ผู้เขียน หัวข้อ: ทอง ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร กลับมาฉายอีกครั้ง 21 กรกฎาคม 2560 ฟรี..  (อ่าน 593 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2815
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
ทอง ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร
กลับมาฉายอีกครั้ง 21 กรกฎาคม 2560 ฟรี..(3 เรื่องควบ)

..
จากหนังสืออินไซด์บันเทิง ฉบับเดือนมีนาคม 2560

       นอกจากการเขียนบทความเล่าเรื่องหนังไทยเก่าๆ ในหนังสืออย่างนี้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมทำควบคู่กันไปก็คือ การออกตามหากากฟิล์มหนังไทยเก่าๆ ถ้าถามว่าไปหามาทำไม คำตอบง่ายๆ สั้นๆ ก็คือหามาเพราะอยากจะดูหนัง บางท่านอาจจะสงสัยว่า ก็เห็นหนังเป็นแผ่นวีซีดี-ดีวีดีวางขายกันแล้วไม่ใช่หรือ ทำไมจะต้องไปตามหาอีก.. ใช่ครับ แม้หนังไทยบางเรื่องจะมีการผลิตออกจำหน่ายแล้ว แต่หนังอีกหลายๆ เรื่องก็ยังไม่มีจำหน่าย จึงจำเป็นต้องออกหา ส่วนเหตุที่ไม่มีจำหน่ายนั้นก็เพราะหาฟิล์มไม่ได้นั่นเอง ปัจจุบันหนังไทยเก่าๆ ที่ผลิตออกมาจำหน่ายนั้นก็มีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณหนังไทยที่ออกฉายมาทั้งหมดครับ หนังไทยส่วนที่ขาดหายไปนี่เองเป็นเป้าหมายหลักของผม แต่กระนั้นเวลาที่ออกตามหาฟิล์มหนัง เราก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่า จะได้พบฟิล์มหนันงเรื่องอะไรบ้าง จะซ้ำกับหนังที่ออกเป็นแผ่นวีซีดี-ดีวีดีแล้วหรือไม่ แต่ขอให้เป็นหนังไทยเก่าๆ หากพบกากฟิล์มเราก็จะต้องนำกลับมาครับ

       อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่ผ่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดของการตามหากากฟิล์มนั้นก็คือ “เพื่อน” เราจะต้องหาเพื่อนไปพร้อมๆ กับการตามหาฟิล์มหนัง ยิ่งถ้าได้เพื่อนซึ่งอยู่ต่างจังหวัดต่างอำเภอด้วยก็จะยิ่งดีเพราะกากฟิล์มหนังไทยเก่าๆ นั้นมักจะเก็บอยู่ในต่างจังหวัด อย่างกากฟิล์มเรื่อง ทอง ภาค 1 ที่พวกเราเพิ่งค้นพบนี้ก็ได้มาเพราะเพื่อนใน face book ช่วยครับ เพื่อนคนนี้ชื่อวันพร บัวทอง เพิ่งจะเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มชุมทางหนังไทยในอดีตได้ไม่นาน แล้วเผอิญวันหนึ่งคุณวันพรเดินทางไปงานศพพระภิกษุรูปหนึ่งที่จังหวัดนครราชสีมา แต่ก่อนจะไปถึงงานศพนั้น คุณวันพรได้แวะเข้าไปกราบนมัสการพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งที่วัดใหญ่สูงเนิน แล้วก็เผอิญไปเห็นว่าในโรงจอดรถของวัดแห่งนี้มีกระเป๋าฟิล์มหนังเก่าๆ เก็บไว้อยู่หลายสิบกระเป๋า คุณวันพรก็เลยเอาข่าวนี้มาบอกให้ผมทราบ ผมก็ติดต่อกลับไปยังวัดแห่งนี้และก็พาเพื่อนๆ เดินทางไปดูกากฟิล์มหนังกันในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาซึ่งก็พบว่า เป็นกากฟิล์มหนังเก่าเก็บไว้ตั้งแต่รุ่นปี 2522 เป็นต้นมา น่าเสียดายที่ฟิล์มส่วนใหญ่เสียหายไปบ้างแล้ว พวกเราจึงเลือกนำฟิล์มกลับมาเพียง 4 เรื่องเท่านั้น โชคดีที่ว่าในจำนวนนี้ยังมีฟิล์มหนังเรื่อง ทอง ภาค 1 ปนอยู่ด้วยซึ่งจากการตรวจดูสภาพฟิล์มแล้วก็พบว่าเป็นฟิล์มที่พิมพ์ฉายเป็นครั้งที่ 2 (ฉายควบกับ ทอง ภาค 2 ในปี 2525) ฟิล์มชุดนี้จึงยังฉายได้

