ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าวประกาศ:
ครั้งแรกของ มิตร ชัยบัญชา ตำนานพระเอกตลอดกาลบนจอ
Netflix
‘มนต์รักนักพากย์’
เตรียมออกเดินทางไล่ล่าหาความฝันไปกับรถเร่ขายยาคันนี้ได้ใน
มนต์รักนักพากย์ วันที่ 11 ตุลาคมนี้ พร้อมกันบน Netflix
กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
•
กำกับโดย:
นนทรีย์ นิมิบุตร
•
นำแสดงโดย:
ศุกลวัฒน์ คณารศ (รับบท มานิตย์), หนึ่งธิดา โสภณ (รับบท เรืองแข), จิรายุ ละอองมณี (รับบท เก่า), สามารถ พยัคฆ์อรุณ (รับบท ลุงหมาน)
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 188 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ 32 ปี มิตร ชัยบัญชา อวสานอินทรีแดง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: บทที่ 188 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ 32 ปี มิตร ชัยบัญชา อวสานอินทรีแดง (อ่าน 414 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉัตรชัยฟิล์มshop
Thaicine Movie Team
Moderator
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 11681
พลังใจที่มี 441
เพศ:
รักการฉายด้วยฟิล์ม
บทที่ 188 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ 32 ปี มิตร ชัยบัญชา อวสานอินทรีแดง
«
เมื่อ:
30 กรกฎาคม 2013, 00:27:12 »
บทที่ 188
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
32 ปี มิตร ชัยบัญชา
อวสานอินทรีแดง หน้ากากมิตร-หน้ากากชีวิต 32 ปี..ไม่มีวันจบ
โดย มนัส กิ่งจันทร์
(facebook 27 พฤษภาคม 2556)
สวัสดีครับ
บทความนี้ผมเขียนลงพิมพ์ในหนังสือ film and stars ฉบับเดือนตุลาคม 2545.. ตอนนั้นเขียนไว้แบบนี้ครับ...เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา.. การตายของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าคนนั้นตายไปนานแล้ว ยังมีคนคิดถึง ยังอยู่ในความทรงจำและมีการจัดงานรำลึกนึกถึงเป็นประจำทุก ๆ ปี ก็เรียกว่า เป็นเรื่องแปลก ในวงการหนังไทย แม้จะเต็มไปด้วยดาวหลาย ๆ ดวง แต่ก็ไม่มีดาวดวงไหนจะอยู่ค้างฟ้า เมื่อถึงเวลา ดาวแต่ละดวง ก็ต้องอับแสงลง เหลือแต่เพียงอดีต ซึ่งไม่ช้า ไม่นาน ดาวดวงนั้นก็จะถูกลืมเลือนไปในที่สุด
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระเอกหนังไทยคนหนึ่งเมื่อ 32 ปีที่ผ่านมา แม้ถึงทุกวันนี้ ก็ยากที่แฟนหนังไทยจะลืมเลือนไปได้ พระเอกผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงด้วยอายุเพียง 36 ปี จากอุบัติเหตุพลัดหลุดบันไดเชือกของเฮลิคอปเตอร์ขณะโหนตัวเพื่อแสดงฉากสุดท้ายในการถ่ายทำหนังเรื่อง
อินทรีทอง
เมื่อวั
นที่ 8 ตุลาคม 2513 ที่บริเวณอ่าวดงตาลพัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี
พระเอกหนังไทยผู้ยิ่งใหญ่..
