ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 693 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ เปิดแฟ้ม.. 29 ปี เกิดมาลุย  (อ่าน 920 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2857
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต

บทที่ 693
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
เปิดแฟ้ม.. 29 ปี เกิดมาลุย
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 21 กรกฎาคม 2558)


          สวัสดีครับทุกท่าน.. วันที่ 2 สิงหาคม 2558 ที่จะถึงนี้ ก็จะเป็นเวลา 29 ปีแล้วที่หนังเรื่อง “เกิดมาลุย” ผลงานการสร้างของกลุ่มนักแสดง พันนา ฤทธิไกร ได้ออกฉายมา.. เกิดมาลุย ฉายครั้งแรกวันที่ 2 สิงหาคม 2529 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย-พันธ์ทิพย์-วิลล่า 3 โรงชั้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะออกไปฉายในต่างจังหวัด.. เกิดมาลุย ทำให้เกิดนักแสดงหน้าใหม่อีกหลายคนจึงถึงปัจจุบันนี้..

          29 ปีมาแล้วที่ เกิดมาลุย ได้ออกฉาย.. ขณะที่ก็เป็นเวลา 29 ปีมาแล้วเช่นกัน ที่แฟ้มเล่มนี้ เล่มที่เขียนว่า “เกิดมาลุย” ได้ถูกเก็บไว้ในมือของผู้ร่วมทีมงานสร้างคนหนึ่ง.. กระทั่งเมื่อ พันนา ฤทธิไกร เสียชีวิตลงเมื่อปีที่แล้ว แฟ้มนี้ก็เกือบจะถูกนำมาพูดถึง.. แต่ก็มีอันต้องเก็บเงียบไว้อีก ณ บัดนี้ เพื่อเป็นการต้อนรับ 29 ปีของ เกิดมาลุย.. ผมจึงขออนุญาตเจ้าของแฟ้ม นำแฟ้มเล่มนี้มาเปิดให้ทุกท่านได้ดู ได้รู้ว่า กว่าจะเป็น.. เกิดมาลุย นั้น เกิดอะไรขึ้นบ้าง..

แต่วันนี้.. ดูหน้าปกแฟ้มไปก่อนนะครับ.. เดี๋ยวพรุ่งนี้ จะมาดูกันต่อว่า ในแฟ้มมีอะไรอีกบ้าง..


          ครับ.. เมื่อวานผมเกริ่นไว้แล้วว่า จะเปิดแฟ้ม 29 ปีเกิดมาลุย.. วันนี้ ก็มาดูเอกสารแผ่นแรกกันเลยครับ.(ตามภาพข้างล่างนี้) ดูแล้ว อาจจะสงสัยว่า เกี่ยวอะไรกับ เกิดมาลุย.. เพราะไม่มีอะไรที่จะเกี่ยวกับชื่อ เกิดมาลุย ได้เลย.. แต่ถ้าเห็นชื่อ เพชรพันนาโปรดักชั่น ก็พอจะเดาออกว่า ต้องเป็นหนังของพันนาแน่ๆ เพราะก่อนหน้านั้นก็ไม่เคยมีชื่อ เพชรพันนาโปรดักชั่นอยู่แล้ว (ส่วนเหตุผลในการตั้งชื่อว่า เพชรพันนาโปรดักชั่น นั้น ต้องขอให้ผู้ที่เคยร่วมงานมาอธิบายนะครับว่า มีที่มาอย่างไร)...

