าย" ลงโปรแกรมฉายในเมืองไทย เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2520(1977)
***บทความตีพิมพ์ในนิตยสารโลกดารา ปีที่ 8 ฉบับที่ 173 มิถุนายน 2520(1977)
13
ถล่มไอ้เถรเหล็ก Judgement of an Assassin (1977)


        อาจารย์เก้ออิง (จิงเมี่ยว) เจ้าสำนักเทียนซานส่งเจ้าดำ ดาบไว เหอโม่เล่อ (เดวิด เจียง) (อาวุธคือดาบที่ซ่อนในกระบองครึ่งท่อน) ลูกศิษย์เอกตามติดพฤติกรรมสำนักร้อยพิษ สำนักอธรรมในยุทธภพ ว่ามีส่วนในคดีฆาตกรรมยกครัวหรือไม่ เขาแอบไปพบอี๋เป่า (กู้กวนจง) ที่เป็นผู้ต้องหาฆาตกรรมที่ถูกจับตัวได้ อี๋เป่าเป็นลูกศิษย์คนโตสำนักเซียนเสีย เขาถูกจับตอกไว้ในโลงตะปูยาว 100 ตัวในข้อหาฆ่าล้างตระกูล 23 ศพอย่างเหี้ยมโหด เพื่อส่งไปพิพากษาในงานชุมนุมพิพากษาชาวยุทธของหมู่บ้านฮัวของฮัวซื่อกูซึ่งเธอดันอนุญาตให้สำนักอธรรม ร้อยพิษเข้าร่วมประชุมได้ด้วย นี่คือปัญหาของเรื่องนี้

        เจ้าดำพบว่าแม่นางสือ (จิงลี่) คนสำนักเซียนเสียพบกับว่านอิงไท่ เจ้าสำนักแส้ทอง (อาวุธคือมีดสั้นติดแส้เหล็ก) จอมยุทธผู้มักใหญ่ใฝ่สูง ในร้านเหลา เขาเกิดต้องตาต้องใจในตัวเธอ จึงทำให้ต้องปะมือกับว่านอิงไท่ที่หึงหวง และแม่นางสือกลับสนใจว่านอิงไท่มากกว่า ผลการประลอง เจ้าดำเปิดตูดหนีไปก่อน

        สำนักร้อยพิษมีจั่วหลง (เหวยหวัง)เป็นเจ้าสำนัก มีเมียคือหมงจีจอมมารร้อยพิษ และถังอิงเป็นรองเจ้าสำนัก แต่ถังอิงลักลอบเป็นชู้กับหมงจี และขู่หมงจีว่าจะเปิดเผยความลับกับเจ้าสำนักร้อยพิษหากหมงจีไม่ยอมให้เขาจิ๊จ๊ะด้วย แต่ถังอิงผู้น่าสงสารอ่อนเชิงเธอยอมให้ก็จริงแต่เธอฆ่าเขาด้วยพิษกลายเป็นศพทิ้งไว้กลางป่า

    มีการประชุมสำนักเซียนเสีย และสำนักธรรมะอื่นๆ เกี่ยวกับหมู่บ้านฮัวจอมแสล๊นจับตัวอี๋เป่าศิษย์คนโตไว้รอพิพากษา ทำให้ท่านหลอหวินเจ้าสำนักเซียนเสียหนักใจมาก แม่นางสือ (จิงลี่) ศิษย์รักคิดอาสาจะไปสืบข่าวที่หมู่บ้านฮัว แม้มีคนห้ามก็ไม่ฟัง เจ้าดำมาที่สำนักพอดีจึงอาสาไปตามแม่นางสือไปที่หมู่บ้านฮัวเพราะเขาห่วงว่าเธอจะไปตายเสียเปล่าๆกลางทาง

   จนกระทั่งเจ้าดำตามทันแม่นางสือมาจนพบกับว่าเธอนัดเจอกับว่านอิงไท่ ทั้งคู่จึงเขม่นกันอีกครั้ง จนต้องปะทะกันอีกครั้งในศาลเจ้าร้างที่ชายลึกลับนั่งกรรมฐานอยู่ เมื่อว่านอิงไท่เห็นชายลึกลับจึงรีบผละจากไป ส่วนเจ้าดำดันไปแหย่ชายลึกลับเพราะนึกว่าเป็นพุทธรูป จนต้องปะมือกัน ก่อนที่อาจารย์เก่ออิงจะมาช่วยไว้ ชายลึกลับจึงหลบหนีไป

        ตาเฒ่าฉูหวัง (กุ๊ฟง) เคยมีอดีตกุ๊กกิ๊กกันกับฮัวซื่อกูแห่งหมู่บ้านคุณธรรมฮัวแต่ความดื้อรั้นของเธอ พูดคำเถียงคำ ทำให้เขาจากเธอไปปล่อยเธอเท้งเต้งเป็นโสดมาจนทุกวันนี้ ตาเฒ่าเดินทางมาอย่างรีบร้อนเพื่อเตือนเธอว่าอย่าไปบ้ายุ่งกับสำนักร้อยพิษเด็ดขาด เด้วจะโดนเขาหลอกเอา แถมจะเสียชื่อเสียงไม่เข้าเรื่องแต่เธอก็บอกตาเฒ่าว่า อย่า ส..แถมไล่ให้กลับบ้าน

    จั่วหลงกับอาจารย์ลุง(เฉินหุ้ยเหมี่ยน) (อาวุธคือธงสะบัดพิฆาต) ฉายา มัจจุราชเลือดซึ่งหลบเร้นแกล้งตายไปแล้วเกือบ 20 ปีเฝ้าซุ่มฝึกวิชาระฆังทองหนังทองแดงกระดูกเหล็ก โดยมันวางแผนทำลายหมู่บ้านฮัวในความแค้นเมื่อ 20 ปีก่อนที่ จอมยุทธธรรมะนำโดยฮัวซื่อกูแห่งหมู่บ้านฮัว หลอเหวิน สำนักเซียนเสีย เก่ออิงสำนักเทียนซานรุมฆ่ามันจนคิดว่าตายไปแล้ว แต่มันไม่ตายและหลบเร้นรอวันแก้แค้นมาจนทุกวันนี้  จั่วหลงหลอกฮัวซื่อกูและติดสินบนว่านอิงไท่ ว่าหากมันเป็นใหญ่จะให้ตำแหน่งรองเจ้ายุทธภพ

        เมื่อมัจจุราชเลือดมาพบกับจั่วหลง มันจึงสั่งให้จั่วหลงฆ่าเมียรักหมงจีทิ้งเพราะมันเห็นเธอทำชู้และฆ่าถังอิงในวัดร้างกลางป่าและพาไปดูศพถังอิงที่เหม็นเน่าอยู่กลางป่า จั่วหลงจนใจจึงต้องฆ่าเมียรักทิ้ง

        มัจจุราชมืดพบกับว่านอิงไท่ในระหว่างทางเกิดปะทะกัน แต่รามือต่อกัน ทำให้ว่านอิงไท่เริ่มคิดได้ว่าเจ้านี่คือจอมวายร้ายตนใดกัน มันเป็นพวกจั่วหลง มิใยจะฆ่าเราทิ้งแน่นอน คิดเช่นนั้นว่านอิงไท่จึงสองจิตสองใจที่จะร่วมงานกับจั่วหลงดีไหม หรือจะเปิดโปงสำนักร้อยพิษแทนเพราะเขาเคยถูกแม่นางสือคนที่เขาแอบสานสัมพันธ์เตือนมาก่อนแล้ว


        สำนักร้อยพิษจะเข้าหมู่บ้านฮัวเพื่อรอวันตัดสินความคดีฆาตกรรม แต่ตาเฒ่ายืนขวางประตูไม่ยอมให้เข้าหมู่บ้าน จั่วหลงปะทะกับตาเฒ่า แต่ฮัวซื่อกูออกมาตำหนิตาเฒ่าว่า ส..อย่ามายุ่ง! และเชิญคนสำนักร้อยพิษเข้าพักในจวน ตาเฒ่าเซ่อกิน

        เจ้าดำรับคำสั่งจากเก่ออิงมาส่งข่าวเรื่องมัจจุราชเลือด ว่าให้ฮัวซื่อกูระวังโดนต้ม แต่กลับถูกฮัวซื่อกูสั่งคนจับเจ้าดำ จนเจ้าดำหนีเข้าไปในห้องของแม่นางสือ