มิตร ชัยบัญชา
มิตร เขียนประวัติด้วยลายมือตัวเองไว้ก่อนตายว่า
“……เขาป็นบุตรนายชม-นางสงวน ระวีแสง เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2477 ที่ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่เคยเห็นหน้าพ่อแม่เพราะท่านแยกทางกัน ทิ้งเขาไว้จนชาวบ้านเรียกว่า ไอ้ทิ้งหรือบุญทิ้ง ระวีแสง เขาเป็นเด็กวัดอาศัยอยู่กับหลวงอาแช่มน้องชายพ่อซึ่งบวชเป็นพระ แต่พออายุได้ 8 ขวบ แม่ก็กลับมารับไปกรุงเทพฯ โดยไปอยู่แถวถนนพะเนียง ข้างวัดแคนางเลิ้ง อำเภอป้อมปราบฯ แม่เปลี่ยนชื่อให้เขาใหม่เพราะชื่อ บุญทิ้ง มันบาดใจพร้อมกับให้ใช้นามสกุลของนายเฉลิมฯพ่อใหม่ว่า
สุพิศ พุ่มเหม
ในวัยเด็กเขาต้องช่วยแม่ขายผัก ขายของที่ตลาดนางเลิ้ง ทำทุกอย่างให้ได้เงินมาเรียนหนังสือ เขาเรียนจบ ม.6 ที่โรงเรียนไทยประสาทวิทยาและไป จบ ม.8 ที่โรงเรียนพระนครวิทยาลัย จากนั้นก็ไปเรียนโรงเรียนการบินที่นครราชสีมาและเป็นนักเรียนศิษย์การบิน รุ่น ป.15 ของกองทัพอากาศ แล้วจึงได้มาประจำอยู่ที่ อย.ตอ.ร้อย 1 พัน 1 ดอนเมือง กรุงเทพฯ ในชื่อและยศ จ่าอากาศโทพิเชษฐ์ พุ่มเหม….”
ปี 2499
จ่าสิบเอกสมจ้อยฯ ได้แนะนำให้มิตรรู้จักกับ กิ่ง แก้วประเสริฐ นักหนังสือพิมพ์ แล้วกิ่งก็พาไปพบกับ สุรัตน์ พุกกะเวส บรรณาธิการนิตยสารดาราไทย เพื่อฝากฝัง ใบหน้าท่าทางของมิตรเป็นที่ถูกอกถูกใจ ประทีป โกมลภิส ผู้กำกับหนังซึ่งกำลังมองหาคนที่จะมารับบทเป็น ไวยศักดา พระเอกในหนังเรื่องใหม่
ชื่อ มิตร ชัยบัญชา
จึงได้กำเนิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับหนังเรื่องแรกในชีวิต..
ชาติเสือ
ชาติเสือ
สร้างเป็นหนัง 16 มม.โดย ทัศไนยภาพยนตร์ มี รังสรรค์ ตันติวงศ์ อำนวยการสร้าง ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง แม้จะเป็นหนังเรื่องแรก แต่มิตรก็ได้แสดงประกบกับนางเอกสาวในยุคนั้นถึง 6 คน คือ
เรวดี ศิริวิไล-ประภาศรี สาทรกิจ-น้ำเงิน บุญหนัก-นัยนา ถนอมทรัพย์- อุษณี อิศรานันท์- นพมาศ ศิริโสภณ
ไปถ่ายทำที่โคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ประมาณ 3 เดือน นำออกฉายครั้งแรกในวันที่18 มิถุนายน 2501 ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงและเฉลิมบุรี ก็ประสบความสำเร็จเพราะเมื่อถอดโปรแกรมแล้วได้เงินประมาณเจ็ดแสนบาทเศษไม่น้อยเลยสำหรับหนังที่ใช้พระเอกหน้าใหม่อย่าง มิตร ชัยบัญชา ทุกวันนี้ ชาติเสือ กลายเป็นหนังที่คนรักมิตร ชัยบัญชา อยากดูมาก ถามไถ่ไปยังโครงการคิดถึงหนังไทย ผู้ผลิตวีซีดีหนังมิตร ชัยบัญชาเรื่องดัง ๆ ออกจำหน่ายว่า จะมีโอกาสได้ดูหรือไม่ ซึ่งก็ยังให้คำตอบไม่ได้ และหอภาพยนตร์ฯ ก็ไม่มีฟิล์มหนังเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ชาติเสือ จึงถูกแทงบัญชีว่า ไม่น่ามีฟิล์มหนังเหลืออยู่ให้กลับมาฉายหรือทำวีซีดีได้อีก ถ้ามีอยู่ ฟิล์มหนังเรื่องนี้จะมีอายุถึง 44 ปีแล้ว จะฉายได้หรือไม่ ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ แต่แทบไม่น่าเชื่อว่า จะมีการพบฟิล์มหนังเรื่องแรกของมิตร ชัยบัญชา