          ต่อมาก็มีชื่อจริงของ พันนา ฤทธิไกร คือ กฤติยา ลาดพันนา เป็นผู้คิดจะสร้างหนังเรื่องนี้.. แต่มีชื่อหนังคือเรื่อง มือล่าระหัสเชน CHAIN.. ซึ่งเกี่ยวกับการตั้งชื่อหนังนั้น ผมฟังมาจากคุณมรกต แก้วธานี กับ อาจารย์เจริญ สาดา พอสรุปได้ว่า ตอนแรกๆ ที่คิดจะสร้างหนังเรื่องนี้นั้น ก็พยายามช่วยกันตั้งชื่อ โดยชื่อแรกๆ ที่ตั้งไว้ก็คือ เกิดมาลุย..นี่แหละครับ แต่เพราะคิดว่า มันเชย ก็เลยพยายามจะเปลี่ยนชื่อ เช่น เพชฌฆาตดำ หรือ มือล่าระหัสเชน.. แล้วก็อีกหลายชื่อ.. แต่ในที่สุดก็กลับมาใช้ชื่อเดิม เกิดมาลุย.. เพราะระหว่างสร้างหนัง ก็มีวิบากกรรมหลายอย่าง.. ตั้งแต่เรื่องการเล่นหนักหน่วงจริงๆ ในการแสดง การช่วยกันหาทุนสร้างเอง หลายคนก็ต้องขอเงินจากพ่อแม่มาช่วย บางคนก็เอาทองไปขาย ส่วนพันนานั้นก็ต้องให้พ่อแม่ขายที่ดินเอาเงินมามาสร้างหนัง.. วิบากกรรมจริงๆ ครับ.. ทุกคนก็เลยคิดว่าชื่อ เกิดมาลุย นี่แหละเหมาะสมที่สุด..

          ส่วนเรื่องชื่อพระเอก-นางเอกที่เห็นว่าเป็น ทูน-ม.ล.สุรีย์วัล.. นั้น ผมขอให้ผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ facebook กลุ่มเราเล่าให้ฟังนะครับว่า ทำไม ตอนแรกถึงคิดจะใช้พระเอก-นางเอกจากกรุงเทพฯ แล้วสุดท้ายทั้งหมดก็ต้องเล่นเอง แสดงเอง.. และชื่อผู้กำกับด้วยที่ใช้ชื่อว่า เพชรวรพล... นั้นมาจากชื่อใครกันบ้าง... วันนี้ เกริ่นนำไว้แค่นี้ก่อนนะครับ รอฟังจากผู้รู้ที่จะเข้ามาเล่าต่อจากนี้นะครับ...

----------------------------------------------


          ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า "เพชรพันนาโปรดักชั่น" ตั้งชื่อขึ้นมาจากอะไร.. แต่ถ้าจะให้ผมเดาๆ ก็ขอเดาว่ามาจากคำว่า เพชร+พันนา.. นะครับ โดย คำว่า พันนา นั้น มาจากส่วนหนึ่งของนามสกุล "ลาดพันนา" ซึ่งเป็นนามสกุลของ กฤติยา ลาดพันนา นั่นเอง.. ส่วนคำว่า "เพชร" นั้นถ้าเดาแบบกลางๆ ก็ต้องเดาว่า เป็นคำที่ใช้ให้เป็นมงคลประหนึ่งคำว่า เพชรหรือทองนั่นแหละ.. แต่ถ้าจะเดาให้ลึกๆ จริงๆ ผมก็เดาว่า มาจากนามสกุลของเพื่อนซี้พันนาที่ร่วมกันสร้างและกำกับหนังเรื่องนี้คือ ประพนธ์ เพชรอินทร์.. โดยตัดเอาคำว่า "เพชร" มาใช้นะครับ.. แต่ที่ยังงงๆ อีกก็คือชื่อผู้กำกับครั้งแรกที่ตั้งชื่อไว้ว่า เพชรวรพล นั่นซิมาจากไหน..

          ส่วนภาพนี้คือ ประพนธ์ เพชรอินทร์ ที่ผมพูดถึงข้างต้นนะครับ.. แม้ภายหลังจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่หนังที่พันนาสร้างและกำกับ ก็ยังใส่ชื่อ ประพนธ์ เพชรอินทร์ กำกับการแสดงอยู่ตลอด..


          เอกสารแผ่นต่อมา ก็จะเป็นบรรดารายชื่อผู้ที่มีหน้าที่ต่างๆ กับการสร้างหนังเรื่อง เกิดมาลุย.. ภาระหน้าที่จะเขียนอยู่ด้านซ้ายมือ..ส่วนผู้รับผิดชอบ จะอยู่ด้านขวามือ ลองอ่านชื่อดูนะครับว่า มีใคร ทำอะไรกันบ้าง..



แผ่นนี้จะบอกชื่อผู้แสดงคิวบู๊ในยุคนั้น..

          เจ้าของแฟ้มจะเก็บเอกสารต่างๆ ไว้หลากหลาย แต่ทั้งหมดก็จะเกี่ยวกับการกำเนิดของหนังเรื่อง เกิดมาลุย



 จ่ายอะไรไปบ้าง ก็จด ก็เก็บหมดครับ


เก็บไว้หมดครับ..