        ซึ่งรอว่านอิงไท่ซึ่งว่าจะมาในวันชุมนุมที่จะถึงนี้ แถมเธอกลับผิดใจกันกับว่านอิงไท่มาก่อนหน้า และเธอเริ่มจะชอบเจ้าดำเข้าให้แล้ว

        ว่านอิงไท่คิดหักหลังจั่วหลงในงานชุมนุมจริงๆ เพราะมีหลักฐานว่าอี๋เป่าฆาตกรฆ่า 23 ศพรับสินบนจากจั่วหลงเช่นกัน ระหว่างทางเขาจึงถูกมัจจุราชเลือดฆ่าทิ้งเพราะอยู่ไปก็ขวางหูขวางตา

        วันงานชุมนุมพิพากษาคดียุทธภพ อี๋เป่า (กู้กวนจง) ปรักปรำหลอหวิน เจ้าสำนักเซียนเสีย อาจารย์ตนเองว่าเป็นคนสั่งฆ่ายกครัวตระกูลใหญ่ จนเจ้าสำนักโดนสำนักต่างๆ โห่ร้องให้รับโทษทัณฑ์ จนเขาแค้นใจฆ่าตัวตายในงานชุมนุมนั้น แม่นางสือ เจ้าดำ อาจารย์เก่ออิง แค้นใจแต่พูดไม่ออกเพราะทั้งหมดต้องยอมรับผลการตัดสิน

        เมื่อเสร็จสิ้นการชุมนุม สำนักอื่นๆ กลับบ้านหมด สำนักเซียนเสียคาใจที่เจ้าสำนักตนเองตาย ส่งผลให้สองสำนักต่างเข้าห้ำหั่นกันในหมู่บ้านฮัว จนถึงขั้นมัจจุราชเลือดและสำนักร้อยพิษบุกเข้ายึดหมู่บ้านฮัว อี๋เป่าบอกความจริงกับแม่นางสือว่า ตนเองจะขึ้นเป็นมือขวาของจั่วหลงแล้วหากกำจัดทุกคนให้สิ้นซากในวันนี้

        มัจจุราชเลือดสะบัดธงฆ่าฮัวซื่อกู ส่วนตาเฒ่าใกล้ตายแต่ฆ่าจั่วหลงได้และร่ำลาฮัวซื่อกูเมียรักซึ่งหมดลมหายใจจนตายไปพร้อมกัน หมู่บ้านฮัวพังทลาย เมื่อแม่นางสือ เจ้าดำ และอาจารย์เก่ออิงประสานกันยังหาจุดอ่อนวิชาระฆังทองของมัจจุราชเลือดไม่ได้ สุดท้ายอาจารย์เก่ออิงคำนวณได้ ว่าอยู่กลางศีรษะ เจ้าดำจึงพิฆาตจอมวายร้ายได้

        งานของซุนจงที่มีคนชมว่าดีเลิศ กำกับบู๊โดยถังเจีย หวังเป้ยจื้อ งานโดดเด่น เขียนบทโดยเหง่ยคัง เนื้อหาในเรื่องมันแปล่งๆ ไม่สมเหตุสมผลหลายเรื่อง จงหัวชุดขาว มาดกินขาดทั้งหุ่นทั้งหน้าตา แต่ดันเป็นตัวร้ายที่เด่นกว่า เดวิดเจียงผมฟู่เซิงที่ดูเด๋อด๋าไม่สมวัย แถมคอสตูมก็ดำๆ เตี้ย เหมือนจะไปไม่รอดกับอาชีพจอเงินเพราะบทไม่ดีเอาเสียเลย ดูแล้วจงหัว โดดเด่น กว่า เดวิดเจียง มากมาย หนังดูสนุกดี ดูเพลิน


ตัวอย่าง

Judgement Of An Assassin (1977) Shaw Brothers **Official Trailer**




เพชฌฆาต เฮ่อหมอเล่อ (Swift Sword, Hei Mo Le) แสดงโดย เดวิดเจียง (David Chiang) อายุ 30 ปี


แส้ทอง ม่านอิ๋งไถ้ (Golden Whip, Man Ying Tai) แสดงโดย Chung Wah อายุ 33 ปี


แม่นางสือ (Miss Sek) แสดงโดย Ching Li อายุ 32 ปี


เสี่ยเหยียนหวัง (Bloody Devil) แสดงโดย Michael Chan อายุ 31 ปี


ประมุขจั๋วหลง (Chief Jau Loong) แสดงโดย Wai Wang อายุ 41 ปี


เม่นแก่ จาหวัง (Old Hedgehog, Cha Wang) แสดงโดย กุ๊ฟง (Ku Feng) อายุ 47 ปี



14

        เฉินโห้ว (Peter Chen Ho) 陳厚 (1931-1970) เจ้าของฉายา King of Comedy ยอดพระเอกชอว์ฯ ยุค 60'S เล่นได้ทุกบทบาท ตลก ดราม่า เต้นรำ แต่ไม่ค่อยจะมีผลงานหนังกำลังภายในและแอ๊คชั่นเท่าไหร่ ผลงานเช่น บุษบาเริงรัก, เลิฟพาเหรด, เศรษฐีนีเท้าไฟ, แผ่นดินเลือด, นกน้อยคะนองรัก, เพลงรักเรียกหา, ฮ่องกงพิศวาส, ศัตรูคู่ชื่น, บลูสกาย, สวรรค์ฮ่องกง, จอมโจรคู่สวาท, สูตรซุปเปอร์แมน, มหาเศรษฐีทีเด็ด, ลูกใครในห้องเรียน เป็นต้น

        เฉินโห้ว แต่งงานกับนางเอกเล่อตี้ มีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน แต่ด้วยนิสัยความเจ้าชู้สุดท้ายก็เลิกลากันไป และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในปี 1970 อายุ 39 ปี, เขาจัดเป็นดาราระดับพระเอก ในตำนานของฮ่องกงอีกท่านเลยทีเดียว
15

         เจิ้งเพ่ยเพ่ย นักแสดงหญิงระดับตำนาน ที่กลับมาโด่งดังจากภาพยนตร์ "Crouching Tiger, Hidden Dragon" (พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก) ของผู้กำกับ อัง ลี  ได้เสียชีวิตแล้วในวัย 78 ปี

โดยนักวิจารณ์ทั้งในตะวันตก และตะวันออกต่างยกย่องว่า เจิ้งเพ่ยเพ่ย ถือเป็นนักแสดงผู้บุกเบิกบทบาทของนักแสดงหญิงหนังในศิลปะการต่อสู้อย่างแท้จริง และหนังของเธอก็ยังถือว่าเป็นต้นกำเนิดของหนังกำลังภายในยุคใหม่ด้วย

         ข่าวระบุว่า เจิ้งเพ่ยเพ่ย เสียชีวิตที่ซานฟรานซิสโกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เธอป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมและได้บริจาคสมองเพื่อการวิจัยทางการแพทย์


         เจิ้งเพ่ยเพ่ย เกิดที่เซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 6 มกราคม 1946 และย้ายไปฮ่องกงในปี 1962 ตอนที่อายุได้ 16 ปี จนได้มีโอกาสเริ่มต้นรับงานแสดงที่นั่น

         ด้วยพื้นฐานการฝึกฝนบัลเล่ต์และการเรียนเต้นรำ รวมกับการที่เธอพูดภาษาจีนกลางได้อย่างเป็นธรรมชาติ เจิ้งเพ่ยเพ่ย ได้รับคำแนะนำให้กับสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ Shaw Brothers อันโด่งดังในยุคนั้น

         เจิ้งเพ่ยเพ่ย ไม่ได้โด่งดังในทันที ผลงานเปิดตัวของเธอจะเป็นภาพยนตร์ดราม่า "Lovers’ Rock" รวมถึงได้รับบทเป็น "พระเอก" ในหนังเรื่อง The Lotus Lamp หนังงิ้วแบบที่ใช้นักแสดงหญิงรับบทเป็นทั้งนางเอก และพระเอก ซึ่งเป็นที่นิยมในฮ่องกงยุคนั้น