ล่าสุดเดือนตุลาคม 2544
ข่าวว่าคนที่เก็บฟิล์มหนังเรื่องชาติเสือและหนังมิตร ชัยบัญชาอีกหลายเรื่องได้ขายฟิล์มหนังนั้นให้พ่อค้าตลาดคลองถม แต่ยังไม่ทันที่ โครงการคิดถึงหนังไทย และผู้เขียน จะได้เห็นฟิล์มว่า มีสภาพสมบูรณ์หรือไม่ ก็มีการขายฟิล์มไปอีกทอดหนึ่งได้ความว่า คนที่ซื้อให้ราคา 3 เท่าของราคาหนังที่ซื้อขายกันและว่าจะเอาไปทำวีซีดีออกขายด้วย แต่รอมาจนถึงวันนี้ ยังไม่มีวี่แววว่าจะเห็นวีซีดี ชาติเสือ ออกวางตลาดแต่อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ก็อุ่นใจว่า
ชาติเสือ
ยังมีฟิล์มหนัง แม้จะรู้ว่าการเอาหนัง16 มม.ไปทำเป็นวีซีดีซึ่งเริ่มจากการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์กับผู้สร้างหรือทายาท แล้วจึงนำฟิล์มหนังไปเทเลซีนเปลี่ยนให้เป็นเทป จากนั้นก็บันทึกเสียงพากษ์ วางเพลงประกอบ ขออนุญาตทำการผลิตต่อรัฐฯ เริ่มปั๊มแผ่นวีซีดีและหาตลาดจำหน่าย ล้วนเป็นเรื่องยุ่งยากที่ผู้ผลิตมือใหม่ต้องมีใจสู้พอควรจึงจะฝ่าฟันทำวีซีดีออกจำหน่ายได้ ก็ขอให้ดวงวิญญาณของมิตร ชัยบัญชา ช่วยดลใจ ช่วยเป็นกำลังใจให้คนที่ซื้อฟิล์มหนังไป รีบผลิตวีซีดีออกมาให้กลุ่ม คนรักมิตร ชัยบัญชา ได้มีโอกาสดูหนังเรื่องแรกของมิตร ชัยบัญชา หลังจากที่หายไปถึง 44 ปี
เปิดหน้ากากอินทรีแดง
13 ปีในชีวิตการแสดงของมิตร ชัยบัญชา
แสดงหนังไว้กว่า 266 เรื่อง ผ่านการแสดงมาแล้วทุกบทบาท แม้จะไม่เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง แต่การแสดงของมิตรก็ยังเป็นที่ชื่นชอบ ไม่เคยทำให้ผิดหวัง รางวัลดาราทองพระราชทานและโล่พระราชทานดาราคู่ขวัญมิตร- เพชรา จึงเป็นเสมือนเกียรติยศที่มหาชนรักและศรัทธามอบให้มิตร ชัยบัญชา แต่มีอยู่บทบาทหนึ่งที่มิตร รักและหลงใหล เขาจะตั้งใจแสดงให้ดีที่สุดเมื่อมีโอกาสได้เล่นบท อินทรีแดง ในปี 2500 นิยายอินทรีแดง เขียนโดย เศก ดุสิต ได้รับความนิยมจากนักอ่านอย่างมาก
หนึ่งในนั้นก็รวมถึงมิตร ชัยบัญชา เรียกได้ว่า ชอบอินทรีแดงและปรารถนาเหลือเกินที่จะแสดงบท โรม ฤทธิไกร หรือ อินทรีแดง จนทำให้ รังสรรค์ ตันติวงศ์ และประทีป โกมลภิส ตัดสินใจซื้อนิยายอินทรีแดง ตอน จ้าวนักเลง มาสร้างหนังและมอบให้ มิตร ชัยบัญชา แสดงเป็นหนังเรื่องที่สองและรับบท อินทรีแดง ตามที่ปรารถนา..
