ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 701 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ มอง... ฉลวย ศรีรัตนา ผ่านหนัง  (อ่าน 624 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2857
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต

บทที่ 701
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
มอง... ฉลวย ศรีรัตนา ผ่านหนัง
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 18 สิงหาคม 2558)


         วันที่ 17 สิงหาคม 2558 หลังจากทราบข่าวการเสียชีวิตของ ฉลวย ศรีรัตนา ผู้กำกับชื่อดัง.. ผมก็นั่งค้นหนังสือดาราเก่าๆ เพื่อจะหาภาพสมัยหนุ่มๆ ของฉลวย ศรีรัตนา แต่ก็หาไม่ได้ ก็เลยสงสัยว่า ทำไม ฉลวย ศรีรัตนา ถึงไม่ค่อยจะมีภาพในหนังสือดาราเก่าๆ เลย.. ไม่เป็นไรครับ อาจจะเหมือนผู้สร้างหรือผู้กำกับหนังท่านอื่นๆ ที่ก็ไม่ค่อยจะมีภาพลงหนังสือเช่นกัน..สมัยนั้นเขามักจะโปรโมทแต่ดาราระดับพระเอก-นางเอกอยู่แล้วครับ.. แต่ข้อมูลที่ค้นเจอที่เก่าที่สุด ณ วันนี้ก็คือ ปี 2500 ฉลวย ศรีรัตนา เคยมีชื่อปรากฏเป็นดารานักแสดงอยู่ในหนังเรื่อง วังบัวบาน.. ครับ


         วังบัวบาน นั้นเป็นหนัง 16 มม. ดารานำแสดงคือ อดุลย์ ดุลยรัตน์-ดรุณี สุขสาคร-จำรูญ-วลิต สนธิรัตน์-พัชนี อุรารักษ์-สัตยา สัตยาพันธ์-ฉลวย ศรีรัตนา-สุนิจ คเณจร .. สร้างโดย สหไทยภาพยนตร์ โดย เอกคุณ คุณามาตย์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง .. กำกับการแสดงโดย ประทีป โกมลภิศ ฉายครั้งแรกวันที่ 31 พฤษภาคม 2500 ที่โรงหนังเอ็มไพร์

         แล้วจากนั้นปี 2504 ชื่อของ ฉลวย ศรีรัตนา ก็ปรากฏขึ้นในฐานะเป็นผู้กำกับการแสดงหนัง 16 มม. เรื่อง พสุธาที่ข้ารัก ซึ่งผมเคยฉายกากฟิล์มหนังตัวอย่างให้ชมนานแล้ว.. นำแสดงโดย ประจวบ ฤกษ์ยามดี-อมรา อัศวนนท์-อันธิภา ชลาลัย-ทานฑัต-สุลาลีวรรณ-ประมินทร์-ชื้นแฉะ-สมชาย ศรีภูมิ สร้างโดย สิริพจน์ภาพยนตร์ โดย เสรีปกาสิต เป็นผู้อำนวยการสร้าง..ฉลวย ศรีรัตนา กำกับการแสดง ฉายครั้งแรกวันที่ 27 กรกฎาคม 2504 ที่โรงหนังเฉลิมกรุง-เฉลิมบุรี

         ถ้าถามว่า พสุธาที่ข้ารัก ประสบความสำเร็จหรือเปล่า.. ดูจากประวัติศาสตร์หนังไทยแล้ว คิดว่าไม่น่าจะประสบความสำเร็จเท่าไหร่ แม้จะมี อมรา อัศวนนท์ เป็นนางเอก แต่พระเอกเป็น ประจวบ ฤกษ์ยามดี ยุคนั้นคงดึงคนไม่ได้เหมือนพระเอกอย่าง ลือชัย-ไชยา-มิตร นะครับ.. แล้วช่วงนั้น ฉลวย ศรีรัตนา ไปทำอะไร.. ผมก็ค้นไม่ได้ แต่ถ้าให้เดาๆ จากรางวัลตุ๊กตาทองที่ ฉลวย ศรีรัตนา ได้รับประจำปี 2507 จากเรื่อง ผู้พิชิตมัจจุราช ในฐานะเป็นผู้ลำดับภาพและตัดต่อแล้ว ก็ต้องคิดว่า ฉลวย ศรีรัตนา ไปทำงานร่วมกับฉลอง ภักดีวิจิตร เพราะเรื่อง ผู้พิชิตมัจจุราช นั้น ฉลอง ภักดีวิจิตร เป็นตากล้องและได้รับรางวัลตุ๊กตาทองภาพถ่ายยอดเยี่ยมด้วย เป็นหนัง 16 มม.ของวัชรภาพยนตร์ โดย วิมล ยิ้มละมัย เป็นผู้อำนวยการสร้าง คนกำกับคือป๋า ส.อาสนจินดา ฉายครั้งแรกวันที่ 27 กันยายน 2506 ที่โรงหนังคาเธ่ย์-บรอดเวย์ นั่นก็แสดงว่า ฉลวย ศรีรัตนา ทำงานเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆ รอวันเวลาที่จะเดินตามฝัน


         จากปี 2506 เรื่อยมาจนถึงปี 2509 นั้น ผมยังค้นไม่ได้ว่า ฉลวย ศรีรัตนา ได้ถ่ายภาพหรือตัดต่อหนังให้ผู้กำกับท่านใดบ้าง.. คงพบแต่ว่า ฉลวย ศรีรัตนา มาเป็นผู้กำกับหนังให้กับ ชูศรี โรจนประดิษฐ์ ในเรื่อง สามเกลอเจอล่องหน นำแสดงโดย มิตร-เพชรา ฉายครั้งแรกวันที่ 8 ธันวาคม 2509 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง


         จากนั้น ฉลวย ศรีรัตนา ก็เป็นผู้กำกับหนัง 16 มม.อีกหลายเรื่องเช่น เหนือเพชฌฆาต (2510 มิตร-โสภา) แหลมหัก (2510 มิตร-เพชรา) พรายพิศวาส (2511 มิตร-เพชรา) ท่าจีน (2513 สมบัติ-เพชรา) ยอดต่อยอด (2514 มิตร-เพชรา)











         และเมื่อถึงยุคหนัง 35 มม.พากย์เสียงในฟิล์ม ฉลวย ศรีรัตนา ก็มีงานกำกับหนังอีกหลายเรื่อง เช่น ผัวเช่า (2517 สมบัติ-อรัญญา) ตัณหานักบุญ (2518 สมบัติ-อรัญญา) สิงห์สลัม (2519 สรพงศ์-อุเทน-ปิยะมาศ) เหมือนหนึ่งในฝัน (2519 สมบัติ-อรัญญา) มหาอุตม์ (2519 สมบัติ-ไชยา-อรัญญา) ทมิฬดง (2519 สมบัติ-สุคนธ์ทิพย์) หมัดไทย (2519 นาท-ทัศน์วรรณ) วีระบุรุษจอมโหด (2519 สมบัติ-อรัญญา) ช่องว่างระหว่างหัวใจ (2519 สมบัติ-อรัญญา) จ่าทมิฬ (2519 สมบัติ-อรัญญา) เจ้าแม่ (2519 อรัญญา-สมบัติ) เดอะไกด์ (2523 รณ-ปิยะมาศ) เหล็กเพชร (2527 สรพงศ์-ม.ล.สุรีย์วัล)...















........


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..