แผ่นนี้จะเห็นชื่อหนังว่าเป็น ความบ้าจงเจริญ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของเรื่อง เกิดมาลุย


แผ่นบอกว่าเป็นค่าแรง โต ยอดรัก ตัวประกอบที่ร่วมแสดง คนนี้เดินทางไปจากกรุงเทพฯ ไปถ่ายที่ขอนแก่นครับ


ชายหนุ่มคนนี้แหละครับ โต ยอดรัก..ยืนคู่กับนางเอกของเรื่อง เกิดมาลุย


โต ยอดรัก เล่นกับ บุรี อ่วมกระโทก (ข่าวว่า ตายแล้วคนนี้)


ภาพแรกๆ ของนักแสดงคิวบู๊ของ เกิดมาลุย.


ภาพแรกๆ ของนักแสดงคิวบู๊ ของ เกิดมาลุย


หางตั๋วหนัง ที่ทีมงานผู้สร้างเดินทางมาดูหนัง เกิดมาลุย ที่ฉายครั้งแรกในกรุงเทพฯ..


ตัดข่าวหนัง เกิดมาลุย จากหนังสือพิมพ์เก็บไว้ด้วย


ชื่อที่ตัดสินใจใช้จริงๆ หลังจากที่เปลี่ยนไปเปลี่ยมาหลายชื่อ...


โฆษณาหนัง เกิดมาลุย ที่ลงหนังสือพิมพ์..ยังไม่กล้าบอกชื่อนักแสดงเพราะบอกไป ตอนนั้นก็ยังไม่มีใครรู้จัก..


ใบปิด เกิดมาลุย มี 2 แบบ..ครับ


เกิดมาลุย แนวตั้ง..


กองถ่ายหนัง เกิดมาลุย กับฉากชนป้ายโค้ก.. พันนา-บรรลุ..


ชนป้ายโค้ก


เปี๊ยก มรกต แก้วธานี เจ็บจริง.. ในการถ่ายหนัง.. สังเกตเสื้อทีมงานนะครับ จะมีชื่อหนังอยู่ด้วย..ระหัสเชน


เจ้าของแฟ้มเล่มนี้ครับ


        เล่ามาถึงตอนนี้ ภาพที่ผมโพสจะเริ่มปนๆ กับภาพจากแหล่งอื่นด้วยเช่น จาก อ.เจริญ หรือพี่เปี๊ยก มรกต ฯลฯ นะครับ..แต่ยังมีเรื่องราวที่เจ้าของแฟ้มคือคุณติ๊ก เขียนรายละเอียดไว้อีก ..เดี๋ยวค่อยมาเล่านะครับ..


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2857
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
          อีกไม่กี่วัน ก็จะถึงวันที่ 2 สิงหาคมแล้วนะครับ.. วันนั้นจะเป็นวันแรกที่หนังเรื่อง เกิดมาลุย ของกลุ่มนักแสดงพันนา ฤทธิไกร ได้ออกฉายครั้งแรกในกรุงเทพฯ.. ถึงวันนั้นจะเป็นเวลา 29 ปีของหนังเรื่องนี้แล้ว แต่เรื่องราวลึกๆ ของ เกิดมาลุย ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง.. พวกเราโชคดีที่กลุ่มอ.เจริญ สาดา ยังเล่นเฟซบุ๊ก จึงมีโอกาสสื่อสารเล่าเรื่องเก่าๆ ให้เราฟังได้.. เรื่องอายตัวเอง ที่ต้องเล่าเรื่องเกี่ยวข้องกับตัวเองนั้น ผมก็อายครับ แต่เพราะคิดว่า เราไม่ได้เล่าเรื่องตัวเอง เราเล่าเหตุการณ์ซึ่งกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว โดยมีเราผู้เล่าได้ยืนอยู่ ณ จุดๆ หนึ่งของเหตุการณ์นั้นๆ ด้วย เราจึงเล่าให้ฟัง คนฟังเขาก็คิดว่า เราเป็นเหมือนพยานชั้นหนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์จริงๆ จะทำให้ข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือมากขึ้น การเล่าเรื่องแบบนี้ไม่มีอะไรผิดเพราะเป็นการเล่าจากภาพที่เราได้เห็น ได้ผ่านตามาแล้วครับ..