จ้าวนักเลง
สร้างเป็นหนัง16 มม.โดย ทัศไนยภาพยนตร์ ครั้งนี้
มิตร ชัยบัญชา
ได้แสดงกับนางเอกสาวสวย อมรา อัศวนนท์ และ เรวดี ศิริวิไล ตลอดการถ่ายทำ มิตร ชัยบัญชา ตั้งใจแสดงอย่างเต็มความสามารถ สมกับที่ประทีป โกมลภิส คาดหวังว่า จะทำให้มิตร ชัยบัญชา โด่งดังจากหนังเรื่องนี้ให้ได้และก็ไม่ผิดหวัง
เมื่อนำออกฉายครั้งแรกวันที่ 7 มีนาคม 2502 ที่โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง และ เฉลิมบุรี
ประชาชนให้การต้อนรับมิตร ชัยบัญชา กับบทบาทใหม่ อินทรีแดง อย่างมาก จนสามารถทำรายได้เกินล้านบาท จ้าวนักเลง สร้างชื่อเสียงให้มิตร ชัยบัญชา เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น เรียกได้ว่า เกิดอย่างเต็มตัวเพราะหนังเรื่องนี้และสามารถก้าวขึ้นมาเป็นพระเอกใหม่เคียงข้างกับพระเอกที่โด่งดังอยู่แล้วอย่าง ลือชัย นฤนาท ชนะ ศรีอุบล อดุลย์ ดุลยรัตน์ เป็นต้น น่าเสียดายที่ขณะนี้ ไม่มีใครพบฟิล์มหนังเรื่องนี้เลย ใครอยากดู คงต้องทำใจ
มิตร ชัยบัญชา
ได้กลับมาสวมหน้ากาก
อินทรีแดง
อีกเป็นครั้งที่สอง ซึ่งครั้งนี้ มิตรร่วมกับเพื่อน ๆ สร้างหนังเองหนังในเรื่อง ทับสมิงคลา.. ทับสมิงคลา สร้างเป็นหนัง 16 มม. ประพันธ์และบทหนังของ เศก ดุสิต มี อมรา อัศวานนท์ เป็นนางเอกและ วิน วันชัย กำกับการแสดง มิตร ชัยบัญชา ก็ยังทุ่มเทให้กับบท
อินทรีแดง
ที่เขารักอย่างมาก แม้ว่า ก่อนหน้านั้น มิตรเพิ่งจะประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนขาหักและต้องใช้เหล็กดามขาไว้ตลอดมา
เมื่อนำออกฉายครั้งแรกในวันที่ 21 ธันวาคม 2505 ที่โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์
ก็ประสบความสำเร็จในด้านรายได้อีก
อินทรีแดง
เป็นบทบาทที่
มิตร ชัยบัญชา
รักและอยากแสดงมานานแล้ว จึงไม่แปลกใจเลยว่า จะมีคนเห็น มิตร ชัยบัญชา วนเวียนแอบไปนั่งดูหนังในห้องเครื่องฉายที่โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ ดูไม่น้อยกว่าสิบรอบ ยิ่งถ้าคนดูชื่นชอบในบทบาทที่เขาแสดงแล้ว มิตรจะถือว่า เป็นกำลังใจ ทำให้กล้าแสดงหนังเอาใจแฟน ๆ แม้ว่าจะต้องเสี่ยงในบทบู๊ โลดโผน เครื่องแต่งกายชุดอินทรีแดงที่ใช้แสดงนั้น มิตรจะเป็นผู้ตัดและเก็บรักษาเองอย่างทะนุถนอม พร้อมจะนำออกใช้งานได้ทันที ซึ่งประกอบไปด้วย เสื้อกางเกงสีดำ เข็มขัดริ้วแดง มีหัวเป็นรูปนกอินทรีถลาลงจับเหยื่อ หน้ากากสีแดงตัดด้วยสักหลาด เป็นรูปนกอินทรีกางปีกขลิบด้วยหนังสีดำตามขอบ มีเส้นยางสีดำใช้สำหรับรัดกับศรีษะ เหล่านี้เอง เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า มิตรรักและหลงใหลในบทอินทรีแดงเป็นที่สุด แล้ว มิตร ชัยบัญชา ก็มีโอกาสใช้เครื่องแบบอินทรีแดงอีก ในเรื่อง
อวสานอินทรีแดง
..