         สุดท้าย เจิ้งเพ่ยเพ่ย มาโด่งดังสุดขีดจากภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้ ในบทจอมยุทธหญิงผู้เชี่ยวชาญการใช้ดาบหลัง จากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง "Come Drink With Me" (หงส์ทองคะนองศึก) ในปี 1966 ซึ่งกำกับโดย คิง ฮู

         หลังความสำเร็จของ หงส์ทองคะนองศึก เจิ้งเพ่ยเพ่ย แสดงหนังกำลังภายในอีกหลายเรื่อง จนกระทั่งแต่งงาน และย้ายไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนียในปี 1970 แต่ตลอดยุค 70,80,90 จนถึงปัจจุบัน ก็ยังกลับมารับงานแสดงที่ฮ่องกง หรือไต้หวันอยู่เป็นระยะ

         เจิ้งเพ่ยเพ่ย เลี้ยงดูลูกสี่คนที่อเมริกา และตัวของเธอเองก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์
16
         จากเรือนร่างที่สูงโปร่งได้ส่วนสัด ยิ้มที่อ่อนหวาน แสดงความบริสุทธิ์ใจอย่างแท้จริง เสียงเจรจาที่ระรื่นหู อารมณ์ที่เบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิจ และที่สำคัญคือความไม่ถือตัว จึงก่อให้เกิดเสน่ห์ และความประทับใจแก่ผู้พบเห็นโดยสมบูรณ์ ขณะนี้ไม่ว่าจะย่างกรายไปทิศทางไหน มักได้ยินผู้คนกล่าวขวัญถึง “ราชินีนักดาบ” เสมอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอนำ “เจิ้งเพ่ยเพ่ย” (แต้ ปวย ป๋วย) Cheng Pei-Pei 鄭佩佩 มาทำความรู้จักกับท่านผู้อ่าน "ดาราภาพ” ในฉบับนี้


         ชั้นเชิงดาบ และบุคลิกของ “ราชินีนักดาบ” ทำให้สองมือของเราอยู่ไม่นิ่ง ต้องยกขึ้นมาปรบเพื่อชมเชยในความสามารถของเธอ ใครจะรู้ว่าในอดีตที่เธอมีอายุเพียง 12 ปี หน้าที่อะไร ที่มารดาเธอทำได้ เธอก็สามารถทำให้เหมือนกัน เพราะบิดาของเธอละทิ้งหน้าที่ของพ่อบ้านไม่รับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น มารดาต้องดิ้นรนหาเงินมาเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว เธอจึงรับภาระทั้งหมดของมารดามาทำเสียเอง เวลาผ่านไป 4 ปีเต็ม บริษัทชอว์ บราเดอร์ เปิดรับสมัครตาราภาพยนตร์รุ่นใหม่

         ความไฝ่ฝันในขณะตื่นของมนุษย์ ย่อมมีอยู่ถ้วนทั่วทุกตัวตน แต่สำหรับ "เจิ้งเพ่ยเพ่ย” เธอใฝ่ฝันอยากเป็นดาราภาพยนตร์ จนก่อให้เกิดความทะเยอทะยาน มุ่งมั่นพยายามที่จะให้เป็นอย่างนั้นให้ได้ ความหวังของเธออยู่แค่เอื้อมแล้ว เมื่อเธอเข้ามาเป็นดาราในสังกัดของชอว์ บราเดอร์ เพียงแค่เสียเวลาฝึกอีกหน่อยเท่านั้น ก็จะเป็นจริงขึ้นมา

         ภาระกิจของเธอเพิ่มมากขึ้น เข้าขึ้นไปเรียนหนังสือตามปกติ (หมายถึงดูแลน้องชาย น้องสาว 2 คน ไปโรงเรียนเรียบร้อยก่อน) ตอนบ่ายเข้าโรงเรียนฝึกหัดของบริษัทฯ กลับถึงบ้านก็ทำงานต่อ มารดาของเธอเห็นเช่นนี้ก็สงสาร ส่วนน้าชายผู้ซึ่งมองอาชีพการแสดงเป็นอาชีพที่ไม่จีรังยั่งยืน ไม่เห็นน่าสรรเสริญตรงไหน ก็บอกให้เธอลาออกเสีย ซึ่งถ้าเป็นคำสั่งของมารดาแล้วละก้อ เธอคงไม่ต้องเสียเวลาคิด คงออกทันที เพราะเธอรัก และเคารพมารดามาก เมื่อมารดาไม่ขัดข้อง เธอก็ก้มหน้าก้มตาฝึกต่อไป

         8 เดือนให้หลัง เธอจบหลักสูตรนี้ ทางบริษัทฯ จัดงานฉลองรับขวัญดารารุ่นน้อง “ชายเลี้ยงแกะกับหญิงทอผ้า” เป็นละครบนเวที ที่เธอแสดงร่วมกับเจียงชิง บทบาทดีเกินคาด จนผู้กำกับหลายท่าน และสื่อมวลชนที่ร่วมอยู่ ณ ที่นั้น ต่างยอมรับในความสามารถของเธอ แสดงว่าดาวดวงเด่นภายใต้ชื่อ บริษัท ชอว์ บราเดอร์ เริ่มจรัสแสงขึ้นอีกดวงแล้ว

         เจิ้งเพ่ยเพ่ย มีนิสัยดีเลิศ เข้มแข็งเด็ดเดียว ขยันขันแข็ง อยู่โรงเรียนงานเล็กงานน้อยไม่เคยเกี่ยง ข้อความนี้ไม่ใช่เขียนขึ้นเพื่อยกย่องเธอ เพราะเป็นความจริงจากปากของผู้เป็นอาจารย์ของเธอมาถึงระยะเวลา 4 ปี นิสัยใจคอ และความประพฤติ อาจารย์ย่อมมองออก จึงไม่เป็นปัญหาเลยว่าจะไม่เป็นความจริง

         พูดถึงรสนิยมในการแต่งกายของเธอแล้ว เสื้อผ้าของเธอแต่ละชิ้น มารดาเป็นผู้สรรหามาให้ทั้งสิ้น เพราะเธอไม่มีเวลาหาเอง แล้วที่หามาแต่ละชุด เธอก็ใช้ได้เสมอ จะเห็นได้ว่าเธอเป็นคนแต่งกายง่ายมาก มักมีนักข่าวว่าเธอไม่ เหมือนดาราคนอื่น ว่างจากเข้ากล้องแล้ว เครื่องสำอางค์ที่ว่ามีอิทธิพลต่อสตรีมามากต่อมาก แต่กับเธอแล้ว ไม่มีความหมาย เพราะเธอไม่ชอบใช้เลย

         ด้วยเหตุที่เธอร่ำเรียนบัลเล่ย์ มาตั้งแต่อายุ 4 ขวบ รวมเวลาที่เธอเรียนวิชาแขนงนี้มานานถึง 5 ปีเต็ม แน่ละเธอย่อมแตกฉานในด้านนี้ ชอว์ บราเดอร์ จึงตกลงใจจะมอบให้เธอเป็นผู้ฝึกซ้อมระบำ ที่มีในภาพยนตร์เรื่อง “โคมวิเศษ” The Lotus Lamp 寶蓮燈 และ “เสน่ห์แม่ยั่วเมือง” The Last Woman of Shang 妲己 เรื่องแรกเธอร่วมแสดงด้วย จำแลงเรือนร่างอย่างสง่างาม ในวัยหนุ่มน้อย และตอนแก่ สร้างความเกรียวกราวขึ้นอีกครั้ง