       ท่านอาจจะสงสัยว่า ทอง ภาค 1 ก็มีจำหน่ายเป็นแผ่นวีซีดี-ดีวีดีแล้วไม่ใช่หรือ.. แต่ทำไมพวกเราถึงดีใจกันมากๆ เหตุผลหลักๆ นอกเหนือไปจากเรื่องความคมชัดของภาพที่เราจะได้เห็นจากฟิล์มหนังแล้วก็คือ เราจะได้เห็นภาพเต็มๆ เฟรมของหนังต้นฉบับที่ถ่ายทำไว้ครับ สมัยก่อนระบบการทำมาสเตอร์เทปวีดีโอนั้น เขาจะใช้กล้องถ่ายวีดีโอระบบภาพ 4:3 ซูมเข้าไปที่จอฉายหนังเพื่อบันทึกลงม้วนวีดีโอเทปและเมื่อซูมภาพจนเต็มจอโทรทัศน์ก็จะทำให้ภาพจากฟิล์มจริงๆ ถูกตัดหายไปทั้งด้านซ้ายด้านขวาของภาพ คิดๆ ง่ายก็คือ ถ้ามีตัวเลข 1 2 3 4 5 6 7 เรียงกันปรากฏอยู่บนจอหนัง กล้องวีดีโอก็จะบันทึกภาพได้แต่ตัวเลข 3 4 5 ซึ่งอยู่ตรงกลางจอหนังเท่านั้น ส่วนตัวเลข 1 2..6 7 ด้านซ้ายด้านขวาก็จะขาดหายไป ทำให้อรรถรสในการเห็นภาพเต็มฟิล์มเต็มเฟรมขาดหายไปด้วย (ดูภาพตัวอย่างประกอบ) ฉะนั้น พอเราได้กากฟิล์มมาฉายเองก็จะทำให้เราได้เห็นภาพครบทุกสัดส่วนตามฟิล์มที่ตากล้องสมัยนั้นเขาถ่ายทำไว้นะครับ

เมื่อปี 2516 ทอง ภาค 1 นับเป็นผลงานโกอินเตอร์ชิ้นเอกของ ฉลอง ภักดีวิจิตร ผู้สร้างผู้กำกับการแสดงของไทย

       ฉลอง ภักดีวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2474 ที่ตำบลสี่พระยา กรุงเทพฯ บิดาชื่อนายพุฒ มารดาชื่อนางลิ้นจี่ บิดาทำงานเป็นผู้กำกับการแสดงและเป็นผู้อำนวยการสร้างหนังของศรีบูรพารมย์ภาพยนตร์ ฉลองเรียนจบชั้นมัธยม 8 เมื่อปี 2493 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ปากคลองตลาด เมื่อเด็กๆ ฉลองติดตามบิดาไปถ่ายหนังอยู่เสมอ เคยถูกบิดาจับเข้ากล้องถ่ายหนังขณะอายุเพียงขวบเศษๆ จากหนังเรื่อง สาวเครือฟ้า ขณะเรียนชั้นมัธยม 7 ฉลองก็เริ่มเรียนรู้การถ่ายหนังจากบรมครูสด ภักดีวิจิตร ของศรีบูรพารมย์ภาพยนตร์ พออายุได้ 19 ปี ฉลองจึงเริ่มถ่ายหนังจริงๆ ครั้งแรก เป็นหนัง 16 มม.ขาวดำเรื่อง แสนแสบ ซึ่งแสดงโดย จำรัส สุวคนธ์และหลังจากเรียนจบมัธยม 8 แล้ว ฉลองก็คลุกอยู่กับการถ่ายหนังให้ศรีบูรพารมย์ภาพยนตร์ตลอดมาและพยายามศึกษาหาความรู้ในการถ่ายหนังเพิ่มเติมจากตำรับตำราต่างประเทศ ฉลองถ่ายหนังให้กับศรีบูรพารมย์มากจนแทบจะจำชื่อเรื่องไม่ได้ แต่เรื่องสุดท้ายที่ถ่ายไว้ก็คือ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ (2503 แมน ธีรพล-พงษ์ลดา พิมลพรรณ) จากนั้นฉลองก็มารับหน้าที่เป็นตากล้องให้กับผู้สร้างรายอื่นๆ เช่น วัชรภาพยนตร์ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ธาดาภาพยนตร์ นพรัตน์ภาพยนตร์ บูรพาศิลปภาพยนตร์ พิษณุภาพยนตร์ เป็นต้น