อวสานอินทรีแดง
บทประพันธ์ของ
เศก ดุสิต
สร้างเป็นหนัง 16 มม.โดย ดุสิตภาพยนตร์ มี แดน กฤษดา อำนวยการสร้าง ครั้งนี้ เปลี่ยนให้ เพชรา เชาวราษฎร์ นางเอกสาวสวยหน้าใหม่ซึ่งโด่งดังจาก บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (2505) มารับบทเป็น วาสนา เทียนประดับ คู่หูขวัญใจของอินทรีแดง เป็นครั้งแรก กำกับการแสดงโดย ครูเนรมิต นำออกฉายครั้งแรกวันที่ 27 ธันวาคม 2506 ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ก็ไม่สร้างความผิดหวังแต่อย่างใด
มิตร ชัยบัญชา
ยังคงรับบท
โรม ฤทธิไกร
ในมาด
อินทรีแดง
อีกในเรื่อง
ปีศาจดำ (2509) และ จ้าวอินทรี (2511)
ตามที่ปรารถนา แล้วโอกาสสุดท้ายในบท อินทรีแดง ก็มาถึง..อินทรีทอง บทประพันธ์ของ เศก ดุสิต สร้างเป็นหนังมาตรฐาน 35 มม. เสียงในฟิล์มโดย
สมนึก เหมบุตร
ซึ่งมิตร ชัยบัญชาขอเป็นผู้กำกับการแสดงด้วยตนเองเป็นครั้งแรก ในบทจะมีอินทรีแดงตัวปลอมออกอาละวาดทำลายชื่อเสียงอินทรีแดงตัวจริง มิตรรับบทเป็นอินทรีทองเพื่อมาปราบอินทรีแดงตัวปลอม ชุดอินทรีแดงที่มิตรยังเก็บรักษาไว้แทบไม่ต้องใช้ มิตรได้มอบหน้ากากอินทรีแดงและเข็มขัดให้ ครรชิต ขวัญประชา หรือที่มิตรเรียกเขาว่า มิตร ปลาทู ผู้ซึ่งมิตรหมายมั่นจะให้ขึ้นเป็นดาราแทนเขาในอนาคต มิตร ชัยบัญชา ทุ่มเทให้กับ อินทรีทองอย่างมาก
การถ่ายทำดำเนินไปเรื่อย ๆ จนมาถึงการถ่ายทำฉากสุดท้ายของเรื่องที่อ่าวดงตาล พัทยา ซึ่งมี วิเชียร วีระโชติ ทำหน้าที่ตากล้อง เศก ดุสิต เขียนถึงการถ่ายทำฉากนี้ว่า
“..นักบินซึ่งแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของเพชราขับเฮลิคอปเตอร์มายังจุดที่ถ่าย วิเชียรกดสวิทซ์กล้องจับภาพไว้ เครื่องก็บินมาหยุดตรงจุดและหย่อนบันไดเชือกลงมา มิตรในชุดอินทรีแดงวิ่งปราดเข้าไปหาบันไดเชือกที่ห้อยโตงเตงอยู่ เขากระโดดเกาะบันไดนั้นโดยใช้มือซ้ายจับบันไดขั้นที่สามไว้ เครื่องก็ยกตัวขึ้นพาร่างในชุดดำของมิตรลอยละลิ่วขึ้นกลางฟ้าและเริ่มบินห่างกล้องออกไป วิเชียรแพนกล้องตาม เห็นร่างในชุดดำของมิตรโหนต่องแต่งอยู่ เครื่องก็บินวนได้รอบหนึ่งแล้วและกำลังเริ่มรอบที่สอง หลายคนในกองถ่ายเห็นมิตรใช้เท้าที่ห้อยอยู่ตบกันเองหลายครั้ง ทุกคนคิดว่า จะต้องมีอะไรเกิดขึ้นแล้ว ผู้กำกับบทวิ่งออกไปโบกมือสั่งให้นักบินนำเครื่องลงทันที ขณะนั้นเครื่องกำลังตีวงเลี้ยวกลับมายังจุดถ่าย แต่ทว่าเกือบจะถึงจุดลงทุกคนก็เห็นมือซ้ายของมิตรหลุดจากบันไดที่จับอยู่ หัวใจของทุกคนหายวาบ ภาวนาให้มือมิตรจับบันไดให้มั่นแต่ไม่เป็นผล มือขวาของมิตรหลุดจากบันไดอีก ร่างของเขาลอยละลิ่วลงมาทันที…เขาตายทั้งๆ ที่เขากำลังปฏิบัติหน้าที่ ตายในเครื่องแบบอินทรีแดงที่เขารักที่สุดนั่นเอง….”