         “ผาวิปโยค” Lover's Rock 情人石 เป็นเรื่องแรกที่เธอแสดงเป็นนางเอก เธอได้รับรางวัล “ดาวรุ่งพรุ่งนี้” หมายถึง ผู้ที่มีอนาคตการแสดงไกลที่สุด จากเรื่องนี้เพียงเรื่องแรกของเธอ ก็เป็นไปได้ถึงเพียงนี้ ก็พอจะเป็นหลักประกันได้ว่า เธอคงเดินอยู่บนเส้นทางนี้ไปอีกไกลแสนไกล กาลเวลาไม่เคยหยุดรอคอยสิ่งใด มันซื่อตรงอย่างไม่มีใดเหมือน เวลาเป็นสมบัติล้ำค่าที่พระเจ้าผู้สร้างมนุษย์ประทานมาให้ ผิดแต่ผู้ใดจะรู้จักใช้ ให้เกิดคุณค่าเพียงไหน เจิ้งเพ่ยเพ่ยไม่เคยปล่อยให้กาลเวลาผ่านไป อย่างไร้ประ โยชน์ เธอถือการศึกษาเป็นกรณียกิจประจำชีวิต เวลาว่างจากการถ่ายภาพยนตร์ เธอซ้อมบัลเล่ย์ เพลงดาบ หัดขี่ม้า แต่สิ่งหนึ่งที่เธอจะขาดไม่ได้คือ การเขียนบันทึกประจำวัน

         ส่วนทางบริษัทฯ นั้น ได้ส่งสายลับมาสืบดูว่า มีดาราคนไหนมาสาย ตรวจสอบดูปรากฏว่าเจิ้งเพ่ยเพ่ย คือ บุคคลที่มาตรงต่อเวลาที่สุด ไม่เคยปล่อยให้ผู้อื่นรอคอยเลย รางวัลที่ไม่เคยมีใครได้รับมาก่อนนี้ จึงตกเป็นของเธอ มีนักข่าวเข้าไปถามความเห็นเธอ

         เธอกล่าวว่า “อันที่จริงไม่น่าจะเดือดร้อน เพราะการรักษาเวลาให้ตรง เป็นสิ่งที่พวกเรานักแสดง ต้องคำนึงถึงก่อนสิ่งอื่นเสมอ จึงไม่เป็นของแปลก ที่ดิฉันมาตรงตามเวลา สำหรับดาราผู้อื่นเขาก็คงติดธุระ สุดวิสัย ไม่เช่นนั้นก็ต้องมาตามเวลาเสมอ ถึงอย่างไรก็ตาม ดิฉันก็ดีใจที่ได้รับรางวัลในวันนี้"

         เจิ้งเพ่ยเพ่ยย่อมไม่ลืม “หูจวิ้นฉวน” King Hu 胡金銓 ผู้กำกับมือเอกแห่ง “หงษ์ทองคะนองศึก" Come Drink with Me 大醉俠 ที่ทำให้เธอครองตำแหน่งราชินีนักดาบ เธอให้สัญญาว่า ถ้าหมดข้อผูกพันกับบริษัท ชอว์ฯ แล้วละก็ จะแสดงให้กับบริษัทฯ ของผู้กำกับผู้นี้ ข่าวคืบหน้าเราคงจะได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้

         ปี 1967 เธอกับ “หูอินหลี” เดินทางไปเรียนบัลเล่ย์กับดนตรี ที่ญี่ปุ่นเพิ่มเติม ด้วยทุนรอนของบริษัทฯ ซึ่งก็ตรงกับจุดมุ่งหมายของเธออยู่แล้ว ในอนาคตถ้าเธอออกจากจักรวาลบันเทิงแล้วละก้อ จะเปิดโรงเรียนสอนบัลเล่ย์ และพยายามถ่ายทอดบัลเล่ย์ ที่ร่ำเรียนมา สู่อนุชนรุ่นหลังอย่างไม่รู้โรย


Come Drink With Me Official Trailer

         เคยมีข่าวว่า เธอกับ "เยี๊ยะหัว" Yueh Hua 岳華 มีสัมพันธ์สวาทกันอย่างลึกซึ้ง เรื่องนี้เธอบอกว่า “ไม่จริงเราสองคนรักกันฉันพี่น้อง เพราะทัศนะที่ถูกคอกัน” ณ บัดนี้สิ่งที่มายืนยันคำพูดของเธอก็คือ เธอรับหมั้นกับนักเรียนนอก ซึ่งกำลังทำปริญญาเอกอยู่ที่สหรัฐ ฯ ในแขนง “คอมพิวเตอร์” ทั้งสองรู้จักกันเมื่อ 7 ปีก่อน ขณะที่ไปถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่อง “ผาวิปโยค” ที่ไต้หวัน แล้วเธอก็ให้ติดต่อกันเรื่อยมา

         สิ้นปีนี้ สัญญาที่เซ็นไว้กับ บริษัท ชอว์ บราเดอร์ ก็จะสิ้นสุดลง เธอตั้งใจจะออกทันที แต่ข่าวล่าสุดแจ้งมาว่า เธอทนคำอ้อนวอนของ รัน-รันชอว์ ไม่ได้ จำใจตกลงเซ็นต่ออีก 1 ปี พร้อมกับทางบริษัทฯ ก็อนุญาตให้เธอบินไปสหรัฐฯ เพื่อปรึกษาหารือกับคู่หมั้น โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ชอว์ฯ รับเหมา

         เจิ้งเพ่ยเพ่ย ชอบแสดงภาพยนตร์เพลง, ชีวิต มากกว่า ภาพยนตร์ประเภทกำลังภายใน แต่คนดูส่วนมากก็ชอบเธอในบท “นักดาบ” เธอตั้งความหวังไว้ว่า สัญญาที่เซ็นต่อไปนั้น ชอว์ บราเดอร์ คงหาภาพยนตร์ชีวิต เพลง มาให้เธอแสดง แต่ข้าพเจ้าคิดว่า เธอคงได้แต่คอย เพราะบัดนี้ตำแหน่ง “ราชินีนักดาบ” ตั้งขึ้นโดยสื่อมวลชนของฮ่องกงเมื่อวันที่ 15-21 มีนาคม เธอนำลิ่วมาด้วยคะแนนสูงถึง 44,636 รองลงมาก็คือ “ฉินผิง” ที่สามก็คือ "ซ่างกวนหลิงฟง” นางเอกจาก “ตะลุยแดนพยัคฆ์”

         เจิ้งเพ่ยเพ่ย จะยังเป็นคนของประชาชนต่อไปอีกนานแสนนาน ตราบใดที่เธอยังเดินอยู่บนเส้นทางสายนี้

=============================
***บทความโดย คุณ"กุลนิตย" ตีพิมพ์ในนิตยสาร "ดาราภาพ" ปีที่ 13 เล่มที่ 14 เดือนตุลาคม 2512(1969)
17
สามทหารเสือหนังฮ่องกงลุยฮอลลีวูด


          เรื่องนี้ต้องเริ่มจากบรรยากาศปลายทศวรรษ 80 ต่อเนื่องถึงต้นยุค 90 ตอนนั้นฮ่องกงคือมหานครภาพยนตร์แอ็กชั่นอันดับหนึ่งของเอเชีย วงการคึกคักถึงขีดสุด จอห์น วู, ฉีเคอะ, ริงโก้ แลม สามผู้กำกับมือฉมังต่างสร้างผลงานจนวงการฮอลลีวูดตะวันตกหันมาจับตา จอห์น วูยิงสนั่นจอด้วย โหด เลว ดี , โหดตัดโหด The Killer ฉีเคอะสร้างจินตนาการแปลกใหม่ด้วย Zu Warriors of the Magic Mountain , Peking Opera Blues ส่วน Ringo Lam ส่งหนังตระกูล on Fire อย่าง Prison on fire และ City on Fire(แรงบันดาลใจให้ Reservoir Dogs ของแควนติน ตารานติโน่)

          วันหนึ่ง ฌอง คลอด แวนแดมหรือ “เฮียจาง  (ชื่อเล่นที่คนทำหนังฮ่องกงตั้งให้ฌอง คลอด แวนแดม เพราะรู้สึกว่าจางพ้องเสียงกับฌอง และมาจากชื่อในบทที่เขาเล่นใน Double Impact แล้วมีฉากในฮ่องกง)” ซุปเปอร์สตาร์แอ็กชั่นเกรดบีแห่งยุค หลังประสบความสำเร็จจาก Kickboxer, Bloodsport ก็เดินไปคุยกับค่ายหนัง

