เพิ่มเติม ครับ
"อินเตอร์เฟส"
ฮาร์ดดิสก์ มีช่องสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูล คำสั่งหรือสถานะต่างๆซึ่งเรียกว่า การ "อินเตอร์เฟส" ซึ่งการอินเตอร์เฟสหลักๆของคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไปปัจจุบันมีอยู่ 3 แบบ
1.แบบ EIDE (Enhaned IDE)
2.แบบ Serial ATA (SATA)
3.แบบ SCSI
1. EIDE (Enhaned IDE) อินเตอร์เฟสแบบนี้นิยมใช้กันมากเป็นมาตราฐานที่ใช้กันมานาน มีราคาไม่แพง และได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รูปแบบการเชื่อต่อที่เป็นแบบ IDE หรือ ATA(รุ่นแรก)เช่น
- EIDE หรือ ATA-2,ATA-3,ATA/ATAPI-4(สนับสนุนการรับส่งข้อมูลในโหมด Ultra DMA 0(ATA-16.7) / (ATA-25) /2(ATA-33.3))
- ATA/ATAPI-5 (สนับสนุนการรับส่งข้อมูลในโหมด Ultra DMA 3(ATA-44.4) /4 (ATA-66.7))
- ATA/ATAPI-6 (สนับสนุนการรับส่งข้อมูลในโหมด Ultra DMA 5(ATA 100) /6(ATA-133))
2. Serial ATA (SATA) & Serial ATA-II(SATA-II) เป็นมาตราฐานใหม่ในการรับส่งสัญญาณแบบ"อนุกรม"คือรับส่งข้อมูลทีละบิตแบบเดียวกับพอร์ต USB และ Friewrie และทำความเร็วได้สูงกว่าการส่งแบบ"ขนาน"ของ IDE,ATA โดยสายสัญญาณ Serial ATA(SATA) โดยใช้สายขนาดเล็กเพียง7เส้นและสาย Power เป็นแบบ 15พินที่ใช้เฉพาะ SATA ด้วย
ข้อดีของฮาร์ดิสก์ Serial ATA สามารถทำ Hot-Swap คือ ใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำและเปลี่ยนไดรว์โดยไม่ต้องเปิดปิดเครื่องและไม่ยุ่งยากในการจัดไดร์วแบบ Master หรือ Slave เพราะจะเชื่อมต่อกับ SATA Controller โดยตรงและสามารถใช้สายสัญญาณได้ยาวถึง 1เมตร ซึ่งมากกว่าแบบ ATA ที่ยาว 18นิ้วเท่านั้น
สำหรับ Serial ATA-II เป็นมาตราฐานที่เพิ่มระบบ NCQ (Native Command Quening)คือการจัดลำดับการอ่านเขียนข้อมูลเองเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่อง Serverระดับล่างระบบการจัดเก็บข้อมูลบาเครือข่ายและเครื่อง Desktop PC ระดับบน ซึ่งระบบ NCQ นี้จะเพิ่มคำสั่งเป็น 32 คำสั่งซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลภายในตัวฮาร์ดดิสก์ได้รวดเร็ว อีกทั้ง Serial ATA-II ได้พัฒนาให้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ใหม่ได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง ซึ่งเรียกว่า Hot-Swapและเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์จำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. SCSI (Small Computer System Interface) เป็นอีกระบบที่แตกต่างจากการอินเตอร์เฟสแบบอื่นๆคือไม่ได้จำกัดว่าจะใช้ฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะซึ่งจะเป็นเสมือนระบบ LAN ขนาดเล็กโดยทั่วไป SCSIสามารถต่ออุปกรณ์ได้ 7 ตัวแต่บางรุ่นอาจได้ถึง 14 ตัว(SCSI-2)
เดิมมาตราฐาน SCSI มีอัตราการรับส่งข้อมูล 12เมกะบิต/วินาทีหรือ 1.5เมกะไบต์/วินาทีรับส่งข้อมูลครั้งละ 8 บิตได้พัฒนาเพิ่มความถี่ของสัญญาณเป็น 5 MHz มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 5เมกะไบต์/วินาทีเมื่อรับส่งข้อมูลครั้งละ 8บิตและเพิ่มอัตราการรับส่งข้อมูลเร็วขึ้นเป็น 2เท่าจากมาตราฐาน SCSI เดิมซึ่งเรียกว่า
- Fast SCSI โดยรับส่งข้อมูลได้ 10เมกะไบต์/วินาทีและเพิ่มการรับส่งข้อมูลครั้งละ 16บิต
- Wide SCSI โดยรับส่งข้อมูลได้ 10และ20เมกะไบต์/วินาทีและเพิ่มการส่งข้อมุลครั้งละ 32บิต
- Fast and Wide SCSI ึคือการรวมเข้าด้วยกันของ Fast SCSI และ Wide SCSI โดยรับส่งข้อมูลเป็น 20และ 40เมกะไบต์/วินาทีรับส่งข้อมูลครั้งละ 16และ32บิตนอกจากนี้ยังมี Ultra SCSI ซึ่งเพิ่มความเร็วเป็น 40เมกะไบต์/วินาทีและ Ultra wide SCSI ที่เพิ่มข้อมูลได้ถึง 80เมกะไบต์/วินาที ส่วน Ultra2 เพิ่มความเร็วเป็น 80 และ Ultra3 เพิ่มความเร้วเป็น 160เมกะไบต์/วินาที
มาตราฐาน SCSI หรือ SCSI-1 ได้วางข้อกำหนดทางด้านฮาร์ดแวร์แต่ไม่ระบุทางด้านซอฟแวร์ทำให้เกิด"คอมแพททิเบิล"ระหว่างไดรว์เวอร์กับโปรแกรมของผู้ผลิตการ์ด SCSI ดังนั้น SCSI-2 ได้แก้ปัญหาโดยกำหนดมาตราฐานทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ โดยมาตราฐานทางด้านฮาร์ดแวร์ได้แก่การอินเตอร์เฟสแบบ SCSI, Fast SCSI, Wide SCSI, Fast and Wide SCSI ส่วนมาตราฐานทางซอฟแวร์เรียกว่า Command Command Set เรียกย่อ CCS ซึ่งเป็นการกำหนดกำหนดคำสั่งและวิธีการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ต่ออยู่
ล่าสุด SCSI-3 ได้แยกส่วนฮาร์ดแวร์ออกไปเหลือเฉพาะ CCS และให้ CCS เป็นอิสระไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ทำให้ฮาร์ดแวร์อินเตอร์เฟสได้หลายแบบสามารถรับส่งข้อมูลที่ละบิตคือ แบบอนุกรม และส่งข้อมูลที่ละหลายบิตคือ แบบขนาน สามารถต่ออุปกรณ์ผ่านสาย Fiber optic ที่มีความเร็วสูงเช่น 100เมกะไบต์/วินาทีได้หรือจะต่อสายเดิมก็ได้
ขอบคุณ ข้อมูลอ้างอิงจาก
http://pgroupthai.tarad.com/ ศึกษาเพิ่มเติม ได้ตาม Link ครับ