          จึงอยากให้อาจารย์เล่าให้ฟังไปเรื่อยๆ นะครับ..อย่างแฟ้มเล่มนี้ เจ้าของแฟ้มคือ พี่ติ๊ก วิไลลักษณ์ แสงทอง ที่อยู่ในกลุ่มรุ่นแรกของการสร้างหนัง เกิดมาลุย และมาร่วมงานศพ พันนา ฤทธิไกร..และบังเอิญได้รู้จักผมในวันนั้น... สิ่งหนึ่งที่พี่ติ๊กพูดกับผมก็คือ... "เสียดายวันงาน คนเก่าทั้งหมดมากันครบ แต่ดูเหมือนผู้คนไม่ให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้น.." ผมจึงขอให้พี่ติ๊กเล่าเรื่องในส่วนที่เกี่ยวกับพี่ติ๊กให้ฟัง..และพี่ติ๊กก็ได้มอบสำเนาภาพบางส่วนมาให้ผม... และสิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ก็คือ ส่วนหนึ่งที่พี่ติ๊กเล่าให้ผมฟังนะครับ...

           พี่ติ๊ก วิไลลักษณ์ แสงทอง ร่วมกับงานกับพันนา ฤทธิไกร เพียงเรื่องแรกเรื่องเดียว ..... โดยบอกว่า ตัวเอง มีโอกาสแค่นั้น เขาใส่ชื่อเครดิตในตำแหน่ง ธุรกิจ วิไลลักษณ์ แสงทอง... ส่วนเอกสารข้างล่างนี้ก็เป็นผลพลอยจากการทำหน้าที่ธุรกิจครับ..


            เกี่ยวกับวันที่หนัง เกิดมาลุย ได้ออกฉายครั้งแรกนั้น พี่ติ๊ก วิไลลักษณ์ ได้เล่าให้ฟังว่า.... บัตรราคาสิบบาท คือ เราจัดการแสดงที่โรงหนังเมืองพลรามา เพื่อหาเงินดำรงชีพ หาเงินเข้ากรุงเทพ หลังจากที่กบดานอยู่ด้วยกันที่เมืองพล ขอให้ปุ้ม สุรีย์วัล มาเพื่อเรียกคน ติ๊กมีความเห็นว่า น่าจะมีดนตรีด้วย เลยไปติดต่อนักดนตรีเรียนอยู่เทคนิค ค่าตัวจะได้ถูกชื่อ ปู พงษ์สิทธิ์ จบการแสดง เก็บเงินไม่เหลือพอค่าตัวปู ขอฟรีกันเฉยๆ แต่ปูขอค่าเช่าเครื่อง จำได้ว่าจ่ายไป 800 ติ๊กเดินจำหน่ายตั๋วราคา 10 บาทตามร้านค้า ตลาดในเมืองพล ใช้คำว่า กบดาน เพราะทุกคนมาพร้อมคดีติดตัว โจทย์คือ พ่อแม่ครอบครัวของทุกคน...



ขวามือจะเป็น ม.ล.สุรีย์วัล ครับ


หน้าโรงหนัง พี่นุช-พี่ติ๊ก


อีกภาพครับ ครั้งหนึ่งของ พี่ติ๊ก วิไลลักษณ์ แสงทอง กับ เกิดมาลุย..ที่โรงหนังเมืองพลรามา ขอนแก่น

          พี่ติ๊กเล่าให้ฟังอีกว่า... ติ๊ก เพิ่งจบ ป.ตรี เอาของจาก กท.ไปวางขายหน้าห้างเซนโทซ่า หน้าโรงพักขอนแก่น เป็นของอาร์ตๆ ประเภทเสื้อผ้า ได้เงินก็เอาไปซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค เลี้ยงดูสตั้นท์ ขายกลางวัน ตกเย็นไปบ้าน 138 ท่าพระ จากนั้นคุณพ่อที่ทำงานแบ๊งค์อยู่แล้ว เห็นท่าว่า ลูกคงไม่สบาย จึงพาไปฝากให้เข้าทำแบ๊งค์ ก็ทำ ๆไป สาขาบ้านไผ่ ต้องนั่งรถผ่านท่าพระ ขากลับก็แวะท่าพระทุกวัน ใจไม่อยู่ ทำได้เกือบปี ออกมาและไปกับทีม ติ๊กลาออกจากงานที่ทำธนาคาร..สาขาบ้านไผ่ ยกทีวีที่บ้านไปขาย “เปี๊ยก” เอาทองแม่ไปขายและ “สรวง” ขอเงินแม่หมื่นหนึ่ง “พี่ดวง”อีกหมื่น เล่ พี่แดง นุช เราอยู่รวมกัน ย้ายมาจากบ้านเช่าโคราช โดยติ๊กเป็นคนไปขอความช่วยเหลือจากนายช่างที่การรถไฟ เป็นพี่ที่เคยรู้จักสมัยเรียน วิศวะ มข. พี่ที่ดูแลติ๊กและน้องๆ ชื่อ พี่อิ๊ด ก่อนหน้านั้นช่วงฟอร์มทีม เราประชุมกันที่บ้านพักครู ร.ร.หนองบัวดีหมี (อ.เจริญ สาดา) แทบทุกคืน......