มิตร ชัยบัญชา
จากไปเพราะหนังเรื่อง
อินทรีทอง
ทำให้ อินทรีทอง เป็นหนังที่มหาชนสนใจอยากดูมากที่สุดเหมือนกับรู้ว่ามิตร ชัยบัญชา รักและหลงใหลในบท อินทรีแดง เป็นที่สุด ถึงขนาดยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพื่อให้งานแสดงออกมาสมจริงสมจัง
อินทรีทอง ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2513 ที่โรงภาพยนตร์ เพชรรามา
อินทรีแดงผงาดฟ้า…กลับมาเฉลิมกรุง
แม้เราจะไม่มีโอกาสเห็น
มิตร ชัยบัญชา
ในบทบาท
อินทรีแดง
จากเรื่อง จ้าวนักเลง ทับสมิงคลา เพราะหาฟิล์มหนังไม่ได้ แต่ยังโชคดีที่บทบาท อินทรีแดง ของมิตร ชัยบัญชา ครั้งที่สาม ยังมีฟิล์มเหลืออยู่ สมัยก่อนหนังแต่ละเรื่องเมื่อเลิกฉาย ก็จะกลายเป็นของเก่า ไร้ค่า บางคนก็สาวฟิล์มทิ้งแล้วเอารีนเหล็กกลับมาใช้ต่อ โดยไม่เฉลียวใจว่าจะมีใครอยากดูหนังเรื่องนั้นในอนาคตหรือไม่ ทำให้หนังไทยเก่าหายไปจากวงการ หนังไทยเก่าๆ ในอดีตเลยกลายเป็นเพียงเรื่องเล่าขานให้ลูกหลานได้ฟังเท่านั้น แต่ถ้าจะดู ก็ไม่มีให้ดู เพราะโรงหนังมักจะไม่นำกลับมาฉาย จนเมื่อมีโทรทัศน์ วีดีโอเทป วีซีดี ก็ยิ่งเหมือนไปเพิ่มความอยากดูหนังไทยเก่า ดาราเก่าๆให้มากขึ้น มีคำถามหาหนังไทยเก่าๆ อยู่เสมอว่าทำเป็นวีซีดีหรือยัง แต่ก็ไม่ทันการณ์ หนังไทยเก่าหลายเรื่องได้รับการยืนยันแล้วว่า ไม่มีฟิล์มหนังเหลืออยู่ที่จะนำมาฉายหรือทำวีซีดีได้อีก
การกำเนิดของหอภาพยนตร์ฯ ในปี 2527
โดยหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่อย่างคุณโดม สุขวงศ์และคณะ เสมือนหนึ่งเป็นเปลวเทียนจุดประกายให้คนไทยเริ่มมีความหวังที่จะมีหนังเก่าดูและได้หันกลับมาดูอดีตพร้อมกับให้ความร่วมมือต่างๆ เพื่อให้ได้ฟิล์มหนังไทยบางส่วนกลับจากห้องแลปต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฟิล์ม 35 มม. เสียงในฟิล์ม ส่วนหนังไทยเก่าที่แสดงโดยพระเอกคนสำคัญหลายๆ คน ก็พบกับปัญหาเพราะสร้างในยุค 16 มม.ซึ่งจะไม่มีฟิล์มต้นฉบับเนกาตีฟ ใช้ฟิล์มที่ถ่ายนำไปล้างแล้วตัดต่อออกฉายได้เลย กว่าจะครบทั่วประเทศฟิล์มหนังก็ชำรุดผุพังไปตามวันเวลาที่ฉาย การจะนำหนัง16 มม.กลับมาฉายหรือทำวีซีดีจึงมีอยู่ทางเดียวคือ ค้นหาฟิล์มหนังที่ใช้ฉายในยุคนั้นให้ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่ถ้าเป็นหนังมิตร ชัยบัญชา