          “ผมอยากได้แอ็กชั่นฮ่องกง ไปดึงผู้กำกับพวกนี้มาให้หน่อยได้ไหม (I want Hong Kong action! Get me these guys”) คำพูดนั้นสะเทือนไปถึงค่ายโซนี่ โคลัมเบีย และมิราแมกซ์ ทุกค่ายเริ่มหาทางเจรจาทาบทามวู ฉีเคอะ และแลม เพราะคิดว่าถ้าได้หนึ่งในสามมาทำงานกับแวน แดม คงได้หนังแอ็กชั่นชนิดหักคอคู่แข่ง ปรากฏว่าคนแรกที่ข้ามน้ำไปฮอลลีวูดได้ก่อนคือจอห์น วู เขาเซ็นสัญญากับ Universal ทำ Hard Target เป็นที่กล่าวขานว่ายิงกันระห่ำในจอ แต่นอกจอก็ระห่ำวุ่นวายไม่แพ้กัน  แม้จอห์น วูเองจะบ่นกับเพื่อนๆ ว่า “พวกเขาจ้างผมมาเพราะสไตล์ของผม แต่พอถ่ายจริงกลับจะให้เปลี่ยนหมด (They hired me for my style, but asked me to change it.) แต่หนังออกมาประสบความสำเร็จ  และแวน แดมพอใจมาก
 
          ขณะเดียวกันฝั่งโซนีโดยโคลัมเบียก็ล็อคตัวฉีเคอะให้ทำ Double Team คู่แวน แดม และนักกีฬาเดนนิส รอดแนม   แม้จะยังโกรธกันอยู่ แต่จอห์น วูก็พอรู้ ว่าฉีเคอะจะเจออะไร  ก็มองด้วยความเป็นห่วง บอกฉีเคอะว่า “ระวังนะ อย่าให้ค่ายครอบงำจนหมดตัว (Be careful not to let the studio control everything.)  ฉีเคอะเองก็ยังมั่นใจ บอกว่า “คราวนี้จะเอาสไตล์บู๊แบบหนังจีนเข้าไปใส่ในฮอลลีวูด (I will bring wuxia style into Hollywood.)"  แต่พอถ่ายจริงกลับเจอคุมจนคิดอะไรนอกบทหนังไม่ได้เลย ผู้กำกับแอ็กชั่นที่แกลากไปจากฮ่องกงคือ หว่องเหมิงซิง( Wong Ming-Sing) อดีตทีมสตันท์ของเฉินหลงก็ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะตอนนั้น สมาคม stuntman ฮอลลีวูดกับยุโรป ค่อนข้างเข้มแข็ง พวกเขากลัว“ทีมจีน”มายึดงาน เลยล็อบบี้ให้โคลัมเบียเซ็นเงื่อนไขว่า  หว่องเหมิงซิงจะคุมได้เฉพาะคิวบู๊ hand-to-hand กับไม่ให้แตะฉากใหญ่ที่มีระเบิด ฉากไล่ล่า ซึ่งจะต้องให้ทีมสตันท์ฝรั่งทำ

          ซ้ำร้ายพอฉีเคอะถ่ายหนังเสร็จโคลัมเบียส่งคนมาตัดต่อหนังทั้งเรื่องเอง ในตอนที่ฉีเคอะปิดกล้องกลับมาผ่อนคลายสมองที่ฮ่องกง และจะบินกลับไปตัดต่อ  พอฉีเคอะกลับไปก็พบว่าหนังทำเกือบเสร็จแล้ว เพลงก็หามาใส่แล้ว และไม่ได้เป็นแบบที่แกเลือกเลย แกโมโหมาก  โปรดักชั่นหนังเรื่องนี้แทบจะเอาผู้กำกับกับโปรดิวเซอร์อเมริกันฆ่ากันตายกลางกองถ่าย ฉีเคอะได้แก้ตอนตัดต่อนิดเดียว เพราะโคลัมเบียบอกไม่ต้องทำอะไรแล้วหนังวางคิวฉายแน่นอนแล้ว  หนังออกมาแบบลูกผสมที่ฉีเคอะเองไม่ค่อยภูมิใจนัก ตอนหลังโคลัมเบียมาจีบฉีเคอะให้ไปทำหนัง Double Team อีก 2 ตอนให้เป็นไตรภาค แต่แกก็บอกศาลาขาดฮอลลีวูด

          ตอนฉีเคอะกลับมาฮ่องกงเจอเพื่อนอย่างโจวเหวินฟะ หลี่เหลียนเจี๋ย ที่ไปทำหนังฮอลลีวูดมาก่อนหน้าก็พูดติดตลก “คราวหน้า ถ้าไม่ได้ทำแบบของตัวเอง จะไม่ทำเลย (Next time, if I can’t do it my way, I won’t do it at all.”)

           ฝั่งริงโก้ แลม แกไม่ได้ตั้งใจจะไปอเมริกาเลย แต่จังหวะนั้นฌอง คลอด แวนแดม กำลังหาใครมารับช่วงโปรเจกต์ Maximum Risk ซึ่งเดิมทีวางให้จอห์น วูกำกับ และจอห์น วูก็เขียนทรีตเมนต์สำหรับถ่ายทำเอาไว้แล้ว  แต่ก็ต้องบอกลาไปทำ Broken Arrow เสียก่อน  ทีแรกคาดว่ารอจอห์น วูทำ Broken Arrow เสร็จแล้วค่อยมาลุยต่อ แต่แวนแดมได้ติดต่อริงโก แลมด้วยตัวเอง บอกว่าอยากได้ผู้กำกับที่เก่งจริงๆ แลมที่โด่งดังจาก City on Fire เลยรับคำชวนอย่างไม่ลังเล แต่พอไปถึงกองถ่ายฮอลลีวูดก็พบกับความจริงว่าแลมถูกคุมเข้มในกองถ่าย มีโปรดิวเซอร์มาดูทุกวัน คุมให้ถ่ายตามบท ผ้ามแก้ไข

          ในกองถ่าย Maximum Risk ถ่ายๆ ไป  ริงโก้ แลมรู้สึกอึดอัดมาก  เพราะโปรดิวเซอร์เข้ามาแทรกแซงทุกฉาก จนหนังออกมาจืดกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม ไม่ดิบอย่างที่ตั้งใจ แลมบอกกับเพื่อนๆ ว่า “ผมไม่รู้มาก่อนด้วยซ้ำว่า จอห์น วูเป็นคนเขียนโครงเรื่องไว้ (I never knew Woo wrote a version.)   ตอนนั้นสื่อที่ฮ่องกงรายงายใส่สีกันสนุกปากว่าริงโก้ แลมฉกงานจอห์น วูจนจอห์น วู โกรธแลมมาก ภายหลังก็มีข่าวการเคลียร์ใจกัน  แต่เรื่องจริงคือจอห์น วูไม่ได้โกรธอะไรเพราะทั้งคู่รู้จักกันมานาน และวูเลือกที่จะปฏิเสธหนังเรื่องนี้เอง เนื่องจากเพราะต้องการลองทำงานกับนักแสดงฮอลลีวูดระดับ A อย่างจอห์น ทราโวลตร้า และขยายสไตล์ของตัวเอง จอห์น วู เคยให้สัมภาษณ์หลังริงโก้ แลมเสียชีวิตว่าเขาเป็นเพื่อนและคู่แข่งขันที่เคารพกัน

          Maximum Risk ได้กั๊วะจุยมาช่วยริงโก้ แลมออกแบบท่าทางการต่อสู้ และถึงแม้จอห์น วูจะไม่ได้กำกับ แต่ Maximum Risk มีสไตล์แอ็กชันแบบฮ่องกงที่ได้รับอิทธิพลจากงานของเขา เช่น ฉากยิงกันแบบโอเวอร์เดอะท็อป (แบบ The Killer หรือ Hard Boiled) ซึ่งน่าจะมาจากทรีตเมนต์ที่วูเขียนเอาไว้

            หลังจากนั้น ริงโก้ แลมยังได้กำกับ Replicant และ In Hell ให้กับ Van Damme เพราะแวนแดมชื่นชอบสไตล์เขามาก   ริงโก้ แลมเกือบได้ทำโปรเจกต์ใหม่กับนิโคลัส เคจ แต่สุดท้ายก็ปฏิเสธไปเพราะไม่อยากเจอระบบเดิมที่น่าอึดอัดของฮอลลีวูด  เขาบอกกับทีมว่า “ผมอยากถ่ายแบบที่เคยทำใน City on Fire แต่ที่นี่มันเป็นไปไม่ได้(I want to shoot like I did in City on Fire. That’s not possible here.) เลยขอกลับฮ่องกงดีกว่า