          สุดท้าย พี่ติ๊กก็เล่าให้ฟังต่ออีกว่า.... พี่ไพบูลย์อีกคน ก็ลาออกจากหน้าที่เพราะเต็มที่เวลาร่วมงาน พี่ไพบูลย์คือพี่ชายของ น้อย บรรลุ ศรีแสง
คนขี่มอไซด์ชื่อ เล่ พงษ์เดช หมีกุละ เล่ เป็นลูกพี่ลูกน้องกับกฤต หลังจาก เกิดมาลุย ออกฉาย ติ๊กก็ไม่ได้อยู่กับทีม..แต่ยังติดต่อกับนุช น้องสาวกฤต..

          หลังจาก องค์บาก 1 ประสบความสำเร็จ ติ๊กได้รับโทรศัพท์จาก กฤต "เราขอโทษ เราขอโทษติ๊กนะ" เสียงกฤตเมามาก ๆ ติ๊กไปพบกฤต.. ดีใจนะเพื่อนโทรมา แต่เห็นเพื่อนแล้วก็รู้แล้วว่า เพื่อนป่วยภายใน ทั้งใจและกาย ติ๊กไปพร้อมกับครอบครัว..


          เรื่องราวของพี่ติ๊กกับ เกิดมาลุย ที่พอจะเล่าสู่กันฟังได้ ก็คงมีเท่านี้นะครับ.. ต่อไปก็จะเป็นการประมวลภาพรวมของทีมงานนักแสดงค่ายพันนา ฤทธิไกร.. ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่า ได้มาจากแหล่งไหนบ้างนะครับ..









วิ่งแก้บน..เมื่อหนังได้ฉาย





































         
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2857
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
ขอบคุณ อ.เจริญ สาดา ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของ เกิดมาลุย และการตั้งชื่อต่างๆ พร้อมกับมีภาพประกอบมาให้ดูด้วยครับ

         เกิดมาลุยจริงๆมีความชัดเจนเมื่อหนังออกฉายและทำเงินได้ มีคนชมยอมรับ จึงทำให้ชื่อนี้ยุติลงได้ ก่อนนั้นเรามีความกังขาจะหาชื่อใดเหมาะสมที่สุด และถ้าบังเอิญหนังไม่ทำเงินหรือบอกปัดจากผู้รับฉายโดยไม่จำกัดโรง ก็อาจเปลี่ยนชื่อใหม่อีกก็ได้ แต่ในที่สุดด้วยความแปลกใหม่และผู้ชมรุ่นใหม่ (นศ.ม.ธรรมศาสตร์)ชักชวนกลุ่มเพื่อนมาชมอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีเกิดมาลุย-2และ3ตามมาและก็มีหนังใหม่เรื่องอื่นๆเข้ามาใช้ชื่อเพิ่มคำว่า"ลุย" อีกหลายเรื่อง ส่วนชื่อของบุคคลที่เขียนลงในโปสเตอร์ก็เปลี่ยนไม่คงที่ ใครก็จะเอาผลประโยชน์ ใบปิดแรกเป็นแนวตั้งคนเขียนเซ็นชื่อไว้ด้ามดาบว่า K.JI. ออกแบบเป็นรูปนินจาใช้ดาบเป็นอาวุธไม่ได้เกี่ยวกับชื่อเกิดมาลุย