กลุ่มคนรักมิตร ชัยบัญชา
ก็ยังจะพยายามค้นหาต่อไป..
เป็นอันรู้กันว่าทุกวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี จะมีงานรำลึกถึง พระเอกผู้ยิ่งใหญ่
มิตร ชัยบัญชา
“…แต่ก่อนผมก็เหมือนกับอีกหลาย ๆ คนคือ เกลียดหนังไทย ผมนี้เกลียด มิตร ชัยบัญชา เป็นที่สุด ตอนที่เขาตาย ผมยังดีใจ ตายเสียก็ดีหนังไทยจะได้เจริญจนเมื่อมาศึกษาและเข้าทำงานทางด้านนี้จริงๆจังๆ ผมถึงรู้ในความยิ่งใหญ่และอิทธิพลของเขาที่มีต่อหนังไทยอย่างแท้จริงคงจะเป็นเพราะสมัยก่อนผมถูกครอบงำจากวัฒนธรรมตะวันตกมากไปหน่อย ทุกวันนี้ ผมไม่ปฏิเสธเลยว่า เป็นผู้หนึ่งที่หลงรักมิตร แม้ว่าจะดูช้าไปหน่อยก็ตามที” โดม สุขวงศ์ ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือหนังและวีดีโอ ฉบับที่ 12 ปักษ์หลังสิงหาคม 2531
แม้วันเวลาจะผ่านไปนาน แต่ก็ยังมีคนอีกมากที่ให้ความรักและชื่นชอบในงานการแสดงของ
มิตร ชัยบัญชา
จึงไม่แปลกอะไรที่จะเรียกว่า พระเอกผู้ยิ่งใหญ่
มิตร ชัยบัญชา
ได้เต็มปากเต็มคำ ในงานรำลึกถึงมิตร ชัยบัญชา จะมีนิทรรศการแสดงภาพถ่ายและใบปิดโปสเตอร์หนังมิตร ชัยบัญชาไว้ให้ดู แม้ว่าจะหาได้ยาก แต่ก็ได้ความร่วมมือจากคนรักมิตรเสมอและจะมีการนำหนัง
มิตร ชัยบัญชา
มาฉาย ซึ่งในระยะหลังได้โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ช่วยเหลือด้านสถานที่ จนกลายเป็นที่ชุมนุมคนรักมิตร ชัยบัญชา ที่จะมาพร้อมกันในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปีไปโดยปริยาย ใครที่ต้องการอยากดูภาพถ่าย หนังสือ หาซื้อวีซีดีหนังมิตร ชัยบัญชา ก็มาหาได้จากงานที่ ศาลาเฉลิมกรุง รับรองไม่ผิดหวัง
แต่ว่าหนังมิตร ชัยบัญชา มีไม่มาก ที่ทำมาขายก็เป็นหนังที่โชคดีหาฟิล์มได้ อย่าตั้งใจรอเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพราะวีซีดีที่ทำออกมามีจำนวนจำกัด หมดแล้วก็หมดเลย แม้ว่า ระยะหลังจะหาหนังมิตร ชัยบัญชา มาฉายได้ยาก แต่กลุ่มทีมพากษ์พันธมิตร เจ้าของโครงการคิดถึงหนังไทย ผู้ทำให้คนรักมิตร มีวีซีดีหนังมิตรหลังจากที่รอคอยมาช้านานอย่างเรื่อง
อินทรีทอง พระลอ กังหันสวาท มนต์รักลูกท่ง แม่ย่านาง จุฬาตรีคูณ พระอภัยมณี