          ตอนนั้นในวงการฮ่องกงมีคำแซวว่า “เฮียจางเป็นหนี้ผู้กำกับฮ่องกงสามคน (Van Damme owes Hong Kong three directors.) เพราะพาพวกเขาไปเจอระบบฮอลลีวูดจนเกือบเลิกวงการ สุดท้ายจอห์น วู เป็นคนเดียวที่รอดเพราะ Face/Off ประสบความสำเร็จจนจอห์น วูสามารถทำ final cut ของตัวเอง ส่วนฉีเคอะ กับ ริงโก้ แลมต่างกลับบ้านเกิดพร้อมบทเรียนว่า “ฮอลลีวูดไม่ใช่ถิ่นของเรา” ภายหลังมีข่าวลือว่าสามคนยังเคยคุยกันเล่นๆ ว่าจะทำหนังร่วมกันแบบ “สามผู้กำกับ” แต่สุดท้ายก็ล่มเพราะต่างคนต่างติดภารกิจ น่าจะเป็นข่าวปลอมมากกว่า

          เวลามีใครถามว่า ฮอลลีวูดเป็นอย่างไร  จอห์น วูจะตอบติดตลกว่า “เหมือนออกไปรบที่ไม่มีวันชนะ (It’s like fighting a war you can’t win.)"  ฉีเคอะพูดว่า “คราวหน้า ถ้าจะไป จะพากองทัพของตัวเองไป (Next time, I’ll bring my own army.) ส่วนริงโก้ แลมผู้ล่วงลับบอกว่า “คราวหน้าเหรอ  ไม่มีคราวหน้าแล้วล่ะจ้า(Next time? No next time.)

          นี่แหละคือเรื่องราวของสามทหารเสือแห่งหนังฮ่องกงในวันที่ยกพลไปลุยฮอลลีวูด เรื่องที่วันนี้ยังเล่าขานกันไม่รู้จบในวงการแฟนหนังแอ็กชั่นฮ่องกง  ส่วนอีกคนที่ตามไปทีหลังอย่างหว่องคาไวก็จะเป็นหนังคนละกลุ่มไปแล้ว

          ในสามเรื่องของ 3 ผู้กำกับนี้ผมชอบทุกเรื่อง ไล่จาก 1. Hard Target 2.Double Team 3.Maximum Risk

          (เรื่องนี้ผมเอาข้อมูลมาจากหลายที่ ยำรวมกัน ที่วงเล็บคำพูดภาษาอังกฤษไว้ ผมว่าด้วยศัพท์มันได้อารมณ์สนุกดี ตอนต่อไปในซีรีส์สามเกลอหัวแข็งหรือสามทหารเสือจะเขียนถึงจอห์น วู กับฉีเคอะ เคลียร์ใจกัน)
18
          ทุกวันนี้ดาราภาพยนตร์ไต้หวัน เริ่มมาดังในเมืองไทยบ้างแล้ว แต่ก่อนเราคุ้นเคยกับดาราของบริษัท ชอว์ บราเดอร์ เท่านั้น “โลกดารา" ฉบับนี้ จึงขอประเดิมดาราไต้หวันคนแรกด้วย นางเอกเงินล้าน “ซ่านกวนหลิงฟง" (Polly Shang-Kuan Ling-Feng) 上官靈鳳


          ภาพยนตร์ 3 เรื่องแรกในชีวิต สามารถทำเงินล้าน นี่คือผลงานของเธอ ที่ชวนให้ติดตามดูนั้นต่อไปว่าจะเป็นฉันใด ส่วนที่สนุก และน่าสนกว่าคือ เรื่องราวในชีวิต.....

          “ชีวิตนี้อยู่ได้ด้วยความหวัง” นี่เป็นคำปราศัยของท่านนายกรัฐมนตรี ในตอนท้ายเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2514(1971) เธอ...ซ่านกวนหลิงฟง พร่ำบอกตัวเองเสมอว่า ชีวิตนอยู่ได้ด้วยความหวัง แม้ว่าหวังสิ่งหนึ่งแล้วจะไปได้อีกสิ่งก็ตาม หวังที่จะเรียนหนังสือต่อ แต่กลับได้สิ่งที่ไม่ได้หวัง คือออกจากโรงเรียน เหตุที่ไม่ได้เรียนต่อ เพราะเศรษฐกิจของน้าสาวไม่อำนวย เรียนจบแต่มัธยมศึกษา

          การที่เธอต้องมาอยู่ในความเลี้ยงดูของน้าสาว เพราะพ่อแม่มีความเห็นไม่ตรงกัน ขัดใจกันทุกวัน สิ่งที่ตามมาก็คือ หย่าขาดจากกัน  ขณะนั้นเธออายุ 9 ขวบ พ่อไปแล้ว แม่ของเธอนั้นเล่า คงไม่อยากเห็นเธอ ซึ่งเป็นอนุสรณ์ของคนที่แม่อาจจะ....รักสุดหัวใจ หรือ... เกลียดเข้ากระดูก ใครจะรู้ จึงไม่ได้สนใจใยดี เหมือนไม่ใช่ “ลูก” และตัวเองก็ไม่มีหน้าที่ของ “แม่” น้าสาวทนดูไม่ได้ จึงรับไปอุปการะตั้งแต่บัดนั้น

          ด้วยวัยที่ทะเยอทะยานอยากเป็นคนเก่ง มีความรู้ ความสวย ฝันไว้ว่าจะเป็นครูสอนหนังสือนักเรียน เป็นแม่พิมพ์ของชาติ ช่วยชาติอบรมกำลังของชาติ เพื่อชาติ แต่เธอก็หมดโอกาสที่จะเรียนต่อ ต้องออกมาช่วยน้าสาว ว่างตอนกลางคืนก็หอบหนังสือพิมพ์ของข้างบ้านที่อ่านแล้ว มานอนอ่านทุกคืน และเกือบทุกตัวอักษร ด้วยหวังที่จะฝึกตัวเองก้าวหน้าต่อไป อีกทั้งเป็นความสุขที่เธอได้รับไปในตัว

          วันหนึ่ง...อ่านพบข่าวประกาศรับสมัครดารา ภาพยนตร์ของบริษัท “เหลียงปาน” (Union Film International Film Production) 聯邦影業有限公司 เธอ และเพื่อนนักเรียนรีบสมัครทันที ในจดหมายสมัคร เธอส่งรูปไปพร้อมกับกำชับอย่างจริงจังว่า ถ้าเธอเข้าไม่ได้ให้ส่งรูปคืนมา เพราะเธอเหลือรูปอยู่ใบเดียวเท่านั้น

          ตอนสมัครไป เธอไม่ได้คิดว่าจะเป็นนางเอก ภาพยนตร์แต่อย่างไร เธอขอให้ได้งานทำสักอย่าง หาเงินมาจุนเจือครอบครัวน้าสาว อีกทั้งตัวจะได้พึ่งตัวเอง

          แล้วเธอก็ได้งานสมใจ เมื่อบริษัทฯ ตกลงรับเธอเข้าไว้ จำนวนผู้เข้าสมัครสองพันกว่าคน คัดเลือกเหลือ 3 คนมี “สวี่ฟ่ง” “หารเซียนจิน” เละ “ฮุยไต้เหม่ย” (Hui Tai-Mei) ซึ่งทางบริษัทฯ โดยผู้กำกับ “หูจวินฉวน” (King Hu) 胡金銓 เป็นคนเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “ซ่านกวนหลิงฟง"

          ผู้กำกับ “หูจวินฉวน” เคยอยู่บริษัท ชอว์ บราเดอร์ โด่งดังจากการกำกับเรื่อง “หงส์ทองคะนองศึก" (Come Drink with Me) 大醉俠 ออกจากชอว์ฯ กลับไต้หวัน เข้าบริษัท “เหลียงปาน” กำกับ และเขียนบทภาพยนตร์เอง เรื่องแรก “ตะลุยแดนพยัคฆ์” (Dragon Inn) 龍門客棧 ออกจะเป็นคนเชื่อมั่นในฝีมือ ลองว่าเขาเขียนบทและกำกับเอง เขาเชื่อสายตาและความสามารถของตัวเองอยู่มาก เขาไม่คิดจะเอาดาราเด่นที่ไหนมาเล่น เขาเลือกดาราใหม่ของเขาอยู่หลายวัน เลือกไปเลือกมา เห็นซ่านกวนหลิงฟงเหมาะสมที่สุด