       ฉลอง ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองการถ่ายภาพยอดเยี่ยมในปี 2507 จากหนังของวัชรภาพยนตร์เรื่อง ผู้พิชิตมัจจุราช (อดุลย์ ดุลยรัตน์-วิไลวรรณ วัฒนพานิช) และอีกครั้งในปี 2510 จากหนังของภาพยนตร์สหะนาวีไทยเรื่อง ละอองดาว (สมบัติ-พิศมัย)

       ฉลองฝังใจอยู่กับการเป็นตากล้องอย่างมากถึงขนาดนำภาพที่ตนเองทำท่าจับกล้องถ่ายหนังอยู่ในเฮลิคอปเตอร์ขณะบินขึ้นสู่ท้องฟ้ามาเป็นโลโก้ประจำหนังทุกเรื่อง

       ฉลอง เริ่มมีชื่อเป็นผู้สร้างหนัง 16 มม.ของค่ายบางกอกการภาพยนตร์จากหนังเรื่อง น้ำเพชร (2508 มิตร-เพชรา) โดยมี ส.อาสนจินดา เป็นผู้กำกับการแสดง ฉลองเริ่มกำกับการแสดงหนังครั้งแรกใช้ชื่อว่า ดรรชนี จากหนัง 16 มม.เรื่อง จ้าวอินทรี (2511 มิตร-พิศมัย) แต่มาประสบความสำเร็จอย่างมากพร้อมปิดฉากการสร้างหนัง 16 มม.ด้วยเรื่อง ฝนใต้ (2513 สมบัติ-เพชรา) เพราะตอนนั้นฉลองอยากเห็นหนังไทยเจริญก้าวหน้าเทียบเท่าหนังต่างประเทศซึ่งอย่างแรกที่จะต้องทำก็คือ ต้องเปลี่ยนมาถ่ายหนังด้วยฟิล์ม 35 มม. เหมือนอย่างหนังต่างประเทศก่อน หนัง 35 มม.เรื่องแรกของฉลองก็คือ ฝนเหนือ (2513 สมบัติ-เพชรา) แต่หนังที่เริ่มออกสู่ตลาดนอกก็คือ 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน (2515 สมบัติ-เกาหย่วน) ที่ฉลองร่วมมือสร้างกับฉั่นทงหมั่น อดีตหัวหน้าฝ่ายโฆษณาของชอว์บราเดอร์ ฮ่องกง โดยใช้วิธีวางตัวดาราไทยประกบกับดาราฮ่องกงเพื่อความสะดวกในการขายออกต่างประเทศ แต่หนังที่ทำให้ฉลองประสบความสำเร็จในการนำออกสู่ตลาดนอกได้จริงๆ ก็คือ ทอง ภาค 1 (2516 สมบัติ-อโนมา-เกร็ก มอริส-กรุง) จนทำให้ได้ฉายาว่าเป็นผู้กำกับอินเตอร์ จากนั้นฉลองก็มีงานกำกับหนังติดต่อกันอีกหลายเรื่อง