          ใบปิดต่อมาเขียนใหม่เป็นแนวนอนตามแบบของหม่าออน(เสียนฟง)มีภาพพันนากำคอขวดและรถชนป้ายทะลุให้ชี้ชัดเจนว่า"เกิดมาลุย"ช่างเขียนตามโรงหนังบอกว่าชอบใบปิดแนวนอน เขียนโดยไข่ โปสเตอร์ ชื่อเดิมจริงๆคือ "มือล่ารหัสเชน84" โดยพระเอก(ธง)จะเป็นผู้ที่ตามหาตัวเสียนฟงโดยมีรหัสลับประจำตัว จึงให้ผมออกแบบทำสติ๊กเกอร์ที่ร้านใหญ่จัดทำจำนวน100แผ่นให้กลุ่มพงษ์เดชหมีกุระทำสกรีนเสื้อว่าCHAIN แต่ชื่อมันก็ยังขัดกับความจริงคือความบู้ มันส์ที่มุ่งมั่น จึงออกฝึกซ้อมจัดถ่ายทำวิดีโอตามที่ต่างๆนอนกลางดินกินกลางนำ้ชีบุกลุยอย่างเอาเป็นเอาตายจึงเอาชื่อ"เกิดมาลุย"เป็นตัวตั้ง


เฉลยภาพจากสตอรีบอร์ดของพันนา ฤทธิไกร

           นี่คือสติกเกอร์มือล่ารหัสเชนที่พันนาเร่งให้ทำใช้แต่ในกลุ่ม ยังไม่นำเสนอเพราะตัวดาราที่เรากำหนดไว้ยังไม่ให้คิวแสดง ส่วนชื่อ เพชรพันนามาจากนามสกุลของประพนธ์"เพชร"อินทร์และลาด"พันนา" ส่วน"เพชรวรพล" กำกับ ก็เป็นนามฉายาของประพนธ์ เป็นอันว่าชื่อหนังไม่ลงตัวในที่สุดก็ยกเลิกไป


             เมื่อนำใบปิดหนังยังไม่พิมพ์ชื่อไปเสนอนายทุนหรือผู้มีชื่อในวงการภาพยนตร์ที่กรุงเทพมหานคร อ่านจากภาพแล้วต้องตั้งชื่อให้ใหม่ว่า"เพชฌฆาตดำ"โดยชายน้อย รุจิโรจน์ สันติภาพ กำกับ ประพนธ์ สิทธิชัย ผช.กำกับ ดารานำเพชร พัฒนา เหิรฟ้า แขวงเมฆ เราจึงมองเห็นว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ จึงกลับมาหาชื่อที่เหมาะต่อไป และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนชื่อเพชร พัฒนาให้จงได้ กระผมจึงได้เสนอกับประพนธ์และพันนาว่าเอา"พันนา ลาดพันนา"หรือพันนา เพชรพันนา แต่พอใบปิดใหม่ออกมาใช้ชื่อพันนา ฤทธิไกร ก็พึงพอใจกันมาก


           ก่อนที่่ "มือล่ารหัสเชน" จะลูกลืมก็หันมาดูสคริปก่อนว่าเท็จจริงอย่างไร บอกก่อนนะว่าไม่ได้เขียนเข้าข้างตัวเอง แค่นี้ก็อายสุดๆ อย่างเช่นโลโก้นี่ผมก็ออกแบบเองโดยเทียบตราจากโคลี่เซี่ยมฟิล์มต้นสังกัดเดิมของพันนา เป็นตัวพี2ตัว เรียกว่าใช้ไปก่อน ด้านบนหัวสคริปเขียนว่า "เชน84" ขณะที่ตัวละครและบทเป็นเรื่องเกิดมาลุย แสดงให้เห็นว่า ตอนถ่ายทำยังในช่วงแรกๆยังใช้ชื่อมือล่ารหัสเชนอยู่ และทุกตัวอักษรเขียนเป็นลายมือของคุณประพนธ์ เพชรอินทร์