          หลังจากใช้เวลาฝึกอยู่ 3 เดือน เธอจึงเข้ากล้องเรื่องแรกด้วย “ตะลุยแดนพยัคฆ์” เมื่อนำออกฉาย ทำเงินล้านที่ไต้หวัน และฮ่องกงในเวลารวดเร็ว พอดีเจอหน้าฝนผู้คนก็กางร่มไปดูกัน ที่เกาหลีเจอหิมะตก ท่ามกลางหิมะปลิวว่อน อากาศหนาว คนดูก็แน่นทุกรอบ นับเป็นผลงานชิ้นแรกของไต้หวันที่โชว์ชาวโลก ได้อย่างสง่าสมภาคภูมิ ทั่วโลกในประเทศเสรีฉายเรื่องนี้ทั้งนั้น แม้ในญี่ปุ่นเรื่องนี้ก็ไปทำซู่ซ่า ที่นิวยอร์คนำมาฉายเป็นครั้งสองเก็บเงินได้อย่างสบาย

          เธอรับเงินเดือนงวดแรก ด้วยความตื่นเต้นที่สุด เธอสามารถยืนบนลำแข็งตัวเองแล้ว ไม่ต้องคอยรบกวนน้าสาวอยู่ร่ำไป ในขณะแสดงภาพยนตร์อยู่ เธอทำงานทุกอย่าง เป็นทั้งนางเอก เป็นทั้งเด็กช่วยดูแลของใช้ต่างๆ ช่วยจัดฉาก เก็บกวาดโรงถ่ายภาพยนตร์ เหลือเชื่อที่นางเอกจะยอมทำงานพวกนี้

          เธอให้เหตุผลว่า "เธอพยายามหาเงินเพื่อส่งให้น้าสาว และแม่ ให้น้องชายใช้จ่ายในการศึกษา ซึ่งเธอมีน้องชายเพียงคนเดียว เธอเป็นพี่สาวคนโต" หลายคนรู้สึกเลื่อมใสในความกตัญญูรู้คุณของเธอ

          ซ่านกวนหลิงฟง เป็นดาราที่มีอัธยาศัยดีมาก เมื่อครั้งเธอไปฮ่องกง ได้รับการต้อนรับที่เกรียวกราวที่สุด นักข่าวทุกคนที่ได้สนทนากับเธอ ต่างนิยมชมชื่นเธอมาก ของขวัญมากมายที่ห้างร้าน และแฟนๆ ซื้อมอบให้เธอ มีคนถามว่า "เธอจะเอาไปขายต่อหรือเปล่า เพราะมากจริงๆ" เธอว่า "ไม่จะเก็บไว้เป็นที่ระลึก ส่วนที่เก็บไม่ได้ก็จะมอบให้เพื่อนๆ ในบริษัท"

          ด้วยความประทับใจในน้ำใจไมตรี ที่ได้รับจากฮ่องกง เธอจึงเดินทางมาฮ่องกงอีกครั้ง หนังสือพิมพ์ฮ่องกงที่ลงข่าวเธอตัดเก็บไว้หมด เพื่อเธอจะระลึกถึงนักข่าวทุกคน ซ่างกวนหลิงฟง สูง 160 เซ็นติเมตร หนัก 45 กิโลกรัม เธอมีผมที่สลวยยาวเกือบจรดเอว เป็นสีเหลืองทอง สะดุดตาเสียจนใครๆ ต้องถามว่า "ผมย้อมหรือเปล่า" เธอว่า "เป็นผมธรรมชาติ สมาชิกบ้านเธอมีผมสีนี้ทั้งนั้น"

          วันให้สัมภาษณ์ที่ฮ่องกง นักข่าวถามเธอว่า "ชอบแสดงบทอะไรมากที่สุด" เธอว่า "ยินดีเล่นทุกบท ถ้าเป็นความต้องการของบริษัทฯ และคนดู" เธอถูกถามต่อว่า "ถ้าบริษัทเรียกให้เธอแสดง บทวาบๆ แวมๆ ละเธอจะว่าอย่างไร" เธอว่า "คงจะไม่ และเธอจะไม่ขอแสดงบทดังกล่าวเด็ดขาด"

          เธอยอมรับว่า แสดงภาพยนตร์บู๊ดุเดือดนั้น เหนื่อยยิ่งกว่านั้น เธอชอบดูภาพยนตร์บู๊ ดุเดือด สู้กันตลอดเรื่อง เพราะมันตื่นเต้นทันใจดี ปืนี้เธออายุ 21 แล้ว แต่ยังไร้เดียงสาเหมือน เด็กแก่นๆ เมื่อสมัยเธอวัย 10-12 ซนอย่างกับอะไรดี แม้ในปัจจุบันเพื่อนที่ดีที่สุดทั้งในยามเหงา และยามสดชื่น คือตุ๊กตาแบบนิ่ง และไขลาน สะสมไว้นานาชนิด ทั้งบ้านมีตุ๊กตาหมด โดยเฉพาะห้องนอนเธอมากที่สุด

          ซ่านกวนหลิงฟงไม่เคยหลงตัวคิดว่า เป็นนางเอกชื่อดังแต่อย่างไร เธอคงทำตัวเหมือนตอนเป็นนักเรียน เครื่องแต่งกาย และการเม็คอัพเท่านั้น ที่ต้องเปลี่ยนแปลงบ้าง เพื่อความเหมาะสม มี นิสัยและความรักสนุกยังเหมือนเดิม ในบางครั้ง เธอกลับจากทำธุระกลางทาง พบกองถ่ายทำภาพยนตร์ของบริษัทอื่น เธอจะเบียดแย่งผู้คนเข้าไปดูบ้าง โดยลืมนึกไปว่าเธอนั้นคือ นางเอกภาพยนตร์ อีกทั้งตำแหน่งรองราชินีนักดาบอันดับ 2 ส่วน "ฉินผิง" (Chin Ping) 秦萍 เป็นรองอันดับ 3 โดยมี "เจิ้งเพ่ยเพ่ย" (Cheng Pei-Pei) 鄭佩佩 ครองตำแหน่ง “ราชินีนักดาบ”

          ปี 1970 นิตยสาร “Cinemart” ได้จัดอันดับดารายอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยโหวตคะแนนเสียงจากสมาชิกของนิตยสาร ซ่านกวนหลิงฟง อยู่ในอันดับ 5 ภาพยนตร์เรื่อง “เพลิงแค้น” (The Grand Passion) 烈火 ที่ฉายต้อนรับปีใหม่ที่ ศรีราชวงศ์ และศรีเยาวราช เข้าอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ปี 1970 ด้วยภาพยนตร์สามเรื่องที่เธอแสดงติดต่อกันมา คือ “ตะลุยแดนพยัคฆ์” “ตะลุยสิบทิศ” (The Swordsman of all Swordsmen) 一代劍王 และ “เพลิงแค้น” ทำเงินล้านทุกเรื่อง ยังเหลืออีกสองเรื่อง ซึ่งคงจะเข้ามาฉายในไม่ช้านี้ เรื่องที่ 4 ใกล้แล้ว เพราะจะต้อนรับตรุษจีน

          ความสำเร็จของซ่านกวนหลิงฟง ขึ้นอยู่กับความพยายาม และขยันขันแข็งของตัวเองเป็นที่ตั้ง โชคเข้าข้างนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หาใช่ทั้งหมดไม่ ข้อนี้เธอเองทราบดีกว่าใคร ด้วยเหตุนี้ หากเธอมีเวลาว่างจากการเข้ากล้อง และเรียนหนังสือแล้ว เธอจะหาอะไรต่ออะไรฝึกไว้เสมอไม่ว่า ลีลาศ หรือ คาราเต้ ซึ่งเธอเรียนอยู่กับอา จารย์ญี่ปุ่น คู่ฝึกชาวไต้หวัน ฝึกอยู่ประมาณ 3 เดือน เรียนรู้ได้รวดเร็ว จนอาจารย์ออกปากชมกันทุกคน ดูเหมือนว่าเธอจะมาแสดงคาราเต้บนเวทีศรีราชวงศ์ ในวันตรุษจีนด้วย ไม่เลว...ถ้าเธอมาได้ตามกำหนดการ เธอเรียนคาราเต้เพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่าง เรียนไว้ใช้ในการแสดง, ป้องกันตัว และเป็นการออกกำลังกายรักษา ทรวดทรงไปในตัวด้วย