โดดเข้ามาช่วยด้านการนำหนังมาฉาย จนคนรักมิตรติดอกติดใจ เรียกร้องให้หาหนังมาฉายอยู่ทุกปีและตุลาคมปีนี้ ก็จะนำ
อวสานอินทรีแดง
กลับมาฉาย ฟิล์ม
อวสานอินทรีแดง
ชุดนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากหอภาพยนตร์แห่งชาติและเป็นฟิล์มชุดเดียวที่เคยใช้ฉายครั้งแรกในปี 2506 แต่สภาพฟิล์มค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อบันทึกเสียงพากษ์ วางเพลงประกอบใหม่ตรงตามต้นฉบับเดิม จึงดูสนุก ตื่นเต้นไปกับบทบาท
อินทรีแดง
ที่มิตร ชัยบัญชารักและถือว่าแสดงได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง
อินทรีแดง
จึงบินกลับมาผงาดฟ้ายึดรังเฉลิมกรุง อีกครั้ง แต่ปีนี้ จะเริ่มงานเร็วกว่าทุก ๆ ปี
รอบแรกวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2545 เวลา 19.30น. และวันที่ 5-6-7-8 ตุลาคม 2545 ฉายวันละ 4 รอบเวลา 12.00 - 14.30 - 17.00 19.30 น.
เฉพาะ
วันที่ 8 ตุลาคม 2545
จะมีงานคืนแห่งหน้ากากอินทรีแดง เริ่มเวลา 16.00น.ใครที่แต่งชุดหน้ากากอินทรีแดง มาร่วมงาน แล้วเข้าตากรรมการ จะได้รับรางวัลพิเศษเป็น วีซีดีหนังมิตร ชัยบัญชาเรื่องดัง ๆ 9 เรื่องจากโครงการคิดถึงหนังไทย แม้ มิตร ชัยบัญชา จะไม่มีโอกาสกลับมารับบท อินทรีแดง ได้อีก แต่เรื่องราวของ มิตร ก็ยังถูกเล่าขานไม่รู้ลืม หนังที่ มิตร แสดงไว้ก็ยังมีคนออกค้นหาเพื่อนำกลับมาฉายดูอีก ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเหตุเป็นผลชี้ให้เห็นว่า แม้จะผ่านมาถึง 32 ปี เรื่องราวของ มิตร ชัยบัญชา พระเอกผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีวันจบและจะมีอยู่อย่างนี้ตลอดไป ตลอดกาล..
หมายเหตุ
เป็นบทความเก่าตีพิมพ์เมื่อปี 2545 ข้อมูลบางอย่างจึงอาจเปลี่ยนแปลงไป
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มีนาคม 2014, 04:39:30 โดย นายเค
»
บันทึกการเข้า
ฉัตรชัย สุวรรณโสภา
88/1 ม.4 ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120
E-mail
chatchai_suw@hotmail.com
โทร 081-7636195
ต่อพงศ์ภาพยนต์ ระบบ 35 ม.ม. ฉัตรชัยภาพยนตร์ กลางแปลงย้อนยุค 16 ม.ม.
ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซีราชบุรี ชื่อบัญชี ฉัตรชัย สุวรรณโสภา หมายเลขบัญชี 940-202235-1
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 188 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ 32 ปี มิตร ชัยบัญชา อวสานอินทรีแดง