           ภาพวัชระ เคนหล้า เลยจัดให้พร้อมกับจะบอกว่าบุคคลนี้เป็นพี่ใหญ่ที่ทุกคนเคารพนับถือ เป็นลุงของพันนาและลุงของคนึงชาย เคนหล้า พันนาก็มองว่าจะให้เข้ามาร่วมทีมงานเป็นผู้แสดง รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่เขื่อนอุบลรัตน์ เรื่องเกิดมาลุยฉากร้านก๋วยเตี๋ยวซุ่มซ่ามมีการชกต่อยต่อสู้มันส์เจ็บจริงและฮาถ่ายที่เขื่อนอุบลรัตน์ ได้รับการดูแลจากคุณวัชระเป็นอย่างดี ภาพที่คาบบุหรีคือรับบทเสือแจ่มในเกิดมาลุย ภาพสีด้านขวาแสดงเป็นผู้ใหญ่บ้่านในเรืองปลุกมันขึ้นมาฆ่าภาคแรก ได้ร่วมแสดงหนังอยู่4-5เรื่องก็พักไปเพราะสุขภาพไม่อำนวย จึงทำให้ผมก้าวเข้ามาแสดงต่อ อย่างเช่นเรื่องปลุกมันขึ้นมาฆ่าภาคแรกกับภาค4เป็นเรื่องเดียวกัน ภาคแรกคุณวัชระเป็นผู้ใหญ่บ้านแต่ภาพ4ผมเป็นผู้ใหญ่บ้าน


          แกชอบเล่นเปนบทพ่อนางเอกบ้าง พ่อของพระเอกบ้าง เปนลุงของพระเอกบ้าง แต่เท่าที่ดูๆมา ทุกเรื่อง แกแสดงตัวดีเกือบหมด บทตัวร้าย ไม่เคยเหงเรยนะคับ เท่าที่ดู ที่อาจารย์เจริญ บอกมาว่า น้ารียน!* ผมรุ้ทันทีเรยคับ...
          น้าเรียน หรือ ลุงเรียน หรือที่ใช้ในการแสดงว่า วัชระ เคนหล้า หรือ ที่เรียกติดปาก ในค่าย 138/1 เอ็นเตอร์เทนเมนต์ หรือ ค่าย Ks'กรุ๊ฟ ว่า น้าเรียน ชาวเขื่อน" นั่นเอง คับผม

          คงต้องทำความเข้าใจเพิิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อน้าเรียนชาวเขื่อน เท่าทีผมเห็นใบปิดและชื่อในไตเติ้ลก็คือเรื่องพยัคฆ์ร้ายเชียงชนภาคแรก นั่นเป็นเพราะการวางตัวแสดงครั้งแรกคือน้าเรียนแสดงเป็นกำนันหมีผู้มีอิทธพลร้ายๆ แต่ต้องเปลี่ยนตัวกระทันหัน เพราะวันเปิดกล้องน้าเรียนไม่สบายคุณพันนาจึงรีบมารับตัวผมไปแสดงแทนและถูกแซวว่าถอดชุดขาวขณะนั่งปฏิบัติธรรมแล้วอุ้มขึ้นรถ ส่วนน้าเรียนในเรื่องนี้ไม่มี อีกชื่อในใบปิดคือสมภพ วงศ์ก่อก็ไม่มีเช่นกัน


            นี่คือบทร้ายๆของกำนันหมีในเรื่องพยัคฆ์ร้ายเชียงชุน ซึ่งเปลี่ยนตัวแสดงจากน้าเรียน ชาวเขื่อน มาเป็นผม ถ่ายพ.ศ.2533 ที่บ้านหนองเต่าอ.เมืองขอนแก่น สนุก มันส์ ฮา มากครับ ส่วนน้าเรียน ชาวเขื่อนก็มาแสดงในเรื่อง"พยัคฆ์ร้ายเชียงชุน3 ครกแตกใช้ชื่อ จ่าโซ๊ะ ก็มันส์ฮาตามสูตรครับ


           ช่วงนี้ โพสบนกระดานมีเยอะครับ อ.เจริญ เลยไปเขียนผิดช่องนะครับ... ผมเลยย้ายข้อความมาให้ถูกบทนะครับ.... นายเจริญ สาดา ขอบคุณคุณมนัสและคุณติกอีกครั้งที่จะสรรค์หาจุดกำเนิดเกิดมาลุยในโอกาสครบรอบ29ปี

ตังเกเดือด ที่ฉายปี 2534 ก็มีชื่อ น้าเรียน ชาวเขื่อน ด้วยครับ..


ตังเกเดือด



ตังเกเดือด พันนา-ม.ล.สุรีย์วัล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ตุลาคม 2015, 01:33:45 โดย มนัส กิ่งจันทร์ »
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..