          ดังได้กล่าวแล้วว่า เธอขาดความอบอุ่นมาแต่เล็ก ความสุขสดชื่นของบ้านเป็นฉันใด เธอไม่ เคยลิ้มรส เดี๋ยวนี้เธอมีแม่อยู่เคียงข้างแล้ว เมื่อสองปีก่อน เธอเขียนบทความลงในนิตยสาร เกี่ยวกับความว้าเหว่ของเด็กกำพร้า เขียนได้ลึกซึ้งกินใจคนอ่านมาก จากนั้นไม่นาน แม่และน้องชายก็เดินทางมาอยู่กับเธอในไทเป คงจะอ่านเรื่องที่เธอเขียน เกิดสงสารลูก และรู้สำนึกหน้าที่ของแม่

          เป็นอันว่า เธอได้สิ่งที่เธอร่ำร้องหาอยู่เสมอ ในความรู้สึกของเธอ แม่ก็ยังเป็นแม่ที่เธอรัก นับถือเหนือสิ่งอื่น

=================================
***บทความโดย คุณ"ศ.ศรีรัตน์" คอลัมม์ "ดาราไต้หวัน ซ่านกวนหลิงฟง" ตีพิมพ์ในนิตยสารโลกดารา ปีที่ 2 ฉบับที่ 27 เดือนมิถุนายน 2514(1971)
19

      1. ในซ่องโสเภณี เพื่อปกป้องนางคณิกานางหนึ่ง ซาเลี่ยวเฮีย(เอ๋อตงเซิง)จึงยืนให้นักเที่ยวแทงด้วยมีด คือฉากที่ผมจำไม่รู้ลืม
      2. นางคณิกา(หวีอันอัน)ที่พาพระเอกที่บาดเจ็บไปรักษาตัวที่บ้าน แต่ถูกศัตรูพระเอกตามไป ก่อนครอบครัวนางเอกจะถูกฆ่าตายยกบ้านทำให้พระเอกเผยตัวร้องออกมาอย่างบ้าคลั่ง ก่อนที่คนในสำนักของพระเอกจะออกมารวมตัวกัน เป็นร้อยคน คือฉากเซอร์ไฟร์สำหรับเด็กอายุไม่ถึง10ขวบเมื่อได้รู้ว่า ซาเลี่ยวเฮียคือเจ้าของตึกกระบี่เทวะผู้ยิ่งใหญ่
      3. การดวลกระบี่ระว่าง ซาเลี่ยวเฮีย กับอี้จับซา(หลิวยุน)ที่เป็นคนช่วยชีวิตซาเลี่ยวเฮียมาก่อนหน้า  ได้ช่วยกันสู้กับศัตรูจนชนะ มันคือกดดันความรู้สึกของผมขณะดู
      4. การประลองเพื่อตัดสินความไวของกระบี่ เป็นไปอย่างตื่นเต้น ก่อนจะมาหยุดอยู่ภาพหยุดนิ่ง โดยปลายกระบี่ของอี้จับซาจี้อยู่ตรงคอหอยของซาเซียเฮีย ทำให้ผมรู้ว่าพระเอกแพ้  แต่ไม่นานภาพบนจอก็ไปจับภาพปลายกระบี่ของซาเซียเฮียหักหายไป ก่อนกล้องจะแพนไปจับหน้าอกอี้จับซามีปลายกระบี่ของซาเฮียเฮียเสียบอยู่

         จากความเป็นเด็กผมไม่รู้ว่านั่นหมายถึงคืออะไรอยู่นานก่อนจะคิดได้หลังจากพระเอกเดินจากไปพร้อมผู้ท้าประลองจะล้มลงขาดใจตาย

         และหนังเรื่องนี้คงจะอยู่ในใจผมไปตลอดกาล

เรื่องย่อ  ศึกล้างเจ้ายุทธจักร (Death Duel) 1977 ฮ่องกง
         เอี้ยนสือซัน ต้องการเป็นมือกระบี่อันดับหนึ่ง เค้าจึงเดินทางไปขอประลองกับ คุณชายสาม มือกระบี่สำนักเทวะ กลับพบว่าคุณชายสามตายไปแล้ว แต่แท้จริงแล้วคุณชายสามเบื่อชีวิตที่ต้องฆ่าฟันจึงแกล้งตายและหนีไปใช้ชีวิตเป็น อาชิ คนยากไร้ จนเค้าได้เจอและได้รับการช่วยเหลือจาก เสี่ยวลี่ และครอบครัว แต่เพื่อปกป้องเสี่ยวลี่ทำให้อาชิต้องเปิดเผยฝีมือต่อสู้ออกมา ทำให้มีคนอีกมากมายสงสัยและมาต่อสู้กับเค้า ซึ่งทั้งหมดมีตระกูลมู่หยงชักใยอยู่เบื้องหลัง คุณชายสามบาดเจ็บและได้รับพิษร้ายจนได้เอี้ยนสือซันช่วยชีวิตไว้ แต่เพราะแผนของ มู่หยงชิวตี้ ทำให้เค้าทั้งสองต้องมาประลองกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
ตัวอย่าง


นักแสดง  ศึกล้างเจ้ายุทธจักร (Death Duel) 1977 ฮ่องกง


อาชิ (คุณชายสาม) (Third Master Chi) แสดงโดย เอ๋อตงเซิน (Derek Yee) อายุ 20 ปี





เอี้ยนสือซัน (อี้จับซา) (Yen Shih-San) แสดงโดย หลิงหยุน (Ling Yun) อายุ 36 ปี



เสี่ยวลี่ (Hsiao Li) แสดงโดย อวี๋อันอัน (Candice Yu) อายุ 18 ปี


อาเหมียว (Miao Tzu) แสดงโดย กุ๊ฟง (Ku Feng) อายุ 47 ปี



แม่ของเสี่ยวลี่ (Hsiao Li's mother) แสดงโดย Ouyang Sha-fei อายุ 53 ปี (เสียชีวิตเมื่ออายุ 83 ปี)



มู่หยงชิวตี้ (Mu-yung Chiu-ti) แสดงโดย เฉินผิง (Chen Ping) อายุ 29 ปี


มู่หยงจินหลง (Mu-yung Chien-lung) แสดงโดย เจียงต้าเหว่ย (David Chiang) อายุ 30 ปี


นักดาบตระกูลมู่หยง (Mu-Yung Family's swordsman) แสดงโดย ฉีเส้าเฉียน (Norman Chu) อายุ 22 ปี


โจวอี้ฟง (Chou Yu-feng) แสดงโดย เยวี่ยฮว๋า (Yueh Hua) อายุ 35 ปี (เสียชีวิตเมื่ออายุ 76 ปี)



ฟู่หงเสวี่ย (โป้วอั้งเสาะ) (Fu Hung-hsueh) แสดงโดย ตี้หลง (Ti Lung) อายุ 31 ปี


หวนถง (Han Tang) แสดงโดย ลัวลี่ (Lo Lieh) อายุ 38 ปี (เสียชีวิตเมื่ออายุ 63 ปี)





20
     "เจิน จื่อตัน"(Donnie Yen) วัย 62 ปี และ "เจิน จี้หรู"(Zhen Jiru) ลูกสาววัย 21 ปี ของเฮีย Yen ร่วมกันถ่ายแฟชั่นให้กับนิตยสาร Elle Men ซึ่งจริงๆเขาถ่ายแฟชั่นชุดนี้มาเกือบเดือนแล้วแหละ แต่พอมาเห็นรูปปกแล้วเพิ่งจะรู้ว่า "ลูกสูงกว่าพ่อ" (Jiru สูง 180 ส่วนเฮีย Yen สูง 173) แถมหน้าตายังสวยด้วย เฮีย Yen ผลักดันเข้าสู่วงการได้เลยนะนั่นน่ะ







หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10