       ทอง ภาค 1 เป็นเรื่องของการติดตามหาทองคำซึ่งกำลังจะนำไปช่วยรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ถูกปล้นไปพร้อมเครื่องบินขนส่งของกรมตำรวจไทยไปลงที่สนามบินซำทอง ประเทศลาว ฮิลล์ (เกร็ก มอริส) สายลับมือดีของ ซีไอเอ.ได้รับคำสั่งให้เป็นหัวหน้าทีมโดยมีผู้ร่วมทีมคือ ชาติ (สมบัติ เมทะนี) ชินทาโร่ (ดามพ์ ดัสกร) ศาสตรา (กรุง ศรีวิไล) จางเฟย (กฤษณะ อำนวยพร) ซูผิง (ถั่มถุยหั่ง) จันทร์แรม (อโนมา ผลารักษ์) แตงอ่อน (ดลนภา โสภี) ทั้งหมดมีภารกิจคือ ชิงทองคำกลับคืนสู่คืนสู่ประเทศไทย..ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างทองขึ้นอีกหลายๆ ภาค


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2815
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
        ทอง ภาค 1 เป็นเรื่องของการติดตามหาทองคำซึ่งกำลังจะนำไปช่วยรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ถูกปล้นไปพร้อมเครื่องบินขนส่งของกรมตำรวจไทยไปลงที่สนามบินซำทอง ประเทศลาว ฮิลล์ (เกร็ก มอริส) สายลับมือดีของ ซีไอเอ.ได้รับคำสั่งให้เป็นหัวหน้าทีมโดยมีผู้ร่วมทีมคือ ชาติ (สมบัติ เมทะนี) ชินทาโร่ (ดามพ์ ดัสกร) ศาสตรา (กรุง ศรีวิไล) จางเฟย (กฤษณะ อำนวยพร) ซูผิง (ถั่มถุยหั่ง) จันทร์แรม (อโนมา ผลารักษ์) แตงอ่อน (ดลนภา โสภี) ทั้งหมดมีภารกิจคือ ชิงทองคำกลับคืนสู่คืนสู่ประเทศไทย..ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างทองขึ้นอีกหลายๆ ภาค

 หนังตัวอย่าง ทอง ปี 2516 จากกากฟิล์ม 35 มม.สโคป ปี 2525


รอบเช้า ฉายควบ 2 เรื่อง

จากฟิล์มชุดสุดท้าย คอยพบกับ นางงูเห่า ปี 2519 ในโรงภาพยนตร์ 21 กรกฎาคม 2560 ฟรี


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2815
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
      ตามที่ได้แจ้งให้ทราบว่า วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2560 จะมีการฉายภาพยนตร์ไทยเรื่อง วีรบุรุษสงคราม (2526 สรพงศ์-ฉินฮั่น-ปิยะมาศ) ควบกับเรื่อง นางงูเห่า นั้น เนื่องจากในวันดังกล่าว กลุ่มวัยหวานวันวาน ได้แจ้งความประสงค์จะบริจาคกากฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง ทอง ภาค 1 ให้กับหอภาพยนตร์ฯ ด้วย ดังนั้น จึงขอเลื่อนการฉายภาพยนตร์เรื่อง วีรบุรุษสงคราม ออกไปก่อนและนำภาพยนตร์ไทยเรื่อง ทอง ภาค 1 มาจัดฉายควบกับเรื่อง นางงูเห่า แทน สำหรับฟิล์มภาพยตร์เรื่อง ทอง ภาค 1 นี้ กลุ่มวัยหวานวันวาน ได้มาจากวัดใหญ่สูงเนิน โคราช เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2560 เข้าใจว่าเป็นฟิล์มชุดสุดท้ายแล้วเพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครค้นพบกากฟิล์มเรื่องนี้อีกเลย แม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง ทอง ภาค 1 จะมีการออกแผ่นวีซีดี-ดีวีดีไปแล้ว แต่การได้ดูภาพยนตร์จากฟิล์มนั้นก็จะทำให้เราได้เห็นภาพเต็มๆ ฟิล์ม เต็มๆ เฟรมและครบทุกสัดส่วนของกล้องที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไว้ในปีนั้นๆ ดังภาพตัวอย่างที่นำมาให้ชมนี้ จึงแจ้งให้เพื่อนสมาชิกทราบ..

หนังตัวอย่าง ทอง ปี 2516 จากกากฟิล์ม 35 มม.สโคป ปี 2525

..

รอบเช้า ฉายควบ 2 เรื่อง
จากฟิล์มชุดสุดท้าย คอยพบกับ นางงูเห่า ปี 2519 ในโรงภาพยนตร์ 21 กรกฎาคม 2560 ฟรี


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..